Advance search

ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานหลายร้อยปี แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรไทย และชีวิตสังคมเมือง

หมู่ที่ 1
บ้านต้นโพธิ์
บางขะแยง
เมืองปทุมธานี
ปทุมธานี
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
4 ม.ค. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
4 ม.ค. 2024
บ้านต้นโพธิ์

เนื่องจากมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่บ่งบอกตำแหน่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ท้องถิ่น ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บริเวณนั้นว่า "บ้านต้นโพธิ์"


ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานหลายร้อยปี แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรไทย และชีวิตสังคมเมือง

บ้านต้นโพธิ์
หมู่ที่ 1
บางขะแยง
เมืองปทุมธานี
ปทุมธานี
12000
13.968368844324875
100.52757438779965
เทศบาลตำบลบางขะแยง

บ้านต้นโพธิ์ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายมอญ อาศัยอยู่บริเวณชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวมอญเมืองเมาะตะมะ เพื่อหลีกหนีจากสภาวะสงคราม และได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณชุมชนปัจจุบัน ในอดีตบริเวณนี้มีการสัญจรทางน้ำผ่านไปมา และมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ที่อยู่มาก่อน ผู้คนจึงยึดเอาต้นโพธิ์นี้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกพื้นที่ และใช้เป็นชื่อเรียกชุมชนบริเวณนี้สืบมา 

ชุมชนบ้านต้นโพธิ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย มีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 45 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 15 ไร่ และพื้นที่ทำสวน 30 ไร่ เส้นทางคมนาคมขนส่งและสัญจรมีเส้นทางสายหลัก คือ ถนนกรุงเทพ-ปทุมธานี และเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชน คือ ถนนปทุมธานี-นนทบุรี (สายใน)

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ วัดน้ำวน หมู่ที่ 5 ตำบลบางเดื่อ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองวัดเจตวงศ์ หมู่ที่ 6 ตำบลบางขะแยง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 และ 10 ตำบลบางคูวัด

บ้านต้นโพธิ์ หมู่ที่ 1 ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีประชากรทั้งหมดจำนวน 2,777 ครัวเรือน แบ่งเป็นประชากรชาย 2,766 คน ประชากรหญิง 3,104 คน รวมประชากรทั้งหมดจำนวน 5,870 ค

มอญ

บ้านต้นโพธิ์ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และอาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่ทางเศรษฐกิจ โดยพื้นที่ตำบลบางขะแยงเป็นชุมชนเมือง มีโรงงานอุตสาหกรรม กระประกอบอาชีพของประชากรจึงมีความหลากหลาย ทั้งรับจ้างทั่วไป พนักงานโรงงาน ลูกจ้าง ค้าขาย บางส่วนก็มีการประกอบธุรกิจส่วนตัว และมีเพียงส่วนน้อยที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับผู้คนในชุมชน ได้แก่

  • วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านต้นโพธิ์ โทร. 08-1822-0774

บ้านต้นโพธิ์ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนขนาดใหญ่และอยู่ในพื้นที่ทางเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของประชากรจึงมีทั้งในรูปแบบของพนักงานทั่วไป ตอนกลางวันอยู่ที่ทำงาน ตอนเย็นเดินทางกลับบ้าน และอาจจะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับวิถีวัฒนธรรมมากนัก แต่เนื่องด้วยชุมชนบ้านต้นโพธิ์เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์มอญ กลุ่มผู้สูงอายุจึงมีวิถีชีวิตที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเอาไว้ได้อยู่บ้าง โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง คือ วัดเจตวงศ์

1.นางพิมสิริ กัลวิชา : ปราชญ์ชุมชน การแปรรูปสมุนไพร

2.นางปทุมมรัตน์ ธรรมโม : ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านต้นโพธิ์

  • ชุมชนชาววมอญ
  • วัดเจตวงศ์
  • ศูนย์การเรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านต้นโพธิ์
  • จุดชมทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
  • แม่น้ำเจ้าพระยา
  • ยาหม่องน้ำสมุนไพรบ้านต้นโพธิ์

เนื่องจากชุมชนบ้านต้นโพธิ์ ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนชาวมอญโบราณในอดีต และด้วยความเจริญก้าวหน้าของสังคมเมืองทำให้ชุมชนบ้านต้นโพธิ์มีทั้งกลุ่มผู้ที่ยังใช้ภาษามอญเดิมผสมผสานร่วมกลับภาษาไทยมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารกันในชุมชน กับผู้คนที่แวะเวียนผ่านไปมา และใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการติดต่อราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดเจตวงศ์ (ร้าง)

วัดเจตวงศ์ หรือวัดร้าง วัดสำคัญของชุมชนบ้านต้นโพธิ์ เป็นโบราณที่มีอายุหลายร้อยปี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานได้ว่าอาจสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สังเกตได้จากศิลปรูปทรงการสร้างอุโบสถโบราณของวัด แบบก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก มีช่องประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวแบบโบสถ์มหาอุต และมีหน้าต่างด้านละ 3 ช่อง มีพาไลชายคาปีกนกยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อกันฝน หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานชุกชี และมีภาพจิตกรรมพุทธประวัติที่งดงามบริเวณผนังโบสถ์ โดยรอบมีฐานใบเสมาอยู่ทั้ง 8 ทิศ และด้านหน้ามีเจดีย์เก่าอยู่ 3 องค์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และได้ทำการบูรณะอุโบสถพร้อมการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในปี พ.ศ. 2551

กันตชา ศรีอยุธย์. (2564). การศกึษากระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีบ้านต้นโพธิ์ จังหวัดปทุมธานีเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เทศบาลตำบลบางขะแยง. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). เทศบาลตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี.

รายงานสารสนเทศสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (honest livelihood Village Report) ปี 2561. (2561). บ้านต้นโพธิ์ หมู่ 1 ตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2561. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.