Advance search

บ้านคุยยาง

ชาติพันธุ์ไทดำ เสื่อกก บึงตะเคร็ง ชมชนติดถนนทางหลวง

หมู่ที่ 13
คุยยาง
บางระกำ
บางระกำ
พิษณุโลก
ฐานิดา บุญวรรโณ
9 ก.พ. 2023
ฐานิดา บุญวรรโณ
20 ก.พ. 2023
กฤชกร กอกเผือก
5 ต.ค. 2023
บ้านคุยยาง

พื้นที่ชุมชนคุยยางในอดีตมีต้นยางเยอะ ผู้คนเลยเรียกคุยยาง คำว่า คุย น่าจะแปลว่าสูงกว่าที่อื่น (คุยหมายถึงเนิน) ดังนั้น บ้านคุยยางอาจหมายถึง เนินสูงที่มีต้นยาง


ชาติพันธุ์ไทดำ เสื่อกก บึงตะเคร็ง ชมชนติดถนนทางหลวง

คุยยาง
หมู่ที่ 13
บางระกำ
บางระกำ
พิษณุโลก
65140
ชุมชนคุยยาง โทร. 08-1654-9782
16.7366
100.0674
เทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่
ชุมชนชาติพันธุ์ไทดำหมู่บ้านคุยยาง ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางคือกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำที่อพยพมาจากนอกพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม, อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี การสำรวจพบว่า ชาวไทดำที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่อำเภอบางระกำเข้ามา 2 ช่วงเวลาใหญ่ ๆ คือ ก่อนปี พ.ศ. 2500 และหลังปี พ.ศ. 2500 ในช่วงแรกก่อนปีพ.ศ 2500 การสำรวจพบว่า มีบรรพบุรุษชาวไทดำเริ่มอพยพเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2446 จากอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของนายเพียง เหมาเพชร ปัจจุบันอายุ 88 ปี) และปี พ.ศ. 2450 พบข้อมูลว่าเริ่มมีชาวไทดำอพยพเข้ามาในพื้นที่จากอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี (ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของนายหอม เพชรดี ปัจจุบันอายุ 87 ปี) ในปี 2470 มีชาวไทดำอพยพมาจากอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างช่วงปี 2467-84 ในปี พ.ศ. 2471 พบผู้อพยพจากอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2490 พบผู้อพยพมาจากอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  ในปี พ.ศ. 2493 พบผู้อพยพมาจากอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  ในปี พ.ศ. 2495 พบผู้อพยพมาจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จากอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร จากอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในปีพ.ศ.2498 พบผู้อพยพมาจากอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  ส่วนบรรพบุรุษที่อพยพมาหลังปี พ.ศ. 2500 มาจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรหมู่บ้านคุยยางเคยมีโรคมาลาเรียระบาดมากในช่วงก่อน พ.ศ. 2500  ต่อมายังคงมีการระบาดอยู่เป็นระยะในช่วง พ.ศ.2513-2516 แต่ไม่หนักนัก  การรักษาก็อาศัยหมอยาต้มพื้นบ้าน เมื่อการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาถึงหมู่บ้านนี้จึงเปลี่ยนมากินยาควินินแทนก่อนที่หมู่บ้านคุยยางจะเริ่มได้รับการพัฒนาด้านสาธารณูโภคต่าง ๆ อย่างถนนหรือไฟฟ้านั้น ถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านมีลักษณะเป็นทางดิน เริ่มได้รับการพัฒนาให้เป็นทางลูกรังในช่วง พ.ศ. 2516  ไม่นานหลังจากนั้นใน พ.ศ. 2518-2520 ถนนลูกรังดังกล่าวจึงได้รับการลาดยาง ทำให้การคมนาคมสะดวกสบายขึ้น  ส่วนถนนที่ใช้กันภายในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาหลังในหลัง พ.ศ. 2530  สำหรับไฟฟ้า เข้ามาถึงหมู่บ้านนี้ เมื่อ พ.ศ. 2529การปกครองท้องที่ของหมู่บ้านคุยยาง หมู่ที่ 13 นี้ จากข้อมูลของผู้ใหญ่มาศรินทร์ ทองดอนกระเดื่อน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันนั้นทำให้รู้ว่า หมู่บ้านนี้มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 3 คน คนแรกชื่อว่า นายประเสริฐ วงค์โคคุ้ม เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 91 ปี  คนที่สองชื่อว่า นายหัด ปรางเพชร เสียชีวีตแล้วด้วยวัย 63 ปี  และคนที่สามชื่อว่า  นางมาศรินทร์ ทองดอนกระเดื่อน ผู้ให้ข้อมูล ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553  ในสายตาของคนในชุมชนมองว่า ผู้ใหญ่มาศรินทร์เป็นผู้ใหญ่บ้านที่พัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญกว่าผู้ใหญ่บ้านก่อนหน้านี้ที่เป็นผู้ชาย เพราะผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้ชายมักถูกเมียข่มไว้ เมียสั่งให้กลับบ้านก็กลับ บางครั้งมีประชุมก็ไปเพียงแค่ลงชื่อแล้วก็กลับไม่อยู่ฟังการประชุมเลย

1%20%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24add7beb.jpg

ภาพที่ 1 แผนที่บ้านคุยยาง ตำบลบางระกำ โดย Google Map, กุมภาพันธ์ 2566

บ้านคุยยาง หมู่ที่ 13 เป็นหนึ่งใน 19 หมู่บ้านของตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก  ทิศเหนือติดต่อกับหมู่บ้านบึงคัด (หมู่ที่ 11) ตำบลบางระกำ ทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านหนองมะปราง (หมู่ที่ 9)  ตำบลปลักแรด ทิศตะวันออกติดต่อกับหมู่บ้านเก้ารัง (หมู่ที่ 9) ตำบลบางระกำ และทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่บ้านหัวบึง (หมู่ที่ 17) ตำบลบางระกำ การตั้งบ้านเรือนจะกระจายริมทางหลวงหมายเลข 1065 และกระจายไปยังสองข้างทางของถนนในหมู่บ้าน บางบ้านจะมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ด้านหลังตัวบ้าน ในขณะที่บางส่วนจะมีที่ดินเพื่อการเพาะปลูกแยกออกไปจากพื้นที่อยู่อาศัย 

การตั้งรกรากของชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นลักษณะของการตั้งรกรากโดยผู้อพยพต่างถิ่น มิใช่ชาวบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกโดยดั้งเดิม ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ไทดำซึ่งอพยพมาจากพื้นที่อื่นๆ ผู้ที่ยังอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคือกลุ่มประชากรที่มีช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ในขณะที่ประชากรที่มีช่วงวัยต่ำกว่านั้นจะออกจากหมู่บ้านไปเรียนหนังสือและหางานทำนอกพื้นที่

จากการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการ หมู่บ้านคุยยางมีจำนวนบ้านทั้งหมด 212 หลังคาเรือน คาดการณ์ว่ามีผู้อยู่อาศัยที่เป็นชาติพันธุ์ไทดำราว ๆ 90 กว่าหลังคาเรือน (ปัจจุบันเก็บข้อมูลจากโครงการวิจัยชิ้นนี้ได้ 60 หลังคาเรือน) ในขณะที่บ้านบึงคัดมีจำนวนบ้านทั้งหมดประมาณ 152 หลังคาเรือน คาดการณ์ว่ามีผู้อยู่อาศัยที่เป็นชาติพันธุ์ไทดำราว ๆ 120 หลังคาเรือน 

