ชุมชนนอกเขตกำแพงเมืองสุโขทัยอยู่ทางใต้ของกำแพงเมืองเก่าทางประตูนะโม โดยชุมชนนี้มีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะโดยเฉพาะพระพิมพ์ ที่ตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางด้านศิลปะพระพิมพ์ในพื้นที่
สันนิษฐานว่าชื่อเชตุพนมาจากชื่อวัดนอกกำแพงเมืองสุโขทัยคือวัดเชตุพน โดยวัดเชตุพนอยู่ทางตอนใต้ของเมืองสุโขทัย โดยสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในช่วงปลายของสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้น โดยมีจารึกบันทึกไว้ถึงวัดแห่งนี้ในจารึกวัดศรีชุม ในสมัยของพระบรมไตรโลกนาถ และได้รับการบูรณะในสมัยรัชสมัยของพระองค์
ชุมชนนอกเขตกำแพงเมืองสุโขทัยอยู่ทางใต้ของกำแพงเมืองเก่าทางประตูนะโม โดยชุมชนนี้มีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะโดยเฉพาะพระพิมพ์ ที่ตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางด้านศิลปะพระพิมพ์ในพื้นที่
ชุมชนเชตุพนตั้งอยู่บริเวณภายนอกเขตกำแพงเมืองของสุโขทัย โดยชุมชนเชตุพนตั้งอยู่บริเวณทางทิศใต้ของ โดยชื่อชุมชนวัดเชตุพนมีที่มาจากชื่อของวัดเก่าแก่ในพื้นที่ซึ่งก็คือวัดเชตุพน ส่วนข้อมูลการสร้างวัดเชตุพนไม่ได้มีข้อมูลว่าวัดเชตุพนสร้างขึ้นมาในปี พ.ศ.ใด แต่ข้อมูลเก่าที่สุดที่กล่าวถึงวัดแห่งนี้อยู่ในจารึกวัดสรศักดิ์ โดยกล่าวว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20 จารึกมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระมหาเถรธรรมไตรโลกนาถ หรือพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยได้จำพรรษา ณ วัดสรศักดิ์ ได้ตั้งจิตที่จะสร้างเจดีย์ในศาสนสถานหลาย ๆ ภายในกรุงสุโขทัย รวมถึงวัดเชตุพนที่อยู่เมือง ซึ่งในเอกสารสันนิษฐานวัดนี้น่าจะรุ่งเรืองและตั้งอยู่ในช่วงสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายก่อนที่กรุงสุโขทัยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งอาณาจักรอยุธยาและสุโขทัยก็ร้างผู้คนในสมัยของพระนเรศวรหลังประกาศเอกราชกับราชวงศ์ตองอู ทำให้ภายหลังจากนั้นมาโบราณสถานในสุโขทัยก็ไม่ได้รับการดูแลหรือมีการบูรณะครั้งใหญ่อีกเลย
นอกจากนี้ก็มีปัจจัยที่เมืองย้ายเมืองไปพิษณุโลกเป็นหลักแทนที่เมืองสุโขทัย จนเมื่อเมืองสุโขทัยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมืองสุโขทัยได้รับการดูแลมากยิ่งขึ้นจากการสนับสนุนขององค์การยูเนสโก ส่งผลให้ชุมชนในเขตกำแพงเมืองแปรสภาพเพื่อสอดรับกับการที่สุโขทัยจะกลายเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญของประเทศ ซึ่งชุมชนเชตุพนที่อยู่นอกกำแพงเมืองก็พัฒนาตนเองเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เมืองสุโขทัย โดยตั้งศูนย์การเรียนรู้บ้านพระพิมพ์ ซึ่งศูนย์บ้านพระพิมพ์สุโขทัยก็ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างชาติที่ให้ความสนใจทางด้านศิลปะของสุโขทัย
พื้นที่ของชุมชนวัดเชตุพนที่การวางผังเมืองในอดีต ทำให้เขตเมืองสุโขทัยมีน้ำใช้ในทุกช่วงเวลาของปี สามารถทำการเกษตรได้ดีมาก ส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และงานหัตถกรรม รวมถึงค้าขายภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า
- ประชากรทั้งหมด 7,400 คน
- ครัวเรือนทั้งหมด 2,454 ครัวเรือน
งานเผาเทียนเล่นไฟของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
งานเผาเทียนเล่นไฟที่สุโขทัยของสุโขทัยเป็นงานใหญ่ประจำปีของจังหวัดที่เชื่อมโยงกับเทศกาลลอยกระทง โดยจัดงานทั้งหมดมีทั้งหมด 3,5,7และ9 โดยงานจัดมากสุด 10 วัน ส่วนมากจัดงานเป็นเลขคี่ โดยจะมีทั้งจัดงานขบวนแห่ ทั้ง 4 ทิศ อีกทั้งมีการจัดแสงสีเสียงในยามราตรี พร้อมทั้งงานเผาเทียนเล่นไฟ งานเผาเทียนเล่นไฟมาจากการตำนานความเชื่อท้าวศรีจุฬาลักษณ์ จากความเชื่อเรื่องนางนพมาศโดยนางนพมาศ ซึ่งทำกระทงมาเพื่อขอขมาพระแม่คงคาโดยตำนานเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองสุโขทัย ในงานเผาเทียนเล่นไฟจัดในช่วงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ทั้งอาทิตย์ของช่วงลอยกระทง
1.คุณณรงค์ โตอินทร์
คุณณรงค์ โตอินทร์ (พรานกบ) ผู้ที่มีความสนใจในประวัติศาสตร์ศิลปะ ชอบการสะสมพระพิมพ์ และมีความคิดที่จะจัดตั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์ในด้านศิลปะสุโขทัย โดยมองผ่านรูปแบบของพระพิมพ์ และวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับชาวสุโขทัยมาอย่างยาวนาน จึงนำมาสู่การสร้างศูนย์เรียนรู้บ้านพระพิมพ์ ศูนย์เรียนรู้บ้านพระพิมพ์จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยที่นักท่องเที่ยวสนใจที่จะเข้ามาท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เก็บรวบรวมพระพิมพ์ของเมืองสุโขทัยไว้มาก เป็นพระพิมพ์ที่ถูกค้นพบจากเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองเก่าสุโขทัย และยังมีกิจกรรมการทำพระ พิมพ์ดินเผาสุโขทัย และมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยในอดีต เช่น การยิงธนู การเล่นทอยแก่น การจุดไฟแบบโบราณ เป็นต้น
ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทุนภูมิปัญญาเนื่องจากชุมชนนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของคนไทย เป็นพื้นที่การเรียนรู้ ทำให้พื้นที่นี้มีคนเข้ามาอยู่ตลอดเวลาทั้งไทยและต่างชาติทำให้ศูนย์การศึกษาบ้านพระพิมพ์ได้รับความสนใจจากคนภายนอกเข้ามาภายในชุมชน
คนส่วนใหญ่ในจังหวัดสุโขทัยพูดภาษาไทย โดยมีสำเนียงออกเหน่อ
สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ไม่กี่แห่งในประเทศไทย ซึ่งการขึ้นเป็นมรดกโลกก็สร้างชื่อเสียงได้ในระดับโลกและสร้างความสนใจในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น การค้าในพื้นที่อุทยานเมืองเก่าหลังจากขึ้นทะเบียนมรดกโลกก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนในพื้นที่ โดยคนพื้นที่ก็พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมทั้งการค้าและสร้างการเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งสร้างการเรียนรู้ให้แก่คนที่อยู่นอกวัฒนธรรมได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น พื้นที่โดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยถูกพัฒนาขีดความสามารถให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถท่องเที่ยวได้ โดยในพื้นที่บ้านพระพิมพ์ก็มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านพระพิมพ์ที่น่าสนใจ
ในพื้นที่มีระบบการศึกษาที่ครบและพร้อมกับหลายช่วงวัย
ศิลปะแบบแผนสุโขทัย เชื่อมโยงเข้ากันได้กับประวัติศาสตร์ พระพิมพ์เกิดขึ้นมาภายใต้ระบบความคิดที่เชื่อว่าในอนาคตพุทธศาสนาจะหายไปเพราะฉะนั้นการรักษาและให้พระพุทธศาสนาสืบทอดต่อไปได้ต้องสร้างตัวแทนและสัญลักษณ์บางอย่างเพื่อให้ภาพแทนของพระศาสนายังคงอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ
เบญจมาศ สังเกตุ. (2566). เหนือล่างเดอะซีรีส์ ชีวิตการเรียนรู้ ผ่านศูนย์เรียนรู้บ้านพระพิมพ์ เมืองสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต) พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร
อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา. (ม.ป.ป.). วัดเชตุพน. สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2566 จาก, https://www.finearts.go.th/ayutthayahistoricalpark