ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
เดิมมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า สะนี่พุ่ง แปลว่า ท่าแพ
ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
หมู่บ้านเสน่ห์พ่องตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำโรคี่ การสัญจรติดต่อการค้าที่ต้องอาศัยการล่องแพล่องไปค้าขายประเภทของป่า ใบจากมุงหลังคา หวาย และพืชผักที่หาได้ในป่า เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของต่าง ๆ เป็นเงินนำกลับมาใช้
บ้านเสน่ห์พ่อง เดิมมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า สะนี่พุ่ง แปลว่า ท่าแพ ประชากรเป็นชาวกะเหรี่ยงโป สัญชาติไทย อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากทางเหนือ ตั่งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และชาวบ้านในหมู่บ้านจะนับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อทางธรรมชาติ มีวัดบ้านเสน่ห์พ่องเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ และทำกิจกรรมทางศาสนา
เดิมเมืองสังขละบุรี ตั้งอยู่ ณ บ้านเสน่ห์พ่อง มีพระศรีสุวรรณคีรี เป็นเจ้าเมืองสืบทอดตำแหน่งกันมา 5 ท่าน จนกระทั่งมีการปรับปรุงระเบียบการปกครองท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนฐานะเมืองสังขละบุรีเป็นอำเภอ พระศรีสุวรรณคีรีที่ 5 (ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์) รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนแรกของสังขละบุรี ในปี พ.ศ. 2445-2467
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนกระจายตัวออกไปอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อหนีหลบภัยสงคราม เมื่อสงครามสงบลงจึงได้อพยพกลับเข้ามารวมกันตั้งถิ่นฐานในที่เดิมเป็นหลักแหล่งจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีกำนัน 7 ชั่วอายุคน คือ
- กำนันสะจี
- กำนันเตะเลอะ
- กำนันขะจุง
- กำนันไมตรี เสตะพันธุ์
- กำนันอานนท์ เสตะพันธ์ุ
- กำนันไพบุลย์ ช่วยบำรุงวงศ์
- กำนันคำสันต์ พิทักษ์ชาตคีรี
อาณาเขตติดต่อ
หมู่บ้านเสน่ห์พ่อง มีสภาพที่อยู่ราบหุบเขา มีห้วยน้ำเคอเหราะไหลผ่าน ซึ่งเป็นห้วยน้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในชุมชน บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านจะเป็นสภาพป่าไม้ ลำธาร คนในชุมชนทำการเกษตรแบบยังชีพ เป็นการปลูกเพื่อกิน ไม่ได้ปลูกเพื่อขาย มีการใช้ชีวิตแบบพอกิน พออยู่ พอใช้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านไล่โว่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านกองม่องทะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ สหภาพเมียนม่าร์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง
จำนวนประชากร/ครัวเรือน หมู่ที่ 1 บ้านเสน่ห์พ่อง ประชากรส่วนใหญ่เป็นเครือญาติทั้งหมู่บ้าน เนื่องจากอยู่ห่างใกลความเจริญ ไม่ออกไปทำงานนอกสถานที่ จึงทำให้ตำบลไล่โว่ ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน
จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากรชาย | จำนวนประชากรหญิง | รวม |
277 | 625 | 562 | 1,187 |
หมู่บ้านเสน่ห์พ่อง ประกอบอาชีพหลังทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ทำนาปี ปลูกพืชผักหลากหลายชนิด เช่น มะม่วง กาแฟ เงาะ กล้วย สับปะรด ขมิ้น มะม่วงหิมพาน พริก และผักต่าง ๆ เก็บกินได้ตลอดทั้งปี สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี
หมู่บ้านเสน่ห์พ่อง จะมีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกร ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ผูกข้อมือเดือนเก้า เข้าพรรษา ออกพรรษา กฐินสามัคคี ประเพณีฟาดข้าว บุญข้าวใหม่ บุญเดือนสาม ตามจันทรคติของแต่ละเดือน
1.นายส่วยจีโหม่ง เป็นชาวกะเหรี่ยงโผล่ว (โปว์) มีความรู้ด้านสมุนไพร และเป็นผู้นำชุมชนด้านพิธีกรรม เป็นผู้สืบทอดกิจกรรมตามประเพณีต่าง ๆ
หมู่บ้านเสน่ห์พ่อง มีทรัพยากรที่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย มีแม่น้ำไหลผ่าน มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชผักได้ทุกชนิด สภาพแวดล้อมของชุมชนน่าอยู่ร่มรื่น มีศิลปะการแสดง ร้องเพลง รำ และดนตรีพื้นบ้าน
หมู่บ้านเสน่ห์พ่อง เป็นหมู่บ้านที่เป็นชุมชนดั้งเดิม ใช้ภาษากะเหรี่ยงในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ส่วนวัยรุ่นและเด็กที่ออกไปเรียนตามสถานศึกษากลับมาใช้ภาษาไทยบ้าง แต่ก็ยังสามารถสื่อสารภาษาแม่ได้เกือบทุกครัวเรือน และยังมีภาษาเขียน อ่าน เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย
หมู่บ้านเสน่ห์พ่อง เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจในเรื่องการดำรงชีพของราษฎร ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิมตามบรรพบุรุษที่เคยปฏิบัติมา ตามคำกล่าวที่ว่า "เมื่อมีภัยมา ลูกหลานจงเกาะตอข้าวให้แน่นไว้" มีใจความว่า ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ขอให้ลูกหลานอย่าลืมทำไร่ข้าว เมื่อมีข้าวกินจะทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ถ้าหากเราไม่ทำไร่ปลูกข้าว เราต้องไปซื้อเขากินก็จะทำให้เราจะลำบากและเป็นเครื่องมือของนักวิชาการที่เป็นนายทุน ส่งเสริมให้เราปลูกอย่างอื่นแล้วให้ซื้อข้าวกิน โดยยกเหตุผลว่าไม่ให้เผาป่า และจะบอกว่ากะเหรี่ยงทำลายป่า ทั้ง ๆ ที่กะเหรี่ยงอยู่กับป่ามาตั้งแต่กฎหมายยังไม่ประกาศใช้กฎหมาย คนกะเหรี่ยงอยู่มาก่อนหลายชั่วอายุคน ป่ายังอุดมสมบูรณ์เนื่องจากกะเหรี่ยงมีความสำนึกต่อพระแม่ธรณี พระแม่คงคา และพระแม่โพสพ จะเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมตามปฏิทินชุมชน จะบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกปักรักษาดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งกะเหรี่ยงให้ความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันดีงามเหล่านั้นจะถึงปัจจุบันและอนาคต
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).