Advance search

บ้านเขาน้อย

การรวมกลุ่มของชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มอาชีพส่งเสริมรายได้ในครัวเรือน เช่น กลุ่มฉิ้งฉ้างสามรส, กลุ่มทำขนมพื้นเมือง, กลุ่มทำเครื่องแกง

หมู่ที่ 1
เขาน้อย
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
พังงา
ชัขฎาพร ทองสกุล
31 ก.ค. 2023
วรดา นำพา
8 ส.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
11 ธ.ค. 2023
บ้านเขาน้อย
บ้านเขาน้อย

มีภูเขาเล็ก ๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ควน”หรือ “เขา” จึงทำให้มีที่เรียกกันมาเรื่อยๆว่า “บ้านเขาน้อย”


ชุมชนชนบท

การรวมกลุ่มของชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มอาชีพส่งเสริมรายได้ในครัวเรือน เช่น กลุ่มฉิ้งฉ้างสามรส, กลุ่มทำขนมพื้นเมือง, กลุ่มทำเครื่องแกง

เขาน้อย
หมู่ที่ 1
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
พังงา
82120
8.400723734061138
98.28005314428232
องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง

บ้านเขาน้อย เรียกตามสภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ภูเขาขนาดเล็กลูกหนึ่งโดยชาวบ้านเรียกภูเขาเล็กลูกนี้ว่า เขาน้อยซึ่งหมายถึงเขาเล็กนั้นเองเดิมบ้านเขาน้อยเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ ต่อมานานเข้าผู้คนเห็นเป็นที่ว่างเปล่าจึงเข้ามาจับจองเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อทำการเกษตร จากพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของกลายเป็นชุมชนที่มีครัวเรือนหลายครัวเรือน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2441 ทางราชการได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านโดยใช้ชื่อว่าบ้านเขาน้อยตามที่ชาวบ้านเรียกขานกัน บ้านเขาน้อยมีผู้ใหญ่บ้านมาแล้วทั้งสิ้น 5 คน คือ

  1. หมื่นประกอบสุข : ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2465 - 2542
  2. นายหนู มากสิน : ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 - 2516
  3. นายแอ้ม ทองกุล : ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 - 2533
  4. นายมานพ นำพา : ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - 2555
  5. นางวรดา นำพา : ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง จ.ส.ต.จิระวิทย์ พวงจิตร (นายกอ้น) นายกเทศมนตรีตำบลท้ายเหมือง ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนา เด็กเล็กเทศบาลตำบลท้ายเหมืองขึ้น โดยได้ขอใช้อาคารสำนักงานที่ดินจังหวัดพังงา สาขาท้ายเหมือง (หลังเก่า) ซึ่งกรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ใช้อาคารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 จ.ส.ต.จิระวิทย์ พวงจิตร (นายกอ้น) ได้ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิคริสตจักรคริสเตียนสัมพันธ์ภูเก็ตและได้ใช้งบประมาณส่วนตัวในการก่อสร้าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท้ายเหมือง ได้เปิดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 โดยเปิดสอนในระดับชั้นเตรียมอนุบาลและชั้นอนุบาล 1  มีเด็กนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 55 คน ในปีการศึกษาต่อมา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท้ายเหมืองมีจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อาคารเรียนหลังเดิมมีจำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนชั้นเรียน จึงมีความจำเป็นต้องใช้อาคารศูนย์ OTOP เป็นสถานที่รองรับการจัดการเรียนการสอนเด็กเล็กบางส่วนเป็นการชั่วคราว

เทศบาลตำบลท้ายเหมือง จึงได้ก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท้ายเหมืองหลังใหม่ และด้วยประกายความคิดที่เต็มเปี่ยม ด้วยความมั่งมั่น คิดใหญ่  มองการณ์ไกลไปข้างหน้าของ จ.ส.ต. จิระวิทย์ พวงจิตร (นายกอ้น) นายกเทศมนตรีตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับ เด็ก เยาวชน ให้ เก่ง ดี มีสุข มีอาชีพและมีชีวิตที่ดีในอนาคต ดังนั้น จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ขึ้นพร้อมกันโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ในการจัดสร้าง นั้นประสบความสำเร็จโดยมิได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น ได้รับการบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา

ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ได้มีการปรับปรุงบริเวณโรงเรียน เนื่องจากบริเวณโรงเรียนมีขุมเหมืองขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กนักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ซึ่งได้คำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียนจึงได้ทำการถมที่ดินบริเวณหลุมเหมือง และได้รับบริจาคทรายในการถมที่ดิน จาก พล.ต.ต.พยนต์ ลาเสือ ผู้บังคับการกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค3 และ คุณกิตต์ธานี พีรดนย์โกเศส (เล็ก โรงหินบายพาส) 

บ้านเขาน้อย เป็น 1 ใน 9 หมู่บ้านของตำบลท้ายเหมือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 

ที่ตั้งอาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ 5 บ้านท่าซอ ตำบลท้ายเหมือง
  • ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยกร้าง ตำบลท้ายเหมือง
  • ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยทราย ตำบลนาเตย
  • ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 9 บ้านทับยาง ตำบลท้ายเหมือง

โรงเรียนบ้านเขาน้อย เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้นเตรียมอนุบาล จนถึง ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนที่มีบ้านเรือนใกล้เคียงบริเวณใกล้โรงเรียน เปิดทำการเรียนการสอน 

ชุมชนบ้านเขาน้อย มีครัวเรือนทั้งหมด 419 ครัวเรือน จำนวนประชากร 859 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 427 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 432 คน คนชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย มีส่วนน้อยที่เป็นครอบครัวเดี่ยวผู้คนในชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน 

กลุ่มส่งเสริมอาชีพ มีการร่วมกลุ่มของชาวบ้านจัดทำกลุ่มอาชีพขึ้นมา มีการผลิตจัดทำ เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นสิ่งที่สำคัญในวิถีชีวิตและการดำรงชีพในปัจจุบัน ซึ่งชุมชนบ้านเขาน้อยได้ตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนคนในพื้นที่ ดังนี้

  1. กลุ่มฉิ้งฉ้างสามรส
  2. กลุ่มทำขนมพื้นเมือง
  3. กลุ่มทำเครื่องแกง

  • ประเพณีทำบุญทางศาสนา หากมีวันสำคัญทางศาสนาจะมีชาวบ้านร่วมตัวกันไปประกอบพิธี เพื่อเป็นการสืบสานทางวัฒนธรรม และเป็นตัวอย่างให้เด็กในชุมชนรุ่นหลังๆ ได้ปฏิบัติตามกันต่อไป
  • ประเพณีทำบุญหมู่บ้าน จะทำในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เพราะถือเป็นการเริ่มทำอะไรใหม่ๆ มีสิ่งดีๆเข้ามาในชุมชน และคนในชุมชน และในช่วงนั้นจะมีคนจำนวนมาก ทำให้คนในชุมชนได้พบปะพูดคุยกัน
  • ประเพณีสงกรานต์ ชุมชนจะมีการจัดกิจกรรมในวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นการรดน้ำขอพรผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุ และเป็นการปลูกฝั่งให้เยาวชนรุ่นหลังตามขนบธรรมเนียมประเพณี
  • ประเพณีทำบุญเดือนสิบ (วันสารทไทย) ประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องและ บุคคลอื่น ๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน 10 เป็นสองวาระคือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ครั้งหนึ่ง และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะ ผู้ที่ต้องตกนรกหรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติ ของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรก ดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10  ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระ ดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะมีความสำคัญ มากกว่า (บางท้องถิ่นทำในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10)

การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็น 4 อย่าง คือ  

  1. ประเพณีทำบุญเดือนสิบ โดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก
  2. ประเพณีทำบุญวันสารท โดยถือหลักของการทำบุญที่มีความ สัมพันธ์กับอินเดียเหมือนวันสารทไทยของคนไทยในภาคกลาง ดังกล่าวมาแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีทำบุญสารทหรือเดือนสิบ
  3. ประเพณีจัดหมรับ (สำรับ) การหมรับและการชิงเปรต คำว่า จัดหมรับ ได้แก่ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็นมื้อ ๆ การยกหมรับ ที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัดพร้อมทั้งภัตตาหารไปถวาย พระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล จะจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โตก็ได้ บาง แห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย ส่วนชิงเปรตหรือตั้งเปรต นั้น 
  4. ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย โดยถือคติ ว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับนรกตามเดิมในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 แต่มีบางแห่งถือว่า ญาติที่ล่วงลับ ไปแล้ว เหล่านี้เป็นตายายเมื่อท่านมาก็ทำบุญรับ เมื่อท่านกลับก็ส่งกลับจึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่าทำบุญตายายของทำบุญก็เหมือนกับที่กล่าวไว้ในข้อ 3

1.จ.ส.ต. จิระวิทย์ พวงจิตร (นายกอ้น) อดีตนายกเทศมนตรีตำบลท้ายเหมือง ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่ง ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับ เด็ก เยาวชน ให้ เก่ง ดี มีสุข มีอาชีพและมีชีวิตที่ดีในอนาคต ดังนั้น จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ขึ้นพร้อมกันโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม2551 ในการจัดสร้าง นั้นประสบความสำเร็จโดยมิได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง นั้น ได้รับการบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ)

กลุ่มส่งเสริมอาชีพ มีการร่วมกลุ่มของชาวบ้านจัดทำกลุ่ม อาชีพขึ้นมา มีการผลิตจัดทำ ปลาฉิ้งฉ้างสามรส,ขนมพื้นเมือง,เครื่องแกงชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้  

การเขียนใช้ภาษาไทย ส่วนการพูดใช้ภาษาไทยภาคใต้ และบางส่วนมีการพูดภาษาไทยภาคกลาง


ชุมชนบ้านเขาน้อยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เช่น การปลูกผัก การปลูกยางพารา การปลูกปาล์ม ทำสวนผลไม้ และการเลี้ยงสัตว์ แต่ผลผลิตที่ได้รับค่อนข้างน้อยเพราะพืชและสัตว์ที่นำมาทำการเกษตรกรรมเป็นพืชและสัตว์พื้นเมืองที่ยังไม่ได้การพัฒนาเท่าที่ควร ผลผลิตจึงออกมาต่ำ ประกอบราคาปุ๋ยและอาหารสัตว์ค่อนข้างสูตร ทางด้านเกษตรกรเองก็ไม่สามารถผลิตปุ๋ย และอาหารสัตว์ใช้เองได้เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตปุ๋ย และอาหารสัตว์ใช้เอง นอกจากนี้การจำหน่ายผลผลิตต้องผ่านพ่อค้าคนกลางราที่เกษตรกรจำหน่ายจึงค่อนข้างต่ำ เพราะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดกาพันธ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่ดีๆรวมตลอดถึงมีการตลาดกลาง ควบคุมราคาจำหน่ายสินค้าให้ได้ราคาเหมาะสม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลท้ายเหมือง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน. ค้นจาก http://www.thaimuangmuni.go.th/