โนราโรงครู ที่ในปัจจุบันหารับชมได้ยาก และภายในชุมชนยังมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากสมาชิกภายในชุมชน เช่น การผลิตเตาอั้งโล่ โรงตีมีด
ตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่ามีชายชราคนหนึ่งนำข้าทาสเดินทางมาจากสงขลาเพื่อไปยังนครศรีธรรมราช แล้วได้พักตรงบริเวณหมู่บ้านบ่อแดง แล้วพยายามขุดบ่อน้ำขึ้นเพื่อหาน้ำใช้ ซึ่งก่อนเดินทางชายชราผู้นั้นได้เสียชีวิตลงในบริเวณนี้ ต่อมาบ่อน้ำที่ขุดนั้นชาวบ้านที่เดินทางจากนครศรีธรรมราชได้มาพักตรงจุดดังกล่าว และขุดบ่อน้ำขึ้นเพื่อหาน้ำใช้ แต่ขุดไปก็พบว่าบ่อน้ำที่ขุดนั้นมีน้ำสีแดงออกมา ทำให้ชาวบ้านเรียกว่า บ่อแดง และใช้บ่อแดงเป็นชื่อของตำบลมาตราบจนถึงทุกวันนี้
โนราโรงครู ที่ในปัจจุบันหารับชมได้ยาก และภายในชุมชนยังมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากสมาชิกภายในชุมชน เช่น การผลิตเตาอั้งโล่ โรงตีมีด
ก่อนการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบ้านบ่อแดงในปัจจุบัน คาดว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นพื้นที่รกร้างมาก่อน สันนิษฐานจากการตั้งถิ่นของกลุ่มคนปัจจุบันมีความเป็นไปได้ที่จะมีกลุ่มคนเรร่อนมาอยู่ในบริเวณพื้นที่นี้และน่าจะเป็นทางผ่านของชาวจีน จากการพบข้าวของเครื่องใช้และการฝังศพอย่างคนจีน (ฮวงซุ้ย) ปัจจัยหนึ่งที่ชุมชนบ่อแดงกระจุกอยู่ริมชายฝั่งทะเลในปัจจุบันคาดว่าน่าจะมาแนวคิดการรวมตัวกันเพื่อให้สามารถช่วยเหลือกันได้มากกว่าการกระจายอยู่ตามท้องนาที่มักมีกลุ่มโจรพลุกพล่าน
สภาพทางภูมิศาสตร์
บ้านบ่อแดงเป็นหมู่บ้านบนคาบสมุทรสทิงพระ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและพื้นดินเต็มไปด้วยดินเหนียวและดินทราย พื้นที่ของชุมชนโอบล้อมไปด้วยทะเลทั้งสองฝั่งทำให้ชุ่มด้วยฝน อีกทั้งยุทธศาสตร์ที่อยู่ระหว่างสองเมืองใหญ่คือจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ ต.บ่อดาน อ.สทิงพระ จ.สงขลา
- ทิศใต้ ติดกับ ต.วัดจันทร์ อ.สทิงพระ จ.สงขลา
- ทิศตะวันออก ติดกับ อ่าวไทย ประเทศไทย
- ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ท่าหิน อ.สะทิงพระ จ.สงขลา
ชุมชนบ้านบ่อแดง เป็นการรวมกลุ่มคนทั้งไทยแขกและจีน โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพุทธที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตอนในของชุมชน จากการกำหนดพื้นที่ของรัฐ ทำให้พื้นที่ชุมชนที่ไม่ใช่เขตบ่อแดงถูกผสมกลมกลืนเข้ามาเป็นชุมชนเดียวกันคือ บ้านวัดพิกุล บ้านพังช้างตาย ถึงแม้ว่าทั้งสามชุมชนนี้ถูกรวมเป็นเป็นเขตองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเดียวกันแต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมของคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีชุมชนไทยอิสลามที่จะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมทะเล โดยชุมชนมุสลิมจะปกครองโดยโต๊ะอิหม่ามผู้นำทางศาสนาอิสลาม ประเพณีของชุมชนบ้านบ่อแดงจะให้ความสำคัญกับครอบครัวฝ่ายหญิงเป็นพิเศษ เพราะถ้าแต่งงานออกเรือนไปฝ่ายชายจำต้องแต่งงานเข้าบ้านฝ่ายหญิง อย่างไรก็ตามบ้านบ่อแดงก็ให้ความสำคัญกับญาติทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียม เพียงแต่ความสัมพันธ์จะเกิดขึ้นในครอบครัวฝ่ายหญิงมากกว่า โดยเมื่อถึงบุตรสาวถึงวัยอันควรก็จะมีบ้านเรือนที่พักอาศัยที่เตรียมพร้อมไว้สำหรับให้ลูกสาวเตรียมพร้อมสำหรับการมีครอบครัว
ประชากรในพื้นที่ชุมชนบ่อแดง ต.บ่อแดง อ.สทิงพระ จ.สงขลา จำนวนประชากรในชุมชนบ้านบ่อแดงมีทั้งหมด 826 คน (ข้อมูลปี 2566)
ภายในชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากสมาชิกภายในชุมชน เช่น คุณบุญเรือง มีการผลิตเตาอั้งโล่ภายในชุมชน หรือโรงตีมีดลุงไว ที่เป็นโรงงานผลิตมีดที่มีชื่อของชุมชนบ่อแดง
งานสารทเดือนสิบ
งานสารทเดือนสิบจัดในจัดในแรม 15 ค่ำเดือน 10 โดยเชื่อกันว่าเป็นวันที่ผีบรรพบุรษจะขึ้นมายังเมืองมนุษย์เพื่อรับส่วนบุญ ซึ่งภายในหนึ่งปีบรรพบุรษจะไม่สามารถขึ้นมาได้นอกเหนือจากช่วงเวลาสารทเดือนสิบ สาทรเดือนสิบไม่ใช่ความเชื่อที่จำกัดอยู่ทางภาคใต้อย่างเดียวในภาคอื่นของประเทศก็มีการจัดงานเหล่านี้เช่นกัน อย่างในภาคอีสานที่เรียกงานนี้ว่าบุญข้าวสากหรือในภาคกลางที่เรียกว่าสารทไทย สำหรับงานสารทเดือนสิบเป็นงานที่ทุกคนในชุมชนบ่อแดงต้องมารวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพชน
โนราโรงครู
งานโนราโรงครูเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อทำความเคารพบรรพบุรุษและครูบาอาจารย์ของตนเอง การบนบานศาลกล่าว และเพื่อครอบเทริดให้สำหรับคนที่เป็นจะโนราในอนาคต นอกจากจะเป็นการกราบไว้ครูหมอโนราแล้วยังให้คนในชุมชนเช่นไหว้บรรพบุรุษของตนเองด้วย
ด้วยทำเลที่ตั้งของชุมชน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ทำให้หาแหล่งโปรตีนได้ง่าย ขณะเดียวกันพื้นดินก็ยากต่อการทำการเกษตร ทำให้พืชผักไม่สามารถปลูกขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามจากที่ตั้งของชุมชนด้วยชัยภูมิที่ใกล้ทั้งเมืองนครศรีธรรมราชกับสงขลาทำให้ชุมชนนี้สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ง่าย และมีอาหารทะเลกินตลอดเวลา
คนในพื้นที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลัก ส่วนภาษาพูดใช้ไทยถิ่นใต้และภาษามลายูบางส่วน
ในอดีตชุมชนบ่อแดงนิยมรักษาด้วยยากลางบ้าน (หมอชาวบ้าน) เนื่องจากการเดินทางในอดีตไม่สามารถเดินทางไปยังตัวอำเภอได้สะดวก จากปัญหาที่ต้องอาศัยเรือแพในการเดินทางไปกลับและต้องนำตัวไปรักษาถึงตัวเมืองสงขลา แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลประจำอำเภอคือโรงพยาบาลสะทิงพระมีคุณภาพและการบริการที่ดีขึ้น ทำให้ชุมชนนี้ไม่จำเป็นที่ต้องเดินทางไปยังเมืองสงขลาหรือถ้าต้องเดินทางไปก็เดินทางได้ง่ายจากด้วยการคมนาคมที่สะดวกขึ้นมากกว่าอดีต
คนภายในชุมชนนี้นับถือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเปรียบเสมือนกึ่งเป็นเทพยดา เพราะฉะนั้นชุมชนนี้จึงให้ความสำคัญกับการพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษอย่างมาก ถึงแม้ออกไปทำงานต่างถิ่นก็ต้องกลับมาเพื่อทำพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น สารทเดือนสิบและโนราโรงครู เป็นต้น
ปดิวลดา บวรศักดิ์. (16 มีนาคม 2566). เจาะลึก "โนราโรงครู" พิธีกรรมหาชมยาก น้อมรำลึกบรรพชนของคนใต้. ศิลปวัฒนธรรม. จาก https://www.silpa-mag.com/
เธียรชัย อิศรเดช. (2542). นัยทางสังคมของพิธีโรงครู: กรณีศึกษาบ้านบ่อแดง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้. (ม.ป.ป.). ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2566 จาก, https://www.me-fi.com/
ที่นี่บ่อแดง. สืบค้นวันที่ 4 ธันวาคม 2566 จาก https://www.facebook.com/Teeneebordang/photos