เมื่อสืบสาวเครือข่ายเครือญาติจะพบว่า ชาวไทดำในพื้นที่บ้านคุยยางมีญาติพี่น้องในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันที่อาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในระดับหมู่บ้าน พบเครือข่ายเครือญาติของชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เช่น บ้านแหลมมะค่า บ้านดอนอภัย บ้านใหม่เจริญผล บ้านดงข่อย วัดกลางสุริยวงศ์  ไหล่ขานาง หนองเต่าดำ หัวบึง หนองเขาควาย คลองวัดไร่ ห้วงกระได ยางแขวนอู่ คุยขวาง หนองขานาง  ตะลุกแรด หนองแพงพวย มณเทียนทอง วัดตะยม หนองบัว ยางแขวนอู่ หนองไผ่ นครไทย บ้านใหม่เจริญธรรม บัวยาง บ่อทอง หนองตาเขียว ในระดับจังหวัด พบเครือข่ายเครือญาติของชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางกระจายอยู่  ในจังหวัดต่างๆ เช่น กำแพงเพชร เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม พิจิตร สุโขทัย กาญจนบุรี

ในหมู่บ้านคุยยาง ชาวบ้านที่มีชาติพันธุ์ไทดำจะเป็นเครือญาติกัน จากการสำรวจพบว่า ชาวบ้านคุยยาง  ที่เป็นชาติพันธุ์ไทดำมักสืบเชื้อสายนามสกุลที่สะท้อนว่าเป็นนามสกุลของชาวไทดำ ได้แก่ สระทองเมือง สระทองวี สระทองก้อน สระทองตัน สิงห์เรือง หน่อสร้อยทอง ทองดอนกระเดื่อง ทองดอนง้าว วงษ์โคคุ้ม หล่อทอง หลักเพชร เหมาเพชร ภาพตัวอย่างประชากรและระบบเครือญาติของชุมชนบ้านคุยยางมีดังนี้

2%20%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%9A_651e24add979e.jpg

ภาพที่ 2 ผังเครือญาติยายใบ โดยผู้วิจัย, 16 กุมภาพันธ์ 2566

3%20%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C_651e24add985e.jpg

ภาพที่ 3 ผังเครือญาติผู้ใหญ่มาศรินทร์ โดยผู้วิจัย, 16 กุมภาพันธ์ 2566

4%20%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7_651e24add98eb.jpg

ภาพที่ 4 ผังเครือญาติยายบัว โดยผู้วิจัย, 16 กุมภาพันธ์ 2566

5%20%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%20%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7_651e24add9972.jpg

ภาพที่ 5 ผังเครือญาติตาหอม ยายขันลาว โดยผู้วิจัย, 16 กุมภาพันธ์ 2566

6%20%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1_651e24add9b1b.jpg

ภาพที่ 6 ผังเครือญาติลุงถนอม โดยผู้วิจัย, 16 กุมภาพันธ์ 2566

โครงสร้างทางสังคมชุมชนบ้านคุยยางนั้น เนื่องจากหมู่บ้านคุยยางมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ไทดำ จึงประกอบด้วยทั้งโครงสร้างสังคมตามการปกครองของหมู่บ้านทั่วไป และโครงสร้างสังคมตามความเชื่อและประเพณีของชาวไทดำที่แบ่งแยกเชื้อสายสกุลออกเป็นผู้ต๊าว และ ผู้น้อย จากการสำรวจพบว่าชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางส่วนใหญ่สืบเชื้อสายสกุลผู้น้อย โดยการแบ่งแยกเชื้อสายสกุลเป็นผู้ต๊าวและผู้น้อยนี้มีนัยยะของชนชั้นทางสังคมตามความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมของชาวไทดำ นอกจากรูปแบบกะล้อห่องที่แตกต่างกันระหว่างสกุลผู้ต๊าวและผู้น้อยแล้ว การทำพิธีเสนเรือนของผู้ต๊าวก็มิสามารถประกอบพิธีกรรมโดยหมอเสนที่สืบเชื้อสายสกุลผู้น้อยได้เช่นเดียวกัน

ส่วนโครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านคุยยาง จากการสัมภาษณ์พบข้อมูลว่า มีกลุ่มทอเสื่อกกบ้านคุยยาง (10กี่/10บ้าน) กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง(20บ้าน) และกลุ่มพัฒนาอาชีพเกษตรกร มีการจดทะเบียนเรียบร้อย(ปุ๋ยอัดเม็ด น้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมน เป็นต้น) แต่กลุ่มทอเสื่อกกบ้านคุยยางนั้นเป็นกลุ่มที่ชาวบ้านคุยยางให้ความคิดเห็นตรงกันว่าสามารถทำเป็นกลุ่มอาชีพที่สืบสานยาวนานได้ โดยรายละเอียดของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านคุยยางมีสมาชิกดังภาพผังนี้

7%20%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24addd413.png

ภาพที่ 7 ผังกลุ่มทอเสื่อบ้านคุยยาง โดยผู้วิจัย, มกราคม 2566

โดยกลุ่มทอเสื่อกกบ้านคุยยาง ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วยกี่ 10 หลัง สมาชิก ได้แก่ ป้าเหนอ ไผ่ รุ่ง ยายไหน ยายแอ ยายเครือ ยายเพ็ง พี่เป้า พี่เพ็ญ และยายลอย ซึ่งต้นกำเนิดกี่ตั้งต้นคือที่บ้านป้าเหนอ ป้าเหนอเริ่มต่อกี่ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากป้าเหนอมีญาติอยู่ที่บางระกำ (บึงกระดาน) ป้าเหนอเห็นญาติทำ เลยสนใจทอเสื่อกก สมัยก่อนที่ริเริ่มทำป้าเหนอทอเสื่อธรรมดา ยังไม่ได้ลวดลายอะไร จนมีการตั้งกลุ่มทอเสื่อกก จึงได้มีการพูดคุยกันในกลุ่มและเป็นความคิดริเริ่มสำหรับการเพิ่มลวดลายลงไปในสิ่งทอ โดยป้าเหนอได้ทำการต่อกี่ 7 หลังให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มทอเสื่อกกบ้านคุยยาง ซึ่งป้าเหนอเองขายกระบอกลายด้วย และสามารถสอนทอเสื่อกกได้ด้วยเช่นกัน

8%20%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD_651e24addd56d.jpg

ภาพที่ 8 กี่ทอเสื่อกกที่บ้านป้าเหนอ โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

9%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%81_651e24addd6b6.jpg

ภาพที่ 9 ตัวอย่างสินค้าจากต้นกก โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

ปฏิทินชุมชนและชีวิตประจำวันของชาวชุมชนบ้านคุยยาง สามารถแบ่งแยกรายละเอียดได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ ปฏิทินประกอบอาชีพและเลี้ยงสัตว์ จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ(สัมภาษณ์) และเชิงปริมาณ(แบบสอบถาม) พบข้อมูลว่า อาชีพหลักและอาชีพเสริม(รอง)ของชุมชนบ้านคุยยาง ได้แก่ การปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงหมู

ชาวบ้านคุยยางส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก โดยเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก รองลงมา คือ อ้อย มันสำปะหลัง ที่ดินเพาะปลูกจะอยู่นอกพื้นที่พักอาศัยของหมู่บ้าน อาชีพเสริมของชาวบ้านคุยยางนั้นมีหลากหลายทั้งที่เป็นอาชีพต่อเนื่องกับภาคเกษตรกรรม เช่น เลี้ยงปลาในบ่อดิน เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปลูกผักสวนครัวขาย ปลูกกล้วย และอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมอาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ทอเสื่อ เป็นต้น จากการสำรวจเบื้องต้น พบข้อมูลว่า ชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท  พบทั้งชาวบ้านที่เคยมีประสบการณ์ออกไปหางานทำนอกพื้นที่ ทั้งภายในประเทศ เช่น กรุงเทพ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ลพบุรี ปทุมธานี และต่างประเทศ เช่น ลิเบีย ซาอุดิอาระเบีย กาต้าร์ ที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ไม่ได้ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือ มีความเชื่อมโยงใดๆกับความเป็นชาติพันธุ์ไทดำเลย รายละเอียดดังภาพต่อไปนี้

10%20%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24addf026.png

ภาพที่ 10 ปฏิทินเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ชุมชนบ้านคุยยาง โดยผู้วิจัย, มกราคม 2566

ส่วนปฏิทินทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนบ้านคุยยางนั้นพิธีกรรมที่ชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางประกอบเป็นประจำในแต่ละครัวเรือน คือ พิธีปาดตงที่จะจัดทุกๆ 1 ปี พิธีเสนเรือนที่จะจัดทุกๆ 3 ปี ทั้งนี้ยังไม่นับรวมการเวรตงที่แต่ละครัวเรือนจะเซ่นไหว้ทุกๆ 10 วัน (ตามกำลังของแต่ละครัวเรือน) และการหน่องก๊อที่แต่ละครัวเรือนจะเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าว ขอพร หรือขอขมาแก่บรรพบุรุษในกะล้อห่องในวาระที่จำเป็น จากการพิธีกรรมในครัวเรือนแล้ว ในหมู่บ้านยังมีพิธีขอฝนในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมต่อเจ้าพ่อคง เจ้าพ่อดำและเจ้าแม่ศรีไพร รวมทั้งพิธีฟ้อนแคน เฮ็ดแฮว ที่จัดในหมู่บ้าน 

พิธีกรรมเสนเรือนในหมู่บ้านคุยยางนั้นจะใช้หมอเสนเรือนจากต่างหมู่บ้าน เนื่องจากในหมู่บ้านคุยยางไม่มีหมอเสนเรือน หมอเสนเรือนที่ชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางมักจ้างมาทำพิธีได้แก่ หมอพรหม ม่วงเขาย้อยหมอไพร สระทองเมือง หมอพิม เพชรแพง และหมอนงค์ โกสีย์ ซึ่งอัตราการจ่ายค่าจ้างหมอเสนนั้นแตกต่างกันไป  โดยราคาต่ำที่สุดคือน้อยกว่า 1,000 และราคาสูงที่สูง คือ 3,000 บาท จากการสำรวจพบว่า อัตราค่าจ้างหมอนงนั้นมีราคาสูงที่สุดคือ ประมาณ 3,000 บาท เพราะหมอนงเป็นหมอผู้สืบเชื้อสายผู้ต๊าว จึงสามารถประกอบพิธีเสนเรือนได้ทั้งผีบรรพบุรุษผู้ต๊าวและผู้น้อย นอกจากค่าจ้างหมอเสนแล้ว ชาวไทดำที่ประกอบพิธีเสนเรือนยังมีค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆอีกมากมาย เช่น ค่าเหล้า ค่าหมู ค่าขนม ค่ากับข้าวเลี้ยงแขก ฯลฯ การสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายการประกอบพิธีเสนเรือนโดยประมาณอยู่ที่ 10,000-15,000 บาท (ไม่รวมค่าหมอเสน) รองลงมา คือ ประมาณ 15,000-20,000 บาท

11%20%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24addf126_652381c59bb94.png

ภาพที่ 11 ปฏิทินวัฒนธรรมชุมชนบ้านคุยยาง โดยผู้วิจัย, มกราคม 2566

1. ยายใบ เป็นบุคคลสำคัญในชุมชนบ้านคุยยาง เนื่องจากเป็นผู้ที่เห็นความเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด ยายใบให้ข้อมูลภูมิลำเนาและการย้ายถิ่นว่า ได้ย้ายมาจากจังหวัดนครปฐม ย้ายมาที่บ้านคุยยาง เนื่องจาก ภูมิลำเนาเดิมนครปฐมไม่มีที่ดินในการทำมาหากิน เลยมีความจำเป็นต้องอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่นี่ (อำเภอบางระกำ) เดินทางมาโดยรถไฟ แล้วต่อด้วยเรือลักษณะเป็นโป๊ะไม้ไผ่มาขึ้นฝั่งที่นี่ สมัยก่อนตอนย้ายมา ยายใบบอกว่ายังไม่มีสะพานข้ามมาเลยต้องนั่งโป๊ะเพื่อข้ามฝั่ง โดยสามียายใบ คือ ผู้ใหญ่ประเสริฐได้ย้ายมาก่อน (ยายแต่งงานและจดทะเบียนกันมาตั้งแต่อยู่ที่นครปฐม) ยายบอกว่าลุงมีญาติพี่น้องเลยย้ายมาอยู่ที่นี่ก่อน เช่นกันก็เลยอพยพย้ายถิ่นตาม ๆ กันมา หลังจากนั้นยายจึงย้ายตามพร้อมกับลูก ๆ ย้ายมาตั้งแต่ลูกสาวอายุ 8 ขวบ จนตอนนี้ลูกสาวอายุ 62 แล้ว อ้างอิงได้ว่ายายใบย้ายมาตั้งแต่ปี 2511 อยู่ที่ชุมชนบ้านคุยยางได้ประมาณ 54 ปีแล้วจนถึงปัจจุบัน 

ยายใบยังให้ข้อมูลอีกว่า อดีตตอนย้ายมาอยู่ที่นี่ไม่ได้มีลักษณะกายภาพ สภาพแวดล้อมเหมือนในปัจจุบัน สภาพอากาศปกคลุมไปด้วยฝุ่นหนาแน่นสูงเท่าหน้าแข้ง เต็มไปด้วยป่า ตอนอพยพย้ายยายให้ข้อมูลอย่างหนักแน่นว่าลำบากมาก เพราะต้องมาประกอบอาชีพรับจ้าง เช่น เป็นแรงงานรับจ้างปลูกข้าวโพด ลูกก็เคยถามว่า “แม่จ๋าทำไมเราไม่กลับบ้าน อยากกลับบ้าน”

คุณยายให้ข้อมูลในส่วนของความทรงจำและเรื่องราวชีวิตว่า จุดเริ่มต้นคุณยายเริ่มจากการประกอบอาชีพรับจ้างผู้อื่น ได้แก่ ปลูกข้าวโพด เก็บพืชผล(หักข้าวโพด) ทำทุก ๆ อย่างที่มีการว่าจ้างแลกมาซึ่งเงินตรา เพราะต้องเก็บเงินเพื่อนำมาซื้อที่ดิน ที่ดินเมื่อก่อนมีราคาที่ถูกเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาแค่ไม่กี่พันบาท ตอนที่จะซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านเงินไม่พอต้องนั่งรถไปขอยืมคุณแม่มาก่อน ส่วนบ้านหลังที่อยู่ปัจจุบันนี้ก็สร้างขึ้นมาเอง เลื่อยไม้เอง เลื่อยด้วยมือไม่ได้ใช้เครื่องเลื่อยเหมือนในปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ทำมาหากินยายมีที่ดินที่ใช้ปลูกพืชผลทำการเกษตรกรรมแยกออกไปอีกส่วน สำหรับยายใบแล้ว ที่ดินบ้านคุยยางมีลักษณะทำเลที่ดีกว่าที่ดินแถวอื่น ๆ เพราะที่อื่นน้ำท่วมทั้งหมด ที่นครปฐมเองน้ำก็ท่วม เลยเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คุณยายต้องย้ายออกมา เพราะมันประกอบอาชีพไม่ได้ ทำให้เข้าใจภาพในอดีตของคุณยายว่าทุกอย่างในชีวิตล้วนมีความลำบาก ความเหน็ดเหนื่อยแลกมาทั้งนั้น ยายประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลักมาตลอด แต่สำหรับลูก ยายผลักดันให้ไปทำงานทีอื่น อยากให้เรียนสูง ๆ แต่บางคนก็เรียนไม่ได้สูง

ด้านครอบครัวของยายใบนั้น ยายมีลูกทั้งหมด 12 คน แต่เสียชีวิตไปแล้ว 4 คน ปัจจุบันเหลือลูกที่มีชีวิตอยู่ทั้งหมด 8 คน ประกอบด้วย ชาย 4 คน หญิง 4 คน ปัจจุบันลูก ๆ ของยายใบมีทั้งที่ย้ายออกไปทำงานและอาศัยอยู่ที่อื่น ยายพูดถึงลูกสาวที่ไปทำงานงานจังหวัดสมุทรปราการ 2 คน ว่าคนนึงทำงานที่โรงงาน ส่วนอีกคนขายของอยู่ที่ตลาด เมื่อก่อนยายใบมักเดินทางไปเยี่ยมทั้งคู่บ่อย ๆ แต่ปัจจุบันไม่ได้เดินทางไปเยี่ยมแล้ว มีแต่ลูกที่เดินทางมาเยี่ยมเพราะยายนั่งรถไม่ไหว ลูกชายคนหนึ่งอาศัยอยู่กับยายที่นี่พร้อมกับลูกสาวอีกคนหนึ่ง โดยทั้งคู่ยังไม่ได้แต่งงาน ส่วนสามีเพิ่งจะเสียชีวิตไปได้ประมาณ 1 ปีก่อนหน้านี้ ยายกล่าวยืนยันว่าสามีเป็นไทดำเหมือนกัน ยายชื่นชมสามีตลอดว่าเป็นคนขยัน ทำดี มีแต่ผู้คนในชุมชนรัก ตอนที่ทางราชการจะให้มีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในชุมชน คนในชุมชนนี้ก็เลือกสามียายให้เป็น คุณยายกล่าวว่า “ซึ่งความจริงแล้วสามีตนไม่ได้อยากเป็น แต่ผู้คนในชุมชนขอให้เป็นก็ต้องรับตำแหน่งนั้น” อีกทั้งทางบ้านสามียังเป็นคนเก่ง ผู้ชายทุกคนได้เป็นผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด บ้านสามีมีลูกผู้ชาย 4 คน สามียายใบเป็นลูกชายคนสุดท้อง ตอนได้ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านสามีก็เป็นคนสร้างที่นี่ขึ้นมา(บ้านคุยยาง) ในช่วงแรกที่สัมภาษณ์เกี่ยวกับสามีคุณยายนั้น ยายเดินไปหยิบรูปที่ถ่ายคู่กับลุงมาให้ดู ซึ่งเป็นรูปที่ถ่ายไว้ก่อนลุงสียชีวิตไม่นาน ในส่วนของญาติพี่น้องคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กับพ่อแม่ของยายใบ และพี่น้องของสามี ยายบอกว่าพี่น้องสามีที่เป็นผู้ใหญ่บ้านก็อยู่ที่กำแพงแสน ยายมักกล่าวถึงญาติพี่น้องของสามีตลอดการสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นถึงความรัก ความอบอุ่นที่มีซึ่งกันและกันภายในครอบครัวและภายในชุมชนบ้านคุยยางด้วยกันเอง

2. นางมาศรินทร์ ทองดอนกระเดื่อน อายุ 57 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13 บ้านคุยยาง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และครอบครัวว่า ผู้ใหญ่มาศเกิดที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดสุโขทัย พ่อแม่ของผู้ใหญ่มาศเป็นชาวไทดำทั้งคู่ พ่อกับแม่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่โดยส่วนมากจะทำไร่ถั่ว มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ผู้ใหญ่มาศเป็นลูกสาวคนเล็ก ปัจจุบันแต่งงานมีลูกด้วยกันสองคนเป็นผู้หญิงหนึ่งคนและผู้ชายอีกหนึ่งคน มีอายุห่างกัน 9 ปี ลูกชายเรียนจบที่มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนลูกผู้หญิงเรียนจบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สาขาบัญชี ข้อมูลภูมิลำเนาและการย้ายถิ่นพบว่า พ่อแม่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดราชบุรีมาอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก 

ผู้ใหญ่มาศได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน ระยะเวลาทั้งหมด 13 ปีแล้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านคุยยางคนที่ 3 อีกทั้งลูกบ้านของผู้ใหญ่มาศเองมีความรู้ความสามารถในการรีไซเคิลยางรถยนต์ ประดิษฐ์เป็นกระถางต้นไม้ กระถางปลูกพืชผักสวนครัว อีกทั้งประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ ห่านได้อีกด้วย หากเข้าไปในชุมชนจะเห็นวางริมถนนเพื่อความสวยงามในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่มาศให้ข้อมูลอีกว่าจุดนี้นำมาประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจนได้รับรางวัลที่หนึ่งระดับประเทศ และรับรางวัลกับสมเด็จพระเทพฯ การปกครองในหมู่บ้านของผู้ใหญ่มาศนั้นมีการจัดระเบียบหมู่บ้านโดยแบ่งออกเป็นคุ้ม มีทั้งหมด 7 คุ้ม หนึ่งคุ้มบ้านจะมี 20 ครัวเรือน ซึ่งจะประกอบด้วยประธานคุ้ม รองประธานคุ้ม โดยคุ้มของผู้ใหญ่จะมีชื่อว่าคุ้มลีลาวดี นอกจากนี้ผู้ใหญ่ยังให้ข้อมูลทางสังคมว่าลูกบ้านนั้นให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ในชุมชนบ้านคุยยางมีอสม.ทั้งหมด 18 คน ในหมู่บ้านมีระบบระเบียบในการบริหารจัดการหมู่บ้านเป็นอย่างดี นอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์ข่าวสารจากเสียงตามสาย แล้วยังมีกลุ่มไลน์หมู่บ้านในการกระจายข่าวสาร ข้อมูล รวมทั้งการพูดคุย ปรึกษากันในเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย

ด้านความทรงจำและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในชุมชนบ้านคุยยางผู้ใหญ่มาศให้ข้อมูลว่า เมื่อ พ.ศ. 2510 ภาพในอดีตของชุมชนบ้านคุยยางยังไม่มีถนนคอนกรีตเป็นเพียงถนนดินและยังไม่มีการสร้างวัดเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัด หากมีกิจกรรมทางพุทธศาสนาหรือกิจกรรมอื่นต้องไปใช้วัดของหมู่บ้านหนึ่งระยะทางห่างกันประมาณครึ่งกิโลเมตร ผู้ใหญ่มาศให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของชุมชนบ้านคุยยางว่า โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่นี่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่กัน สมัยก่อนประสบภัยน้ำท่วมแต่น้ำไม่ได้สูงจนเข้าท่วมที่อยู่อาศัยแต่จะท่วมพื้นที่ทางการเกษตรกรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 สิ่งอำนวยความสะดวกเริ่มเข้าถึงชุมชนบ้านคุยยาง โดยมีไฟฟ้าก่อนถนนคอนกรีต จากนั้นไม่นานก็มีการสร้างถนนคอนกรีตตามมาในปี พ.ศ. 2532 

ส่วนภาษาและการสื่อสารผู้ใหญ่มาศให้ข้อมูลว่าปัจจุบันจะใช้ภาษากลางเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงวัยเด็กของผู้ใหญ่มาศจะใช้ภาษาไทดำในการพูดคุยสื่อสารกับครอบครัวเป็นหลัก ปัจจุบันก็ยังมีพูดคุยสื่อสารกับผู้คนในชุมชนด้วยกันเองบ้าง คนสมัยก่อนกล่าวว่าภาษาไทดำจะเหมือนภาษาลาวส่วนอักษรไทดำสมัยนี้ไม่เคยเห็นแล้วเพราะที่โรงเรียนไม่มีสอนและหน่วยงานก็ไม่ได้มีการอนุรักษ์ไว้ เลยทำให้ภาษาไทยดำสูญหายไปตามกาลเวลา จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ต้องใช้ภาษาไทยกลาง จากข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมทางด้านภาษาการสื่อสาร ความเป็นชาติพันธุ์ไทดำของชุมชนบ้านคุยยาง ภาษาไทดำ ทั้งคำศัพท์และสำเนียงแตกต่างจากไทยกลางอย่างสิ้นเชิง อาจจะมีความคล้ายภาษาลาวอยู่บ้าง หากไม่มีความคุ้นชินเติบโตมากับสิ่งนั้นรวมถึงไม่ได้รับการเรียนรู้มาจะไม่สามารถทราบถึงความหมายได้ ส่วนอักษรไทดำนั้นปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว บุคคลในชุมชนไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทดำได้ เนื่องจากส่วนใหญ่สืบทอดภาษาไทดำมาจากบรรพบุรุษด้วยการพูด ไม่ได้มีการถ่ายทอดภาษาไทดำด้วยการอ่านและการเขียน ปัจจุบันคนในชุมชนจึงสามารถพูดภาษาไทดำได้อย่างเดียว 

ภาษาไทดำมีมาตั้งแต่กลุ่มจีน ยูนาน ที่ได้ทำการอพยพมา ซึ่งภาษาไทดำไม่ได้มีต้นกำเนิดจากสุโขทัย นอกจากนี้ในกลุ่มของชาติพันธุ์ไททรงดำในไทยนั้นมีเยอะมากแต่จะมีความแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ และที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำส่วนใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม 4 จังหวัดนี้จะมีไทยทรงดำเยอะ ซึ่งรกรากของพ่อผู้ใหญ่มาศจะอยู่ที่จังหวัดราชบุรี นอกจากบ้านคุยยางแล้ว บ้านยางคัด บ้านห้วยกระได บ้านหัวบึง บ้านคลองวัดไร่ บ้านคุยม่วง บ้านชุมแสง บ้านหนองเพลงท้วย ก็ยังมีกลุ่มไทดำอีก 

ข้อมูลด้านประกอบอาชีพของชุมชนคุยยางพบว่า ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น พอถึงหน้าแล้งก็จะหาปลา หาอาชีพอื่นประกอบเสริมเพิ่มเติมทางด้านรายได้ หรือบางครอบครัวก็หยุดพักผ่อน โดยชุมชนนี้ส่วนใหญ่แล้วจะหารายได้ เพื่อมาใช้หนี้สินจากการทำ เกษตรกรรมนั่นเอง ส่วนภูมิปัญญาของที่นี่มีน้อยไม่ค่อยมีใครรู้ แต่ของใช้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหลัก ๆ นั้น คือ ชุดไทดำกับกะเร็ด ซึ่งจะมีทุกครัวเรือนเพราะว่าพ่อแม่มอบไว้ให้หรือจัดหามาใช้เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ผู้ใหญ่มาศให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันกับยายใบว่า “การเสียชีวิตจะมีพิธีกรรมเยอะกว่าภาคกลาง” ผู้ใหญ่มาศกล่าวว่า จะมีชุดกำตกไว้ใส่ไว้อาลัยลักษณะเป็นชุดสีขาวเพื่อไว้อาลัยให้พ่อแม่ที่เสียชีวิต ซึ่งชุดกำตกจะใส่เฉพาะลูกผู้ชายของผู้ตาย โดยชุดแต่ละชุดจะบ่งบอกว่าเราเป็นอะไรกับผู้ตายอีกด้วย ในส่วนนี้เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

3. นางบัว อยู่สุข อายุ 76 ปี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและครอบครัวว่า เกิดปี พ.ศ. 2490 ตัวยายบัวเองเกิดที่บางระกำ ยายบัวมีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ไม่มีใครได้เรียนสูงสักคน ตัวยายบัวเองก็ไม่ได้เรียนหนังสือ “ยายไม่รู้หนังสือหรอกเลี้ยงแต่ควาย เลี้ยงแต่น้อง” โดยยายบัวเป็นบุตรสาวลำดับที่ 5 ตอนนี้เหลือพี่น้องทั้งหมด 3 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ยายบัวอายุได้ 17 ปี ได้แต่งงานกับสามี สามีเป็นคนบ้านแหลมเนี่ยเป็นคนขยันทำมาหากิน พ่อแม่ของยายบัวเลือกให้ ยายบัวให้กล่าวว่า “เขาเลือกให้ เราไม่มีสิทธิ์เลย ก็จะให้ทำไง เขาเลี้ยงเรามาเราก็แทนคุณเขาไป เราก็บวชให้เขาไม่ได้ลูกผู้หญิงอะไรนี่ไง เราคิดของเราอย่างนี้ไง พ่อแม่เขาเห็นการไกลเขามองการณ์ไกลใช่ไหม ว่าเออคนนี้ใช้ได้นะมันก็ขยันนะอะไรนะเขาจะพูดอย่างงี้นะ” จนกระทั่งมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นผู้หญิงคนเดียว และผู้ชายอีกสามคน ส่วนญาติพี่น้องของยายบัวได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นกันและไม่ค่อยได้ติดต่อกันแล้ว ส่วนคนที่อยู่ด้วยที่นี่ก็มีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีเลยไม่ได้สื่อสารพูดคุยกันปัจจุบันลูกเขาพาอพยพไปอยู่กรุงเทพแล้ว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเริ่มเรื่องระหองระแหงไม่แน่นแฟ้นกันตั้งแต่ครั้นพ่อแม่เสียชีวิต(พ่อแม่เสียมา 20 ปี) 

ข้อมูลทางด้านการอพยพพบว่า พ่อแม่อพยพย้ายมาจากจังหวัดนครปฐม ยายบัวไม่ทราบเกี่ยวกับข้อมูลการอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ทราบว่าพ่อแม่อพยพย้ายมาตั้งปีไหน อายุเท่าไหร่ก็ไม่ทราบ ยายบัวให้เหตุผลว่า “เขาก็ไม่ได้เล่าให้ฟัง” โดยพ่อแม่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ “ทำไร่ ทำนาอย่างเดียว ไถ่วัวไถ่ควาย สมัยก่อนอะนะเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เลี้ยงน้อง อยากไปโรงเรียน เขาก็ไม่ให้เราไปจะเรียนไปทำไมว่างั้นนะพ่ออะ ไอ้เราอยากรู้หนังสือกับเค้ามั่งเนาะ แต่น้อง ๆ อ่ะเขารู้หนังสือเขาได้เรียนเต็มที่แต่เราอ่ะไม่ได้ไปเรียนเข้าเต็มที่ ต้องเลี้ยงน้องต้องทำงานบ้านต้องไปไถ่ไร่ไถ่นา มีแค่น้อง 4 คนที่ได้เรียนพวกพี่ ๆ ก็ไม่ได้เรียนต้องทำงาน” ยายบัวกล่าวไว้

ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ พบข้อมูลว่า ยายบัวได้อยู่ที่บ้านคุยยางตั้งแต่เกิด โดยวัยเด็กก็เริ่มทำงานแล้ว เคยประกอบอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่ แม่บ้าน อีกทั้งยังประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมสืบต่อจากพ่อแม่ ได้แก่ ทำไร่ ปลูกถั่ว ปลูกข้าวโพด ทำนา ซึ่งการทำนายายบัวให้ข้อมูลว่าทำนาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำไร่หักข้าวโพดเลี้ยงลูกทั้ง 4 คนมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันลูกทั้ง 4 คนแต่งงานมีครอบครัวทั้งหมดแล้ว จึงแยกออกไปอยู่กับครอบครัว “มีลูกก็ไม่อยู่ด้วยสักคน เขาหนีไปหมดไปทำงานที่อื่นไปอยู่ที่อื่นแล้ว” ยายบัวกล่าว 

