Advance search

ลำห้วยทีซอแมไหลผ่านตลอดทั้งปี ผู้คนในชุมชนยังคงสืบทอดประเพณีผูกข้อมือ

หมู่ที่ 2
แม่ตื่น
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
ธนากร ทองประดับ
26 ก.ย. 2023
เปรมพร ขันติแก้ว
27 ก.ย. 2023
จิรัชยา สีนวล
17 ม.ค. 2024
บ้านแม่เเหมะคี

บ้านแม่ตื่น กลุ่มบ้านวาแหมะคี เป็นภาษาปกาเกอะญอ ชื่อหมู่บ้านหากแปลเป็นไทยจะหมายถึง "บ้านห้วยลิงตาขาว" เนื่องจากเป็นที่อยู่ของลิงขาวมาก่อน


ลำห้วยทีซอแมไหลผ่านตลอดทั้งปี ผู้คนในชุมชนยังคงสืบทอดประเพณีผูกข้อมือ

แม่ตื่น
หมู่ที่ 2
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
63150
17.60580145
97.89897814
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง

"บ้านวาแหมะคี" จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน พื้นที่ดั้งเดิมของหมู่บ้านอยู่ห่างจากหมู่บ้านวาแหมะคีปัจจุบัน ราว 2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นทางคมนาคมที่ยากลำบาก ทั้งการเดินทางของผู้คนและการขนส่งสิ่งของเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวแล้วได้รับผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคจึงได้ปรึกษากันอพยพลงมาอยู่ที่บ้านวาแหมะคี ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก สามารถติดต่อชุมชนอื่นได้ สะดวกต่อการขนส่งสิ่งของ เช่น ข้าวสาร อาหาร ยาและวัสดุอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับชุมชน

พื้นที่ข้างเคียงของกลุ่มบ้านวาแหมะคี มีกลุ่มบ้านทีซอแม ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ก่อนที่จะมาตั้งที่นี่ ได้อยู่ที่อื่นมาก่อน แต่ได้มาตั้งอยู่ที่ปัจจุบันนี้ ประมาณ 23 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 พร้อม ๆ กับการตั้งโรงเรียน เมื่อก่อนเป็นหมู่บ้านเล็ก มีเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ประมาณ 6 หลังคาเรือน บ้านทีซอแม เป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 8 ตำบลท่าสองยาง โดยมีอายุการตั้งถิ่นฐานไล่เลี่ยกับบ้านแม่จวาง (โค๊ะโพตะ)

บ้านวาแหมะคี มีผู้นำทางธรรมชาติ คือ นายคระหมุ่ย สิงห์ชูชัย และเพื่อนบ้านอีกสองครอบครัวได้พากันอพยพจากบ้านทีจื้อคี มาอยู่เป็นครอบครัวกลุ่มแรก ส่วนครอบครัวอื่น ๆ ได้ติดตามมาอยู่เพิ่มภายหลัง จากบ้านตะโด้กุย และที่เหลือจากบ้านทีจิ้อคี ได้อพยพมาจนหมด

ลักษณะทางกายภาพ

ที่ตั้งของตำบลท่าสองยางอยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยาง ประมาณ 56 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอท่าสองยาง มีรูปร่างทอดวางตัวแนวตั้ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำยวม ตำบลแม่วะหลวงและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่สอง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่วะหลวงและตำบลแม่สอง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำเมย สหภาพเมียนมา

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงเชิงเขา มีที่ราบลุ่มบริเวณเชิงเขาเล็กน้อยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวน ภูเขา มีเทือกเขาถนนธงชัย ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ แม่น้ำ แม่น้ำเมย กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมา 

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากอยู่ในเทือกเขาถนนธงชัยและอยู่ร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากทะเลอันดามันพัดผ่าน ทำให้ภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อนฝนตกชุกเกือบทั้งปี คือตลอดช่วง 6 เดือน โดยเฉพาะในเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม เป็นช่วงที่ฝนตกชุกมาก ลักษณะภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้มีด้วยกันสามฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 33 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีฝนตกชุกมากในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม.
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ป่าสมบูรณ์และป่าต้นน้ำ พื้นที่เป็นที่ราบสูง อากาศจึงหนาวเย็นมาก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-18 องศาเซลเซียส 

ทรัพยากรธรรมชาติ

  • น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ คือ แม่น้ำเมย ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่าไหลผ่าน และมีน้ำตามธรรมชาติที่อยู่บนภูเขา 
  • ป่าไม้ ตำบลท่าสองยางมีพื้นที่ป่าไม้ตามภูเขาและที่สูงที่สำคัญได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่า ท่าสองยาง และอุทยานแห่งชาติแม่เมย เป็นป่าประเภท ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพวก ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็ง และไม้กระยาเลย 
  • ภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน 

ลักษณะของดิน

พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าสองยางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง ทำให้ประชาชนไม่สามารถมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินได้ ทำให้มีการใช้ประโยชน์น้อยมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย และดินร่วนอยู่บริเวณสองข้างฝั่งลำห้วย ซึ่งเป็นที่ราบในบริเวณหุบเขาจะพบว่าเป็นดินลูกรังหรือหินก้อนใหญ่ 

ลักษณะของแหล่งน้ำ

ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำเมย ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมา ไหลผ่านยาวประมาณ 70 กิโลเมตร มีแหล่งน้ำที่สำคัญทั้งที่เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น มีดังนี้ แม่น้ำ 1 สาย ห้วย หนอง คลอง บึง 6 แห่ง สระเก็บน้ำ 10 แห่ง ฝาย 4 แห่ง     

ลักษณะของไม้และป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลท่าสองยางมีพื้นที่ป่าไม้ตามภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง และอุทยานแห่งชาติแม่เมย เป็นป่าประเภท ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง ไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นพวก ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็ง และไม้กระยาเลย ส่วนสัตว์ป่า ที่พบ เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ลิง เลียงผา แต่ไม่เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ของป่าที่พบ เช่น น้ำผึ้ง หน่อไม้ เปลือกไม้ 

การคมนาคมขนส่ง 

ในพื้นที่หมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตและถนนดิน ซึ่งรถยนต์สามารถเข้าถึงได้ทุกหมู่บ้านในฤดูแล้งและในฤดูฝนบางหมู่บ้านรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ต้องเดินทางด้วยเท้าเพราะพื้นที่ของหมู่บ้านส่วนมากอยู่บนพื้นที่สูง รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากถนนเสียหายและมีน้ำกัดเซาะ เส้นทางหลักที่ใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน คือ ทางหลวงหมายเลข 105 ถนนบ้านแม่เหว่ย ถึง บ้านแม่ละนา, ถนนบ้านท่าสองยาง ถึงบ้านแม่ลอ และถนนราชประสงค์

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรบ้านแม่ตื่น จำนวนประชากรทั้งหมด 2,424 คน แบ่งออกเป็นชาย 1,285 คน หญิง 1,139 คน โดยประชาชนอาศัยร่วมกันแบบเครือญาติ โดยมีนางโค่เดะ เป็นต้นตระกูลเครือญาติฝ่ายหญิงที่สามารถสืบเสาะได้ ปัจจุบันครัวเรือนขยายเป็นลูกหลานของนางโค่เดะ โดยมีการแต่งงานกับนายนอแตะและเป็นคนดั้งเดิมในพื้นที่นี้ คนในชุมชนอาศัยพึ่งพากันในระบบเครือญาติ มีความใกล้ชิด ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ชุมชน มีการขยายระบบเครือญาติไปตามแต่ละป๊อกบ้าน

ปกาเกอะญอ
ลำดับที่ ชื่อ-สกุล กลุ่มอิสระ
1 นางสาวน่อตะบวย เกิดคีรี ทอผ้า
2 นางสาวกาญจนา วนาวิจารณ์ ทอผ้า
3 นางแป้งา   - ทอผ้า
4 นางน่อมะเจ่อ  - ทอผ้า
5 นางสาวกาญจนา วนาวิจารณ์ อสม.

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

ประเพณีสะเดาะเคราะห์หมู่บ้านหรือหว่อฮี่

  • ครั้งที่ 1 ชาวบ้านนำข้าวสุกหัวหม้อที่ยังไม่ได้กิน ข้าวขาว ข้าวดำ ข้าวเหลือง ขนมต่าง ๆ เกลือ พริก มารวมกันในถาดกลางหมู่บ้านตอนใกล้ค่ำและถ่มน้ำลายใส่ลงในถาด เสร็จแล้วทำพิธีปัดเป่าเอาสิ่งไม่ดีออกจากตัวแล้วคนแก่ในหมู่บ้านเอาสิ่งของที่มารวมกันไปไว้นอกหมู่บ้านตามทิศต่าง ๆ
  • ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 5 เดือน โดยชาวบ้านนำข้าวสุกหัวหม้อที่ยังไม่ได้กิน ข้าวขาว ข้าวดำ ข้าวเหลือง ขนมต่าง ๆ เกลือ พริก มารวมกันในถาดกลางหมู่บ้านตอนใกล้ค่ำและถ่มน้ำลายใส่ลงในถาด เสร็จแล้วทำพิธีปัดเป่าเอาสิ่งไม่ดีออกจากตัวแล้วคนแก่ในหมู่บ้านเอาสิ่งของที่มารวมกันไปไว้นอกหมู่บ้านตามทิศต่าง ๆ

ประเพณีวันสงกรานต์ มีการสรงน้ำพระพุทธรูปในบ้าน และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

ประเพณีผูกข้อมือ ทุกคนในครอบครัวรวมตัวกัน ทำพิธี ผูกข้อมือ สิ่งที่นำมาประกอบพิธีคือ เหล้า 1 ขวด ไก่ ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว และด้ายสำหรับผูกข้อมือ การผูกข้อมือจะเรียงลำดับจากคนที่อายุน้อยที่สุดไปจนถึงคนที่อายุมากที่สุด

ประเพณีเลี้ยงผีไร่ ผีนา หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วจะมีการเลี้ยงผีไร่ ผีนา สิ่งที่นำมาประกอบพิธี คือ ข้าวเปลือก เหล้า 1 ขวด ไก่ ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว เป็นการเสร็จสิ้นฤดูทำไร่ ทำนา

วันเข้าพรรษา ชาวบ้านทำบุญใส่บาตร ณ สำนักสงฆ์บ้านวาแหมะคี

วันออกพรรษา ชาวบ้านทำบุญใส่บาตร ณ สำนักสงฆ์บ้านวาแหมะคี 

วันลอยกระทง ทำกระทงด้วยใบตองกล้วยแล้วใส่ดอกไม้ธูปเทียน นำกระทงไปลอยในห้วยวาแหมะคี เพื่อขอขมาเจ้าแม่คงคาที่ได้ใช้น้ำอุปโภคบริโภค

ปฏิทินชุมชน ข้อมูลวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในรอบ 1 ปี 

เดือน  วัฒนธรรมประเพณี
มกราคม -
กุมภาพันธ์ -
มีนาคม ประเพณีสะเดาะเคราะห์หมู่บ้านหรือหว่อฮี่ ครั้งที่ 1 
เมษายน ประเพณีวังสงกรานต์
พฤษภาคม -
มิถุนายน -
กรกฏาคม วันเข้าพรรษา
สิงหาคม ประเพณีผูกข้อมือ
กันยายน ประเพณีสะเดาะเคราะห์หมู่บ้านหรือหว่อฮี่ ครั้งที่ 2
ตุลาคม วันออกพรรษา
พฤศจิกายน วันลอยกรทง
ธันวาคม ประเพณีเลี้ยงผีไร่ ผีนา 

 

วิถีชีวิตทางการเกษตร

เดือน เหตุการณ์/ปรากฏการณ์ ลักษณะของปรากฏการณ์/ผลกระทบ
มกราคม

ฤดูหนาว

  • อากาศหนาวเย็น
  • ฤดูเก็บพริก
  • เกิดโรคหวัดและระบบทางเดินหายใจในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
  • เก็บพริกในไร่ของตนเอง ขายพริกสดบางส่วน นำพริกที่สุกแดงมาตากแดดให้แห้งแล้วนำไปขาย
กุมภาพันธ์

ฤดูหนาว 

  • อากาศหนาวเย็น
  • เริ่มถางไร่ 
  • เกิดโรคหวัดและระบบทางเดินหายใจในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
  • ถางหญ้าบริเวณที่จะทำไร่แล้วกองไว้เป็นกอง ๆ
มีนาคม

ฤดูหนาว (เข้าสู่ฤดูร้อนแต่อากาศยังมีความหนาวเย็น)

  • เกิดภัยแล้ง
  • ถางไร่
  • ระดับน้ำในห้วยเริ่มลดลง
  • น้ำเริ่มไม่พอใช้
  • ฝุ่นเยอะ
  • ชาวบ้านถางไร่ต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์เพื่อเตรียมการเพาะปลูกข้าวไร่
เมษายน

ฤดูร้อน 

  • เกิดภัยแล้ง
  • เกิดพายุฤดูร้อน
  • เกิดไฟป่า หมอกควัน
  • เฝ้าระวังไฟป่าและห้ามเผาไร่
  • ชาวบ้านคอยดูหญ้าที่ถางกองไว้เป็นกอง ๆ ให้แห้งดี
พฤษภาคม
  • เริ่มเข้าฤดูฝน
  • เกิดพายุฤดูฝน
  • เริ่มทยอยเผาหญ้าที่ถางกองไว้ในไร่
  • ฝนตกทำให้ดินเริ่มเกิดความชุ่มชื้น
  • เริ่มเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก,ไข้มาลาเรีย
  • ชาวบ้านเริ่มปลูกข้าวไร่
มิถุนายน ฤดูฝน
  • ฝนตกหนัก กบ อึ่งอ่างเริ่มออกหากิน
  • เริ่มมีของป่า (หน่อไม้,มะตึ่ง)
  • ชาวบ้านหาจับกบ อึ่งอ่างมาบริโภคและขายเป็นรายได้
  • ชาวบ้านเริ่มเก็บหาของป่า (หน่อไม้,มะตึ่ง) ไว้บริโภค และขายเป็นรายได้เสริม
กรกฏาคม

ฤดูฝน

  • ถางหญ้าครั้งที่ 1 หลังจากปลูกข้าวไร่แล้ว
  • พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น
  • ชาวบ้านทำนา ทำไร่ (ถางหญ้า)
  • ชาวบ้านเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และบุกขายเป็นรายได้เสริม
สิงหาคม

ฤดูฝน

  • ถางหญ้าครั้งที่ 2 หลังจากปลูกข้าวไร่แล้ว
  • พื้นที่การเกษตรมีความชุ่มชื้น
  • ชาวบ้านทำนา ทำไร่ (ถางหญ้า)
  • เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม
  • ชาวบ้านเก็บหาของป่า (หน่อไม้) ไว้บริโภค และบุกขายเป็นรายได้เสริม
กันยายน

ฤดูฝน

  • ถางหญ้าครั้งที่ 3 หลังจากปลูกข้าวไร่แล้ว
  • เห็ดโคนออก
  • ชาวบ้านทำนา ทำไร่ (ถางหญ้า)
  • ชาวบ้านออกเก็บเห็ดโคนเพื่อบริโภคและขายเป็นรายได้เสริม
ตุลาคม

ฤดูฝน

  • เห็ดไข่ห่าน ไข่เหลืองออก
  • ฝนตกหนัก
  • ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา ก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
  • ชาวบ้านทำนา ทำไร่ (ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา ก่อนเกี่ยวข้าว)
  • ชาวบ้านมีรายได้จากการขายเห็ดไข่ห่าน ไข่เหลือง
  • ตลิ่งริมห้วยพัง
พฤศจิกายน

 เริ่มเข้าฤดูหนาว

  • ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา ระหว่างเก็บเกี่ยวข้าว
  • อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
  • ชาวบ้านทำนา ทำไร่ (ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา ระหว่างเกี่ยวข้าว)
ธันวาคม

ฤดูหนาว

  • อากาศมีความหนาวเย็น
  • ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
  • เกิดโรคหวัดในหมู่บ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก
  • ชาวบ้านทำนา ทำไร่ (ทำพิธีเลี้ยงผีไร่ ผีนา หลังเกี่ยวข้าว)

 

นายก่อหล่า ครองมรกต อายุ 51 ปี มีพี่น้องรวม 6 คน มีภรรยา ชื่อ มึฉุ อายุ 52 ปี มีบุตรด้วยกันจำนวน 6 คน เป็นเพศ 3 คน เพศหญิง 3 คน 

  • ช่วงอายุประมาณ 10 ปี ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำสวน และหากมีเวลาว่างก็หาปลา 
  • ช่วงอายุ 15 ปี มีอาชีพทำไร่ ทำสวน ล่าสัตว์
  • ช่วงอายุ 20-26 ปี  มีครอบครัว
  • ช่วงอายุ 40-50 ปี ทำไร่ทำสวน หาเลี้ยงครอบครัวและช่วยกันเลี้ยงบุตร ธิดา
  • อายุ 51 ปี ทำไร่ทำสวน เป็นปาญ์ชาวบ้าน เป็นผ็นำทางจิตวิญญาณของชุมชน

ปราชญ์ชาวบ้าน

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ภูมิปัญญา
1 นายพะอีหริ  วิเชียรพงไพร จักสาน
2 นายจิรเมธ  เดชมหาทรัพย์ จักสาน
3 นายพะฮิควา  ขจรเดชวนา หมอผี/หมอยาสมุนไพร
4 นายพาแชวะ หมอผี/หมอยาสมุนไพร
5 นางน่อแจ๊ หมอตำแย
6 นายพะอีหริ  วิเชียรพงไพร ตีมีด
7 นางสาวน่อตะบวย  เกิดคีรี ทอผ้า
8 นางสาวกาญจนา  วนาวิจารณ์ ทอผ้า
9 นางแป้งา   - ทอผ้า
10 นางน่อมะเจ่อ  - ทอผ้า

ผู้นำชุมชน

นายพะเกร่อ  ครองวิทยา เป็นผู้นำหมู่บ้าน (ผู้นำตามธรรมชาติ)

ทุนวัฒนธรรม

  • ประเพณีเลี้ยงผี
  • ประเพณีสะเดาะเคราะห์หมู่บ้านหรือหว่อฮี่ 
  • ประเพณีมัดมือลาขุ
  • ประเพณีเก๋จือลาขุ

อาหาร

  • เห็ด ได้นำมาค้าขายและนำมาประกอบอาหาร
  • หน่อไม้ ได้นำมาค้าขายและนำมาประกอบอาหาร
  • พริก ได้นำมาค้าขายและนำมาประกอบอาหาร

ภาษาพูดของคนในชุมชนบ้านวาแหมะคี มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอ และภาษาไทย

ภาษาเขียน ภาษาเขียนของคนในชุมชนบ้านวาแหมะคี มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอ และภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

โรงเรียนบ้านแม่ตื่น

โรงเรียนบ้านแม่ตื่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นโรงเรียน ในท้องที่ทุรกันดารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 เปิดทำการเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2531 โดยอาศัยบ้านของนายหม่องกวย พงษ์พนาไพรดอน เป็นที่เรียนชั่วคราวในปีการศึกษา 2534 ได้รับงบประมาณจำนวน 519,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียนและสร้างส้วมแบบ สปช. 401 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง ราคา 50,000 บาทในปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณ จำนวน 724,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียนในปี พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณจำนวน 650,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102/26 เป็นหลังที่ 2

  • พ.ศ. 2542 ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้มีเมตตาจิต บริจาคเงินสร้างโรงอาหารพร้อมอุปกรณ์เป็นจำนวนเงิน 41,100 บาท ในปีเดียวกันได้รับจัดสรรเงินในโครงการ "มิยาซาวา" สร้างถังเก็บน้ำฝน ฝ. 30 พิเศษจำนวน 1 ชุด และส้วม 1 หลัง 4 ที่นั่งในปี
  • ในปี พ.ศ. 2545 ทางโรงเรียนบ้านแม่ตื่นได้เปิดขยายห้องเรียนเคลื่อนที่ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อจากห้องเรียนเคลื่อนที่เป็นห้องเรียนสาขา จำนวน 1 จุด ในหมู่ที่ 4 บ้านแม่เหว่ย โดยให้ชื่อว่า "ห้องเรียนสาขาบ้านแม่เหว่ยศึกษา" โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับองค์กรคริสต์จักร เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  • พ.ศ. 2547 ได้จัดสร้างห้องสมุดโรงเรียน ขนาด 6x12 เมตร โดยใช้เงินทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการศึกษา ใช้เงินทั้งสิ้น 61,000 บาท ใช้เป็นห้องสมุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ครูอาจารย์และประชาชนทั่วไปที่ต้องการศึกษาหาความรู้
  • พ.ศ. 2548 ทางโรงเรียนได้จัดสร้างบ้านพักครูขนาด 3X27 เมตร แบ่งเป็น 8 ห้อง ห้องน้ำ 1 ห้องโดยได้รับบริจาคงบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงินจำนวน 184,300 บาท จากผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ ใช้งานได้ดีจนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้ปรับปรุงขั้นบันไดบริเวณหน้าอาคารเรียนแบบ ป 1 ก โดยได้รับบริจาคเงินในการจัดสร้างจำนวน 30,000 บาท
  • พ.ศ. 2550 โรงเรียนได้รับบริจาคเงินจากผู้ให้ความอนุเคราะห์จำนวน 230,700 บาท ในการจัดสร้างอาคารเรียนอนุบาล จำนวน 2 ห้องเรียน 4 ห้องน้ำ แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2550 และได้ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2
  • พ.ศ. 2551 โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ขึ้นแทนอาคาร ขันติสาโรวิทยาคารหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรมใช้การไม่ได้ โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากผู้ให้ความอนุเคราะห์ และทางโรงเรียนได้จัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อการศึกษา เพื่อหาเงินสนับสนุนในการจัดสร้างอีกทางหนึ่ง คิดเป็นเงินจำนวน 285,000 บาท แล้วเสร็จในเดือน กุมภาพันธ์ 2551
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้จัดสร้างอาคารห้องสมุด โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากพระครูวิชัยคุณาธาร เป็นจำนวนเงิน 130,000 บาท แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2553
  • พ.ศ. 2556 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน สปช 105/29“อาคารอนุสรณ์ สกสค. 1” เป็นจำนวนเงิน 3,483,100 บาท แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2556
  • พ.ศ. 2557 ได้รับงบประมาณในการซ่อมแซมโรงอาหาร โดยยกโครงหลังคา เปลี่ยนหลังคาใหม่ เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท แล้วเสร็จภายในเดือน ธันวาคม 2557
  • พ.ศ. 2558 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจากโครงการกองทุนการศึกษา รุ่นที่ 4 ในการก่อสร้างบ้านพักครูแบบ ป.1 จำนวน 1 หลัง จำนวน 4 ห้องและได้รับงบประมาณจาก สพป ตาก เขต 2 จำนวน 30,000 บาท รวมเป็นวงเงินงบประมาณ 730,000 บาท ได้รับงบประมาณจากมูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารขันติสาโรในวงเงินงบประมาณ 600,000 บาท
  • พ.ศ. 2559 ทางโรงเรียนได้การอนุเคราะห์จากโครงการอาชีวะพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคตากในการก่อสร้างต่อเติมอาคารชั้นล่าง สกสค. ในวงเงินงบประมาณ 350,000 บาท ในปีเดียวกันทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการศึกษา ให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สพป ตาก ในการขยายเขตและปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปาภายในโรงเรียนบ้านแม่ตื่นจำนวนเป็นวงเงินงบประมาณ 1,716,900 บาท ต่อมาทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจากโครงการกองทุนการศึกษา รุ่นที่ 4 ในการก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมห้องสมุดเก่า ในวงเงินงบประมาณ 150,000 บาท และทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจาก สพป ตาก เขต 2 ในการก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครูแบบ สปช. 301/26ในวงเงินงบประมาณ 200,000 บาท
  • พ.ศ. 2559 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจาก สพป ตาก เขต 2 ในการก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมหอพักนักเรียน ในวงเงินงบประมาณ 477,900 บาท
  • พ.ศ. 2561 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจาก สพป ตาก เขต 2 ในการก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมห้องสมุดเก่า ในวงเงินงบประมาณ 340,000 บาท
  • พ.ศ. 2561 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจาก สพป ตาก เขต 2 เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน สปช 105/58(ข) "4 ห้องเรียนต้านแผ่นดินไหว" เป็นจำนวนเงิน 6,997,000บาท กำลังดำเนินก่อสร้าง
  • พ.ศ. 2561 ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากกองทุนการศึกษาประสานกับ กรอมน.และมอบหมายให้ นปค.33 มาดำเนินการก่อสร้างถนน กว้าง 3 เมตร หนา 15 ซม.ยาว 170 ซม. ในวงเงินงบประมาณ 506,200 บาท
  • พ.ศ. 2561 ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากกองทุนการศึกษาประสานกับ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาดำเนินการขุดน้ำบาดาล ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ
  • พ.ศ. 2562 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารห้องสมุดจาก สพฐ 340,000 บาท
  • พ.ศ. 2562 ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์สนับสนุนการปรับพื้นที่เตรียมการก่อสร้างจาก อบต. ในการก่อสร้างอาคารแบบ สปช 105 ล/58 (ข) ต้านแผ่นดินไหว ขนาด 4 ห้องเรียน งบประมาณ 6,997,000 บาท ได้รับงบประมาณจาก สพฐ. แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม
  • พ.ศ. 2562 ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากนพค.33 สนภ.3 นทพ. สร้างถนนคอนกรีตภายในโรงเรียน ระยทาง 0.170 กม. แล้วเสร็จและใช้งานได้ดี
  • พ.ศ. 2562 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจากโครงการกองทุนการศึกษา รุ่นที่ 4 ในการก่อสร้างห้องน้ำห้องส้วมแบบสร้างเอง งบประมาณ 150,000 บาท 

ปัจจุบันโรงเรียนบ้านแม่ตื่นเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และห้องเรียนสาขาแม่เหว่ยศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานบ้านท่าสองยาง. http://www.pasukplus.com/informations/20thasongyang/