Advance search

ตลาดใต้

ย่านชุมชนตลาดชาวจีนในจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันได้พลิกฟื้นจากตลาดเก่าให้เป็นพื้นที่ร่วมสมัยและสร้างอรรถประโยชน์ที่นอกเหนือจากการเป็นตลาดสดอย่างเดียว

ในเมือง
เมืองพิษณุโลก
พิษณุโลก
สุกฤต สิมณี
21 พ.ย. 2023
สุกฤต สิมณี
21 พ.ย. 2023
ตลาดเทศบาล 1
ตลาดใต้

ย่านเมืองท่าการค้าเก่าแก่ของเมืองพิษณุโลกมีบันทึกถึงตลาดแห่งนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นย่านการค้า นอกประตูเมืองทวายเมืองพิษณุโลก ซึ่งตัวตลาดตั้งอยู่บริเวณทางใต้ของเขตเมือง จึงเรียกขานกันว่า ตลาดใต้


ย่านชุมชนตลาดชาวจีนในจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันได้พลิกฟื้นจากตลาดเก่าให้เป็นพื้นที่ร่วมสมัยและสร้างอรรถประโยชน์ที่นอกเหนือจากการเป็นตลาดสดอย่างเดียว

ในเมือง
เมืองพิษณุโลก
พิษณุโลก
65000
16.81448026
100.2617481
เทศบาลนครพิษณุโลก

เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่อยู่มายาวนานมากกว่า 600 ปี ตั้งแต่สมัยที่สุโขทัยยังเป็นราชธานี ซึ่งเมืองพิษณุโลกยังมีคนอยู่อาศัยในเมืองมาอย่างยาวนาน โดยไม่สิ้นสภาพความเป็นเมือง แม้ว่าจะถูกเทครัวลงมาหมดในสมัยของสมเด็จพระนเรศวร แต่ไม่นานเมืองพิษณุโลกก็ยังกลับมาเป็นเมืองที่ผู้อยู่อาศัยอีกครั้ง โดยบริเวณย่านตลาดใต้นั้นในอดีตอยู่ภายนอกกำแพงเมืองพิษณุโลก อดีตย่านตลาดใต้เป็นย่านเรือนแพสินค้า จากบันทึกในเอกสารตราตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่แต่งตั้งเจ้าภาษีนายอากรในเขตหัวเมืองเหนือ ระบุถึงร้านค้าลอยแพในบริเวณนี้ โดยย่านนี้เป็นย่านการค้าสำคัญมาอย่างยาวนาน จนสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เมืองเริ่มขยายออกไป กลุ่มผู้ค้าที่ค้าขายทางน้ำก็เริ่มเปลี่ยนมาค้าขายผ่านทางรถไฟมากยิ่งขึ้นจากการเข้ามาของเส้นทางรถไฟสายเหนือที่เข้ามาสู่เมืองพิษณุโลกในปี 2450 และชุมชนริมน้ำก็ขยับขึ้นมาอยู่บนบก โดยชุมชนตลาดใต้เป็นย่านที่ถูกบุกเบิกจากกลุ่มชาวจีนแล้วส่งต่อมาถึงกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน

สภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์

ชุมชนตลาดใต้อยู่ในพื้นที่การปกครองของเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองพิษณุโลก โดยเป็นย่านค้าขายที่เก่าแก่ของเมืองพิษณุโลก โดยสามารถเรียกได้ว่าเป็นไซน่าทาวน์เมืองพิษณุโลก โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนอยู่ติดแม่น้ำน่าน และเป็นที่ราบ ตลิ่งวกันพื้นน้ำมีระดับที่ต่างกันอย่างมาก โดยในเฉพาะฤดูหนาวและร้อนที่น้ำมีน้อยมากในแม่น้ำ แต่ถ้าเป็นฤดูน้ำหลายพื้นที่ริมตลิ่งก็มีน้ำแทบจะถึงตลิ่งของแม่น้ำ

อาณาเขตติดต่อ 

  • ทิศเหนือ สวนชมน่าน สถานีตำรวจภูธรพิษณุโลก
  • ทิศใต้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดพิษณุโลก
  • ทิศตะวันออก แม่น้ำน่าน 
  • ทิศตะวันตก โรงเรียนอนุบาลประชาราษฎร์ ปทุมทอง

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ชุมชนตลาดใต้ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง มีชุมชน ย่านการค้าและสถานที่ราชการโดยรอบ เป็นย่านการค้าเมืองท่าเก่าแก่ร่วม 100 ปี ส่วนมากคนในพื้นที่มักค้าขายทั้งในตลาดและอาคารภายนอก ส่วนใหญ่มักเป็นคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่

กลุ่มคนส่วนในเขตตลาดใต้เป็นกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน โดยมีทั้งไหหลำ ฮกเกี้ยน และแต้จิ๋ว โดยกลุ่มแรกเริ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองพิษณุโลกเป็นกลุ่ม ไหหลำ จากการที่ศาลเจ้าต่าง ๆ มักเป็นศาลเจ้าของชาวไหลหลำมากกว่า นอกจากนี้ไม่ไกลกันกันมาก็ยังมีชุมชนแขกมุสลิมและชุมชนคริสต์อีกด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายที่มากกว่าชุมชนจีนและชาวไทยพุทธเพียงอย่างเดียว นำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

จีน
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วันเกิดศาลเจ้าแม่ทับทิม

ในทุกปีศาลเจ้าแม่ทับทิบหรือศาลไหหลำจะต้องจัดการแสดงงิ้วขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งจะเป็นงานใหญ่มากสำหรับชุมชน โดยบางปีจะจัดงานใหญ่ถึง 6 คืน หรือบางครั้งก็เป็นการประชันกันของสองคณะงิ้ว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนกายภาพ

แม่น้ำ สถานีรถไฟ ทางหลวง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าชุมชนนี้เติบโตมาได้ก็จากสายน้ำน่านที่ไหลผ่าน การไปมาหาสู่ระหว่างกันทำได้ง่าย ทำให้เมืองพิษณุโลกกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญนอกจากน้ำที่สร้างชุมชนนี้

สถานีรถไฟยังช่วยผยุงให้มีการค้าขาย คนเริ่มใช้ทางรถไฟในการสัญจรและขนส่งสินค้า ชุมชนนี้ห่างจากสถานีรถไฟไม่ถึง 1 กม. สามารถสร้างและกลายเป็นชุมชนการค้าได้

ทางหลวง ถนนทางหลวงเป็นสิ่งสำคัญในการค้าในยุคปัจจุบัน ในช่วงที่รถไฟเสื่อมหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้ารถบรรทุกเข้ามาทำหน้าที่แทนในการเดินหน้าธุรกิจการค้า ย่านการค้าต่าง ๆ ที่เคยรุ่งเรืองจากสายน้ำและรถไฟในวันที่รถยนต์แทนที่ย่านเหล่านั้นก็เสื่อมความนิยมลง แต่ตลาดนี้ก็ยังอยู่ได้ก็เพราะอยู่ไม่ห่างจากถนนใหญ่ ทำให้พื้นที่นี้ยังเป็นย่านการค้าที่คงความสำคัญ กระทั่งถึงเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป

พื้นที่ชุมชนตลาดใต้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในชีวิตประจำวันและอาจจะมีคำศัพท์ภาษาจีนปะปนบ้างในชีวิตประจำวัน ซึ่งคำที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่ม เช่น ไหหลำ แต้จิ๋ว เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มคนที่มาจากกลุ่มวัฒนธรรมล้านนา มักพูดจาด้วยภาษาเหนือในชีวิตประจำวัน








เนื่องจากชุมชนนี้เป็นย่านของชาวจีนไหหลำจึงได้ร่วมสร้างโรงเรียนสำหรับคนจีนในชุมชน โดยโรงเรียนก่อตั้งในปีพ.ศ. 2465 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนแซมิน ต่อมาไม่นานนโยบายของรัฐทำให้โรงเรียนนี้ต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนอำนวยวิทย์ และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็น โรงเรียนสิ่นหมิ่น โดยเป็นโรงเรียนที่เน้นไปทางภาษาจีน เรียนควบคู่กับหลักสูตรสามัญของกระทรวงศึกษาธิการ โดยความตั้งใจจากอดีตถึงปัจจุบันเพื่อที่ให้ลูกหลานชาวไทยและชาวจีนได้มีโอกาสในการศึกษาภาษาจีน

ในอดีตโรงเรียนอยู่ใจกลางย่านตลาดใต้และมีอาคารที่ใกล้เคียงกับสมาคมจีนไหหลำภาคเหนือประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวตลาด ใกล้กับย่านปทุมทองซึ่งเป็นแหล่งสถาบันสอนพิเศษที่ใหญ่ที่สุดของเมืองพิษณุโลกที่มีสถาบันสอนพิเศษระดับประเทศเข้ามาเปิดสถาบันในพื้นที่นี้


พื้นฐานชุมชนตลาดใต้ส่วนใหญ่คนเชื้อสายจีนส่งผลให้วีถีชีวิตหลายอย่าง ๆ ผูกโยงและสอดคล้องกับวัฒนธรรมจีน เช่น การไหว้เทพเจ้าที่ในพื้นที่มีศาลเจ้าถึงสามแห่งในพื้นที่ โดยมีศาลปุนเถ้ากง-ม่า ศาลเจ้าพ่อเสื้อ เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งทั้งศาลเจ้าทั้งสามแห่งก็อยู่ในสภาพสมบูรณ์อยู่และมีคนในชุมชนก็ยังใช้ศาลเจ้าเหล่านี้ในการใช้พื้นที่ร่วมกัน นอกเหนือจากการไหว้เทพเจ้าแล้วคนในชุมชนตลาดใต้ยังทำพิธีทางพุทธเหมือนกัน เช่น การทำบุญตักบาตร เข้าร่วมงานทอดกฐิน ผ้าป่า เป็นต้น เพราะฉะนั้นกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนก็ไม่ได้จำกัดแบบแผนของตนเอง แต่ได้ใช้ทั้งความเชื่อเทพเจ้าและความเชื่อพุทธเถรวาทเข้าร่วมกัน


กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ผู้จัดการออนไลน์. (2566).  คืนชีพ "ตลาดใต้" กลางเมืองพิษณุโลก ปลุกประวัติศาสตร์ สู่พิพิธภัณฑ์มีชีวิต. สืบค้นเข้าถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566, จาก https://mgronline.com/

ภัทรา ศักดิ์ศรีพาณิชย์. (2554). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเมืองพิษณุโลก พ.ศ. 2500-2542. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภกิจ ยิ้มสรวล. (2565). แกะรอยอาคารในย่านเก่า ตลาดใต้พิษณุโลก. พิษณุโลก: โครงการวิจัยประวัติศาสตร์สร้างย่านเพื่อการเรียนรู้สำหรับเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก.

WeCitizens. (2566).  ตลาดใต้พิษณุโลก หลบเวลาไปชมวิถีตลาดเช้าสุดคลาสสิคของเมืองพิษณุโลก. สืบค้นเข้าถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566, จาก https://wecitizensthailand.com/