อีกทั้งยายบัวได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไทยดำอีกว่า ประวัติไทดำยายบัวไม่ค่อยทราบ ไทดำมาจากเมืองอะไรไม่ทราบข้อมูลเป็นที่แน่ชัด แต่เวลาเสนบ้านเสนเรือนก็ใส่ชุดทางวัฒนธรรมเพื่อเข้าร่วมพิธีกรรมมาโดยตลอด ซึ่งพ่อแม่ของยายบัวเป็นชาวไทดำทั้งคู่ แต่ตัวยายบัวเองได้สามีเป็นไทยแท้ ยายบัวกล่าวว่า “ไม่อยากได้สามีภาษาเดียวกัน เพราะกลัวจะได้เลี้ยงผี” แต่ตอนนี้ยายบัวมีความจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงผีแล้ว สืบเนื่องจากน้องคนเล็กที่เลี้ยงผีอยู่ได้เสียชีวิตแล้วภรรยาไม่เลี้ยงผี ยายบัวจึงต้องเป็นผู้ที่เลี้ยงผีต่อ โดยจะต้องนำผีเลี้ยงขึ้นบ้านเมื่อทำการขึ้นบ้านเสร็จก็ต้องเสนให้เขากิน ฆ่าหมู ขนม นมเนย ผลไม้ทุกอย่างครบถ้วนตามพิธีกรรมทางวัฒนธรรมที่เคยสืบทอดต่อกันมา ครบ 3 ปีจะทำการเสนเรือนครั้งหนึ่ง “ฆ่าหมู” ถ้าหากปาดตงความหมายคือขึ้นปีใหม่ก็ได้ข้าวใหม่ ต้องทำการเลี้ยงเขาหนึ่งครั้ง ลักษณะเป็นการเลี้ยงแบบปีต่อปี แต่ถ้าเสนเรือนหมายความว่าต้องฆ่าหมูให้เขากิน 3 ปีหรือ 7 ปี ชาวไทดำมีความเชื่อว่าต้องทำให้เขากินเป็นประจำ หากไม่ทำก็จะทำให้คนในบ้านแย่ไปด้วย ยายบัวเล่าว่า เคยมีเหตุการณ์ไม่ทำแล้วคนในหมู่บ้านผิดปกติไป “เป็นแล้วก็ต้องไปหาหมอประเภทลาว ๆ ดูให้ว่ามันเป็นเพราะเหตุอะไร ทำไรก็ไม่หาย พอเขาแนะนำมาเราก็ต้องทำตาม พอทำมันก็ดีขึ้น” เมื่ออายุ 60 กว่าปียายบัวเองก็เคยป่วยเช่นนี้ ทั้งที่เกิดมาทั้งชีวิตไม่เคยเป็นไข้ ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ครั้งนี้เป็นหนักอยู่ ๆ ก็รู้สึกร้อน มึนหัว กินไม่ได้นอนไม่ได้ “ที่นอนก็เป็นไฟไปหมด” ยายบัวไปหาหมอทุกโรงพยาบาลทำการรักษา เอกซเรย์ก็ไม่ทราบว่าที่เจ็บป่วยเช่นนี้มาจากสาเหตุอะไร จนญาติพี่น้องต้องพึ่งทางพิธีกรรมและความเชื่อ ได้เดินทางไปหาหมอลาว หมอลาวดูให้แล้วบอกว่า “มันเกี่ยวกับพ่อกับแม่จะมาอยู่กับยาบัวให้รับเลี้ยงเขาแล้วยายบัวก็จะหาย” จากนั้นพอหมอลาวบอกสาเหตุมาหมอลาวทำอะไรให้ยายบัวก็ทำตามเราก็ดีขึ้น ประมาณ 3-4 วัน ยายบัวเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ กินข้าวได้ นอนหลับได้ ความร้อนก็เบาบางลงไปเรื่อย ๆ “เขาก็พูดบอกว่าให้รับเขา เราก็บอกว่า ตอนแรกเลยยายไม่เอาก็รู้อยู่นะ แต่ยายไม่เอา ต่อไปรับเขาแล้วอะเราก็ต้องเป็นหมอรักษาคู่กับแฟนเรานั้นแหละเขาว่างี้” โดยสามีเป็นร่างของพ่อปู่ชีวก วรภัจจ์ ไม่ใช่หมอชาวบ้านนะ “เอาร่างมาไว้รักษามนุษย์ทุกวัน ใครเป็นโรคอะไรมาก็มาให้รักษาแล้วเขาก็หาย” ก็เลยมาช่วงหลัง ๆ เนี่ยเขาก็บอกให้รับเขาซะ ที่นี้ก็หายแหละ “เรามันทรมานมากใช่ไหม เราก็เลยลั่นวาจาไปว่า จะให้เป็นอะไรก็เป็นแล้วขอให้หายเหอะ แต่เขาไม่ทำให้เราตายหรอก ทำให้เราแย่พอแย่หนักเข้าแล้วมันก็จะหมดลมไปเลยเขาว่างี้ กินข้าวก็ไม่ได้นะต้องกินข้าวต้มเปล่า ๆ มื้อนึงแค่ทัพพีเดียวถ้าเลยไปนั่นก็ไม่ได้ แล้วหลอดคอเรานี่นะร้อนไปหมด ฉี่ออกมาก็เป็นน้ำร้อนทรมานมั้ยลูก ทรมานมาก ๆ ถ้าใครไม่เป็นก็ไม่รู้หรอกก็เลยลั่นวาจาไปให้หายเหอะ” หากไปร่วมไปงานศพก็ห้ามกินของในงานศพเด็ดขาด ของเซ่นของไหว้ก็ห้ามแตะต้อง ยายบัวชอบรำ จึงกล่าวว่าขอเป็นนางรำได้ไหมไม่เป็นหมอรักษาเขาได้ไหม เพราะว่ายายบัวเป็นนางรำย้อนยุคเล่นการแสดงมาตั้งแต่อายุ 14-15 สมัยก่อนก็รำอยู่กับดินไม่ได้แต่งตัวหรอก พอไปขอเป็นนางรำก็ได้มาเป็นนางรำจริง ๆ พอหายป่วยแล้วยายบัวก็เลยต้องไปเป็นนางรำให้เขา นางรำย้อนยุค ประจำหมู่บ้าน ชอบเต้น ชอบรำประกวดหมู่บ้านไปเป็นหางเครื่องได้อีกด้วย เหตุการณ์ที่ได้กล่าวอ้างข้างต้นนี้เป็นความเชื่อ พิธีกรรมของชาวไทดำที่สืบทอดวัฒนธรรมกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ชุมชนบ้านคุยยางมีพิธีกรรมปาดตง เสนเรือน มาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลทางด้านภาษา ยายบัวเองใช้ภาษากลางในการสื่อสารภายในครอบครัวโดยให้เหตุผลว่า เป็นสามีเป็นคนไทยแท้ก็เลยใช้ภาษาของสามี ลูกสาวบอกว่าตัวเองเป็นคนไทยเหมือนทางพ่อ ส่วนหลานก็บอกว่าตัวเองเป็นไทยเช่นเดียวกัน ยายบัวไม่ได้พูดภาษาไทดำให้ลูกหลานฟัง จะใช้ภาษษไทยกลางในการพูดคุยสื่อสารกันจะไม่มีไทดำเลย ทุกวันนี้ลูกหลานก็มีบ่นน้อยใจว่าทำไมยายบัวไม่สอนให้พูดภาษาไทดำบ้าง แต่การพูดคุยสื่อสารกันภายในชุมชนบ้านคุยยางใช้ภาษษไทดำ “ถ้าออกไปข้างนอกเจอภาษาเดียวกันก็คุยกันไปตลาดอะไรแบบนี้ แต่บ้างคนมันอายภาษาตัวเองไม่กล้าพูดหรอก ภาษาก็จะพูดช้า ๆ ไม่เร็วนะไม่เหมือนไทยอีสาน” ยายบัวกล่าว ส่วนการอ่านและการเขียนภาษาไทดำนั้น ยายบัวก็ให้ข้อมูลไปให้ทิศทางเดียวกันกับผู้ให้ข้อมูลคนอื่น ๆ ว่า “อ่านและเขียนไทดำไม่ได้เลยเพราะว่ายายไม่รู้หนังสือไม่ได้เรียนสูง แต่พูดไทดำได้อย่างเดียวเรียนรู้มาจากพ่อแม่”

ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน เหตุการณ์ต่าง ๆ พบว่า บ้านคุยยางมีภัยธรรมชาติน้ำท่วมพื้นที่ทางเกษตรกรรมไร่นา แต่ไม่ท่วมที่อยู่อาศัยบ้านเรือน “ท่วมเมื่อปีก่อน ๆ ท่วมมาตลอดน้ำมาถึงบ้านร้านพวงมาลัยเนี่ยก็น้ำหมดนะ ปี 54 ที่น้ำเยอะ ๆ ท่วม 3 ปีติดกันก็มีการช่วยเหลือข้าวสารมาให้” อีกทั้งยังพบข้อมูลว่าตั้งแต่ยายบัวเกิดจนถึงปัจจุบันที่บ้านคุยยางเปลี่ยนผู้ใหญ่บ้านมาแล้วด้วยกัน 5 คน ได้แก่ คือ คนแรกผู้ใหญ่เขียวต่อมาผู้ใหญ่สิน เปลี่ยนเป็นผู้ใหญ่ประเสริฐ จากนั้นมาเป็นผู้ใหญ่หัต จนถึงปัจจุบันคนที่ 5 คือ ผู้ใหญ่มาศรินทร์เกิดจากการที่ผู้คนในชุมชนเลือกกันเอง “ก็เลยบอกว่ามึงเป็นเด้อผู้ชายมันไม่ค่อยเอาไหนว่ะ เราก็เล็งเห็นแล้วว่ามันเป็นคนที่เหนือผัวได้น่าจะทำงานได้ดี โดยส่วนมากผู้ชายมันเหนือเมียไม่ได้ เมียข่มไว้แล้วก็อยู่ไปประชุมก็ไปเซ็นชื่อแล้วกูก็กลับไม่เคยฟังไม่เคยทำตาม เมียสั่งให้กลับก็กลับ” ยายบัวให้ความเห็นว่าผู้ใหญ่มาศเป็นคนเก่ง ผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ชาย ๆ เขาไม่ค่อยพัฒนาหมู่บ้าน แต่ผู้ใหญ่มาศเป็นผู้หญิงชุมชนจึงเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีการพัฒนาในตัวหมู่บ้านเอง จัดแบ่งสมาชิกออกเป็นคุ้ม เพื่อการดูแลร่วมกัน อีกทั้งยังมีการประกวดหมู่บ้านจนได้รับรางวัลอีกด้วย สรุปได้ว่ายายบัวเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในชุมชนบ้านคุยยาง ให้ข้อมูลทางด้วยวัฒนธรรมไทดำได้อย่างเห็นชัด ดวามเชื่อ พิธีกรรมของชาติพันธุ์ไทดำ รวมทั้งยังให้ข้อมูลทางด้านภาษา และสุดท้ายเป็นผู้ที่เห็นความเปลี่ยนแปลงทีเกิดขึ้นในชุมชนมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นบุคคลที่เกิดและเติบโตที่บ้านคุยยางจนถึงปัจจุบัน

ชุมชนบ้านคุยยางมีคลองหนองกระจาด ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ(ต้นกก) และมีบึงตะเคร็ง เป็นบึงสาธารณะตามโครงการบางระกำโมเดลของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกที่ทางเทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ เนื้อที่บึง 1,500 ไร่ ( เนื้อที่น้ำ 1,300 ไร่) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ทางนิเวศน์อย่างมาก ซึ่งพบว่าในช่วงหน้าหนาวนี้ ได้มีนกหลากหลายสายพันธ์มาอาศัย โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม มีนกเป็ดน้ำจำนวนมาก อพยพจากทางตอนเหนือมาอยู่อาศัย และมีนกประจำถิ่น ที่ปกหลักอาศัยหลายพันตัว อาทิ นกกระยางขาว นกกาน้ำ นกกะแตแต้แว้ด เยาเช้าและเย็นจะเห็นยืนเรียงรายริมบึงจำนวนมาก เป็นสถานที่ที่สำคัญเป็นอย่างมากสามารถจัดกิจกรรมเพื่อกระชับความสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้ เช่น จัดกิจกรรมเดิน วิ่ง ออกกำลังกาย หรือจะส่งเสริมให้เป็นสถานที่สำหรับมาเที่ยวชมธรรมชาติ ทั้งดูพระอาทิตย์ตก พระอาทิตย์ขึ้น ชมนกเป็ดน้ำหลายแสนตัว มีสถานที่กางเต้นท์นอนดูดาวก็ย่อมได้ อีกทั้งในบึงตะเคร็งยังมีต้นกกขึ้น สามารถนำต้นกกมาทอเสื่อ หรือผลิตสินค้าจากต้นกกได้ จากข้อความที่ได้กล่าวมาข้างต้น บึงตะเคร็งนับว่าเป็นสถานที่สำคัญในชุมชน หรือในจังหวัดพิษณุโลกเองที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจในได้อีกด้วย

12%20%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0%20%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%20%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B3_651e24adf2478.jpg

ภาพที่ 12 บึงสาธารณะ: บึงตะเคร็ง อำเภอบางระกำ โดยพิษณุโลกฮอตนิวส์, 2562

13_1%20%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87_651e24adf272d.png 13_2%20%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87_651e24adf2ce0.png

ภาพที่ 13 บริเวณบึงตะเคร็ง โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

ลักษณะกายภาพที่สำคัญอีกหนึ่งสิ่ง คือ ชุมชนติดถนนใหญ่ แกนนำชุมชนให้ข้อมูลว่า ในปี 2566 อาจจะมีโครงการใหญ่ทำถนนสี่เลน เพื่อการขนส่งและสัญจรทางบก ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1065 ซึ่งเป็นถนนที่สามารถไปเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 1303 เพื่อไปจังหวัดสุโขทัยได้ ในส่วนนี้ชาวบ้านได้ประโยชน์จากการค้าขายริมทางและใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าได้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจได้บ้างในบ้างครั้ง อีกทั้งเส้นทางนี้  ยังสามารถเดินทางไปยังจังหวัดสุโขทัยได้อีกด้วย 

14_1%20%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24adf302e.jpg 14_2%20%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24adf313a.jpg

ภาพที่ 14 หน้าชุมชนบ้านคุยยาง ลักษณะปากซอยติดถนนใหญ่ โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

ทุนทางวัฒนธรรมนั้น พบข้อมูลว่าชุมชนบ้านคุยยางมีป้าอ่อนที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการตัดเย็บชุดไทดำ เสื้อฮีได้ เอกลักษณ์ของชุดไทดำจะอยู่ที่ตัวชุดเป็นสีดำทั้งชุดพร้อมกระดุมเงิน ทอลายสีสันที่มีความสวยงาม สีประจำชาติพันธุ์ไทดำ ได้แก่ สีส้มแสด สีแดงเลือดนก สีเขียวแก่ สีดำ สีขาว เป็นต้น เป็นชุดประจำชาติพันธุ์ของชาวชุมชนบ้านคุยยาง อำเภอบางระกำ สำหรับเสื้อฮีที่ชาวไทดำต้องมีไว้เพื่อสวมใส่ในพิธีกรรมและในวาระต่างๆ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ได้เป็นมรดกตกทอดจากพ่อแม่ บางส่วนซื้อสำเร็จรูปมาจากจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี และภายในจังหวัดพิษณุโลกที่บ้านบึงคัด พันเสา และยางแขวนอู่ตัวอย่างชุดไทดำดังภาพนี้ 

15_1%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%B3_651e24adf32d7.jpg 15_2%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%B3_651e24adf3420.jpg

ภาพที่ 15 ตัวอย่างชุดไทดำ โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

จากการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงลึกยายใบให้ข้อมูลว่า “การประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้นอย่างงานศพนี่ต้องเสียเงินเสียทองเยอะเพราะพิธีค่อนข้างจะเยอะ ต้องทำพิธีทั้งแบบคนไทยและแบบคนลาว” ยายเปรียบเทียบว่า “พิธีคนลาวเหมือนเจ๊กเลย ตอนตายก็ต้องมีหมอผีมาเชิญไป คนในครอบครัวก็ต้องใส่ชุดเฉพาะพิธีศพ ไม่ได้เหมือนคนไทยที่แต่งชุดอะไรก็ได้” ยายใบให้ข้อมูลอีกว่า คนสมัยก่อนตอนเสียชีวิตก็ทำพิธีแค่แบบลาวไม่ต้องทำพิธีพุทธ ผีก็อยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับคน บ้านยายใบก็มีผีพ่อแม่ของสามีตนอาศัยอยู่ (ผีพ่อปู่แม่ย่า) ต้องเป็นผีพ่อแม่ของฝ่ายชาย ถ้าเป็นผีพ่อแม่ของฝ่ายหญิงก็ต้องไปอยู่กับลูกที่เป็นผู้ชาย อีกทั้งสามีตนที่เสียชีวิตไปก็อยู่ที่นี่แหละเพราะเขาเสียชีวิตที่นี่ อีกทั้งผีพ่อแม่สามีตนก็ยังอยู่เหมือนกันไม่ได้ไปไหน จากข้อมูลของยายใบทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมในชุมชน(ไทดำ) ที่นับถือผีบรรพบุรุษ เป็นการสืบสานพิธีกรรม ศาสนา ความเชื่อกันมาอย่างยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ทุนเดิมทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านคุยยางยังมีผู้คนในชุมชนกลุ่มหนึ่งที่มีความรู้ภูมิปัญญาในการทอเสื่อกกได้อีกด้วย สามารถเพิ่มลวดลายที่สวยงามได้ จึงมีการจัดตั้งกลุ่มทอเสื่อกกบ้านคุยยางที่ได้กล่าวไปในข้างต้น

16%20%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87_651e24adf3542.jpg

ภาพที่ 16 ตัวอย่างเสื่อกกบ้านคุยยาง โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

อีกทั้งยังมีทุนทางวัฒนธรรมและความเชื่อในชุมชนอีกด้วย ชาวไทดำในบ้านคุยยางนับถือศาสนาพุทธเป็นพุทธศาสนิกชนที่ประกอบกิจเพื่อบำรุงพุทธศาสนาตามปกติ ในขณะเดียวกันก็นับถือผีบรรพบุรุษและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและประเพณีของชาวไทดำอย่างมิได้ขาดตกบกพร่อง นอกจากชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางจะนับถือผีบรรพบุรุษแล้ว ยังนับถือศาลประจำหมู่บ้าน ซึ่งคือ เจ้าพ่อคง เจ้าพ่อดำ และเจ้าแม่ศรีไพร เจ้าพ่อชาละวัน เจ้าพ่อบึงตะเคร็ง เป็นต้น

17%20%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%87%20%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3_651e24adf36bd.jpg

ภาพที่ 17 ศาลเจ้าพ่อคง เจ้าพ่อดำ และเจ้าพ่อศรีไพร โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

18%20%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99_651e24adf3827.jpg

ภาพที่ 18 ศาลเจ้าพ่อชาละวัน โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

19_1%20%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87_651e24adf3932.jpg 19_2%20%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87_651e24adf3a4a.jpg

ภาพที่ 19 ศาลเจ้าพ่อบึงตะเคร็ง โดยผู้วิจัย, 14 กุมภาพันธ์ 2566

การสำรวจพบว่า ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารภายในพื้นที่มีสามภาษาหลัก คือ ภาษาไทดำ ภาษาไทยกลางและภาษาอีสาน (เนื่องจากประชากรบางส่วนอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยภาษาไทดำ คือ ภาษาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พูดได้เป็นภาษาแรก ภาษาไทดำ คือ ภาษาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พูดสื่อสารกันในครอบครัว และภาษาไทดำ คือ ภาษาที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พูดสื่อสารกันในหมู่บ้าน ส่วนภาษาไทยกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานต่าง ๆ ยายใบให้ข้อมูลว่า “ปกติทุกวันก็คุยกันเป็นภาษาลาว แต่อ่านไม่ออกเขียนภาษาไม่ได้ เคยเห็นมันเขียนตัวยึก ๆ ยือ ๆ มีคนร้อยเอ็ดย้ายมาอยู่ที่นี่ ยายก็คุยกับเขาได้ ยายไม่อายที่พูดลาว แต่ยายคนนั้นมันอาย ไม่รู้จะไปอายทำไม” 

จากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 100 เรียนภาษาไทดำจากสมาชิกในครอบครัว ผู้กระทำการอื่นๆอย่างวัด โรงเรียน หรือ หมอเสน มิได้มีบทบาทใดๆในการถ่ายทอดภาษาพูดไทดำจากรุ่นสู่รุ่น แม้ว่าชาวไทดำในหมู่บ้านคุยยางจะสามารถสื่อสารกันด้วยภาษาไทดำได้ทั้งในครอบครัวและในหมู่บ้านนั้น แต่ไม่สามารถอ่านภาษาไทดำ และไม่สามารถเขียนภาษาไทดำได้ รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างบางคนยังทราบด้วยว่าตัวอักษรไทดำนั้นมีลักษณะอย่างไร จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 ไม่สามารถอ่านภาษาไทดำได้ และร้อยละ 100 ไม่สามารถเขียนภาษาไทดำได้ และ ร้อยละ 100 ไม่มีสมุด หรือ บันทึกใดๆที่บันทึกด้วยอักษรไทดำเก็บไว้เป็นมรดกตกทอดและไม่มีแม้แต่การบันทึกเรื่องราวการอพยพ เรื่องราวชีวิตหรือความทรงจำของบรรพบุรุษในอักษรไทย


จากการร่วมประชุมกับแกนนำชุมชนพบข้อมูลว่า ความท้าท้ายที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านคุยยาง ณ ปัจจุบัน คือ ชุมชนมีลักษณะกายภาพที่สำคัญคือมีบึงตะเคร็ง ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของ บึงสาธารณะตามโครงการบางระกำโมเดล ของ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ทางเทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ ได้ปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง มีประโยชน์ทั้งการกักเก็บน้ำกว่า 13 ล้าน ลบ.ม. และสถานที่ท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ทางนิเวศ  แต่ชาวบ้านคุยยางยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบึงตะเคร็งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจในชุมชน อีกทั้งคลองหนองกระจาดหากน้ำในคลองไม่แห้งเป็นปัญหาหลักที่ชาวบ้านเผชิญ คือ ถ้าทำในคลองไม่แห้งต้นกกจะไม่ขึ้น จึงส่งผลให้ขาดวัตถุดิบ(ต้นกก)มาทอเสื่อ จากการประชุมให้ความคิดเห็นตรงกันว่าตอนนี้ยังขาด Order สินค้าจากการทำเสื่อกก และขาดวัตถุดิบ (ต้นกก)


มีหมอนวดแผนไทย ได้แก่ ยายเยาว์ ยายใจ ยายเหนอ ตาลอง ซึ่งหมอนวดในที่นี้มีใบผ่านการอบรมเป็นที่เรียบร้อย แต่จะเป็นลักษณะการประกอบอาชีพเสริมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง นวดแผนไทยไม่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มแต่อย่างใด ไม่ได้เกิดการรวมกลุ่มหรือสร้างเครือข่ายภายในชุมชน


ชุมชนมีบุคคลสำคัญ คือ ป้าอ่อนซึ่งเป็นบุคคลที่มี ทักษะ ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในการตัดเย็บชุดไทยทรงดำ เสื้อฮี ในชุมชนบ้านคุยยางมีป้าอ่อนเพียงผู้เดียวที่มีความรู้และทักษะ อีกทั้งป้าอ่อนยังไม่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับบุคคลใดในชุมชน

มีภาษาไทยดำ แต่ผู้คนในชุมชนบ้านคุยยางสามารถพูดได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยดำได้ อีกทั้งผู้คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ใช้ภาษาไทดำกันแล้วจึงไม่ได้มีการถ่ายทอดภาษา(ไทดำ)พูดให้ลูกหลานคนรุ่นหลังส่วนใหญ่จะเลือกใช้ภาษาไทยกลางในการพูดคุยสื่อสารกัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิษณุโลกฮอตนิวส์, 16 ธันวาคม 2562, ชมนกดูพระอาทิตย์ขึ้นที่บึงตะเครง ปอดแห่งใหญ่ของ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 จากเว็บไซต์ https://www.phitsanulokhotnews.com/

Webmaster, 15 พฤศจิกายน 2564, บ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ จังหวัดเลย ประเทศไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 จากเว็บไซต์ https://palanla.com/