ชุมชนบ้านเหมืองแพร่ บ่อเกลือสินเธาว์โบราณทรัพยากรที่ลำค่าที่สุดในยุคสมัยโบราณ อีกทั้งยังเป็นเมืองชายแดนระหว่างไทยและลาว แต่เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ในชุมชนที่เชื่อมโยงเข้าหากันโดยไม่แบ่งแยกพรมแดน
ชุมชนบ้านเหมืองแพร่ เป็นชุมชนโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี คู่กับบ่อเกลือสินเธาว์โบราณ ที่อยู่กลางลำน้ำเหืองและเหมืองแพร่ ซึ่งที่มาของชื่อหมู่บ้านเหมืองแพร่มาจากชื่อของลำเหมืองโบราณที่บรรพบุรุษชาวเหมืองแพร่ทำขึ้น
ชุมชนบ้านเหมืองแพร่ บ่อเกลือสินเธาว์โบราณทรัพยากรที่ลำค่าที่สุดในยุคสมัยโบราณ อีกทั้งยังเป็นเมืองชายแดนระหว่างไทยและลาว แต่เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ในชุมชนที่เชื่อมโยงเข้าหากันโดยไม่แบ่งแยกพรมแดน
ชุมชนบ้านเหมืองแพร่ตั้งอยู่ในหุบเขาริมฝั่งลำน้ำเหือง(ชาวบ้านออกเสียงน้ำเหียง) และติดกับชายแดนไทย – ลาว ในท้องที่ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองเลย 115 กิโลเมตร แต่เดิมอำเภอนาแห้ว ขึ้นอยู่กับอำเภอด่านซ้าย ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบระหว่างหุบเขาไม่มาก เนื่องจากสภาพถนนหนทางทุรกันดาร และการคมนาคมที่ยากลำบาก ถนนหลักที่เข้าถึงอำเภอจากด่านซ้ายเป็นลูกรัง เพิ่งได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นถนนลาดยางเมื่อราวปี พ.ศ. 2524 การติดต่อกับทางราชการหรืออำเภอจึงไม่สะดวก ต้องใช้เวลาในการเดินทางหลายวัน ปี พ.ศ. 2513 จึงได้รับการตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาแห้ว และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2519 จึงได้ขยับฐานะเป็นอำเภอนาแห้ว
ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร คิดเป็นร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมดและมีที่ราบระหว่างหุบเขา เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว ภูเปือย ภูสันทราย ลำน้ำที่สำคัญได้แก่ ลำน้ำเหือง ลำน้ำหู ลำน้ำพึง ลำน้ำแพร่
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับเมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว
- ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
- ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
- ทิศใต้ ติดกับอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ประชากรบางส่วนก็มีครอบครัวหรือญาติพี่น้องที่ฝั่งลาวซึ่งเกิดจากปัจจัยการแบ่งเขตแดนของรัฐไทยและฝรั่งเศสที่แบ่งให้ลำน้ำแบ่งแยกคนทั้งสองฝั่งแต่ทางปฏิบัติคนในพื้นที่ก็ไม่ได้แบ่งแยกตามเส้นเขตแดนการปกครองคนทั้งสองฝั่งยังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันยังไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน หรือบางกลุ่มก็ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่ฝั่งไทยจนหมด โดยรัฐทั้งสองอนุญาติให้ข้ามไปมาหาสู่ระหว่างกันได้แค่วันธรรมสวนะ คือวัน 8 ค่ำและ 15 ค่ำ บริเวณจุดผ่อนปรนชายแดน
วันธรรมสวนะ หรือวันพระ
ในทุกวันธรรมสวนะจะเปิดโอกาสให้คนมั้งสองฝั่งระหว่างไทยและลาวสามารถเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันได้เพราะว่าความเป็นจริงแล้วคนบนพื้นที่ทั้งสองล้วนเป็นญาติพี่น้องและครบครัวเดียนวกันเพียงแต่ว่าพื้นที่พรมแดนเข้ามากันแบ่งความเป็นชาติของบุคคล
วันสงกรานต์
วันสงกรานต์เป็นวันสำคัญประเทศบนภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มักนับว่าเป็นวันที่ขึ้นศักราชใหม่ โดยพื้นที่นี้ก็ได้จัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพัฯธ์ทั้งสองแผ่นดิน ทั้งงานมหรสพ สรงน้ำพระ รถน้ำขอพร และการไหว้พระทั้งฝั่งไทยและลาว เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน
ทุนกายภาพ
- บ่อเกลือเป็นต้นทุนชั้นดีที่ชุมชนนั้นเหนือกว่าชุมชนอื่น เนื่องจากเกลือนั้นเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของชุมชนที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ ทั้งการดองเกลือ การหมักเกลือ หรือกระทั้งการนำเกลือมาพัฒนาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยารักษาโรคซึ่งทั้งหมดทั้งปวงเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้การดำรงชีพในสังคมที่ไร้สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปอย่างราบรื่นและดำเนินไปด้วยดี ทำให้แม้ว่าพื้นที่นี้จะห่างไกลจากความเจริญมากกเพียงใด ชุมชนนี้ก็สามารถดำรงอยู่ได้ยาวนานนับหลายร้อยปี
ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ และภาษาอีสานที่ค่อนจะเป็นสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่คล้ายคลึงกันในภูมิภาค
ความเป็นมาของน้ำผักสะทอน
ชุมชนบ้านเหมืองแพร่ตั้งอยู่ในหุบเขาริมฝั่งลำน้ำเหืองและติดกับชายแดนไทย – ลาว ในท้องที่ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เป็นชุมชนโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี คู่กับบ่อเกลือสินเธาว์โบราณที่อยู่กลางลำน้ำเหืองและเหมืองแพร่ ซึ่งเป็นลำเหมืองโบราณที่บรรพบุรุษชาวเหมืองแพร่ทำขึ้น และเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ในอดีตชาวบ้านเหมืองแพร่ก็จะทำการต้มเกลือ เพื่อส่งขายยังชุมชนใกล้เคียง ในการต้มเกลือก็จะมีพิธีกรรมเลี้ยงบ่อเกลือก่อนที่จะทำการต้มเกลือ
เดิมทีหมู่บ้านบ้านเหมืองแพร่ตั้งอยู่สองฝั่งของลำน้ำเหือง ต่อมาเมื่อมีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ส่วนหนึ่งของชุมชนที่อยู่ฝั่งซ้ายของลำน้ำเหืองต้องอยู่ในกำกับของฝรั่งเศส และปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาว นอกจากนี้ ยังทำให้วัดโพธิ์ศรีซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำชุมชน มีวิหาร ภาพจิตรกรรมและโบสถ์ที่สวยงามซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายลำน้ำเหืองต้องอยู่ในเขตประเทศลาวด้วย รวมทั้งบรรพบุรุษและกลุ่มเครือญาติส่วนหนึ่งของชาวบ้านเหมืองแพร่ในปัจจุบันด้วย
จากการศึกษาวิถีชีวิตของคนในชุมชนตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน หลังจากต้มเกลือแล้ว ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เดือนเมษายนของทุกปี จะมีพืชท้องถิ่นชนิดหนึ่งที่ผู้คนในชุมชนนิยมนำมาผ่านกระบวนการแปรรูป โดยการเก็บใบอ่อนของพืชชนิดนั้นมาตำด้วยครกมอง (ครกกระเดื่อง)ให้ละเอียด นำมาหมักในโอ่งดินเผาทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน จากนั้นกรองเอาน้ำที่หมักไว้มาต้มและเคี่ยวจนน้ำงวดแห้งเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลจึงเติมเกลือสินเธาว์ที่ต้มไว้ในช่วงต้นปีลงไป ถ้ารสชาติของน้ำที่ต้มไว้เค็มมากเท่าไรก็จะเพิ่มระยะเวลาในการเก็บได้นาน ชาวบ้านเรียกน้ำที่ต้มนี้ว่า “น้ำผักสะทอน” ซึ่งนิยมนำมาปรุงรสอาหารต่างๆ แทนการใช้น้ำปลา เพราะในสมัยบรรพบุรุษนั้นยังไม่มีการแปรรูปน้ำปลาเพื่อใช้ปรุงอาหารเช่นในปัจจุบัน
“น้ำผักสะทอน” สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง หลายชนิด หลายประเภท เช่น หลาม, ซั้ว, เมี่ยงสมุนไพร, น้ำพริก (น้ำแจ่ว) เป็นต้น ซึ่งอาหารแต่ละประเภทจะใช้ “น้ำผักสะทอน” เป็นเครื่องปรุงหลักในการประกอบอาหาร
คลังข้อมูลชุมชน (ที่มา : https://communityarchive.sac.or.th/community)