เป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำคลองมดแดง
ในอดีตลำคลองที่ผ่านหมู่บ้านมีต้นหมามุ้ยในลำคลองเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่ผ่านไปมามักเรียกว่า "คลองหมามุ้ย" เมื่อได้แยกเป็นหมู่บ้าน จึงตั้งชื่อว่า "บ้านคลองสมุย"
เป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำคลองมดแดง
ประวัติของบ้านคลองสมุย หมู่ที่ 7 ตำบลโป่งน้ำร้อน เดิมขึ้นอยู่กับ หมู่ที่ 9 บ้านคลองสมบูรณ์ ตำบลโป่งน้ำร้อน โดยปี พ.ศ. 2524 ได้มีผู้คนอพยพเข้ามาทำน้ำมันยางและคนอีกกลุ่มหนึ่งได้เขามาทำการรับจ้างตัดไม้ที่มีบริษัทมาสัมปทาน และได้สร้างที่พักขึ้นริมคลอง และคนกลุ่มนั้นเห็นว่าพื้นที่ดินอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชักชวนผู้คนให้มาจับจองที่ดิน โดยผู้คนที่เข้ามาอยู่หลากหลายจังหวัด เช่น ชัยภูมิ เชียงราย ลำปาง และเพชรบูรณ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่นี้
เมื่อจำนวนครัวเรือนมีมากขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ของการขอแยกเป็นหมู่บ้าน จึงได้แยกหมู่บ้านชื่อว่า บ้านคลองสมุย หมู่ที่ 16 ตำบลโป่งน้ำร้อน ในปี พ.ศ. 2535 และต่อมาการปกครองได้แยกตำบลสักงาม หมู่บ้านคลองสมุยได้เป็นหมู่ที่ 7 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และเนื่องจากในลำคลองที่ผ่านหมู่บ้านมีต้นหมามุ้ยในลำคลองเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านที่ผ่านไปมามักเรียกว่า คลองหมามุ้ย เมื่อได้แยกเป็นหมู่บ้าน จึงตั้งชื่อว่า บ้านคลองสมุย หมู่ที่ 7 ในปัจจุบัน
บ้านคลองสมุย หมู่ที่ 7 มีจำนวนประชากรดังต่อไปนี้ เป็นเพศชาย จำนวน 463 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 452 คน รวมทั้งสิ้น 915 คน จำนวนครัวเรือน 350 ครัวเรือน
โครงสร้างทางสังคมของบ้านคลองสมุย มีการปกครองโดยการแบ่งเป็นคุ้มบ้าน มีหัวหน้าคุ้ม รองหัวหน้า และสมาชิกของหมู่บ้าน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข มีกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน ซึ่งมีอาชีพหลักเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม
- บ้านแก้วสวนธรรม เป็นแหล่งปฏิบัติธรรมที่มีความสงบร่มรื่นเหมาะสมแก่การฝึกปฏิบัติทางจิตและการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมะในพระพุทธศาสนา บ้านคลองสมุย ได้ดำเนินโครงกรชุมชนคุณธรรม บ้านคลองสมุย หมู่ที่ 7 ตำบลโป่งน้ำร้อน อีกด้วย
เนื่องด้วยปัจจุบัน ประชากรที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านคลองสมุยมีความหลากหลาย ได้ใช้ภาษาไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บ้านคลองสมุยติดกับบ้านคลองสมบูรณ์ บ้านคลองมดแดง เส้นทางผ่านเข้าไปทางวุ้งกระสัง และเป็นที่ตั้งอ่างเก็บน้ำคลองมดแดง (อยู่ในเขตบ้านคลองสมุย) ความเปลี่ยนของการประกอบอาชีพทางการเกษตร มันสำปะหลังและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ การเดินทางที่สะดวก การติดต่อสื่อสารที่สะดวก ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ การรับรู้วัฒนธรรมประเพณีทั้งแบบภาคกลางและภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประเด็นท้าทายให้คนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าได้ร่วมกันรักษาสมดุลของวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน. (มปป). สภาพทั่วไป จำนวนประชากรในพื้นที่. สืบค้นจาก https://www.pnrn.go.th/