
"กาแฟรสชาติดี มีสิ่งแวดล้อมหลากหลาย มากมายเมี่ยง ชา เชิญแวะมาปางมะโอ" พื้นที่ขยายผลโครงการหลวงปางมะโอ ชุมชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ มีวิถีชีวิตที่ผูกพันและพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ
"ปาง" มาจากการที่ชาวลั๊วเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ซึ่งเป็นคำเรียกที่อยู่อาศัยอย่างไม่ถาวรว่า "ปาง" หรือ "ป๋าง" ส่วนคำว่า "มะโอ" มาจากคำบอกเล่าว่าในอดีตครูบาศรีวิชัย ได้มาสร้างพระธาตุและนำส้มโอทองคำมาฝังไว้ใต้พระธาตุ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "มะโอคำ" จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชนในปัจจุบัน
"กาแฟรสชาติดี มีสิ่งแวดล้อมหลากหลาย มากมายเมี่ยง ชา เชิญแวะมาปางมะโอ" พื้นที่ขยายผลโครงการหลวงปางมะโอ ชุมชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ มีวิถีชีวิตที่ผูกพันและพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ
แต่เดิมพื้นที่บริเวณชุมชนปางมะโอในอดีตเป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย ต่อมามีชาวลั๊วจากบ้านห้วยโจ้และบ้านกาแกดได้พากันเข้ามาปลูกเมี่ยงเพื่อนำไปบริโภค โดยมีการสร้างกระท่อมเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวซึ่งชาวพื้นเมืองเรียกว่า "ปาง" หรือ "ป๋าง" หลังจากนั้นคนเมืองพื้นถิ่นจากอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้ามาซื้อสวนเมี้ยงของชาวลั๊วและตั้งหลักปักฐานอย่างมั่นคงขึ้น และชักชวนญาติพี่น้องมาอยู่อาศัยด้วยกันทำให้กลายเป็นชุมชนที่ขยายใหญ่ขึ้น และจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นในปี พ.ศ. 2476
ชุมชนบ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา และเทืองเขาสูงที่มีความสูงประมาณ 1,000 เมตร จาระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก มีพื้นที่ลุ่มน้ำแก่งปันเต๊าขนาด 15.21 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ปกคลุมด้วยป่าไม้ต่าง ๆ เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ถึงกิโลเมตรที่ 62 แยกขึ้นภูเขาด้านซ้ายบริเวณบ้านแก่งปันเต๊าประมาณ 12 กิโลเมตร
ชุมชนบ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรจำนวน 233 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 108 คน หญิง 130 คน รวมประชากรทั้งหมด 238 คน
ชุมชนบ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนพื้นเมืองที่ตั้งท่ามกลางหุบเขา ธรรมชาติ ประชากรของชุมชนจึงต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น ปลูกชา ปลูกกาแฟ รับจ้างเก็บชากาแฟ รับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ในชุมชนปางมะโอยังมีการพัฒนาศักยภาพชุมชนจากการที่มีการเปิดร้านคาเฟ่ต่าง ๆ การจัดทำบ้านพักโฮมสเตย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตท่ามกลางธรรมชาติในชุมชนปางมะโอ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มพึ่งตนเองของชาวบ้าน มีการส่งผลผลิต เช่น ใบเมี่ยง และกาแฟ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กาแฟ Arabica (กาแฟดอยหลวงปางมะโอ) ชาอัสสัม และน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรนานาชนิด ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
- ทรัพยากรดิน
- ทรัพยากรป่าไม้
- สมุนไพรท้องถิ่น
- พืชเศรษฐกิจดั้งเดิม : เมี่ยง ชา กาแฟ
- พืชเศรษฐกิจใหม่ : ผลไม้เมืองหนาว/ดอกไม้เมืองหนาว
- เส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ
ชุมชนบ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนพื้นเมืองล้านนาที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพื้นที่หุบเขา ภูเขาสูง ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารจึงเป็นภาษาพื้นเมืองท้องถิ่นล้านนา ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันในชุมชน ระหว่างชุมชน และใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการติดต่อราชการ
- ผลผลิตกาแฟตกต่ำ ไม่มีความรู้เรื่องการจัดการสวน ปัญหาโรคและแมลง
- เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพเก็บเมี่ยงเป็นหลัก รายได้ตกต่ำเนื่องจากผู้บริโภคน้อยลง
- อาชีพทางเลือกน้อยด้วยข้อจำกัดของพื้นที่
- ชุมชนพึ่งพาตนเองได้น้อย หนี้สินมาก เข้าถึงการบริการ และแหล่งทุนได้ยาก
- ไม่มีช่องทางการตลาดรองรับ อาศัยพ่อค้าคลกลาง ราคาผลผลิตไม่แน่นอน
- ถนนเชื่อมต่อระหว่างหย่อมบ้านเป็นทางลูกรัง ทำให้การคมนาคมไม่สะดวก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
- การบุกรุกใช้ทรัพยากรจากบุคคลภายนอก
- การจัดการขยะ
วัดอรัญจอมเมฆ
วัดอรัญจอมเมฆ หรือวัดปางมะโอ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์รวมศรัทธาของผู้คนในชุมชน ภายในวัดมีเจดีย์ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ เป็นพระธาตุที่มีความพิเศษคือเมื่อเกิดเงาสะท้อนจากแสงแดดจำทำให้เห็นเงาถึงสามเงา โดยการชมเงาของพระธาตุนั้น จะต้องขึ้นไปชมบนเรือนที่อยู่ใกล้พระธาตุ เป็นเรือนขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายกุฏิพระภายในเรือนจะปิดประตูหน้าต่างไว้ให้แสงลอดเข้ามาได้เพียงช่องที่กำหนดเท่านั้น พื้นเรือนปูด้วยผ้าสีขาวเป็นเสมือนฉากรับภาพสะท้อนเงาของพระธาตุจากข้างนอกเข้ามา เมื่อแสงแดดส่องผ่านพระธาตุแล้วลอดเข้ามาทางช่องที่กำหนดจะปรากฏภาพเงาของพระธาตุบนผืนผ้าเป็นสามเงา
เทศบาลตำบลแม่นะ. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). เทศบาลตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่.
พิเชษฐ์ ศรีปา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานของโครงการขยายผลโครงการหลวงปางมะโอ. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2562). โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางมะโอ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567, จาก https://web2012.hrdi.or.th/