Advance search

ชุมชนสามัคคีร่วมใจ คือหนึ่งในชุมชนริมคลองบางบัว ที่ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดสองฝั่งคลอง 9 ชุมชน พบปัญหาการรุกล้ำ จึงได้มีการจัดตั้ง "เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลองบัว" เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

สามัคคีร่วมใจ
อนุสาวรีย์
บางเขน
กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตบางเขน โทร. 0-2521-0551
สุธาสินี บุญเกิด
24 มี.ค. 2023
สุธาสินี บุญเกิด
30 มี.ค. 2023
สามัคคีร่วมใจ


ชุมชนสามัคคีร่วมใจ คือหนึ่งในชุมชนริมคลองบางบัว ที่ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดสองฝั่งคลอง 9 ชุมชน พบปัญหาการรุกล้ำ จึงได้มีการจัดตั้ง "เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลองบัว" เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน

สามัคคีร่วมใจ
อนุสาวรีย์
บางเขน
กรุงเทพมหานคร
10220
13.86004507
100.5866472
กรุงเทพมหานคร

คลองบางบัวเป็นอีกหนึ่งคลองที่มีความสำคัญที่ถูกขุดขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 มีความยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 3 เขตคือเขตหลักสี่ ดอนเมือง และบางเขน เพื่อการคมนาคมขนส่งและระบายน้ำ พบว่าปัจจุบันบริเวณ 2 ฝั่งคลองที่เป็นที่ราชพัสดุกำลังมีปัญหาการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนรุกล้ำภายในคลอง คลองบางบัวมีชุมชนที่อยู่ร่วมกันกว่า 11 ชุมชน ปลูกสร้างบนที่ราชพัสดุกว่า 138 ไร่ หรือประมาณ 2,881 ครัวเรือน ได้แก่ ชุมชนชุมชนสามัคคีร่วมใจ ชุมชนบางบัว ชุมชนรุ่นใหม่พัฒนา ชุมชนร้อยกลอง ชุมชนร่วมใจพัฒนาใต้ ชุมชนร่วมใจพัฒนาเหนือ ชุมชนก้าวหน้า ชุมชนอุทิศอนุสรณ์และชุมชนบ้านบางเขน ในการพัฒนาชุมชนริมคลองบางบัวนั้นได้มีการรวมตัวกันของชุมชนทั้ง 9 ชุมชน จัดตั้ง “ เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลองบางบัว ” เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน สำรวจข้อมูลภายในชุมชน เป็นตัวกลางในการเชื่อมร้อยชุมชนริมคลองทั้งหมดโดยสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่ม

ชุมชนสามัคคีร่วมใจ คือหนึ่งในชุมชนบุกรุกที่อยู่ในที่ราชพัสดุริมคลองบางบัว แต่ก่อนมีสภาพทรุดโทรมหนาแน่นการการดูแลจากภาครัฐและจากชาวชุมชน ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ต่อมาเมื่อทางภาครัฐให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย ทำให้เกิดหนทางที่นำไปสู่อนาคตที่สดใสขึ้นของชาวชุมชนที่ขาดโอกาสในการในการสร้างความมั่นคงและเข้มแข็ง โดยการผลักดันให้ชุมชนได้เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงเมื่อปี 2547 และดำเนินการตามแนวทางของโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ของกรมชลประทานและสำนักการระบายน้ำเพื่อโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมภายในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ เป็นเวลาเดียวกันกับที่ชาวบ้านอพยพย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เพิ่มขึ้น จนเกิดความหนาแน่นและไม่มีระเบียบ นอกจากนี้หน่วยงานดังกล่าวที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินก็มิได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต่อมาหน่วยงานของกรมชลประทานและสำนักการระบายน้ำจึงได้ส่งพื้นที่กลับคืนมายังการดูแลของกรมธนารักษ์ ซึ่งจากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าบนที่ดินแปลงดังกล่าวมีผู้เข้าไปใช้พื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนมาก และลักษณะของอาคารบ้านเรือนล้วนชำรุดทรุดโทรมไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีทางเดินภายในชุมชนคับแคบ ขาดความมั่นคงและแข็งแรง มีปัญหาน้ำเน่าเสียนำมาซึ่งเชื้อโรคและโรคระบาด ทำให้สุขภาพของคนภายในชุมชนแย่ลง

ชุมชนสามัคคีร่วมใจ มีลักษณะแปลงที่ดินเป็นรูปเหลี่ยมขนานไปกับคลองบางบัว ทางเข้าหลักอยู่ด้านถนนพหลโยธินบริเวณเชิงสะพานบางบัว สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีน้ำขัง ด้านหลังมีทางเดินสาธารณะเชื่อมต่อชุมชนกองการภาพที่สามารถออกไปสู่ถนนพหลโยธินได้

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกรมโยธาธิการ
  • ทิศตะวันออก ติดหมู่บ้านถาวรวิลล่า บางบัว และโรงเรียนมาโนชวิทยา
  • ทิศใต้ ติดถนนพหลโยธิน
  • ทิศตะวันตก ติดคลองบางบัว

บ้านรือนส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้ห้องแถวชั้นเดียวสร้างติดกันและปลูกไม่เป็นระเบียบ บ้านเรือนอยู่ในสภาพที่ชำรุด บางหลังปรับปรุงกันเองจึงอยู่สภาพดี มีส่วนน้อยที่จะเป็นอาคารสองชั้น (ธนะวัฒน์ รุโจประการ, 2550, น. 90) สภาพแวดล้อมมีปัญหาน้ำเน่าเสีย ทางเดินภายในชุมชนแคบ ไม่มีรถยนตร์เข้าถึง มีเพียงทางเท้า

สาธารณูปโภค

ที่ตั้งของชุมชนติดอยู่กับถนนพหลโยธินบริเวณสะพานบางบัว เป็นถนนที่มีความสำคัญและสามารถเชื่อมต่อถนนสายสำคัญในกรุงเทพมหานคร เช่น เขตจัตุจักร เขตลาดพร้าว และเขตดอนเมือง อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญอีกหลายสาย ได้แก่ ถนนรามอินทราเชื่อมต่อกับถนนพหลโยธินบริเวณหลักสี่ เขตบางเขน, อุโมงค์ลอดวงเวียนหลักสี่ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน เชื่อมต่อไปยังเขตดอนเมือง, อุโมงค์ลอดพื้นที่กรมทหารราบที่ 11 ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน เชื่อมต่อไปยังถนนลาดปลาเค้า (ธนะวัฒน์ รุโจประการ, 2550, น. 108)

ชุมชนสามัคคีร่วมใจ มีจำนวนประชากร 650 คน แบ่งเป็นชาย 305 คน และหญิง 345 คน (ธนะวัฒน์ รุโจประการ, 2550, น. 109)

ในสมัยก่อนคลองบางบัวเป็นคลองที่มีความสำคัญของผู้คนบริเวณบางเขน ยังผลให้ชุมชนสามัคคีร่วมใจเดิมมีความน่าอยู่ มีวิถีชีวิตชาวบ้านที่สวยงาม มีการทำมาหากิน มีความอุดมสมบูรณ์ชวนให้นึกถึงคำว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ความสัมพันธ์ภายในชุมชนแบบเครือญาติ มีความผูกพันในพื้นที่และเพื่อนบ้านในละแวก แต่พอเมื่อทุกอย่างมีความเปลี่ยนแปลง ทำให้วิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนไป และนับวันยิ่งก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรม และขาดความมั่นคงในชีวิต ภายในชุมชนสามัคคีร่วมใจมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รับราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยอาชีพรับจ้างส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานที่ทำกันในโรงงาน รายได้เฉลี่ยประมาณ 5,000-8,000 บาท/คน/เดือน (ธนะวัฒน์ รุโจประการ, 2550, น. 110-111)

ด้านวัฒนธรรมประเพณี บริเวณนี้มีศาสนสถานที่ใกล้เคียงคือวัดบางบัวและวัดพระศรีมหาธาตุ มีการจัดงานตามเทศกาลเช่น วันเด็ก วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษาหรือแม้แต่ช่วงเวลาพิเศษอย่างกิจกรรมเลือกตั้ง ตัวอย่างที่กิจกรรมที่ชุมชนมี (ธนะวัฒน์ รุโจประการ, 2550, น. 110)

  1. กิจกรรมทางศาสนา เช่น ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา
  2. กิจกรรมวันสำคัญของไทย เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเด็ก
  3. กิจกรรมในวันเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์
  4. กิจกรรมทำประโยชน์ เช่น การกำจัดยุงลาย มอบทุนการศึกษา เลี้ยงอาหาร เด็กเป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ถ้าเป็นชาวชุมชนดั้งเดิมก็อาจใช้ภาษาพื้นถิ่น เช่น ภาษาอีสาน


ด้านการศึกษาการศึกษาของคนส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ในชุมชนก็ยังมีความแตกต่างทางการศึกษาสูง คนที่มีฐานะก็จะได้รับการศึกษาสูงส่วนคนที่มีรายได้ต่ำก็จะได้รับการศึกษาที่ไม่สูงนัก ยกเว้นบางรายที่ไม่ได้รับการศึกษาเลยก็มี จึงทำให้มีความแตกต่างทางด้านความคิดและการรับรู้สิ่งต่างๆ ตลอดจนพัฒนาชีวิตตัวเองที่ดีขึ้น (ธนะวัฒน์ รุโจประการ, 2550, น. 110)


ที่ดินราชพัสดุริมคลองบางบัว ปัญหาการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนรุกล้ำภายในคลอง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ธนะวัฒน์ รุโจประการ. (2550). แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยบนที่ดินราชพัสดุ : กรณีศึกษาชุมชนสามัคคีร่วมใจ บางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคหการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีเอ็นพี มีเรื่องเล่า (2021, 15 ธันวาคม). เดินเล่น!! ริมคลองบางบัว. จาก. https://www.youtube.com/

สำนักงานเขตบางเขน โทร. 0-2521-0551