Advance search

เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมีประชากรชาติพันธุ์ไทดำ มีบ้านไม้เก่าชั้นเดียวและสองชั้น

หมู่ที่ 2
โป่งน้ำร้อน
โป่งน้ำร้อน
คลองลาน
กำแพงเพชร
พิษณุ บุญนิยม
12 ก.ค. 2023
จรูญ คุ้ยเจี๊ยะ
12 ก.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
28 พ.ย. 2023
บ้านโป่งน้ำร้อน

โป่งน้ำร้อนเกิดจากธรรมชาติคือเหนือหมู่บ้านขึ้นไปประมาณ 1,200 เมตร มีโป่งขนาดใหญ่ (โป่ง คือ ดินเค็มที่มีสัตว์นานาชนิดลงมากินดินโป่ง)


ชุมชนชนบท

เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมีประชากรชาติพันธุ์ไทดำ มีบ้านไม้เก่าชั้นเดียวและสองชั้น

โป่งน้ำร้อน
หมู่ที่ 2
โป่งน้ำร้อน
คลองลาน
กำแพงเพชร
62180
16.33082439
99.29199412
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน

ที่มาของชื่อบ้านโป่งน้ำร้อน เกิดจากธรรมชาติ คือเหนือหมู่บ้านขึ้นไปประมาณ 1,200 เมตร มีโป่งขนาดใหญ่ (โป่ง คือ ดินเค็มที่มีสัตว์นานาชนิดลงมากินดินโป่ง) ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่ล่าสัตว์ป่าของพรานสมัยก่อน มีน้ำไหลซึมออกมานน้ำที่ไหลออกมาแรกๆ ก็ร้อนจัดสามารถต้มไข่สุกได้ ต่อมาก็ค่อย ๆ เย็นลง แต่น้ำยังอุ่นอยู่ ขณะเดินผ่าน ปัจจุบันยังได้กลิ่นกำมะถัน (สุพรรณถัน) ในฤดูหนาวจะมีหมอกควันลอยขึ้นให้เห็น ชาวชุมชนที่มาตั้งบ้านเรือนจึงเรียกว่า “บ้านโป่งน้ำร้อน” ปัจจุบันมีอยู่ที่สำนักสงฆ์โป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 2

ผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามา สันนิษฐานว่า เป็นคนงานลูกจ้างตัดฟันไม้ของพะโป้ซึ่งจะมีกะเหรี่ยงติดตามมากับพะโป้แล้วยังมีคนงานมาจากเวียงจันทน์ ล้านช้าง และชาวอีสาน เมื่อหมดระยะเวลาทำไม้หรือไม่ได้เป็นคนงานแล้ว ก็คิดจับจองที่ทำกินซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่าทางภาคอีสานของไทยมาก

บ้านโป่งน้ำร้อนอยู่ในเขตการปกครองของตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระยะแรกมีคนมาอยู่ไม่มากนัก เมื่อหมดสัมปทานทำไม้ของพะโป้ในราว พ.ศ. 2470 ผู้ที่มาตั้งฐานชุดแรก สันนิษฐานว่าจะเป็นคนงานภาคอีสานและลาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นคนงานของพะโป้ เมื่อหมดงานหรือหมดสัญญา เห็นว่าบริเวณนี้พอที่จะทำไร่ทำนาได้และเห็นว่าทั้งสองฝั่งของคลองสวนหมากเป็นป่าสมบูรณ์ พอจะล่าสัตว์และหาของป่าขายได้ จึงพากันมาตั้งหลักฐาน พอดีมีบริษัทล่ำซำมาบุกเบิกทำป่าไม้สักขึ้นอีก จึงพากันมาเป็นลูกจ้างคนงานของบริษัท ผู้คนก็มากขึ้น ชาวบ้านทางนครชุมก็มาทำการค้าขาย ตั้งบ้านเรือนจนเป็นชุมชนใหญ่พอสมควร การปกครองจึงตั้งเป็นหมู่ที่ 5 ของตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ใหญ่คนแรกชื่อ นายสา เพ็งศรี เป็นชาวเวียงจันทน์ ต่อมาตำบลโป่งน้ำร้อนขึ้นกับกิ่งอำเภอคลองลาน และเป็นอำเภอคลองลานเป็นลำดับมาจนปัจจุบัน

บ้านโป่งน้ำร้อนเป็นหมู่บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน เป็นจุดศูนย์รวมในการให้บริการ มีวัดดอยแก้ว และสำนักสงฆ์โป่งน้ำร้อน แหล่งท่องเที่ยว ส่วนผลไม้ บริบทของชุมชนซึ่งมีสภาพสมบูรณ์และเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และศิลปะในเชิงช่างที่ผู้คนหลากหลายมาจากต่างถิ่น ส่วนใหญ่เป็นคนทางภาคเหนือ ลำปาง แพร่ น่าน ซึ่งมีฝีมือในการกระทำอาชีพเกี่ยวกับงานไม้ที่สวยงาม ในหมู่บ้านยังมีบ้านที่อยู่อาศัยที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลังจำนวนหลายหลัง มีสภาพสมบูรณ์เป็นอัตลักษณ์ของบ้านโป่งน้ำร้อน

ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 2 บ้านโป่งน้ำร้อน ซึ่งมีความหนาแน่นกว่าหมู่ที่ 1โดยมีเป็นเพศชายจำนวน 1,003 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 969 คน รวมทั้งสิ้น 1,972 คน  จำนวนครัวเรือน 711 ครัวเรือน โดยประชากรในหมู่บ้าน

ไทดำ

บ้านโป่งน้ำร้อนเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ รวมกันระหว่างหมู่ที่ 1 และ 2 แต่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ติดต่อกัน บริเวณตลาดชุมชนบ้านโป่งน้ำร้อน กลุ่มอาชีพในพื้นที่ทำเกี่ยวกับการเกษตร กองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มอาชีพ

การปกครองโดยแบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม มีประธาน รองประธาน และคณะกรรมการ ในการปกครองกัน ในระยะเปลี่ยนผ่านมีประชากรจากหลากพื้นที่เข้ามาอาศัยอยู่ประกอบอาชีพค้าขายมากขึ้น แต่โครงสร้างทางสังคมยังเป็นแบบที่กำหนดไว้ การแบ่งการปกครองแบบคุ้มบ้าน 

วิถีชีวิตของบ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 2 มีกิจกรรมวัฒนธรรมแบบประเพณีแบบผสมผสานทั้งไทยภาคกลางและภาคเหนือ กิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่าง ๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร การทำสวนผลไม้ และค้าขาย ปฏิทินการผลิตหรือการปลูกพืชทางการเกษตรนั้นเป็นไปตามฤดูกาลทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นสวนผลไม้ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และมีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ทำให้ได้ผลิตออกสู่ตลาดและเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรหมู่ที่ 2 มีความหลากหลายของประชากร วัฒนธรรม กลุ่มอาชีพ มีวัดดอยแก้วและสำนักสงฆ์โป่งน้ำร้อน เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 

ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยภาคเหนือ และกลุ่มคนไทยทรงดำประมาณ 20 ครัวเรือน


บ้านโป่งน้ำร้อน มีการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุที่มองเห็น เช่น การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมที่เป็นบ้านไม้สองชั้น หรือบ้านไม้ชั้นเดียว เปลี่ยนเป็นบ้านทรงสมัยใหม่ การคมนาคมในหมู่บ้านมีความสะดวกส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยาง การสื่อสารที่สะดวก การประกอบธุรกิจมีความหลากหลาย สถาบันทางการเงิน การประกอบธุรกิจจากบุคคลภายนอกชุมชน ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพนำไปสู่ความท้าทายพฤติกรรมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน

องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน. (มปป). สภาพทั่วไป จำนวนประชากรในพื้นที่. สืบค้นจาก https://www.pnrn.go.th/