Advance search

บ้านกะเหรี่ยงวุ้งกะสัง

ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

หมู่ที่ 10
บ้านวุ้งกะสัง
โป่งน้ำร้อน
คลองลาน
กำแพงเพชร
พิษณุ บุญนิยม
7 ก.ค. 2023
จรูญ คุ้ยเจี๊ยะ
7 ก.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
29 พ.ย. 2023
บ้านวุ้งกะสัง
บ้านกะเหรี่ยงวุ้งกะสัง

บ้านวุ้งกะสัง คำว่า "วุ้ง" มีความหมาย เวิ้งหรือบริเวณ ส่วนคำว่า "กะสัง" คือชื่อของพรรณไม้ล้มลุก ใบเขียว คลุมดิน มีสรรพคุณทางยา มีจำนวนมากในวุ้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "วุ้งกะสัง" 


ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

บ้านวุ้งกะสัง
หมู่ที่ 10
โป่งน้ำร้อน
คลองลาน
กำแพงเพชร
62180
16.3702334
99.20707673
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน

หมู่บ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่กลางหุบเขา ห้อมล้อมด้วยป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่ยังคงความสมบูรณ์ ชื่อหมู่บ้านว่า วุ้งกระสัง คำว่า "วุ้ง" มีความหมาย เวิ้งหรือบริเวณ ส่วนคำว่า "กะสัง" คือชื่อของพรรณไม้ล้มลุก ใบเขียว คลุมดิน มีสรรพคุณทางยา มีจำนวนมากในวุ้งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า วุ้งกะสัง ลักษณะทางกายภาพมีแนวเขาล้อมรอบมีลำธารไหลผ่านบางพื้นที่ของหมู่บ้าน มีทางเข้าตรงเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าและพื้นที่ของหมู่บ้านอยู่ในเขตป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีประกาศเป็นเขตป่าอุทยานแห่งชาติ ยาวนานกว่า 200 ปี จากรุ่นสู่รุ่น

เมื่อก่อนจะปลูกบ้านกันอยู่หน้าถ้ำค้างคาว มีชาวกะเหรี่ยงอยู่ประมาณ 30-40 ครัวเรือน อยู่กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีเจ้านายเข้ามาในหมู่บ้าน โดยพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้พาเข้ามาและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2482 บ้านวุ้งกะสัง เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำหลายสาย เช่น คลองเต่าดำ คลองมดแดง คลองสวนหมาก เป็นต้น ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นชุมชน แบ่งออกเป็น 2 คุ้ม คือ คุ้มเหนือและคุ้มใต้ อยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร

ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านวุ้งกะสังมีจำนวน 100 ครอบครัว ชาย 175 หญิง 171 รวม 346 คน โดยระบบเครือญาติ พี่น้องกันในหมู่บ้าน และกะเหรี่ยงหมู่บ้านอื่น ส่วนมากเป็นชาติพันธุ์กะเหรี่ยง 

ปกาเกอะญอ

กะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสังมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย โดยปลูกข้าวไว้บริโภคกันทุกครัวเรือน ซึ่งการปลูกข้าวดังกล่าวได้ก่อให้เกิดภูมิปัญญาต่าง ๆ มากมายตามที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อๆ กันมา เช่น การเลือกพื้นที่ทำไร่ การสืบทอดที่ทำกันมาคือ ภูมิปัญญาการเสี่ยงทายเพื่อเลือกพื้นที่ทำไร่ ต้องมีการประกอบพิธีกรรมก่อนถางไร่ การทอผ้า การจักสาน การสร้างบ้านเรือนที่มีเตาไฟอยู่ทุกหลังคาเรือน การใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วย การร้องเพลง การเล่นดนตรีกะเหรี่ยง การจัดงานศพตามแบบของคนกะเหรี่ยง เป็นต้น 

ในหมู่บ้านมีผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เช่น ผู้นำในการประกอบพิธีไหว้เจดีย์ประจำหมู่บ้าน ผู้นำประกอบพิธีกรรมต่างๆ  ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในหมู่บ้าน

  • ประเพณีเวียนเทียนเจดีย์ (หม่าบู๊โค๊ะ) 
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านวุ้งกะสังมีทุนของชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยว ถ้ำชัยมงคล เจดีย์วุ้งกะสัง น้ำตกวุ้งกะสัง

  • ทุนทางสังคมเกี่ยวกับผู้นำในการประกอบพิธีกรรม สำนักสงฆ์วุ้งกะสัง วัดป่ามะนาว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวุ้งกะสัง 
  • ทุนทางธรรมชาติ คือ แหล่งท่องเที่ยว น้ำตก คลองน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน และทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม มีอากาสเย็นสบายตลอดทั้งปี

ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้ในหมู่บ้านวุ้งกะสังมีพยัญชนะที่ใช้กันอยู่ทั่วไป มีสระและวรรณยุกต์ ส่วนใหญ่ใช้ภาษากะเหรี่ยงสื่อสารในหมู่บ้าน ผู้อาวุโสในหมู่บ้านอ่านออกเขียนได้ แต่เด็กและเยาวชนกะเหรี่ยงปัจจุบันได้เรียนภาษาไทยจากโรงเรียน และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารมากขึ้น 


ประวัติกะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสังได้ตั้งถิ่นฐานมาหลายร้อยปี เนื่องจากหมู่บ้านในเขตอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าและสภาพป่าสมบูรณ์ ปัจจุบันได้เปิดเส้นทางการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสัง เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สนใจวิถีวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและสัมผัสกับธรรมชาติ การเดินทางที่สะดวก การเรียนรู้ผ่านการศึกษาในระบบโรงเรียน ส่งผลให้ลูกหลานกะเหรี่ยงคนรุ่นใหม่ได้รับการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การแต่งกาย การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้วัฒนธรรมจากภายนอกชุมชนผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นประเด็นท้าทายระหว่างการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมกับการเปลี่ยนแปลงไปทางบริบททางสังคมของความเจริญต่อไป

  • งานด้านภูมิปัญญาและศิลปะของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสัง ทอเครื่องนุ่งห่มใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ผ้าพันคอ, โสร่ง, ผ้าโพกหัว, ผ้าห่ม, เสื้อ, ผ้าถุง, ย่าม ให้คนรู้จักมอบเป็นของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ หรือทอตุงเพื่อถวายความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีการนำผ้าทอกะเหรี่ยงออกแบบเสื้อผ้าสมัยนิยมด้วย
  • ประเพณี : ประเพณีเวียนเทียนเจดีย์ (หม่าบู๊โค๊ะ), ประเพณีการแต่งงานของชาวกะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสัง ,ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านวุ้งกะสัง
  • อาหาร : น้ำพริกดำ, ไก่ต้มใบส้มป่อย, ตำมะเขือส้ม, แกงข้าวท่อน

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2564). หนังสือชาติพันธุ์ในจังหวัดกำแพงเพชร. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร

องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน. (มปป). สภาพทั่วไป จำนวนประชากรในพื้นที่. สืบค้นจาก https://www.pnrn.go.th/

Vsportnewsonline. (2561). ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านวุ้งกะสัง จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://www.vsportkamphaeng.com/