Advance search

ท้ายเหมือง

ในตำบลท้ายเหมือง ตลาดท้ายเหมืองคือตัวเมือง

หมู่ที่ 4
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
พังงา
ชัชฎาพร ทองสกุล
31 ก.ค. 2023
สุชาภาณุกฤต ชัฏเสน
10 ส.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
11 ธ.ค. 2023
ตลาดท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง

มาจากการประกอบอาชีพร่อนหาแร่ตามท้ายรางเหมืองแร่ของประชาชน ซึ่งในขณะที่เข้ามาร่อนหาแร่นั้นจะพูดกันว่าร่อนแร่ท้ายเหมือง ครั้นนานเข้าคำว่าร่อนแร่หายไปเหลือเรียกสั้นๆ ว่า ท้ายเหมือง เดิมที่ตั้งของบ้านตลาด 


ในตำบลท้ายเหมือง ตลาดท้ายเหมืองคือตัวเมือง

ท้ายเหมือง
หมู่ที่ 4
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
พังงา
82120
8.387357696370572
98.27085057051896
องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง

บ้านตลาดท้ายเหมือง มาจากการประกอบอาชีพร่อนหาแร่ตามท้ายรางเหมืองแร่ของประชาชน ซึ่งในขณะที่เข้ามาร่อนหาแร่นั้นจะพูดกันว่าร่อนแร่ท้ายเหมือง ครั้นนานเข้าคำว่าร่อนแร่หายไปเหลือเรียกสั้นๆ ว่าท้ายเหมือง

เดิมที่ตั้งของบ้านตลาด ท้ายเหมืองเป็นพื้นที่ปามีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ แต่เนื่องด้วยพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสายแร่ดีบุก จึงมีผู้คนเข้ามาบุกเบิกทำกิจการเหมืองแร่บริเวณนี้กันมากมาย จากการทำกิจการเหมืองแร่นี้เองประชาชนได้พากันเข้ามาร่อนหาแร่บริเวณท้ายร่างชองเหมืองแร่โดยมาปลูกเพิ่งเล็ก ๆ อาศัยหลับนอนเพื่อร่อนหาแร่เรียกกันว่า ร่อนแร่ท้ายเหมือง ครั้นนานเข้าประชาชนจากท้องถิ่นอื่นก็เริ่มอพยพเข้ามาร่อนหาแร่กันมากขึ้น มีการทำธุรกิจค้าเกิดขึ้นชุมชนที่เดิมมีขนาดเล็ก ก็ขยับขยายกลายเป็นชุมชนใหญ่ ชาวบ้านทั่วไปพากันเรียกขานชุมชนแห่งนี้ว่าท้ายเหมือง ตามลักษณะการประกอบอาชีพมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันบ้านตลาดท้ายเหมืองเป็นหมู่บ้านที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นที่ตั้งของส่วนราชการเกือบทุกส่วนราชการในอำเภอ

ศาลเจ้าเล่งสั้นเก้ง ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2415 ประมาณ 151 ปี เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ก่อตั้งด้วยความเชื่อความศรัทธาของประชาชนท้องถิ่นซึ่งได้รับความเคารพนับถือจากชาวบ้านและจังหวัดใกล้เคียงคือองค์จ้อสู้ก้ง ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบมาว่า มีชาวจีนผู้หนึ่งมีชื่อว่า ลิ่มยู่ซุ่ย (พ่อของขุนอุดม เกิดทรัพย์) มีลักษณะที่โดดเด่น คือ ไว้ผมเท้าจั้ง สูบหุ้นโฉ้ย ได้เดินทางมาจากประเทศจีนโดยเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่มีเสากระโดงอยู่ 3 เสา (เรือใบ 3 หลัก) แล่นเรือเลาะเรียบมาตามชายฝั่งผ่านทับละมุเข้ามาเทียบท่า ณ ท่าท้ายก้อง (ปัจจุบันนี้คือที่ทำการที่ดิน อำเภอท้ายเหมือง ซึ่งอดีตมีการพบเงินเหรียญเศษถ้วยชาม ซากเรือ และอุปกรณ์เรือมากมาย) ท่านได้นำรูปพระ (กิ้มชิ้น) จ้อสู้ก๋งติดตัวมาด้วยเพื่อที่จะเอาไว้กราบไหว้บูชาโดยในระยะแรกท่านได้มาพักอาศัยอยู่ที่กงสุ้ย ต่อมาท่านได้ประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ อีกทั้งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณศาลเจ้าปัจจุบัน ภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตลงสถานที่นั้นมีผู้คนเคารพกราบไหว้พระเจ้าสู้ก๋งสืบต่อกันมา ต่อมาแป๊ะจู๋ได้สร้างสถานที่นี้ให้มีความมั่นคงถาวรขึ้น ส่วนแป๊ะผ่างได้สร้างกระถางธูปถวายโดยนำมาจากสิงคโปร์ ส่วนร่างทรงจ้อสู้ก๋งคนแรก คือ ตั๋นอาหายซึ่งขณะที่ทรงมีอายุพอสมควรแล้ว

ต่อมาเมื่อตั๋นอาหายเสียชีวิตร่างทรงคนต่อมาคือ ตั๋นฉั่วฮับซึ่งในยุคนี้ก่อเกิดปาฏิหาริย์มากมาย ทำให้ชื่อเสียงของพระจ้อสู้ก๋งเป็นที่เคารพเสื่อมใสของผู้คนในละแวกใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาเมื่อแป๊ะฮับเสียชีวิตลงช่วงระยะเวลาดังกล่าวจ้อสู้ก๋งจะมีการประทับทรงหรือไม่ผู้ให้ข้อมูลบอกเล่าขัดแย้งกันจึงไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน นอกจากนี้ในช่วงเวลานั้นมิสเตอร์เฟรนซ์ ชาวเยอรมัน ได้ เข้ามาทำเหมืองแร่โดยยื่นขอบัตรสัมปทานการทำเหมืองแร่กินอาณาบริเวณไปถึงศาลเจ้ามีการปิดป้ายประกาศให้รื้อถอน แต่เหมือนมีปาฏิหาริย์หรืออะไรดลบนดาลใจ ทำให้แป๊ะข้ามหิ้นเมื่อเห็นประกาศดังกล่าว จึงได้ดำเนินการคัดค้านการทำสัมปทานดังกล่าวจากกรมบ่อแร่ ซึ่งในยุคนั้นขุนพิสัยสมัครกิจเป็นนายกอำเภอท้ายเหมืองการคัดค้านจึงประสบความสำเร็จ ทำให้ศาลเจ้าสามารถดำรงอยู่จนปัจจุบันนี้ โดยในระยะแรกนั้นศาลเจ้ามีพื้นที่อยู่ถึง 14ไร่เศษช่วงระยะเวลาที่เว้นว่าง จากการที่พระจ้อสู้ก๋งไม่ได้ประทับทรงไม่เป็นที่แน่ชัด ต่อมาแป๊ะฮ่องกาวได้ประกอบพิธีกรรมอันเชิญจ้อสู้ก๋งขึ้นแต่เพียงผู้เดียวโดยตั้งปณิธานไว้ว่า ถ้าพระจ้อสู้ก๋งไม่มาประทับทรงจะหอบผ้าหอบผ่อนไปอาศัยอยู่ที่อื่นและจะไม่เหยียบท้ายเหมืองอีกเพราะอับอายขายขี้หน้าชาวบ้านซึ่งแป๊ะฮ่องกาวได้ประกอบพิธีถึง 7 วัน 7 คืน พระจ้อสู้ก๋งจึงได้ประทับร่างแป๊ะออบักเป็นร่างทรงคนต่อมาจากนั้นประชาชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นความเสื่อมใสศรัทธาก็มีมากขึ้น

ชุมชนตลาดท้ายเหมือง อยู่ส่วนกลางของตำบลท้ายเหมือง ทางหลวงแผ่นดินสาย 401 ถนนเพชรเกษม 

  • ทิศเหนือ ติดต่อ หมู่ที่ 1 บ้านเขาน้อย ตำบลท้ายเหมือง
  • ทิศใต้ ติดต่อ หมู่ที่ 3 บ้านพอแดง ตำบลท้ายเหมือง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อ หมู่ที่ 2 บ้านบ้านห้วยกร้าง ตำบลท้ายเหมือง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อ หมู่ที่ 9 บ้านทับยาง ตำบลท้ายเหมือง

จากการสำรวจสถิติประชากรชุมชนตลาดท้ายเหมือง มีครัวเรือนทั้งหมด 804 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,175 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 558 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 617 คน ชาวบ้านในชุมชนจะได้รับความดูแลจากเทศบาลตำบลท้ายเหมือง

  • เทศบาลท้ายเหมือง เทศบาลตำบลท้ายเหมือง เป็นเทศบาลขนาดเล็ก เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาล ตามพระราชบัญญัติเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 มีที่ตั้งอยู่ส่วนกลางของตำบลท้ายเหมือง มีพื้นที่รับผิดชอบ 2.87 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมตำบลท้ายเหมือง หมู่ที่ 4 ทั้งหมด และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1,2,3และหมู่ที่ 9 โดยมีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ระยะห่างจากจังหวัดพังงา 57 กิโลเมตร เทศบาลตำบลท้ายเหมืองเป็นเทศ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยมีนายกเทศมนตรีคนแรก คือ นายศิริศักดิ์ อุทิศธรรม ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2542 -18 กันยายน 2543 นายกเทศมนตรีคนที่ 2 จ.ส.ต.จิระวิทย์ พวงจิตร ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2543 – 31 มกราคม 2564 นายกเทศมนตรีคนที่ 3 นายจิระศักดิ์ พวงจิตร ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 จนถึงปัจจุบัน

ประเพณีถือศีลกินผัก ในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ถึงขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 (ตามปฏิทินจันทรคติ) จะเป็นการถือศลีกินเจของชาวบ้านในชุมชน และชาวบ้านในตำบลท้ายเหมือง แต่สำหรับชาวตำบลท้ายเหมืองที่จะร่วมถือศีลกินผักอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้บุญและได้สุขภาพไปพร้อมกัน และถือปฏิบัติ การถือศีล และข้อห้ามต่างๆ ในระหว่างกินเจทั้ง 9 วันดังนี้

  • งดกินเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แน่นอนว่าคนที่จะ "กินเจ" ต้องรู้อยู่แล้วว่าอาหารเจ คือ อาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด ทั้งนี้ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น นมวัว, นมแพะ, น้ำมันหมู, ไข่ไก่, ไข่เป็ด, เนย, ชีส, โยเกิร์ต, น้ำผึ้ง, เจลาติน(ทำจากไขกระดูกและหนังสัตว์) ฯลฯ ต้องงดอาหารที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย เนื่องจากเป็นการเบียดเบียนสัตว์เพื่อให้ได้มา ดังนั้นจึงเป็นของต้องห้ามในช่วงกินเจเช่นกัน
  • งดกินผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด ในช่วงเทศกาลกินเจทั้ง 9 วัน เนื่องจากตามความเชื่อของชาวจีนฮกเกี้ยน ซัวเถา (ต้นกำเนิดประเพณีถือศีลกินผักในไทย) เชื่อว่าผักกลิ่นฉุนทั้ง 5 ชนิดนี้จะไปทำลายธาตุทั้งห้าในร่างกาย ได้แก่
    • กระเทียม : ทำลายธาตุไฟ ทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ
    • หอมใหญ่ หอมแดง ต้นหอม : ทำลายธาตุน้ำ ทำให้ไตทำงานไม่ปกติ
    • กุยช่าย : ทำลายธาตุไม้ ทำให้ตับทำงานไม่ปกติ
    • หลักเกียว (คล้ายกระเทียมโทน) : ทำลายธาตุดิน ทำให้ม้ามทำงานไม่ปกติ
    • ใบยาสูบ (สูบบุหรี่) : ทำลายธาตุโลหะ ทำให้ปอดทำงานไม่ปกติ

จ.ส.ต. จิระวิทย์ พวงจิตร (นายกอ้น) อดีตนายกเทศมนตรีตำบลท้ายเหมือง ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่ง ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับ เด็ก เยาวชน ให้ เก่ง ดี มีสุข มีอาชีพและมีชีวิตที่ดีในอนาคต ดังนั้น จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ขึ้นพร้อมกันโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม2551 ในการจัดสร้าง นั้นประสบความสำเร็จโดยมิได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น ได้รับการบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท้ายเหมือง (ประชาชนร่วมใจ)

  • ทุนวัฒนธรรม ประเพณีถือศลีกินผัก ในช่วงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ถึงขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 (ตามปฏิทินจันทรคติ) ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนในชุมชน และคนในตำบลจะถือศลีกินเจเป็นส่วนใหญ่ เป็นช่วงประชาชนจะมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนเป็นอย่างมาก 
  • ทุนเศรษฐกิจ ตลาดท้ายเหมือง เป็นตลาดในตัวเมือง ในตำบลท้ายเหมือง ที่ผู้คนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะมาจับจ่ายใช้ส่อย ซื้อของอุปโภค บริโภค สาธารณูปโภค มีผู้ประกอบการประมาณ 150 ร้าน

การเขียนใช้ภาษาไทย ส่วนการพูดใช้ภาษาไทยภาคใต้ และมีการพูด ภาษาไทย ภาคกลางบางส่วน และมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่ในพื้นที่บางส่วนอีกด้วย


ชุมชนตลาดท้ายเหมือง ไม่มีความเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ชุมชนในตลาดไม่สามารถขยับขยายได้ เนื่องสองข้างทางเป็นร้านค้าที่ขายสินค้าต่างๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เป็นแค่การเปลี่ยนผู้เช่าผู้ประกอบกิจการใหม่เท่านั้น

ร้านแสงรุ้ง จำหน่ายขนมโบราณมากมายในราคาที่ย่อมเยา สามารถซื้อเป็นของฝากได้

เทศบาลตำบลท้ายเหมือง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน. ค้นจาก http://www.thaimuangmuni.go.th/