น้ำตกโตนไพร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
มาจากการเรียกชื่อท่าจอดเรือในหมู่บ้าน เล่ากันว่าในสมัยก่อนการเดินทางสัญจรไปมาของผู้คนส่วนใหญ่เดินทางกันทางน้ำโดยใช้เรือเป็นพาหนะ ผู้คนในสมัยนั้นได้ใช้ท่าเรือแห่งนี้เป็นที่จอดพักเรือ และมีกิจกรรมยามว่างในขณะ นั้นด้วยการนั่งสีชอ
น้ำตกโตนไพร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
ชุมชนบ้านท่าซอ มาจากการเรียกชื่อท่าจอดเรือในหมู่บ้าน เล่ากันว่าในสมัยก่อนการเดินทางสัญจรไปมาของผู้คนส่วนใหญ่เดินทางกันทางน้ำโดยใช้เรือเป็นพาหนะ และในสมัยนั้นมีชาวจีนได้เข้ามาติดต่อค้าขายและลงทุนทำเหมืองแร่กันมาก เมื่อเดินทางมาถึงพื้นที่บริเวณนี้จะมีท่าจอดเรือ ผู้คนในสมัยนั้นได้ใช้ท่าเรือแห่งนี้เป็นที่จอดพักเรือ และมีกิจกรรมยามว่างในขณะ นั้นด้วยการนั่งสีชอที่ท่าเรือแห่งนี้ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าบ้านท่าซอตั้งแต่นั้นมาเป็นดวน (เนินเขาชนาดเล็ก) ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำสวนยางแต่เติมบันท่อเป็นชุมชนนาดเล็กมีชาวบ้านอาศัยอยู่น้อย พื้นที่ส่วนใหญ่ต่อมาเมื่อชุมชนติบโตขยายใหญ่ขึ้นทางราชการจึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อว่าบ้านท่าซอ
ชุมชนบ้านท่าซอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอท้ายเหมืองประมาณ 3.3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมืองประมาณ 5.5 กิโลเมตร ซึ่งชุมชนบ้านหินลาดจะมีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ เช่น บ้านปะเต (บางส่วน) บ้านลำหลัง บ้านปักคล้า
จากการสำรวจสถิติประชากรชุมชนบ้านท่าซอมีครัวเรือนทั้งหมด 562 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,173 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 574 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 599 คน คนชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย มีส่วนน้อยที่เป็นครอบครัวเดี่ยวผู้คนในชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน คนนับถือศาสนาพุทธ
กลุ่มกาละแมบ้านท่าซอ ซึ่งเดิมที นายสุธา ปลอดภัย นายประจบ คงผล และนายวันนา เกตุแก้ว จัดตั้งกลุ่มทำการละแม เพื่อใช้ในงานพิธีต่างๆในหมู่บ้าน แล้วหยุดไป นายสุธา ปลอดภัยจริงได้ตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้รับเงินต่อยอดมาจากโครงการจัดทำขนมไทยเพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 75,000 บาท เพื่อซื้ออุปกรณ์กวนกาละแม จึงชวน นายวันนา เกตุแก้ว มาเป็นผู้สอน มอบความรู้ให้คนในชุมชนบ้านท่าซอ
หมู่บ้านท่าซอเป็นหมู่บ้านที่ประชาชนที่อยู่กันอย่างเรียบง่ายและประชาชน นับถือศาสนาพุธ 100 % ยึดถือประเพณีและวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยร่วมกิจกรรมสนับสนุนพุทธศาสนา พาปิ่นโตไปวัดทุกวันพระ ประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำผู้สูงอายุ และประเพณีสารทเดือนสิบ ฯลฯ
1.นางกัญญานี แสงเสมา (สุขเจริญ) หรือครูกัญญานี
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2500
บิดาชื่อ นายเสนอ สุขเจริญ
มารดาชื่อ นางกลอยใจ สุขเจริญ
ประวัติการศึกษา
- เริ่มศึกษาที่ โรงเรียนวิชิตสงคราม อ.เมือง จ.ภูเก็ต
- ป.4 โรงเรียนวัดปัตติการาม อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
- ป.5-7 โรงเรียนท้ายเหมือง เป็นรุ่นสุดท้าย
- ม.1-3 โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
- ปกศ.ต้น วิทยาลัยครูภูเก็ต
รับราชการครู
- เริ่มบรรจุแต่งตั้ง ทีโรงเรียนบ้านทุ่งดอน ต.บางทอง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ปี พ.ศ. 2519
- ย้ายมารับราชการครูโรงเรียนชาวไทยใหม่ ( โดม-ทักษิณอนุสรณ์ ) ปี พ.ศ. 2520
- เกษียณอายุราชการ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ผลงานดีเด่นและคุณูปการต่อการศึกษา
- ได้รับรางวัลครูดีเด่นของคุรุสภา
- วิทยากรการอบรมครูภาษาไทย
- วิทยากร การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวมอแกลน รองแง็ง เพลงบอก ลิเกป่า
- วิทยากร ลูกเสือระดับจังหวัดพังงา
- ได้รับการแต่งตั้งเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (คศ3) วิชาเอกภาษาอังกฤษ
ท่านเป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชนหมู่ที่ 5 แต่ท่านได้เป็นครูที่ โดมทักษิณอนุสรณ์ (โรงเรียนบ้านไทยใหม่) โรงเรียนนี้จะมีนักเรียนชาวมอแกลนเยอะ เลยทำให้ครูกัลยาณี คิดอยากสืบสานประเพณีวัฒนธรรมรองเง็ง ภาษามอแกลน ท่านสามารถพูดสื่อสารภาษามอแกลนได้ โดยที่ตัวท่านเองไม่ใช่มอแกลน ท่านยังเป็นตัวแทนเป็นปากเป็นเสียง ให้กลุ่มมอแกลน (ลำปี-ทับปลา) และได้พากลุ่มมอแกลนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งท่านได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562
ทุนเศรษฐกิจ
- ตลาดนัดท่าซอ เป็นตลาดของคนในชุมชนนำสินค้ามาจำหน่ายหลากหลายประเภท เปิดทุกวัน เสาร์ - อาทิตย์
- กาละแม ชุมชนบ้านท่าซอ ได้ให้คนในชุมชนสามารถรับออเดอร์ แล้วมาจัดทำตามแต่ที่ตนซึ่งวิธีนี้นอกจากช่วยให้มีรายได้จากการผลิตแล้ว ยังช่วยให้มีรายได้ในการรับออเดอร์ในการขายอีกด้วย
ทุนกายภาพ
- น้ำตกโตนไพร ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ใน จังหวัดพังงา เป็นน้ำตกที่มีความสูงและใหญ่ มีเพียงแค่ชั้นเดียวเท่านั้น แต่ก็สวยงดงามมากๆ ที่สำคัญมีน้ำไหลตลอดทั้งปีอีกด้วย โดยน้ำตกแห่งนี้จะถูกล้อมรอบไปด้วยป่าดิบชื้น ที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ซึ่งจะต้องผ่านเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 650 เมตร ตลอดเส้นทางจะได้ชมพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่หายาก ถ้ามาจากอำเภอท้ายเหมือง ให้มาทางถนนหลวงหมายเลข 4 พอถึงกิโลเมตรที่ 28-29 ก็ให้เลี้ยวขวาเข้าไป ขับไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เข้าไปอีก 6 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
การเขียนใช้ภาษาไทย ส่วนการพูดใช้ภาษาไทยภาคใต้ และมีการพูด ภาษาไทย ภาคกลางบางส่วน
- ชุมชนบ้านท่าซอมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง การมีกิจการร้านอาหาร สถานที่ เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มรายรับให้บุคคลในชุมชนมากขึ้น
ร้านอาหารท้ายราง เป็นร้านอาหารที่ขึ้นชื่อในชุมชน และขึ้นชื่อในตำบลท้ายเหมือง ที่ใครมาแล้วต้องแวะชิม