ตั้งอยู่บริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงาม อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
คลองน้ำที่ไหลผ่านมายังหมู่บ้านและในคลองน้ำนั้นมีมดแดงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ คลองมดแดง และเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านคลองมดแดง
ตั้งอยู่บริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงาม อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า พื้นที่บ้านคลองมดแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ราบอยู่กลางหุบเขา อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ นานาพันธุ์ มีคลองน้ำไหลผ่าน เล่ากันว่าในคลองน้ำนั้นมีมดแดงเป็นจำนวนมาก มีเขตปกครองรวม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มป่าแดง กลุ่มชุมนุมไทร (ชาติพันธุ์ม้ง) และกลุ่มบ้านคลองมดแดง (ชาวไทยพื้นราบ) ปี พ.ศ. 2484 มีนายยี ยอดคีรี (ชาติพันธุ์ม้ง) ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกในขณะนั้น และตั้งอยู่ในเขตปกครองอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยผู้ใหญ่บ้านดังนี้
- พ.ศ. 2516 : ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ชื่อ นายเก๊า ยอดคีรี
- พ.ศ. 2521 : แยกเขตการปครองเป็นกิ่งอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
- พ.ศ. 2528 : ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ชื่อ นายบุญทัน วันชุรี
- พ.ศ. 2555 : ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 ชื่อ นายจรูญ คุ้ยเจี๊ยะ
- พ.ศ. 2564 : ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 ชื่อ นายจักรพงษ์ ขันทับทิม
บ้านคลองมดแดง หมู่ที่ 3 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่อาศัยอยู่ 126 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 6,636 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ทำนา พื้นที่ทำไร่ 5,836 ไร่ พื้นที่ทำสวน 800 ไร่
ลักษณะของพื้นที่มีคลองน้ำไหลผ่าน ชื่อว่า คลองมดแดง อยู่ใกล้กับโรงเรียนบ้านคลองมดแดง โดยสภาพแวดล้อมชุมชนอยู่ในพื้นที่ราบ ที่อยู่อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอยู่ทางแยกไปทางบ้านวุ้งกะสัง ส่วนใหญ่อยู่ทางไปบ้านไทรพัฒนา สถานที่สำคัญคือ โรงเรียนบ้านคลองมดแดง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศาลาเอนกประสงค์ และวัดคลองมดแดง อยู่ใกล้กัน และสถานที่สำคัญตั้งอยู่บนเนินเขามีทัศนียภาพที่สวยงาม
บ้านคลองมดแดงมีราษฎรอาศัยอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 760 คน เป็นเพศชาย 405 คน เป็นเพศหญิง 355 คน จำนวน 453 ครัวเรือน
ประชากรในหมู่ที่ 3 บ้านคลองมดแดง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวโพด มันสำปะหลัง ทำนา เลี้ยงสัตว์ สวนยางพารา และยังมีอาชีพอื่นที่ประชาชนในพ้นที่ยึดปฏิบัติคือการค้าขาย อาชีพร้บจ้างทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างทำการเกษตร
การปกครองโดยมีการปกครองแบบคุ้มบ้านมีหัวหน้าและรองหัวหน้าคุ้มบ้าน ดูแลกัน ซึ่งแต่ละคุ้มบ้านจะจัดทำป้ายแสดงรายชื่อประธาน รองประธาน และสมาชิกไว้หน้าทางเข้าหมู่บ้าน
ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการปฏิบัติกิจกรมในวันสำคัญทางศาสนาและกิจกรรมที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เป็นประเพณีที่จัดกิจกรรมขึ้นในช่วยวันสงกรานต์ ทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้า และช่วงบายจัดพิธีสรงน้ำพระ และเชิญผู้สูงอายุในหมู่บ้านร่วมพิธีรดน้ำดำหัว และให้อวยพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลานในวันปีใหม่ไทย
เนื่องประชากรในหมู่บ้านเป็นคนไทยพื้นราบเป็นส่วนใหญ่ จึงมีกิจกรรมประเพณีแบบคนไทยภาคกลางเป็นหลักดังนี้ การทำบุญวันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และกิจกรรมอื่น ๆ วันสำคัญทางราชการกำหนดและจัดกิจกรรม
บ้านคลองมดแดงมีทุนชุมชนหลายประเภท ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และแหล่งท่องเที่ยว พร้อมทั้งทุนทางสังคมคือการมีส่วนรวมของประชาชนในหมู่บ้าน
1. ทรัพยากรดิน ลักษณะดินภายในหมู่บ้าน ส่วนมากเป็นดินร่วน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม
2. ทรัพยากรน้ำ บ้านคลองมดแดงอาศัยแหล่งน้ำจากภูเขาที่ไหลผ่านทำให้เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพทำนา ทำไร่
3. ทรัพยากรป่าไม้ ในเขตพื้นที่ในหมู่บ้านมีป่าชุมชนจำนวน 1 แห่ง
4. สถานที่สำคัญของหมู่บ้านเพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย วัดคลองมดแดง โรงเรียนบ้านคลองมดแดง อาคารเอนกประสงค์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองมดแดง
เนื่องจากในหมู่บ้านคลองมดแดงมีประชากรได้อพยพเข้ามาอยู่จากหลายจังหวัดทั้งจังหวัดในภาคกลาง และคนไทยจากจังหวัดในภาคเหนือจึงใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่
ด้วยบริบทพื้นที่ของบ้านคลองมดแดงอยู่ในสายการเดินทางจากองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน ผ่านไปถึงบ้านไทรพัฒนาถึงบ้านปางขนุน ตำบลนาบ่อคำ และปัจจุบันถนน สะพาน ทางเข้าหมู่บ้าน โครงสร้างพื้นฐานมีการพัฒนาและมีความสะดวกสบายในการเดินทาง ทำให้การเดินทาง การเคลื่อนย้ายประชากรนอกพื้นที่เข้ามาในชุมชน อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนพื้นที่ในด้านบวกคือการนำความเจริญเข้ามาสู่ชุมชน เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำคลองมดแดงที่คนภายนอกรู้จักและเป็นแหล่งเก็บน้ำ แหล่งตกปลา แหล่งท่องเที่ยวด้วย จึงเป็นโอกาสที่ชุมชนจะได้รับการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามมาด้วย
แผนชุมชนบ้านคลองมดแดง. (2564). แผนชุมชนบ้านคลองมดแดง.
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน. (มปป). สภาพทั่วไป จำนวนประชากรในพื้นที่. สืบค้นจาก https://www.pnrn.go.th/