ชุมชนวัดดาวดึงษาราม เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยธนบุรี โดยมีสถานที่สำคัญทั้งวัดดาวดึงษารามและโรงสุราบางยี่ขันที่อดีตเคยเป็นโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ในบริเวณชุมชน
ชุมชนวัดดาวดึงษาราม เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยธนบุรี โดยมีสถานที่สำคัญทั้งวัดดาวดึงษารามและโรงสุราบางยี่ขันที่อดีตเคยเป็นโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ในบริเวณชุมชน
ชุมชนวัดดาวดึงษาราม เป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยธนบุรี โดยมีสถานที่สำคัญทั้งวัดดาวดึงษารามและโรงสุราบางยี่ขันเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในบริเวณชุมชน
การหลั่งไหลเข้ามาของผู้คนมีมาอย่างต่อเนื่อง แบ่งออกเป็นสามช่วง
ช่วงแรก กลุ่มคนที่เข้ามาในช่วงนี้ไม่ทราบเวลาแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่า เป็นช่วงเวลาเดียวกับธนบุรีเป็นเมืองหลวง
ช่วงที่สอง คือ คนที่เข้ามาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเนื่องมาถึงช่วงหลังสงคราม กล่าวคือมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่ในชุมชนวัดดาวดึงษารามมาก เนื่องจากหนีภัยสงคราม โดยการอพยพเข้ามาลักษณะนี้จะเป็นการอพยพเข้ามาจากฝั่งพระนครและจากต่างจังหวัด และบางส่วนเข้ามาเพื่อทำงานที่โรงสุรา กลุ่มคนเหล่านี้บางส่วนยังคงอยู่ในชุมชนถึงปัจจุบัน บางส่วนได้ย้ายออกไปหาที่อยู่ใหม่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษมากขึ้น คนที่เข้ามาในช่วงนี้มีหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยที่มาจากทั่วสารทิศ คนจีนที่ล่องเรือมาจากเมืองจีนเพื่อมาอาศัยกับญาติพี่น้อง คนมอญที่ล่องเรือมาขายอิฐและมาตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน บางคนก็แต่งงานเข้ามาอยู่ในชุมชน คนในชุมชนนี้จึงมีความหลากหลาย การเข้ามาของผู้คนในช่วงแรกทำให้มีการแบ่งแยกพื้นที่ตามเชื้อชาติ แต่ภายหลังด้วยความผูกพันธ์และการรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การแบ่งแยกพื้นที่จึงคลี่คลายลง
ช่วงที่สาม การเข้ามาของกลุ่มคนภาคอีสาน กลุ่มคนอีสานนี้เข้ามาขายแรงงานเป็นหลัก เข้ามาอยู่กับญาติพี่น้องที่เข้ามาอยู่ก่อนแล้ว และมีการชักชวนกันเข้าตามมาเป็นช่วง ๆ เป็นการเข้ามาเช่าที่อยู่อาศัยลักษณะของบ้านเช่าเป็นหลังหรือเป็นห้อง แล้วแต่จำนวนสมาชิก (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 28-30)
ในอดีตพื้นที่โดยรอบชุมชนมีสภาพเป็นสวนผลไม้ เมื่อก่อนยังไม่มีสะพานพระปิ่นเกล้า บ้านเรือนมีน้อย ประกอบกับดินบริเวณวัดดาวดึงษารามมีความเหมาะสมแก่การเพาะปลูก เป็นดินที่ตะกอนของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมารวมกันและทับถมบริเวณนี้ จึงเหมาะสมแก่การปลูกพืชต่าง ๆ ซึ่งการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกันชาวบ้านเรียกว่า สวนเบญจพันธ์ โดยผลผลิตที่ได้จะนำไปขายที่ตลาดยอดฝั่งบางลำภู ตามคำบอกเล่าของคนในชุมชนหลาย ๆ ท่านอย่าง
ลุงคม “แถวนี้เป็นสวนหมดและที่บริเวณที่เช่าของกรมธนารักษ์ สวนแถวน้เป็นสวนเบญจพันธ์ ปลูกหลายชนิด เมื่อก่อนยังไม่มีสะพานพระปิ่นแถวนี้ก็เป็นสวนทั้งนั้น มีบ้านน้อยมาก บ้านนะเป็นหลังคาจาก ข้างฝาเป็นแบบขัดแตะ ใช้ไม้ไผ่ขัด”
ลุงสุวิทย์ “เมื่อก่อนตอนลุงเด็ก ๆ แถวนี้ไม่มีถนน เป็นคลอง เป็นสวน มีแต่สวน ปลูกผลไม้ กล้วย ทุเรียน มังคุด เยอะไม่หมด มันเป็นท้องร่อง แต่ลุงไม่ค่อยได้เดินมาแถวข้างในนี้ ส่วนมากลุงจะอยู่แถวบ้านที่เขาเรียกว่าบ้านริมน้ำนั้น และแถบใน ๆ เป็นสวน ท่าปิ่นเกล้าแต่ก่อนเรียกว่าท่าช้าง ติดคลองหลอดที่เป็นประตูระบายน้ำ ตอนนี้เปลี่ยนเป็นท่าพระปิ่นเกล้าแล้ว ก็คือว่ามีสะพานพระปิ่นเกล้าคร่อม มันเลยเปลี่ยนชื่อตาม”
การล่มสลายของสวนผลไม้เกิดจากการที่คนในชุมชนมีการปรับตัวเรื่องการสร้างที่อยู่อาศัย และเรื่องเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสัคมไทยที่มีการจัดสรรพื้นที่ทำกิน คือ สวนผลไม้ นาข้าว มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกบ้านเพื่อการอยู่อาศัย เนื่องจากการทำสวนผลไม้เกิดน้ำท้วม ไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และคนภายนอกชุมชนเริ่มเข้ามาหาเช่าบ้านในชุมชนมากขึ้น ดังนั้นพื้นที่สวนจึงถูกถมเป็นที่อยู่อาศัยของคนภายนอกที่เข้ามาอาศัยภายในชุมชน (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 25-27)
พื้นที่ในชุมชนวัดดาวดึงษาราม มีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่น ชุมชนติดเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า มีเนื้อที่ 23 ไร่
- ทิศเหนือ จรดคลองบางยี่ขัน
- ทิศใต้ จรดชุมชนโค้งถ่านและสถานีตำรวจบางยี่ขัน
- ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
- ทิศตะวันตก จรดชุมชนศรีอุลัย
ชุมชนดาวดึงษารามตั้งอยู่ในเขตฝั่งธนบุรี พื้นที่ของชุมชนแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ พื้นที่ที่อยู่ด้านในตัวชุมชนเป็นพื้นที่ราบ มีคลองบางยี่ขันและคลองหลอดเข้ามาถึง ส่วนพื้นที่อีกด้านหนึ่งเป็นพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีชาวจีนและกลุ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากกว่าพื้นที่ด้านในสวน เพราะกลุ่มคนที่เข้ามาส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ดังนั้นพื้นที่ที่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้จึงเป็นพื้นที่ด้านริมน้ำ ชาวบ้านในชุมชนเรียกว่า บ้านริมน้ำ
ลักษณะตัวบ้าน เป็นบ้านที่มีสองชั้น หลังคาสังกะสี บางบ้านปลูกสร้างมานานมีลักษณะเป็นชั้นเดียว โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ริมทางเดินในถนนของชุมชน เนื่องจากบ้านบริเวณนี้เป็นบ้านที่สร้างมาตั้งแต่เริ่มมีการรวมตัวเป็นชุมชนใหม่ ๆ บ้านบริเวณนี้มีทั้งเปิดเป็นร้านขายของชำ และขายกับข้าว
ส่วนบ้านที่อยู่ถัดเข้ามาในชุมชน หรือบ้านที่อยู่ด้านในของตัวชุมชน บางบ้านเป็นสองชั้น บางบ้านยังคงมีลักษณะเป็นชั้นเดียวอยู่ บ้านที่เป็นสองชั้นเป็นการต่อเติมบ้าน เนื่องจากพื้นที่จำกัดจึงต้องต่อเติมออกทางด้านบนเท่านั้น
ความหนาแน่นของบ้านเรือนมีเป็นบางส่วน คือ บ้านที่อยู่บริเวณริมน้ำจะมีความหนาแน่นมาก เช่นเดียวกับบ้านที่อยู่ในซอยตรอกศาบเจ้าก็มีความหนาแน่นของจำนวนบ้านเรือนเช่นกัน เนื่องจากต้องการขยายพื้นที่ของตัวบ้านเพื่อรองรับจำนวนคนที่เข้ามาอยู่อาศัยในชุมชน
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของชุมชนมีน้ำท่วมขังอยู่บริเวณใต้บ้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ในอดีตเมื่อถึงฤดูน้ำขึ้นก็จะมีน้ำท่วมเข้ามาในสวนของชาวบ้าน แต่ปัจจุบันทางการได้เข้ามาสร้างเขื่อนที่กั้นพื้นที่บริเวณชายฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อกันการกัดเซาะของดิน ลักษณะเขื่อนเป็นสันของปูนที่ก่อขึ้นมีความว้างประมาณ 30 เซนติเมตร กั้นระหว่างบ้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำเจ้าพระยา ผลจากการส้รางเขื่อนก่อให้เกิดน้ำขังในชุมชน น้ำที่ขังอยู่นานวันเข้าจึงเน่าเสียและเกิดกลิ่นเหม็นตามมา ทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เกิดโรคไข้เลือดออกระบาด (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 16-18)
การคมนาคม
ในอดีตใช้การสัญตรทางน้ำเป็นหลัก แต่ปัจจุบันการสัญจรเปลี่ยนมาเป็นทางบก โดยเส้นทางเข้าออกชุมชนสามารถเข้าออกได้ 4 ทาง เส้นทางแรกคือ ทางเรือ ซึ่งมีท่าเรืออยู่ที่ศาลาริมน้ำ ท่านี้จะไปขึ้นที่ท่าพระอาทิตย์ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เส้นทางที่ 2 คือ ทางเข้าออกทางหน้าวัดดาวดึงษาราม เส้นทางที่ 3 ทางที่ออกไปทางชุมชนศรีอุลัย ทางออกนี้สามารถออกไปทางถนนจรัญสนิทวงศ์ได้ ส่วนทางออกที่ 4 เป็นทางออกที่อยู่ด้านข้างแฟลตตำรวจบางยี่ขัน เส้นทางนี้แคบรถนนตร์ไม่สามารถเข้าออกได้
สถานที่สำคัญ
วัดดาวดึงษาราม
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 872 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่
วัดดาวดึงษารามสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าจอมแว่น หรือ คุณเสือ พระสมเอกในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นชาวลาวสร้างขึ้น ทำด้วยเสาไม้แก่น พระอุโบสถก่ออิฐสูงพ้นพื้นดินประมาณ 2 ศอก มีไม้แก่นเป็นเสาประกอบหลังคา หลังคามุงกระเบื้อง ฝาผนังเป็นไม้สัก มีบานประตูหน้าต่าง เป็นเพียงวัดเล็ก ๆ สันนิษฐานว่าสร้างถวายรัชกาลที่ 1 ขณะทรงพระประชวร และได้นิมนต์ พระอธิการอิน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระมาจำพรรษา เข้าใจว่า ท่านเป็นพระสงฆ์ชาวลาวมาครองวัด ชาวบ้านจึงเรียกว่า "วัดขรัวอิน"
บริเวณที่ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกประมาณ 200 เมตร และใกล้กับตอนใต้ปากคลองบางยี่ขัน มีถนนเข้าถึงวัดจากถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แล้วแยกเข้าซอยวัดดาวดึงษาราม บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี อาณาบริเวณใกล้เคียงกับวัดดาวดึงษารามเป็นที่ตั้งของวัดบางยี่ขัน วัดจตุรมิตรประดิษฐานราม และวัดพระยาศิริไอยสวรรค์ มีทางเดิมเชื่อมถึงกันทุกวัด (วัดดาวดึงษาราม, ม.ป.ป.)
พระอุโบสถ มีลักษณะก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องลด 2 ขั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันทำด้วยไม้สักจำหลักเป็นรูปดอกไม้ใหญ่ประดับ กระจกปิดทอง พื้นปูหินอ่อน มีเฉลียงรอบ ภายใน แบ่งเป็น 3 ห้อง ประตูหน้าต่างทำซุ้มประดับลายดอกไม้ปูนปั้น ติดกระจก บานหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำเล่าเรื่องทศชาติ และพระพุทธประวัติ ประตูด้านในเขียนรูปทวารบาลถือพระขรรค์ ยืนแท่นมียักษ์แบก ระบายสีงดงาม ผนังด้านหน้าของห้องแรก ระดับ กรอบหน้าต่างเขียนเล่าเรื่อง พระพุทธโฆษาจารย์ไปแปลพระไตรปิฎกที่ลังกา ผนังด้านหน้าพระประธาน เขียนเล่าเรื่องมโหสถชาดก ผนังด้านหลังเขียนเล่าเรื่องพระเวสสันดร และผนังด้านหลังของห้องชั้นในเขียนเล่าเรื่องพระเจ้าทธิวาหนะ ส่วนบริเวณ ผนังโดยรอบระดับเหนือประตูหน้าต่างจรดเพดานเขียนเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์รูปดอกไม้ล้อมพระโพธิสัตว์
ผู้คนในชุมชนวัดดาวดึงษารามส่วนหนึ่งเป็นคนดั้งเดิม และอีกส่วนเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาภายหลัง อันเนื่องมาจากภาวะสงคราม เข้ามาหางานทำ และตามญาติพี่น้องเข้ามา ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้คนในชุมชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลายเชื้อชาติ อาจแยกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกอยู่ในชุมชนมาตั้งแต่อดีต กลุ่มที่สองเข้ามาในช่วงหลังสงครามโลก กลุ่มที่สาม คนที่เข้ามาในช่วงปัจจุบัน
ชุมชนวัดดาวดึงษาราม ประกอบด้วยจำนวนบ้านเรือน 428 หลังคาเรือน 546 ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด 2,115 คน แบ่งเป็นชาย 977 คน และหญิง 1,138 คน (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 20)
จีน, มอญ5 อาชีพหลักของคนในชุมชน คือ การรับจ้างทำงานที่โรงงานเหล้า รับราชการ รับจ้างทั่วไปในชุมชนและนอกชุมชน การเก็บของเก่าขาย และการค้าขายของทั้งแบบที่เปิดร้านขาย เป็นรถเข็นหรือตั้งโต๊ะขาย
โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านทำงานที่โรงงานสุราบางยี่ขัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า โรงเหล้า เป็นหลัก เนื่องจากเป็นโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนและให้ค่าแรงสูง ซึ่งโรงงานนี้มีมาตั้งแต่สมัยต้นธนบุรี กระทั่งปิดตัวลงเนื่องจากหมดสัญญาเช่าที่จากกรมธนารักษ์ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ประกอบกับโรงเหล้ามีผลกำไรน้อยลง จากอดีตที่เคยผูกขาดการผลิตเพียงผู้เดียว เมื่อเปิดเสรีในการขายเหล้าส่งผลกระทบต่อผลกำไรและค่าใชจ่าย ทำให้ต้องปลดคนงานออกไป ในช่วงที่โรงงานสุราบางยี่ขันปลดคนงานออก ทำให้คนในชุมชนตกงาน บางส่วนที่พอมีทุนก็เริ่มต้นอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากนี้คนบางส่วนก็ทำงานอยู่นอกชุมชน เช่น รับราชการ และรับจ้างนอกชุมชน ทำงานสถานบันเทองบริเวณถนนที่ต่อเนื่องมาจากสะพานพระปิ่นเกล้า บางส่วนทำงานดูแลห้องพักตามโรงแรมย่านบางลำพู เนื่องจากเดินทางสะดวก ไม่ไกลจากชุมชน (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น.20)
คนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่มานานมีค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ภายในชุมชนส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องที่มาจากต่างจังหวัดด้วยกัน ความสัมพันธ์จึงเป็นแบบสนิทสนมกัน เมื่อมีเรื่องเดืดร้อนก็มักรวมตัวช่วยเหลือกัน รูปแบบความสนิทสนมของคนที่อยู่มาก่อนกับคนที่เข้ามาอยู่ใหม่นั้น ยังไม่มีความสนิทสนมกันมากนัก เนื่องจากข้อกำจัดเรื่องการทำงานที่ไม่ค่อยได้พบปะพูดคุยกัน (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 21)
ภายในชุมชนวัดดาวดึงษารามส่วนใหญ่เป็นคนไทย บางส่วนเป็นคนจีน และมอญ แต่ทั้งสามกลุ่มต่างนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก การดำเนินชีวิตจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และภายในชุมชนมีวัดถึง 3 วัด ทำให้คนในชุมชนมีกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนาตลอด เช่น การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา วันเข้าพรรษา ออกพรรษา
วัดที่คนชุมชนนิยมทำกิจกรรม ในอดีตนั้นเป็นวัดพญาศิริไอยสวรรคอยู่ใกล้ ขณะที่วัดดาวดึงษารามเป็นวัดที่เนนการสอนปริยัติธรรมและจัดงานบางงานเท่านั้น ไม่มีเมรุเผาศพ คนในชุมชนจึงไปทำพิธีที่วัดพญาศิริไอยสวรรคมากกว่าวัดดาวดึงษาราม นอกจากนั้นยังมีวัดจตุรมิต แต่ด้วยวัดนี้เป็นวัดนิกายแบบจีน ดังนั้นวัดจตุรมิตรจึงไม่มีอุโบสถเพื่อทำพิธีกรรม (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 22)
ในละแวกชุมชนวัดดาวดึงษาราม มีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง 1 แห่ง คือ โรงเรียนพญาศิริไอยสวรรค และมีโรงเรียนในพื้นที่ 1 แห่ง คือโรงเรียนราชการุญ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชุมชนวัดดาวดึงษาราม แต่ด้วยเป็นโรงเรียนเอกชนจึงไม่เป็นที่นิยมและปิดทำการไปแล้ว คนในชุมชนจะไปเรียนที่โรงเรียนวัดพญาศิริไอยสวรรค ที่อยู่ในชุมชนวัดพญาศิริแทน ด้วยเป็นโรงเรียนรัฐบาลและมีค่าเล่าเรียนถูกกว่า ทั้งยังอยู่ใกล้ชุมชน
คนในชุมชนส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ แต่ก็มีส่วนน้อยที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องด้วยข้อจำกัดบางครอบครัวไม่มีทุนทรัพย์ในการส่งบุตรหลานเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น (วิมาลา ไชยจันดี, 2544, น. 21)
วิมาลา ไชยจันดี. (2544). การศึกษาความสืบเนื่องของชุมชนผ่านประวัติชีวิตบุคคล กรณีศึกษาชุมชนวัดดาวดึงษาราม เขตบางพลัด. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัดดาวดึงษาราม. (ม.ป.ป.). ประวัติวัดดาวดึงษาราม. ค้นจาก http://www.watdao.com/frontend/history_wat
ระบบฐานข้อมูลพระกฐินพระราชทาน กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). วัดดาวดึงษาราม. ค้นจาก https://katin.dra.go.th/