Advance search

บ้านบนไร่

สถานธรรมไท้ยรู๋ สถานธรรมที่ปฏิบัติธรรม การคมนาคมสะดวก บรรยากาศสิ่งแวดล้อมดี

หมู่ที่ 7
บ้านบนไร่
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
พังงา
ชัชฎาพร ทองสกุล
19 ก.ค. 2023
สมเจตน์ เจริญ
7 ส.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
11 ธ.ค. 2023
บ้านบนไร่
บ้านบนไร่

มาจากการเรียกชื่อสถานที่ที่ชาวบ้านเข้ามาหักร้างถางพงเพื่อทำไร่แห่งนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่บนควน (เนินสูง) เวลาพูดคุยกันก็จะพูดว่าไปบนไร่ และเรียกติดปากกันจนมาถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

สถานธรรมไท้ยรู๋ สถานธรรมที่ปฏิบัติธรรม การคมนาคมสะดวก บรรยากาศสิ่งแวดล้อมดี

บ้านบนไร่
หมู่ที่ 7
ท้ายเหมือง
ท้ายเหมือง
พังงา
82120
8.378634
98.272858
องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง

ชุมชนบ้านบนไร่ มาจากการเรียกชื่อสถานที่ที่ชาวบ้านเข้ามาหักร้างถางพงเพื่อทำไร่แห่งนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่บนควน (เนินสูง) เวลาพูดคุยกันก็จะพูดว่าไปบนไร่ และเรียกติดปากกันจนมาถึงปัจจุบัน บ้านบนไร่เดิมเป็นที่รกร้างไม่มีผู้คนอาศัย ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเห็นเป็น สถานที่เหมาะสมที่จะทำไร่ปลูกข้าว จึงได้พากันเข้ามาหักร้างถางพงปลูกข้าวกัน ผู้ที่เข้ามาทำไร่ส่วนใหญ่จะมาจากบ้านนาเตยครั้นนานเข้าจากการเข้ามาทำไร่เพียงชั่วครั้งชั่วคราวได้เปลี่ยนมาเป็นมาสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นการถาวร โดยบุคคลแรกที่เข้ามาสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย คือนายคง พลายม่วง ซึ่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านบนไร่บ้าน บนไร่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2441

บ้านบนไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอท้ายเหมืองประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมืองประมาณ 6 กิโลเมตร หมู่บ้านบนไร่มีถนนสายหลักคือ ถนนเพชรเกษมทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 สามารถเดินทางเข้าสู่ตัวอำเภอ และจังหวัด และจังหวัดอื่นได้สะดวก

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ จด หมู่ที่ 2 บ้านห้วยกร้าง ตำบลท้ายเหมือง
  • ทิศใต้ จด หมู่ที่ 1 บ้านโครกขบ ตำบลนาเตย
  • ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ 5 บ้านห้วยทราย ตำบลนาเตย
  • ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ 3 บ้านพอดง ตำบลท้ายเหมือง

หมู่บ้านบนไร่เป็นหมู่บ้านที่บางส่วนอยู่ทางถนนเพชรเกษม และบางส่วนได้เข้าไปในซอย ประมาณ 2 กิโล จากถนนเพชรเกษม มีบ้านเรือน 2 ข้างทาง ไม่มีปัญหาด้านมลพิษ นอกจากปัญหาทางด้านธรรมชาติ เช่น ฝนตก ไม่ถูกต้องตามฤดูกาลในบางครั้ง ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีอากาศชื้นเกือบตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเพาะปลูกและอุดมสมบูรณ์ป่าไม้สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านเป็นส่วนตัวไม่แออัด ไม่มีมลพิษภาวะรบกวน

หมู่บ้านบนไร่ลักษณะพื้นที่ดินส่วนใหญ่ เป็นที่ดินร่วนปนทราย มีแหล่งน้ำ 2 สาย และสามารถจำแนกได้ 2 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูแล้ง ประมาณเดือน มกราคม - เมษายน
  • ฤดูฝน ประมาณเดือน พฤษภาคม - ธันวาคม

บ้านบนไร่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 962 ไร่ แยกการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้ดังนี้ ที่อยู่อาศัย 452 ไร่ พื้นที่สวนยางพารา 350 ไร่ พื้นที่ทำสวนผลไม้ 30 ไร่ พื้นที่ทำเหมืองแร่ 100 ไร่ พื้นที่อื่น ๆ ปาล์มน้ำมัน 30 ไร่

จากการสำรวจของกรมการปกครอง ปี 2566 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรบ้านบนไร่มี จำนวน 302 หลังคาเรือน มีประชาชนทั้งหมด 627 คน แบ่งเป็นชาย 769 คน และแบ่งเป็นหญิง 323 คน แยกเป็นกลุ่มบ้าน จำนวน 3 กลุ่ม 1) บ้านดอนอิฐ 2) บ้านศุภกัญญา 3) บ้านบนไร่ เป็นชาวไทยพุทธ 100%  คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย 

  • กลุ่มแม่บ้านผลิตเครื่องแกง เป็นการร่วมตัวของคนในชุมชนร่วมกันผลิตเครื่องแกงไว้จำหน่ายในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนได้ร่วมตัง และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 
  • กองทุนหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทั่วประเทศ ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม
  • กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน เป็นกลุ่มองค์กรที่มีเป้าหมายให้คนในชุมชนมีการระดมทุนออมทรัพย์เพื่อเป็นเงินทุนสำรองเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุนที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
  • กลุ่มสาธารณสุขมูลฐาน ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างใกล้ชิด ในรูปแบบของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนให้ความรู้ด้านสาธารณสุขที่จำเป็นแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในชุมชนของตนเอง และแนวความคิด

หมู่บ้านบนไร่เป็นหมู่บ้านที่ประชาชนที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย และประชาชน นับถือศาสนาพุทธ 100 % ยึดถือประเพณีและวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยร่วมกิจกรรมสนับสนุนพุทธศาสนา พาปิ่นโตไปวัดทุกวันพระ ประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำผู้สูงอายุ และประเพณีสารทเดือนสิบ ฯลฯ ประชาชนในหมู่บ้านเชื่อในหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายตามแบบชาวพุทธ บ้านบนไร่จะร่วมกันตามวันสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • วันขึ้นปีใหม่ ร่วมทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 7 
  • วันตรุษจีน พิธีไหว้บรรพบุรุษ โดยผู้ที่มีเชื้อสายจีน
  • วันสงกรานต์ สรงน้ำผู้สูงอายุ
  • วันเข้าพรรษา แห่เทียนพรรษา
  • วันสารทเดือนสิบ ทำบุญในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
  • ประเพณีถือศิลกินเจ ณ สถานธรรมไทรู๋  หมู่บ้านศุภกัญญา
  • วันออกพรรษา
  • ประเพณีลอยกระทง ของหมู่บ้าน

1.นางสอด เพชรศรีทอง อยู่บ้านเลขที่ 41/1 มีความสามารถในด้านการเล่นหนังตะลุง

2.นายเฉลียว นุชบุตร  มีความสามารถ หมอนวดแผนโบราณ

3.นางข้อง วิเศษ ทำข้าวหลาม

4.นายโนช นิราช เลี้ยงผึ้ง /เกษตร

ทุนวัฒนธรรม

สถานธรรมไท้ยรู๋  เป็นสถานธรรมที่ให้บุคคลเข้าไปปฏิบัติธรรม ซึ่งในปี 2547 ที่ได้มีสร้างพุทธสถานที่จะสร้างสถานธรรมส่วนกลางที่ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ที่นี่ห่างจากสนามบินนานาชาติภูเก็ตประมาณ 45 กิโลเมตร ระยะทางจากตรงนี้ห่างภูเก็ตประมาณ 70 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวกบรรยากาศสิ่งแวดล้อมดี เหมาะที่จะฝึก อบรมพุทธบริกร, เปิดชั้นประชุม, ใช้ในการต้อนรับญาติธรรม และยังเป็นสถานที่เหมาะในการผลักดันงานธรรมต่อไป ในปี พ.ศ. 2548 เดือน มิถุนายน ท่านประธานอาจารย์ ถ่ายทอดเบิกธรรมและผู้อาวุโสจากประเทศไต้หวันหลายท่าน มาร่วมเปิดหน้าดิน และตัดสินให้มีการจัดพิธีเปิดเนตรองค์ พระในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

พื้นที่ของสถานธรรม มีพื้นที่ 833 ตารางเมตร, มีถนน สามด้านแสงเข้าสว่างดีมากระบายอากาศดีรอบข้างจะเป็น หมู่บ้านสถานธรรมสร้างจะเป็นรูปแบบสมัยใหม่ ด้านนอก ทาด้วยสีขาว หลังคาสถานธรรมทำจากเหล็กอย่างดี มุงด้วย กระเบื้องสีเขียวออกมาได้อย่างสง่างามและที่สำคัญสวยงาม ภายในออกแบบสองชั้น ชั้นแรกพื้นที่ 650 ตารางเมตร ชั้นที่สองพื้นที่ 615 ตารางเมตร ชั้นลอยพื้นที่ 340 ตารางเมตร ชั้นแรกห้องโถงใหญ่ ความสูง 6 เมตร ชั้นที่ สองเป็นห้องโถงพระแม่องค์ธรรม มีโต๊ะบรรพบุรุษ โต๊ะคน ที่ล่วงลับได้สร้างบุญไว้นอกจากนี้ มีห้องครัว, ห้องรับประทานอาหาร, ห้องรับ แขก, ห้องเรียนเป็นต้น ส่วนรวมสามารถใช้ได้

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มูลนิธิได้ผ่านการอนุมัติจัดตั้งมูลนิธิ “เหมี่ยวยรู๋เมตตาธรรม” ซึ่งเป้าหมายของมูลนิธินี้ตั้งขึ้นมา เพื่อที่จะให้อาณาจักรธรรมนั้นจะได้ใช้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อที่จะได้ผลักดันงานธรรมอย่าง เช่นกิจกรรมการปล่อยสัตว์, กิจกรรมการแบ่งปัน ความรัก, กิจกรรมงานวันแม่ ช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา เด็กยากจน, การประกวดร้องเพลงธรรมะ, การแข่งวาดรูป สิ่งศักด์สิทธิ์. อีกมากมายจะได้ผูกบุญสัมพันธ์กัน

ทุนเศรษฐกิจ

บ้านบนไร่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทางด้านการเกษตรกรรม เช่น การปลูกยางพารา การปลูกผัก ทำสวนผลไม้ และการเลี้ยงสัตว์ แต่ ผลผลิตที่ได้รับค่อนข้างน้อยเพราะพืชและสัตว์ที่นำมาทำการเกษตรกรรมเป็นพืชและสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ผลผลิตจึงออกมาต่ำ ประกอบด้วยราคาปุ๋ยละอาหารสัตว์ค่อนข้างสูงทางด้านเกษตรกรเองก็ไม่สามารถผลิตปุ๋ย และอาหารสัตว์ใช้เองได้เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตปุ๋ย และอาหารสัตว์ใช้เองนอกจากนี้การจำหน่ายผลผลิตต้องผ่านพ่อค้าคนกลางราคาที่เกษตรกรจำหน่ายจึงค่อน ข้างต่ำ เพราะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดหาพันธุ์สัตว์ดีๆ รวมตลอดถึงการมีตลาดกลางควบคุมราคาจำหน่ายสินค้าให้ได้ราคาที่เหมาะสม

รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่มาจากอาชีพเกษตรกรรม เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก จึงได้กำหนดตำแหน่งการพัฒนาอาชีพของชุมชนให้เหมาะสมและสอดคล้องดังนี้

  • ส่งเสริมการผสมปุ๋ยใช้เอง

การปลูกพืชและผลไม้ทุกชนิดจะให้ได้ผลดีต้องอาศัยปุ๋ยในการออกผลผลิตซึ่งปัจจุบันปุ๋ยที่มีคุณภาพ หรือปุ๋ยในท้องตลาดราคาส่ง บางครั้งก็ไม่ได้มาตรฐานไม่มีคุณภาพทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ เพราะฉะนั้นการผสมปุ๋ยใช้เองเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง ที่จะให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับชนิดของพืชและช่วงอายุ เพิ่มผลผลิตในการออกมากยิ่งขึ้นที่สำคัญคือการลดรายจ่าย –เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน

  • ส่งเสริมพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ

ปัจจุบันในการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรรมบางรายไม่ได้รับพืชพันธุ์และพันธุ์สัตว์เลี้ยงที่ดี  ทำให้มีปัญหากับครอบครัวไม่พอกับค่าใช้จ่ายเพราะผลผลิตไม่ได้รับเต็มที่เนื่องจากพันธุ์พืช

พันธุ์สัตว์ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรรมไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ บางรายก็เป็นหนี้สิน เพราะฉะนั้นการส่งเสริมพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์เลี้ยง ที่มีคุณภาพให้กับเกษตรกรรมทั้งความรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

  • ส่งเสริมการทำฝายชะลอน้ำ

บ้านบนไร่พื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตร จึงจำเป็นต้องอาศัยในการเพาะปลูก ในหน้าแล้งมักจะประสบปัญหาเรื่องไม่มีน้ำใช้ในการเกษตร เพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ เพราะน้ำจะไหลลงสู้ทะเลปริมาณมากกว่า จึงจำเป็นต้องเก็บกักน้ำใช้ให้เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูกส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้

นอกจากพืชหลักที่เกษตรทำกันอยู่แล้ว ต้องส่งเสริมให้มีอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เช่น ปลูกพืชเกษตรกรรมอื่นๆ อบรมให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการขยายพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ มีความรู้ทางด้านการตลาดไม่ถูเอารัดเอาเปรียบ จากพ่อค้าคนกลาง โดยความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานของภาครัฐ

ภาษาที่ใช้คือภาษาไทย ทางภาคใต้ และบางส่วนใช้ภาษาไทย ภาคกลาง


บ้านบนไร่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทางด้านการเกษตรกรรม เช่น การปลูกยางพารา การปลูกผัก ทำสวนผลไม้ และการเลี้ยงสัตว์ แต่ผลผลิตที่ได้รับค่อนข้างน้อยเพราะพืชและสัตว์ที่นำมาทำการเกษตรกรรมเป็นพืชและสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ผลผลิตจึงออกมาต่ำ ประกอบด้วยราคาปุ๋ยละอาหารสัตว์ค่อนข้างสูงทางด้านเกษตรกรเองก็ไม่สามารถผลิตปุ๋ย และอาหารสัตว์ใช้เองได้เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตปุ๋ย และอาหารสัตว์ใช้เอง

นอกจากนี้การจำหน่ายผลผลิตต้องผ่านพ่อค้าคนกลางราคาที่เกษตรกรจำหน่ายจึงค่อน ข้างต่ำ เพราะขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดหาพันธุ์สัตว์ดีๆ รวมตลอดถึงการมีตลาดกลางควบคุมราคาจำหน่ายสินค้าให้ได้ราคาที่เหมาะสม


หมู่บ้านบนไร่สนับสนุนการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งถึงร้อยละ 75 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกทั้ง

การปกครองในหมู่บ้านบนไร่ โดยผู้ใหญ่บ้านปัจจุบันดำรงตำแหน่งๆ ในหมู่บ้านและในระดับตำบล/อำเภอ หลายตำแหน่ง ปกครองโดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้หมู่บ้านอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข


ปัญหาด้านสาธารณสุขของหมู่บ้านบนไร่ ปัจจุบันได้จัดชุด อสม. บริการตรวจวัด ความดันโลหิต และตรวจหาน้ำตาลในเลือด ให้กับชาวบ้าน ช่วงเช้า ได้จัดออกไปดูแลตามหมู่บ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งดูแลเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่จึงทำให้หมู่บ้าน ไม่ค่อยมีปัญหาทางด้านสาธารณสุข และในครัวเรือนยังได้รับสิทธิ์ประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง 

ร้านอาหารกอบโภชนา เปิดขายมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันดูแลโดยทายาทรุ่นที่ 2 บรรยากาศอาจดูเรียบง่าย แต่รสชาติอาหารไทยร้านนี้จะมัดใจนักชิมทุกคน ด้วยเทคนิคการปรุง วัตถุดิบคุณภาพ และฝีมือที่ถือเป็นเคล็ดลับความอร่อยของร้าน เมนูเอก คือ ฉู่ฉี่กะหรี่กุ้งรสกลมกล่อม และคั่วกลิ้งหมูสับรสเข้มข้นด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล