น้ำตกลำปี
มาจากการเรียกชื่อหินก้อนหนึ่งในหมู่บ้าน เล่ากันว่าเป็นก้อนหินขนาดใหญ่เท่าบ้านเรือนที่คนอยู่อาศัย ตั้งอยู่ในลักษณะลาดเอียงโดยคนจีนที่เข้ามาทำเหมืองหาบเป็นผู้พบเห็นหินก้อนดังกล่าว จึงเรียกชุมชนที่เป็นที่ตั้งหมูบ้านนี้ว่าบ้านหินลาด
น้ำตกลำปี
ชุมชนบ้านหินลาดชื่อบ้านหินลาด มาจากการเรียกชื่อหินก้อนหนึ่งในหมู่บ้าน เล่ากันว่าเบ็นก้อนหินขนาดใหญ่เท่าบ้านเรือนที่คนอยู่อาศัย ตั้งอยู่ในลักษณะลาดเอียงโดยคนจีนที่เข้ามาทำเหมืองหาบเป็นผู้พบเห็นหินก้อนดังกล่าว จึงเรียกชุมชนที่เป็นที่ตั้งหมูบ้านนี้ว่าบ้านหินลาด บ้านหินลาดเป็นหมู่บ้านที่เกิดจากการเข้ามาทำเหมืองแร่ของคนจีน ด้วยในสมัยก่อนนั้นพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ตีบุก จึงมีคนจีนอพยพเข้ามาทำเหมืองแร่กันมาก เหมืองที่ทำกันในพื้นที่แห่งนี้มีทั้งเหมืองหาบ และเหมืองรู หากจะดูหลักฐานและร่องรอยก็ยังมีปรากฎให้ดูได้ในหลายพื้นที่ของหมู่บ้าน
จากร่องรอยดังกล่าวจะเห็นว่าตามพื้นดินมีลักษณะเป็นรูลึกเสมือนบ่อน้ำ ด้วยพื้นดินถูกขุดเจาะเป็นหลุมเพื่อมุดเข้าไปขุดเอาแร่ตีบุกมาถลุง ซึ่งการทำเหมืองวิธีดังกล่าวเรียกว่าเหมืองรู ปัจจุบัน ก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถูกเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านนั้นได้ถูกกิลบด้วยดินจากการทำเหมืองฉีดหมดแล้ว ถึงจะไม่มีหินก้อนดังกล่าวปราฏให้เห็นแต่ชาวบ้านก็ยังเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านหินลาดมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัดปัตติการาม เดิมเรียกกันว่า “วัดปะเต” ตั้งวัดนี้ขึ้นมาในราวประมาณปี พ.ศ. 2459 พระวงศ์ เป็นผู้เริ่มจัดการปลูกที่พักสงฆ์ขึ้น โดยย้ายวัดเก่าซึ่งเรียกกันว่า “วัดเหนือ” อันเป็นวัดดั้งเดิมของบ้านปะเต แต่เนื่องด้วยการเดินทางไปมาไม่สะดวกและอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านมาก ที่ดินที่มาสร้างวัดใหม่นี้อยู่ติดกับถนนสายเพชรเกษม การไปมาสะดวกแก่พุทธบริษัทที่จะทำบุญกุศล ต่อมาพระวงศ์ลาสิกขาบท พระเล็กได้มาเป็นเจ้าอาวาส อยู่ช่วงระยะหนึ่งก็ไปจากวัดนี้ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันนิมนต์ พระปลัดหีด วิวัฒทโน จากวัดทับยาง (ชื่อเดิมของวัดเหมืองประชาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา) มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ปรับปรุงวัดให้เจริญขึ้น ได้สร้างกุฏิ หอฉัน และพระอุโบสถ ได้ปลูกพืชผลต่าง ๆ จนเต็มบริเวณวัด ภายหลังท่านได้มรณภาพในปี พ.ศ. 2489 พระเรืองได้รักษาการแทนเจ้าอาวาสต่อมา พ.ศ.2491 ได้มีการผูกพัทธสีมา ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสองค์ต่อไปคือ พระเพิ่ม แต่อยู่มาไม่นานก็ย้ายไปพำนักวัดอื่น พระชามเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส การปรับปรุงวัดให้เจริญขึ้นในช่วงระยะนี้ก็ไม่มีเพียงแต่รักษาสภาพเดิมให้คงอยู่
ครั้นในปี พ.ศ. 2488 พระครูปลัดพร้อม ฐิตวโร ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ปรับปรุงซ่อมแซม สร้างกุฏิ อาคารต่าง ๆ เพิ่มเติม นับว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสที่มีส่วนช่วยให้วัดพัฒนาขึ้น แต่เนื่องจากท่านชราภาพมากแล้ว ท่านจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2516 และหลังจากนั้นก็ได้มรณภาพ ชาวบ้านปะเต จึงพร้อมใจกันนิมนต์พระปลัดแปลก กตปุญโญ จากวัดเหมืองประชาราม ตำบลท้ายเหมือง มาเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน โบราณวัตถุของวัด โบราณวัตถุของวัด มีพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ 1 องค์ แต่ปัจจุบันเหลือแต่พระเศียร สันนิษฐานว่า คงสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปที่คนนับถือบูชากันมาก ทุก ๆ ปีในวันสงกรานต์ จะมีการสมโภชและสรงน้ำพระพุทธรูปองค์นี้
เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน พระมหา ดร.สายัณห์ วิสุทฺโธ มีเนื้อที่ 10 ไร่ 60 ตารางวามี ส.ค. 1 สังกัด มหานิกาย
ชุมชนบ้านหินลาด ห่างจากที่ว่าการอำเภอท้ายเหมืองประมาณ 11 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมืองประมาณ 12 กิโลเมตร ซึ่งชุมชนบ้านหินลาดจะมีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ เช่น บ้านศาลาขาว บ้านปะเต บ้านลำหลัง บ้านปักคล้า
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะเต ตั้งอยู่เลขที่ 2/19 หมู่ที่ 6 ถนนเพชรเกษม ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้าย เหมือง จังหวัด พังงา เปิดสอนตั้งแต่ระดับนุบาล 1 ถึงอนุบาล 3 (ตั้งแต่อายุ 2 -5 ปี) โดยอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนวัดปัตติการามเป็นการชั่วคราว โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและกรรมการ หมู่บ้านรวมทั้งผู้ปกครองให้การสนับสนุนและเป็นแกนนำ จนมาถึง พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับการสนับสนุนสร้างศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กเป็นอาคารเรียนหลังแรกเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และเปิดทำการเรียน การสอนมีผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน คือ นางสาวสุดา จุงจิต และ นางสาวฉันทนา ศรอินทร์ และถ่ายโอนมาอยู่ ภายใต้การดูแลของสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เนื้อที่บริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะเตเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดปัตติการาม การคมนาคมสะดวดทุกฤดู ด้านหน้าติดถนนสายหลัก ด้านข้างติดกับโรงเรียนวัดปัตติการาม ห่างจากสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมืองประมาณ 10 กิโลเมตร
จากการสำรวจสถิติประชากรชุมชนบ้านหินลาด มีครัวเรือนทั้งหมด 436 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,105 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 547 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 556 คน คนชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย มีส่วนน้อยที่เป็นครอบครัวเดี่ยวผู้คนในชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ในชุมชนบ้านหินลาดมีกลุ่มชาติพันธ์ มอแกลนอาศัยอยู่ ประมาณ 60 ครัวเรือน
มอแกลน- กลุ่มเครื่องแกง เป็นการร่วมกลุ่มของกลุ่มสตรีในชุมชน ที่มีการผลิตเครื่องแกง โดยใช้วัตถุดิบของคนในชุมชน ไม่ใส่สารพิษ โดยผลิตอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
กลุ่มออมทรัพย์ ชุมชนบ้านหินลาด(บ้านศาลาขาว) เป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่มั่นคง และมีคนในชุมชน และนอกชุมชน มาสมัครเป็นสมาชิก และกู้ยืมเงิน เป็นจำนวนมาก
1. เซ่นไหว้พ่อตาสามพันและบรรพบุรุษในสายตระกูล เดือน 4 จะจัดพิธีในช่วงเดือนมีนาคม ขึ้น 9 ค่ำ ถึง 14 ค่ำ หลังจากทำพิธีเซ่นไหว้พ่อตาสามพัน เสร็จ วันถัดไปให้เลือกวันที่ดี ทุกบ้านที่มีถ้วยบรรพบุรุษต้องทำทุกหลังคาเรือน
2. เดินร้องเพลงบอก เดือนห้าจะทำในเดือนเมษายน แรม 2 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ ก่อนออกจากบ้านจะมีการไหว้บอกกล่าวบรรพบุรุษ ผู้เฒ่าผู้แก่และคนในหมู่บ้านประมาณ 10 คน มีอยู่ 2 ชุด แบ่งสายเดินไปตามบ้านเพื่อขับเพลงบอกชมบ้าน ชมคนให้เจ้าบ้านฟังแล้วมีการแลกของกันระหว่างคณะเพลงบอกกับเจ้าของบ้าน ได้ข้าวสาร เสื้อผ้า ของใช้ต่าง ๆ รวมถึงเงิน บางบ้านที่ได้ฟังแล้วถูกใจก็จะชวนกินข้าวด้วย อาหารที่ได้มาต้องทำเซ่นไหว้บรรพบุรุษก่อน
3. เซ่นไหว้พ่อตาหลวงจักร จะจัดทำในช่วงเดือน เมษายน แรม 2 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ ผู้นำทางจิตวิญญาณปรึกษากัน กำหนดวันทำพิธีกรรมแล้วแจ้งให้เครือญาติในหมู่บ้านและส่งข่าวให้คนที่ไปอยู่นอกพื้นที่ทราบ เมื่อถึงวัน ทั้งชุมชนจะร่วมเตรียมและร่วมทำพิธีกรรม โดยมีพ่อหมอประจำหมู่บ้านเป็นผู้นำพิธี มีเครื่องเซ่นหลัก ๆ คือ ไก่ ข้าวเหนียวดำ ขาว แกง ผลไม้ เหล้า หัวหมู หมาก พลู เทียน โดยจะไปทำการร่วมตัวที่ชุมชนบ้านลำปี(ทับปลา)หมู่ที่ 8 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังา
4. พิธีแต่งเปลวหลุมศพบรรพบุรุษ จะทำในช่วงเดือน เมษายน ขึ้น 2 ถึง 14 ค่ำแต่ละชุมชนแต่ตระกูลทำไม่พร้อมกัน แล้วแต่จะสะดวก
5. เซ่นไหว้บรรพบุรุษเดือน 6 (ที่ค้างจากเดือน 4 )จะทำพิธีในช่วงเดือน พฤษภาคม ขึ้น 2 ค่ำเป็นต้นไป บ้างปีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษเดือน4ทำไม่เสร็จในเดือน4 ต้องเว้นช่วงมาทำต่อในเดือน6
6. พิธีกินบุญเดือน 10 จะทำพิธีในช่วงเดือน กันยายน แรม15 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ นำอาหารจากการไปกินบุญมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษเสร็จเป็นการสิ้นสุดประเพณีของแต่ละปี และพิธีกินบุญเดือนสิบนี้ สำหรับชาวมอแกลนจะต้องกลับมาทำพิธีทุกปี ไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไรก็ตาม
7. พิธีฝั่งศพชาวมอแกลน หากมีบุคคลเสียชีวิต ชาวมอแกลน ก็จะมีการฝั่ง โดยวิธีการก็มีการสวดอภิธรรมตามปกติ สุสานแห่งนี้มีฝั่งศพกลุ่มชาวมอแกลน ที่อยู่ในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง และมีชาวมอแกลน บ้านลำปี(ทับปลา) หมู่ที่ 8 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา บ้านขนิม หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งการฝั่งศพของชาวมอแกลนจะฝั่งศพโดยเรียงเป็นเครือญาติการฝังศพของชาวมอแกนมีหมอทำพิธีตามแบบของชาวมอแกน เมื่อนำศพฝังทำพิธีฝากฝังผู้ตาย แก่เจ้าป่าช้าก่อน และญาติของผู้ตายต้องนำเครื่องใช้ครัวเรือนของผู้ตาย เช่น มีดประจำตัว เครื่องครัว เสื้อผ้า ของใช้ฝังพร้อมกับผู้ตาย
ในกรณีทำพิธีอย่างถ้าอยากรู้ว่าผู้ตายถึงคราวตายหรือยังไม่ตายให้นำมะพร้าว ผ่าเป็น 2 ซีกแล้วโยนขึ้น ถ้าหากมะพร้าวตกลงมาคว่ำทั้ง 2 ซีก ก็หมายความว่า ถึงความตาย แต่หากค่ำซีกหายซีกก็ยังไม่ถึงคราวตายผู้ตายอาจจะมีความเป็นห่วงบุคคลที่อยู่ข้างหลังเป็นความเชื่อของชาวมอแกน และฝั่งเป็นแนวนอนโดยมีหมอพิธีกรรม พร้อมพระสงฆ์จำนวน 1 รูปการทำพิธี โดยใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ
1.นางผลาก นาวารักษ์ อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 106/1 หมู่ที่ 6 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เดิมตนได้อยู่ชุมชนบ้านลำปี(ทับปลา) ตนกับสามีได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งที่บริเวณบ้านหินลาด ขณะนั้นมีแค่ 2 ครบเรือน บริเวณที่อยู่ เป็นป่ายาง ตนแระสามีก็ได้สร้างบ้านอาศัยอยู่ ได้มีเพื่อนอีกครัวเรือนหนึ่ง มาสร้างบ้านในบริเวณใกล้เคียงกัน จนกระทั้งมีกลุ่มมอแกลนได้มาสร้างที่อยู่อาศัย จนถึงปัจจุบันก็ประมาณ 60 ครัวเรือนได้ นางผลากเล่าว่าเมื่อสมัยก่อนชาวบ้านมอแกลนหินลาดนับถือบรรพบุรุษ ครูโนรา แต่ปัจจุบัน การนับถือศาสนาพุทธเกิดขึ้น และเด็กในชุมชนตอนนี้ไม่มี่ใครพูดคุยภาษามอแกลนแล้ว ขนบธรรมเนียมส่วนใหญ่ก็ไม่มีแล้ว หากตนจะไปรวมกิจกรรมอะไร ตนก็มักจะไปร่วมกิจกรรมที่บ้านลำปี(ทับปลา)อยู่เสมอ ตนอยากให้มีการเรียน การสอนภาษามอแกลน เพื่อให้เด็กรุ่นหลังไว้สืบทอดวัฒนธรรมของชาวมอแกลน
ทุนกายภาพ
น้ำตกลำปี ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาลำปี มีจำนวน 4 ชั้น ชั้นล่างสุดเป็นแอ่งน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมตรงบ้านลำปี ตามถนนลาดยางเป็นระยะทาง ประมาณ 1.8 กิโลเมตร โดย น้ำตกอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ ระยะทางประมาณ 1.4 กิโลเมตร และห่างจากที่ทำการอุทยาน 9 กิโลเมตร
พื้นที่ป่าไม้ถาวรของชาติบริเวณเขาลำปีและหาดท้ายเหมือง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเป็นเวลานานมาแล้วในชื่อของ "น้ำตกลำปี" ปรากฏหลักฐานบนผาหินด้านหน้าของน้ำตกลำปีชั้นที่สอง ความว่า "ป.249" ชึ่งแสดงว่า ฯพณฯ อดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เคยเดินทางมาเยี่ยมเยือนสถานที่แห่งนี้ ใน ปี พ.ศ. 2498 บริเวณเขาลำปี-หาดท้ายเมืองได้รับการกำหนดให้เป็นป่าถาวรของชาติตามคณะรัฐมนตรี เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2504
ต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งป่าสงวนแห่งชาติโดยสำรวจรางวัดพื้นที่ป่าเสร็จสิ้นใน ปี 2506 และประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยสมบูรณ์ได้ในเวลาอีก 20 ปีต่อมา เพราะเหตุที่น้ำตกลำปีเป็น ที่นิยมของประชาชนโดยทั่วไปทางด้านการพักผ่อน ในเดือนมิถุนายน 2526 กรมป่าไม้จึงดำริให้จัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็น "วนอุทยานเขาลำปี" และกำหนดให้อยู่ในความควบคุม ดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ในช่วงเวลาต่อมา จึงได้รับการยกฐานะ เป็นอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2529 นับเนื่องเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 52 ของประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองมีสภาพพื้นที่แยกจากกันเป็นสองส่วน โดยมีถนนเพชรเกษมเป็นเส้นแบ่ง คือ บริเวณท้ายเหมืองชึ่งมีสภาพป่าดงดิบ รวมเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 72 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ที่อำเภอท้ายเมืองจังหวัดพังงา โดยมีที่ทำการอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่บริเวณชายหาดท้ายเมือง เทือกเขาลำปีประกอบด้วยภูเขาหลายลูกเรียงตัวยาวไปตามแนว เหนือ-ใต้ ส่วนใหญ่เป็นหินอัคนีจำพวกหินแกรนิต อายุ อยู่ในช่วง 60-140 ล้านปี ได้แก่ เขาจู้จี้ เขาขนิม เขาลำปี เขาควนตาไชย เขาโตนย่านไทร มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาขนิม สูงประมาณ 622 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายที่เกิด จากเทือกเขาลำปี และไหลลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันออกของหาดท้ายเหมือง ได้แก่ คลองขนิม คลองลำปี คลองลำหลัง คลองพลุ และบางสายไหลออกทางทิศตะวันออกของเทือกเขาลำปี ได้แก่ คลองคำนึง คลองอินทนิน และคลองบางปอ สภาพป่าเป็นป่าดงดิบ มีพันธุ์ไม้ เช่น ยาง หลุมพอ ตะเคียนทอง นากบุค กระบาก เสียด ช่อ พิกุลป่า ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เฟิน หวาย และไผ่
บริเวณหาดท้ายเหมืองมีพื้นที่ประมาณ 14.15 ตารางกิโลเมตร หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นชายหาดซึ่งเกิดจากการกัดชะของคลื่นในทะเลทำให้เป็นสันดอน ทรายละเอียดยื่นทะแยง ขึ้นไปจากอำเภอท้ายเหมืองในแนวตะวันตกเฉียงเหนือขนานไปกับผืนแผ่นดินใหญ่ ปลายสุดของหาดเป็นแหลมเรียกว่า แหลมอ่าวขาม(เขาหน้ายักษ์) ลักษณะของชายหาดเป็นที่ราบมีความยาวประมาณ 13.6 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 1,600 เมตร แคบที่สุดประมาณ 350 เมตร ทางด้านตะวันออกของพื้นที่มีคลองน้ำกร่อยขนาดใหญ่ ซึ่งน้ำจืดส่วนใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาลำปี ได้แก่ คลองทุ่งมะพร้าว และคลองหินลาด
บริเวณที่เป็นดินเลนริมทะเลและตามบริเวณปากคลองที่น้ำทะเลท่วมถึงจะพบป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว ลำพู ลำแพน ถั่วดำ ถั่วขาว และ แสม ฯลฯ บางส่วนเป็นป่าจากล้วน และบริเวณชายหาดจะพบป่าชายหาด ซึ่งมีไม้สนทะเล จิกทะเล หูกวาง หยีทะเล หว้าหิน และรักทะเล ขึ้นอยู่บริเวณศูนย์กลางของพื้นที่หาดท้ายเหมืองซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1.6 ตารางกิโลเมตร มีน้ำจืดขังเกือบตลอดปี สังคมพืชที่ขึ้นเด่นชัดในสภาพพื้นที่เช่นนี้คือ ป่าพรุ พันธุ์ไม้เด่นที่พบ ได้แก่ เสม็ด สำหรับสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยภาคใต้ 100% พูดภาษามอแกลนประจำวัน 10% ภาษามอแกลน ชาวมอแกลนมีวัฒนธรรมการพูดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน