Advance search

สะพานดำบ้านสันคะยอม

หมู่ที่ 1
สันคะยอม
ป่าสัก
เมืองลำพูน
ลำพูน
วสันต์ ปัญญาแก้ว
5 ต.ค. 2023
วสันต์ ปัญญาแก้ว
ธนพล เลิศเกียรติดำรงค์
5 ต.ค. 2023
บ้านสันคะยอม


สะพานดำบ้านสันคะยอม

สันคะยอม
หมู่ที่ 1
ป่าสัก
เมืองลำพูน
ลำพูน
51000
18.537196
99.047615
เทศบาลตำบล

การก่อตั้งหมู่บ้านสันคะยอมนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่สามารถระบุบระยะเวลาที่ชัดเจนได้แน่นอน แต่หากจะนับย้อนอายุสามารถอนุมานได้จากบรรพบุรุษ เชื้อสายของคนในหมู่บ้านที่สืบเชื้อสายมาจากคน “ไตยอง” ซึ่งแต่เดิมนั้นอาศัยอยู่เมืองยอง เขตสิบสองปันนาในประเทศพม่า ที่อพยพย้ายถิ่นฐานลงมาเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการศึกษาเอกสารทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์ พบว่า 

ประวัติศาสตร์ล้านนาได้จารึกไว้ว่าชนชาติไตยองนั้นอพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองลำพูนครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในปี พ.ศ. 2348 โดยพญายองได้อพยพมาทั้งเมือง (กษัตริย์ เจ้านาย สมณะชี พราหมณ์ ไพร่ฟ้า ข้าทาสบริวาร) ในยุค"เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" การอพยพครั้งนี้เรียกว่า" เทครัว" ซึ่งตรงกับสมัยของพระยากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ในสมัยนั้น โดยให้เจ้าน้อยบุญมาพระอนุชา ไปกวาดต้อนเอาหัวเมืองฝ่ายเหนือตอนบนมาไว้ ณ. เมืองเชียงใหม่ ลำพูน หลังจากที่ต้องต่อสู้กับพม่าประมาณปี 2310 ซึ่งแทบจะเป็นเมืองร้างคาดว่าคนเมืองยองถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่ลำพูนประมาณ๑๐,๐๐๐คน 

การแบ่งไพร่พลยอง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองลำพูน ให้พระยามหยังคบุรีเจ้าเมืองยอง และน้องอีกสามคน ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำกวง ตรงข้ามกับเมืองลำพูน ที่บ้านเวียงยอง ให้ผู้คนที่อพยพจากเมืองยู้ เมืองหลวย ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ชุมชนเหล่านี้ทอผ้าให้กับเจ้าเมืองลำพูน 

นอกจากนั้นการตั้งถิ่นฐานของชาวยองจะขยายตัวไปตามแนวลำน้ำ หมู่บ้านหลักในขณะนั้นในเขตลุ่มแม่น้ำกวง มีบ้านเวียงยอง บ้านยู้ บ้านหลวย บ้านตอง บ้านหลิ่วห้า (ศรีบุญยืน) บ้านปิงห่าง (หนองหมู) รวมถึงแม่น้ำสาขาของแม่น้ำกวง ในเขตลุ่มแม่น้ำปิง มี  บ้านประตูป่า บ้านหลุก บ้านบัว บ้านบาน ในเขตลุ่มน้ำแม่ทา มี บ้านป่าซาง บ้านสบทา บ้านฉางข้าวน้อย บ้านแซม บ้านสะปุ๋ง บ้านหวาย อีกส่วนหนึ่งได้ขยายตัวจากที่ราบป่าซางเข้าสู่เขตอำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอลี้ในลุ่มแม่น้ำลี้ 

มีชาวไตเขินจากเชียงตุง มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านสันดอนรอม นอกเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่บ้านแป้น ตำบลบ้านแป้น และก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวยอง ได้มีการกวาดต้อนชาวไตใหญ่จากเมืองปุ เมืองปั่น เมืองสาด เมืองนาย เมืองขวาด เมืองแหน และกลุ่มคนที่เรียกว่า ยางค้างหัวตาด ยาวหัวด่าน มาไว้ที่เวียงป่าซาง

จากเอกสารทางวิชาการที่นำมาอ้างอิง สามารถอธิบายถึงการตั้งถิ่นฐานของคนยองที่เข้ามาอยู่ในเมืองลำพูน ซึ่งข้อสันนิษฐาน คนยองบ้านสันคะยอมอาจเป็นกลุ่มคนกลุ่มนี้ก็เป็นได้ จากข้อความที่ว่า การตั้งถิ่นฐานของชาวยองจะขยายตัวไปตามแนวลำน้ำ ยิ่งสนับสนุนให้ข้อสันนิษฐานนี้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เพราะว่า ลำน้ำแม่สารที่ไหลผ่านด้านทิศเหนือของหมู่บ้านนั้น เป็นลำน้ำสาขาที่สำคัญของแม่น้ำกวง และที่ตั้งของบ้านสันคะยอมปัจจุบันมีระยะห่างจากหมู่บ้านหลักของคนยองที่เวียงยองประมาณ 4 กิโลเมตรซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวของกลุ่มคนยองไปตามแนวลุ่มน้ำก็เป็นได้

สันคะยอมในวงวิชาการ

นอกจากนี้ยังมีเอกสารทางวิชาการที่เป็นงานวิจัยของนักวิจัยและนักศึกษาปริญญาโทของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เข้ามาศึกษาในพื้นที่หลายต่อหลายชิ้น ได้มีการบันทึกข้องมูลเกี่ยวกับประวัติบ้านสันคะยอม ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ผู้รู้ หรือแม้แต่การรวบรวมเอกสารที่มีการบันทึกไว้ ซึ่งสามารถอธิบายให้เห็นบริบทของพื้นที่ได้ดังนี้

“เดิมบ้านสันคะยอมชื่อว่า “บ้านเหล่า” มีอายุประมาณ 200 ปี ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยระหว่าง “ดอยม่อนต๊อก” และ “ดอยปู่คำ” ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณนั้นแต่เดิมมีตาน้ำธรรมชาติอยู่ 3 จุด ชาวบ้านได้อาศัยตาน้ำทั้ง 3 จุดนี้ในการอุปโภคบริโภค แต่เมื่อเวลาผ่านไป ตาน้ำทั้ง 3 เริ่มแห้งน้ำเริ่มน้อยลงไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับจำนวนประชาการที่เพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านเลยพากับอพยพย้ายมาอยู่บริเวณที่สันดอน ใกล้ลำน้ำแม่สาร ซึ่งมีชัยภูมิดี ทั้งเป็นที่ราบเหมาะแก่เพาะปลูกอีกทั้งยังมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน  จึงได้ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และมีบริเวณนี้มี “ต้นพะยอม” (ทางเหนือเรียกว่า ขะยอม หรือ กะยอม)ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะภูมิประเทศที่อาศัยว่า “บ้านสันคะยอม” บรรพบุรุษของชาวสันคะยอมนั้นเป็น คนยอง มาจากสิบสองปันนา. จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ให้ข้อมูลว่า ท้าวปิง ท้าวสมณา ท้าวนำปูน พ่อหนานปัญญา  ซึ่งชื่อเหล่านี้ก็ได้เรียกและนำไปตั้งเป็นนามสกุล เช่น จากปิงก็เพี้ยนมาเป็นพิงคะสัน สมณาศักดิ์ นำปูนศักดิ์ ปัญญาศักดิ์ เป็นต้น  เริ่มแรกนั้นมีครัวเรือน อยู่ประมาณ 15-20 ครัวเรือน เมื่อมีประชาการมากขึ้น จึงเริ่มขยับขยายไปบริเวณใกล้เคียง ยาวไปตามลำน้ำแม่สารบ้าง หรืออพยพไปบุกเบิกตั้งหมู่บ้านใหม่บ้าง”  

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษายอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล