งานปล่อยเต่า การทำกุ้งเคย
ที่มาจากการเรียกที่พักพิงชั่วคราวที่ชาวบ้านทำขึ้นอยู่ในขณะที่เข้ามาเจาะลนเอาน้ำมันยางจากต้นยางเพื่อไปทำชันสำหรับอุดรอยรั่วของเรือซึ่งที่พักพิงชั่วคราว นี้ชาวบ้านเรียกกันว่าทับ
งานปล่อยเต่า การทำกุ้งเคย
ชุมชนบ้านทับยาง มีที่มาจากการเรียกที่พักพิงชั่วคราวที่ชาวบ้านทำขึ้นอยู่ในขณะที่เข้ามาเจาะลนเอาน้ำมันยางจากต้นยางเพื่อไปทำชันสำหรับอุดรอยรั่วของเรือซึ่งที่พักพิงชั่วคราว นี้ชาวบ้านเรียกกันว่าทับ ซึ่งหมายถึงกระท่อมนั้นเอง
ดังนั้น คำว่า ทับยาง จึงมีที่มาจากการเข้ามาสร้างทับที่ใต้ต้นยางเพื่อเป็นที่พักในขณะที่รอน้ำมันยางจากต้นยางเพื่อเอามาทำชันนั้นเอง บ้านทับยางเดิมเป็นพื้นที่ป่ามีต้นยางขึ้นมากมายคนที่เข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเข้ามาเพื่อเจาะต้นยางเอาน้ำมันยางมาทำชันยาเรือ หรือทำชันขายเท่านั้น ในการเข้ามาเจาะต้นยางเพื่อเอาน้ำมันยางนั้นจะมีการเข้ามาสร้งทับอยู่อาศัยจนเรียกสถานที่แห่งนี้กันติดปากว่าทับยาง นอกจากผู้คนที่เข้ามาจะเข้ามาเพื่อเจาะเอาน้ำมันยางจากต้นยางแล้วจะมีคนอีกพวกหนึ่งที่เข้ามาเพื่อทอดแหหาปลาอีกด้วย ทั้งนี้ เพราะพื้นที่บริเวณนี้ติดกับชายฝั่งทะเลเรียกกันว่าชายทะเลท้ายเหมืองในระยะแรกบ้านทับยางไม่มีถนนตัดผ่านในหมู่บ้านต่อมาได้มีผู้คนเข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่มากขึ้น จึงมีการตัดถนนจากตลาดเข้ามาในพื้นที่ประกอบกับในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2518-2519 ได้มีการทำเหมืองแร่ในทะเล ผู้คนจากต่างถิ่นได้หลั่งไหลเข้ามาทำแพดูตแรในทะเลเป็นจำนวนมากชุมชนแห่งนี้จึงได้ขยายใหญ่ขึ้น จนต้องแยกหมู่บ้านออกจากหมู่ที่ ๓ บ้านพอแดง มาตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านทับยางจนถึงปัจจุบันนี้
วัดเหมืองประชาราม ข้อมูลจาก พระครูพลธรรมนิเทศก์ เจ้าอาวาสวัดเหมืองประชาราม เดิมชื่อว่า (วัดทับยาง หรือวัดใน) สร้างขึ้นราว 2390 มีพระสิน เป็นเจ้าอาวาส สถานที่บริเวณนั้นเป็นที่ต่ำมากหากถึงช่วงฤดูฝน น้ำจะท่วมวัดเป็นประจำ ทางคณะกรรมการวัดกำนันและอดีตนายอำเภอท้ายเหมือง และชาวบ้านในยุคนั้นได้ปรึกษากันพร้อมใจกันย้ายที่ตั้งวัดมาอยู่ที่วัดปัจจุบันซึ่งมีเนื้อที่เดิม 39 ไร่เศษ แต่ได้บริจาคให้ทำถนนข้างหลังโรงเรียนปัจจุบัน จึงยังเหลือ 3 ไร่ โดยสภาพเป็นที่สูงเนินน้ำไม่ท่วมอยู่ใกล้ถนนเพชรเกษม เลขที่ 141 ม.9 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ย้ายมาราวปี 2421 ที่วัดเดิมปัจจุบันจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ ทางวัดให้ชาวบ้านเข้าอาศัยและเป็นบ้านพักครู ของโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม
เมื่อได้ย้ายวัดจากวัดทับยางมาอยู่ วัดเหมืองประชารามนั้นได้มีพระเงิน อินฺทวํโส เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกต่อมา พระเงินและกำนันในยุคนั้น ได้ร่วมใจกันสร้างโรงเรียนประจำตำบลท้ายเหมืองขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2454 เริ่มแรกได้สร้างศาลาชั้นเดียว 1 หลัง ปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลของผู้ล่วงลับ และได้เริ่มสร้างศาสนวัตถุต่างๆขึ้น ต่อมาพระเงินได้รับพระราชทานเป็นพระครูชั้นประทวนที่ พระครูเงิน อินฺทวัโส (เนื่องจากท่านได้สร้างโรงเรียนจึงได้รับสมณศักดิ์นี้) ตั้งแต่ย้ายวัดมาอยู่วัดปัจจุบันนี้มีเจ้าอาวาสทั้งหมด 5 รูป ด้วยกัน คือ 1.พระครูเงิน อินฺทว์โส 2.พระครูสุทัศน์ธรรมคุณ(พ่อท่านเฒ่า หรือแหวง โสธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดลุมพินี และยังเป็นอาจารย์ของหลวง พ่อพระครูเงินเจ้าอาวาสรูปแรก) 3. พระครูโสภณนวกิ (ละมูลอดีตเจ้าอาวาสวัดประชุมศึกษา ) 4.พระครูถาวรธรรมวินิจ (วิจิตร ถาวรธมฺโม) 5.พระครูพลธรรมนิเทศก์ (พงศ์พล ฐิตธมฺโม) และในพื้นที่วัดเหมืองประชารามยังมีโรงเรียนเอกชนคือโรงเรียนศิริราษฎร์วิทยาตั้งอยู่ภายในที่วัดด้วย
หมายเหตุ: หลักฐานของวัดทับยางนั้นโดยลายลักษณ์อักษรมีน้อยมากแต่ดีตรงมีท่านปลัดเริ่ม รัตนรักษ์ อดีตปลัดอำเภอท้ายเหมือง และนายดวน สุกใส อดีตไวยาวัจกรวัดเหมืองประชารามทั้งสองท่านมีอายุ 100 กว่าปีทั้ง 2 ท่านจึงมีข้อมูลที่ชัดเจนพอสมควร
บ้านทับยาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอท้ายเหมืองประมาณ 5.6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมืองประมาณ 1.7 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 9 หมู่บ้านของตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีหน่วยงานราชการที่มีสถานที่ตั้งในชุมชนบ้านหลายแห่ง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ที่ดินจังหวัดพังงา วิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง
โรงเรียนวัดเหมืองประชาราม
เริ่มเปิดทำการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2454 เดิมชื่อว่า "โรงเรียนประจำตำบลท้ายเหมือง" เนื่องจากโรงเรียนไม่มีที่ดินเป็นของตนเองจึงต้องย้ายสถานที่จัดการเรียนการสอนหลายครั้ง ต่อมาประชาชนประกอบด้วย บุคคลหลายฝ่ายที่เห็นความสำคัญของการศึกษา การรับบริจาคเพื่อเป็นงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียนถาวรในที่ดินของวัดเหมืองประชาราม เป็นอาคารกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร ใช้จ่ายเงินทั้งสิ้น 3,407 บาท การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2479 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนประชาบาลตำบลท้ายเหมือง 1 " เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนวัดเหมืองประชาราม" คณะครู กรรมการสถานศึกษา และประชาชนได้ร่วมจัดหาเงินสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น 1 หลัง ตั้งชื่อว่า อาคารศิษย์เก่า ในปี พ.ศ.2512
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 และ พ.ศ.2521 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 017 ปีละ 1 หลัง ในเวลาต่อมาได้รับงบประมาณสร้างอาคารโรงฝึกงาน สร้างส้วม บ้านพักครู เรือนเพาะชำ และทางโรงเรียนได้รับเงินบริจาคเพื่อก่อสร้างต่อเติมอาคารโรงฝึกงานเป็นโรงอาหาร ขุดเจาะบ่อบาดาล สร้างเขื่อนกั้นดิน และถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างศาลาที่พักรอรถโดยสาร ปรับปรุงห้องผู้บริหาร และห้องประชุม ต่อมาได้รับงบประมาณเพื่อปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันโรงเรียนวัดเหมืองประชาราม เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีข้าราชการครู 21 คน มีนักเรียน 313 คน ได้จัดชั้นเรียน 12 ห้องเรียน
จากการสำรวจสถิติประชากรชุมชนบ้านทับยาง มีครัวเรือนทั้งหมด 1,096 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,821 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 886 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 935 คน คนชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย
กลุ่มสตรี ส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี ในการเฝ้าระวังดูแลและแก้ไขปัญหาของสตรี การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรี นำไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ หรือสวัสดิการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของสตรีและผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ในสังคม เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ในการสร้างโอกาสให้สตรีเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้แก่สตรีและองค์กรของสตรี
ประเพณีงานปล่อยเต่า กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-10 มีนาคม ของทุกปี รวม 10 วัน 10 คืน ณ บริเวณชายหาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง เพื่อเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์หวงแหนชายหาดที่เป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล และช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติของท้องทะเล โดยเฉพาะเต่าทะเลที่ปัจจุบันบางชนิดเริ่มหายากและใกล้สูญพันธุ์พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่การท่องเที่ยว ส่งเสริมรายได้แก่ชุมชน
การทำกุ้งเคย ในช่วงเดือน ตุลาคม - ธันวาคม ของทุก ๆ ปี จะเป็นฤดูกาลที่ชาวบ้านจะมาลากอวนจับกุ้งเคยเพื่อไปทำกะปิ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้นำเรือออกหากุ้งเคยบริเวณนอกชายหาดของทะเลอันดามัน เพื่อนำมาแปรรูปเป็นกะปิ ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน
1.นายสมชาย วิจิตร อยู่บ้านเลขที่ 163/13 หมู่ที่ 9 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นบุคคลที่มีความรู้วิถีชีวิตชาวประมงหมู่ เช่น การทำอุปกรณ์การหาปลา เวลาการออกหาปลา ฤดูการหากุ้งเคยเพื่อนำมาทำกะปิ
ทุนเศรษฐกิจ
การทำประมง ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบประมง .และในช่วงเวลาที่ออกหากุ้งเคย เพื่อใช้ทำกะปิ ก็จะมีคนในชุมชน โดยกะปินั้นถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบหลักในการปรุงอาหารพื้นเมืองของคนใต้ ไม่ว่าจะเป็น แกงเผ็ด แกงพริก แกงส้ม แกงไตปลา แกงกะทิ หรือแม้กระทั่งการนำไปทำน้ำพริกชนิดต่างๆ มีชาวบ้านใกล้เคียงรวมถึงนักท่องเที่ยวมาซื้อกุ้งเคยสดกันอย่างคึกคัก เพื่อนำกลับไปประกอบอาหารและเป็นของฝากจากแดนใต้ โดยกุ้งเคยจะมีลักษณะคล้ายกุ้งฝอย จะลอยขึ้นมาเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่กลางทะเลอันดามัน จึงกลายเป็นจุดเด่นของกะปิ คือ ผลิตจากกุ้งเคยที่ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำกลางทะเลเปิด ไม่มีตะกอนทราย หรือ ขยะเจือปน มีความสดและสะอาด สามารถนำมาประกอยอาหารได้หลายอย่าง อาทิ ชุบแป้งทอด ยำกุ้งสด เป็นต้น และการนำไปทำกะปิที่มีรสชาติหอมอร่อยไม่เหมือนใคร
ตลาดชายทะเลท้ายเหมืองเหมือง จะมีร้านค้าที่มาขายสินค้ามากมาย และจะมีร้านค้าเยอะในช่วงสภาพอากาศดี เนื่องจากบริเวณที่ชาวบ้านมาขายสินค้าจะอยู่ใกล้ชายทะเลท้ายเหมือง โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้าทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่มาจำหน่ายสินค้าทุกวัน และจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเยอะในช่วงวันหยุด
ชายทะเลท้ายเหมือง เป็นชายหาดริมทะเลอันดามันที่มีความยาวมากถึง 13.6 กิโลเมตร เคียงคู่ไปกับทิวสนต้นใหญ่เรียงรายอย่างสวยงาม ชายหาดกว้างและทอดตัวเข้าไปตัดกับน้ำทะเลใส เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจมากทีสุด และบริเวณหาดท้ายเหมือง ยังมีร้านอาหารและพี่พักไว้คอยบริการอีกด้วย หาดท้ายเหมือง มีการจัดงาน ประเพณีอนุรักษ์เต่าทะเล โดยการปล่อยเต่าลงสู่ทะเล ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี ชายหาดท้ายเหมือง ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา ถ้ามาจากสนามบินภูเก็ตอยู่ระหว่างทางไปเขาหลัก ทางเข้าชายหาดเป็นตลาดเก่าตำบลท้ายเหมือง ขับมาสุดถนนจะเจอชายหาดที่สะอาด ทรายไม่ได้ละเอียดมากแต่สะอาดทีเดียว ทอดตัวยาวสุดลูกหูลูกตา ตามหน้าชายหาดนี้จะมีเพียงร้านค้า ร้านอาหาร อยู่ฝั่งตรงข้ามถนน แต่จะไม่มีโรงแรมยื่นมาในทะเลเหมือนหาดอื่นๆ ถือว่าจังหวัดยังคงอนุรักษ์ธรรมชาติได้เป็นอย่างดี โดยชายหาดแห่งนี้ช่วงวางไข่จะมีแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ เป็นแหล่งสำคัญในการวางไข่ของทะเลฝั่งอันดามัน
ดังนั้น สัญลักษณ์ของชายหาดนี้จะเป็นรูปแม่เต่าให้ถ่ายรูป มีทำป้ายสวยงาม ชายหาดที่นี่ ทรายออกสีเหลืองๆ ไม่ขาวมาก และไม่ละเอียดเป็นฝุ่น แต่นุ่มเท้า และไม่สกปรกมาก ไม่มีหินใหญ่ๆแบบชายหาดเขาหลัก ช่วงที่มานี้คลื่นทะเลค่อนข้างแรง ถ้าว่ายน้ำไม่แข็งไม่ควรออกไปนะครับ น้ำทะเลใส สะอาดมาก เหมาะแก่การนั่งชิวล์ รับลม ตากแดด จริงๆ ส่วนช่วงเย็น เหมาะมากแก่การดูพระอาทิตย์ตกดินครับ สวยงาม เป็นชายหาดที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อมาเยือนจังหวัดพังงา
อะเควลล่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรี่ คลับ สนามกอล์ฟ ตั้งอยู่บนพื้นที่ระหว่างหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 9 มีคนในชุมชนหลายคนที่ไปประกอบอาชีพในสนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟและสนามมินิกอล์ฟ พร้อมเน้นย้ำมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พร้อมในการต้อนรับนักกอล์ฟทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาสัมผัสประสบการณ์การออกรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ “อะเควลล่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ” สนามกอล์ฟระดับแชมเปียนชิพ 18 หลุม ระยะ 7,000 หลา พาร์ 72 ตั้งอยู่ชายฝั่งทะลอันดามันและเป็นศูนย์กลางของโครงการอะเควลล่าบนพื้นที่รวมกว่า 1,075 ไร่ ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ถือว่าสนามแห่งนี้เป็นสนามที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย “สนามอะเควลล่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ นั้น จุดเด่นคือสถานที่ตั้งซึ่งอยู่ติดทะเลมีทั้งวิวชายหาด วิวภูเขา และทางน้ำธรรมชาติ มีทัศนียภาพที่สวยงามเห็นทะเลอันดามัน เป็นสนามที่เล่นสนุกและท้าทาย ด้วยสภาพสนามที่แฟร์เวย์อาจจะแคบและลมที่พัดแรง อีกทั้งขนาดกรีนไม่ใหญ่มากทำให้นักกอล์ฟต้องพิถีพิถันในการวางแผนมากขึ้น และลมจะเปลี่ยนทิศในช่วงเช้าและบ่ายซึ่งจะสร้างความสนุกสนานท้าทายแก่นักกอล์ฟทุกระดับ ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศไทยและทั่วโลกดีขึ้น เราหวังว่าจะมีเที่ยวบินที่จะมาลงในภูเก็ตมากขึ้น เพื่อเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยการเดินทางจากสนามบินภูเก็ตมายังสนามอะเควลล่าฯ นั้นสะดวก เพราะใช้เวลาเพียง 25-30 นาที จากสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต”
ทุนกายภาพ
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ที่ดินจังหวัดพังงา สาขาท้ายเหมือง
- วิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง
- ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
- ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง
ภาษาที่ใช้คือภาษาไทย ทางภาคใต้ และบางส่วนใช้ภาษาไทย ภาคกลาง
บ้านทับยาง ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจเป็นจำนวนมากและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจคนในตำบลเป็นอย่างมาก
บ้านทับยาง หรือชายทะเลท้ายเหมือง พื้นที่ส่วนใหญ่ จะมีหน่วยงานราชการตั้งอยู่ในพื้นที่มากที่สุด
โรงเรียนวัดเหมืองประชาราม. (ม.ป.ป.). ประวัติโรงเรียน. ค้นจาก https://watmuang.thai.ac/
วิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสถานศึกษา. ค้นจาก https://www.thaimuang.ac.th/