
เมืองชายแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาที่เมืองเหมียวดี ตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง เส้นทางสู่อินโดจีนบนถนนทางหลวงหมายเลข 12 และถนนสายเอเชียหมายเลย AH1
สันนิษฐานว่าคำว่าท่าสายลวดน่าจะมาจากเส้นลวดของสายโทรเลขจากสยามและพม่าของอังกฤษได้วางโทรเลขเชื่อมต่อกัน ซึ่งสายโทรเลขได้พาดผ่านชุมชนบริเวณนี้ ทำให้คนเรียกแถวนี้ว่า ท่าสายลวด
เมืองชายแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาที่เมืองเหมียวดี ตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง เส้นทางสู่อินโดจีนบนถนนทางหลวงหมายเลข 12 และถนนสายเอเชียหมายเลย AH1
ชุมชนท่าสายลวดแต่เดิมเป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่และพัฒนามาเป็นชายแดนระหว่างประเทศที่สำคัญของของภาคเหนือตอนล่าง โดยที่มาของชื่อเป็นท่าสายลวดมาจากที่ชุมชนเป็นทางผ่านของสายลวดโทรเลขที่ทำระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งเส้นทางสายลวดก็กลายมาเป็นแนวเส้นทางหลักของคนในชุมชนการข้ามแดนระหว่างไทยกับพม่า ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้ามาสู่ท่าสายลวด แต่สิ่งที่ทำให้ท่าสายลวดเปลี่ยนไปคือการย้ายด่านศุลกากรเข้ามาอยู่ในบริเวณเมืองแม่สอดในปี พ.ศ. 2483 ซึ่งท่าสายลวดอยู่ในพื้นที่ด่านข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ ทำให้ย่านท่าสายลวดคึกคักมากยิ่งขึ้นกว่าอดีตและเกิดการย้ายเข้าของกลุ่มคนมากมาย ที่ย้ายเข้ามาสู่แม่สอดและท่าสายลวดเพื่อแสวงหาโอกาสในการค้าขาย ซึ่งท่าสายลวดก็เติบโตมากยิ่งขึ้น นอกจากการที่ย้ายด่านแล้ว การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยหรือสะพานมิตรภาพไทยพม่าก็ส่งเสริมให้ท่าสายลวดยิ่งทวีบทบาทในการเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ
ภูมิศาสตร์
ชุมชนท่าสายลวดตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเมยและและเป็นพื้นที่ราบลุ่มจึงเหมาะสำหรับทำการเกษตร
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ อบต.ท่าสายลวด
- ทิศใต้ ติดกับ อบต.ท่าสายลวด
- ทิศตะวันตก ติดกับ เทศบาลเมืองแม่สอด
- ทิศตะวันออก ติดกับ เขตประเทศเมียนมาแบ่งกันด้วยแม่น้ำเมย
ในพื้นที่ท่าสายลวดมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่โดยมีกลุ่ม 4 กลุ่ม คือ
- กลุ่มไทยเหนือหรือล้านนา
- กลุ่มไทยใหญ่
- ปกาเกอะญอ
- พม่า
โดยกลุ่มคนเหล่านี้ก็ได้รับสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดทุกอย่าง นอกจาก 4 กลุ่มนี้แล้วยังมีกลุ่มคนไร้สัญชาติที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ในพื้นที่อีกด้วย อีกทั้งเป็นกลุ่มที่เปราะบางในสังคม
ไทใหญ่, ปกาเกอะญอพื้นที่ท่าสายลวดมีสินค้ามากมาย แต่สินค้าที่ขึ้นชื่อในพื้นที่เป็นสินค้าประเภทหยก โดยที่ขึ้นชื่ออย่างมากคือ ประเภทต้นไม้หยก ที่มีชื่อเสียงและเป็นสินค้าโอท็อปของเมืองแม่สอด โดยสินค้าประเภทนี้มีขายหลายกลุ่ม แต่ที่มีชื่อเสียงจะเป็นของป้าคำปอยและของสุนาที่ได้รับความนิยม นอกจากกลุ่มต้นไม้หยกแล้วก็ยังมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เป็นกลุ่มประเภทไร่อ้อยที่รวมกลุ่มกันหรือกลุ่มสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของท่าสายลวด
ประเพณีปอยส่างลอง
ประเพณีปอยส่างลองหรือ งานบวชลูกแก้ว เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อสืบสานไว้ในพระพุทธศาสนา โดยในช่วงเช้าวันนี้ ได้มีการจัดขบวนแห่ปอยส่างลองอย่างยิ่งใหญ่และสวยงาม พิธีบวชเณรปอบส่างลอง ในอดีตมักพบเห็นบ่อยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย เป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และสืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด จนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในระหว่างนั้นประเทศไทยได้ประสบปัญหาทางด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ประเพณีปอยส่างลองถูกงดและเลิกไป จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2525 อันเป็นปีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ก็ได้มีการฟื้นฟูและจัดงานประเพณีปอยส่างลองขึ้นทุก ๆ ปี จนถึงปัจจุบัน และประเพณีนี้ก็ได้ขยายไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังพบที่ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย
ขั้นตอนการจัดงานปอยส่างลอง วันแรกเรียกว่า "วันเอาส่างลอง"จะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้ว ซึ่งลูกแก้วก็จะมีการแต่งกายอย่างสวยงามเปรียบเหมือนกับเทวดาตัวน้อย ๆ แห่ไปโดยรอบตัวเมืองและหมู่บ้าน ซึ่งในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริง จากเครื่องดนตรีของไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และกลองมองเซิง (กลองสองหน้า)
วันที่สอง เรียนว่า "วันรับแขก" ก็จะมีขบวนแห่คล้าย ๆ กันกับวันแรก แต่ในวันที่สองนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ ธูปเทียนต่าง ๆ เพื่อถวายพระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ ในช่วงเย็น หลังจากที่ลูกแก้วรับประทานอาหารแล้วเสร็จ ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้วซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น โดยผู้นำที่ประกอบพิธีก็จะเป็นผู้อาวุโส ที่ศรัทธาวัดทุกคนให้ความเคารพนับถือ
วันสุดท้าย คือ "วันบวช" พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ เมื่อท่านได้อนุญาต ลูกแก้วก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตนและอาราธนาศีล แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง เป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์ และจะบวชอยู่วัดหลายเดือนเนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมหรืออยู่ 2-3 อาทิตย์ก็ได้สาระแหล่ เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่, ส่างลอง หมายถึง ลูกแก้ว ชาวไทยใหญ่และชาวไทยผู้นับถือพุทธศาสนาในเขตอำเภอแม่สอด มักจะบวชเณรลูกหรือหลานของตนเองในช่วงปิดภาคเรียน ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนของทุก ๆ ปี เนื่องจากว่างจากการทำงานและลูกหลานไม่ได้ไปโรงเรียน จึงเป็นโอกาสดีที่จะนำบุตรหลานศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงปิดเทอม การจัดงานบวชลูกแก้ว(แหล่ส่างลอง)นั้น ถือว่าผู้ที่บวชลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง 7 กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นจะได้บุญ 4 กัลป์ และถ้าได้บวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญ 16 กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นภิกษุจะได้บุญ 8 กัลป์ จึงมักจะมีผู้ที่มีฐานะดีหลายคนนิยมหาเด็กผู้ชายมาบวช โดยจะไปทาบทามจากผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนและถือเป็นการสร้างบุญกุศลร่วมกัน เพื่อจรรโลงไว้ในพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบต่อไป
ทุนกายภาพ
- พรมแดนแม่น้ำเมย
ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
- พื้นที่ความหลากหลายทางวัมนธรรมและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน
ส่วนใหญ่ในพื้นที่ท่าสายลวดใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและใช้ภาษาอื่นเป็นภาษารอง เช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทใหญ่ และพม่า
ชุมชนท่าสายลวดเป็นชุมชนชายแดนที่มีการค้าระหว่างไทยและประเทศเมียนมาและผลจากการสร้างสะพานมิตรภาพระหว่างไทยกับเมียนมา ทำให้การเดินทางค้าระหว่างไทยและเมียนมาในเมืองเหมียวดีทำได้สะดวกสะบายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้พื้นที่นี้กลายเป็นแหล่งนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ นอกจากนี้ท่าสายลวดยังเป็นเมืองที่นำเข้าอาหารทะเลเข้าสู่ภาคเหนือและและภาคกลางตอนบน เพราะว่าอาหารทะเลจากเมืองสมุทรบางครั้งก็มาได้ช้ากว่าอาหารทะเลที่มาจากเมืองเมาะตะมะและเมาะลำเลิงที่อยู่ใกล้พื้นที่ภาคเหนือมากกว่า และทำให้อาหารทะเลพวกกุ้งหอยปูปลาสดมากกว่าการนำเข้าจากกรุงเทพ ทำให้อาหารทะเลหารับประทานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ภายในท่าสายลวดมีการบริการสาธารณูปโภคอย่างทั้งน้ำประปาและไฟฟ้าสำหรับประชาชนในทุกพื้นที่
แม่ตาวคลินิก ได้แบ่งเบาภาระของประเทศไทยในพื้นที่ชายแดน เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไปใช้บริการไม่ได้เป็นแรงงานที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย หากไม่ได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐ ก็ไม่มีช่องทางอื่น ซึ่งโรงพยาบาลแม่สอด โรงพยาบาลของรัฐในอำเภอแม่สอด ก็แบกภาระส่วนนี้ไว้หนักอยู่แล้ว
ทั้งนี้บุคลากรในแม่ตาวคลินิก ส่วนใหญ่เป็นคนกะเหรี่ยง และได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัครทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย อังกฤษ เมียนมา ทั้งระยะเวลาสั้นและยาว และยังเปิดรับนักศึกษาทางการแพทย์ และสาธารณสุขจากทั่วโลก ให้มาฝึกประสบการณ์การดูแลสุขภาพชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรมบริเวณพื้นที่พรมแดน เช่น University of Birmingham (United Kingdom), Oxford University ( United Kingdom), University of Queensland (Australia), University of Angers (France), University of Otago (New Zealand) เป็นต้น
ส่วนคนไทยในชุมชนท่าสายลวดก็สามารถใช้โรงพยาบาลทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลตามสิทธิของตนเอง
โรงเรียนซีดีซีที่สอนทั้งหลักสูตรไทยและพม่า
ด้วยพื้นที่ของชุมชนบ้านท่าสายลวดที่อยู่ในพื้นที่ทีมีความหลากหลายสูงทำให้การทำการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่มีแตกต่างทางชาติพันธุ์หรือเป็นกลุ่มต่างด้าวต้องคำนึงถึงเรื่องโอกาสที่จะมีความเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา เพราะฉะนัันจึงได้เกิดศูนย์การเรียนรู้ที่สร้างหลักสูตรการสอนที่เป็นการใช้หลักสูตรทั้งแบบของไทยและพม่า ซึ่งจะมอบโอกาสที่มากกว่าให้แก่กลุ่มคนที่อาจจะย้ายถิ่นฐานไปในประเทศไทยหรือในพม่า (แต่อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้พม่าก็ไม่ได้รองรับ) แต่อย่างไรก็ตามโรงเรียนก็ได้สร้างเสริมความรู้ทั้งของไทยและพม่าในเวลาเดียวกัน
ส่วนสำหรับบุคคลสัญชาติไทยก็สามารถเรียนตามโรงเรียนปกติที่รัฐบาลจัดไว้ให้
ผู้คนในพื้นที่ท่าสายลวดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ซึ่งความเชื่อพุทธนั้นก็จะมีวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยแบ่งแยกตามกลุ่มชาติพันธ์ุ ซึ่งในพื้นที่มีกลุ่มคนทั้งชาวเมียนมาที่อพยพมาและกลุ่มเมียนมาที่มาเป็นแรงงงานในประเทศหรือกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีพื้นฐานทางความเชื่อเรื่องผีเป็นความเชื่อพื้นฐาน หรือชาวไทยถิ่นเหนือหรือล้านนาก็มีความเชื่อที่มีพื้นฐานทั้งจากผีและผสมผสานความเชื่อพุทธของตนเองและพม่าจากการถูกปกครองจากเจ้าประเทศพม่าถึง 300 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาทั้งในรูปแบบของเสื้อผ้าหน้าผมในการประกอบพิธีกรรมนั้น หรือวิถีปฏิบัติที่สะท้อนออกมาในขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหลัก เช่น การแห่นาครอบโบสถ์ที่บางกลุ่มใช้คนหรือสัตว์หรือการใช้เสื้อผ้าที่แตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงวิถีปฏิบัติที่สอดรับกับความเชื่อรองของกลุ่มคนในสังคมนั้น ๆ
อย่างไรก็ตามด้วยความเชื่อทางศาสนาเดียวกันจึงสร้างการอยู่ร่วมอย่างสันติ เพราะถึงแม้ว่าจะมีความต่างทางภาษา วัฒนธรรม แต่วัฒนธรรมและความคิดบางอย่างก็สะท้อนออกมาในระบบความคิดแบบพุทธศาสนา ส่งผลให้กลุ่มต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
กฎกระทรวงการคลังออกตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7)พุทธศักราช 2480 (ฉบับที่ 3). (9 กรกฎาคม 2483). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 57 หน้า 184-186.
ณัธนัย ชินสรนันท์. (2557). ปัญหาความไม่สมดุลของนโยบายการจัดสรรรายได้ของรัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา: เทศบาลนครแม่สอดและเทศบาลตำบลท่าสายลวด. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดฤนทารา ธันยกัลยกร. (2560). ที่มา ที่อยู่และที่ไปของนักเรียนชาติพันธ์ในพื้นที่พรมแดนไทย-พม่า กรณีศึกษาชุมชนซี.ดี.ซี หมู่ 1 ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (ประกาศนียบัตรบัณฑิต) ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภัทรสุดา สาลีวรรณ์. (2559). การผสมผสานการปฏิบัติและประเพณีทางศาสนาพุทธศาสนิกชนในบริบทพื้นที่ชายแดนไทยและเมียนมา. (วิทยานินธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิเรก ฟั่นเขียว, ดารุณี แซ่ลี้,ธัญกมนณิษฐ จินห์นภาญา, รุ่งทิวา จันทราม, อุมาพร เมทา. (2559). แนวทางการพัฒนาการประกอบการตลาดริมเมย เทศบาลตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(2), 58-73.