Advance search

บ้านแม่เหว่ยทะ

เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมห้วยแม่เหว่ย และมีประเพณีสำคัญ อาทิเช่น ประเพณีมัดมือลาขุ ประเพณีสงเคราะห์บ้าน ประเพณีขึ้นเจดีย์ประเพณีลอยกระทง ที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ในอดีต 

หมู่ที่ 4
บ้านแม่เหว่ย
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
ธนากร ทองประดับ
14 มิ.ย. 2023
เปรมพร ขันติแก้ว
26 ก.ย. 2023
จิรัชยา สีนวล
18 ม.ค. 2024
บ้านแม่เหว่ย
บ้านแม่เหว่ยทะ

ตั้งชื่อตามที่ตั้งหมู่บ้านที่อยู่ริมห้วยแม่เหว่ย จึงเรียกว่า "บ้านแม่เหว่ย"


เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมห้วยแม่เหว่ย และมีประเพณีสำคัญ อาทิเช่น ประเพณีมัดมือลาขุ ประเพณีสงเคราะห์บ้าน ประเพณีขึ้นเจดีย์ประเพณีลอยกระทง ที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ในอดีต 

บ้านแม่เหว่ย
หมู่ที่ 4
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
63150
17.71036696
97.90127411
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง

"บ้านแม่เหว่ยทะ" ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 35 ปีที่แล้ว โดยชาวบ้านอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากหมู่บ้านแม่โปโกล ซึ่งเป็นถิ่นฐานของปู่ ย่า ตา ยาย ต่อมาชาวบ้านได้ย้ายลงมาตามลุ่มน้ำ โดยชาวบ้านได้ตั้งชื่อตามลักษณ์พื้นที่ ซึ่งหมู่บ้านได้ชื่อบ้านว่า แม่เหว่ยทะ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และผู้ก่อตั้งหมู่บ้านคือ นายกิทู และนางคะบือ ศักดิ์บรรลือกิจ ทั้งสองพี่น้องกันและเป็นคนกลุ่มแรกที่ย้ายเข้ามาในหมู่บ้าน โดยเข้ามาทำนา ทำไร่ เพราะพื้นที่เป็นที่ราบเหมาะสำหรับการจัดตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินได้อย่างถาวร ต่อมาได้มีชาวบ้านจากบ้านแม่ลาบู และหมู่บ้านใกล้เคียงย้ายเข้ามา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง ส่วนมากชาวบ้านจะนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ ผี ชาวบ้านพูดภาษาไทยไม่ได้เลย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ 

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำยวม ตำบลแม่วะหลวงและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่สอง 
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่วะหลวงและตำบลแม่สอง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำเมย สหภาพพม่า 

ลักษณะภูมิประเทศ

  • สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบสูงเชิงเขา มีที่ราบลุ่มบริเวณเชิงเขาเล็กน้อยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวน
  • ภูเขา มีเทือกเขาถนนธงชัย ทอดยาวจากเหนือจรดใต้
  • แม่น้ำ แม่น้ำเมย กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับสหภาพพม่า

ลักษณะภูมิอากาศ 

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 33 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีฝนตกชุกมากในเดือนสิงหาคมปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม.
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อุณหภูมิต่ำสุดเดือนธันวาคมเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ป่าสมบูรณ์และป่าต้นน้ำ พื้นที่เป็นที่ราบสูง อากาศจึงหนาวเย็น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10-18 องศาเซลเซียส 

ลักษณะของดิน 

พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าสองยางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติท่าสองยางทำให้ราษฎรไม่สามารถมีเอกสารสิทธิในที่ดินได้ ทำให้มีการใช้ประโยชน์น้อยมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทรายและดินร่วนอยู่บริเวณสองข้างฝั่งลำห้วย ซึ่งเป็นที่ราบในบริเวณหุบเขาจะพบว่าเป็นดินลูกรังหรือหินก้อนใหญ่ 

ลักษณะของแหล่งน้ำ

ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำเมยซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนประชากรบ้านแม่เหว่ย จำนวนประชากรทั้งหมด 723 คน แบ่งออกเป็นชาย 379 คน หญิง 344 คน โดยลักษณะเครือญาติมีความใกล้ชิดกัน มีความเอื้อเฟิ้อเผื่อแผ่ มีความสัมพันธ์กันในเครือญาติ เดิมลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ มีลูกจำนวนมาก แต่ปัจจุบันคนในชุมชนมีลูกน้อยลงกว่าแต่ก่อน อาจด้วยระบบการคุมกำเนิดของสาธารณสุข ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนสูงขึ้น ต้องแบกรับการเลี้ยงดูมากกว่าเดิม จึงทำให้มีลูกน้อยลงไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน ชาวบ้านช่วยกันทำการเกษตรโดยใช้คนในชุมชน ต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

ปัจจุบันบ้านแม่เหว่ยทะ มีจำนวน 65 หลังคาเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มบ้าน คือ

  • กลุ่มบ้านแม่เหว่ยทะ
  • กลุ่มบ้าน 5 หลัง
  • กลุ่มบ้านมะต้อเก โดยมีผู้ใหญ่บ้านชื่อนายพะโบะหมุ่ย ครองวิถี (ไม่ทราบพ.ศ.ที่แน่ชัด - ปัจจุบัน)
ปกาเกอะญอ

ชุมชนได้รับการส่งเสริมการทางด้านสุขภาพ อนามัย การศึกษา ระบบสาธารณูปโภค จากภาครัฐบาล มีการรวมกลุ่มตามที่รัฐบาลส่งเสริม เช่น กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้นำชุมชน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มที่ร่วมกันรักษา จารีต ประเพณีของชุมชน มีการร่วมกันจัดกิจกรรมงานประเพณี เพื่อสืบสาน รักษา ประเพณีพื้นถิ่นของชุมชนให้คงอยู่

โครงสร้างองค์กรชุมชน

  • พะโบะหมุ่ย ครองวิถี ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
  • ดิ๊ซอ พนาขวัญดี
  • พาซะหนุ เชิญบรม 

กลุ่มที่เป็นทางการ

  • กลุ่ม อสม.
  • กลุ่ม กทบ.
  • กลุ่ม กข.คจ.
  • กลุ่มสตรีทอผ้า 

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

การจัดงานบุญ/งานประเพณีต่างๆ จะจัดตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติมาทุกปีและตามจารีตประเพณี อาทิ

  • ประเพณีมัดมือลาขุ
  • ประเพณีสงเคราะห์บ้าน
  • ประเพณีขึ้นเจดีย์
  • ประเพณีลอยกระทง
  • วันปีใหม่

วิถีชีวิตทางการเกษตร

ปฏิทินเศรษฐกิจ

เดือน กิจกรรม/เหตุการณ์
มกราคม -
กุมภาพันธ์ ถางไร่
มีนาคม เก็บฟืน
เมษายน เตรียมการเพาะปลูก
พฤษภาคม หาหน่อไม้
มิภุนายน ปลูกข้าวไร่และปลูกข้าวนา
กรกฏาคม ถางไร่ ปลูกข้าวไร่และปลูกข้าวนา
สิงหาคม -
กันยายน -
ตุลาคม -
พฤศจิกายน ทำการเก็บเกี่ยว
ธันวาคม เก็บผลผลิต

 

ประวัติชีวิตลุงคอส่า

  • พ.ศ. 2784 : ลุงคอส่า เกิดในชุมชนบ้านแม่เหว่ย ตอนนี้ในชุมชนมีบ้านอยู่เพียง 4 หลังคาเรือน
  • พ.ศ. 2487 : พ่อแม่ของลุงคอส่า ได้ไปขอจดนามสกุลกับที่ว่าการอำเภอ โดยขอใช้นามสกุล ทิพย์บรรจงสุข
  • พ.ศ. 2490 : ครอบครัวของลุงคอส่า ได้รวมกลุ่มครัวเรือนในบริเวณเดียวกัน จนเกิดขึ้นเป็นชุมชนแม่เหว่ย
  • พ.ศ. 2499 : ลุงคอส่าได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้นำศาสนาคริสต์ (นิกายโรมันคาทอลิค) จากบาทหลวงยอเซฟ แกวตาร์ด
  • พ.ศ. 2509 : ลุงคอส่า แต่งงานกับภรรยา โดยอยู่ด้วยกับช่วยกันสร้างและดูแลครอบครัว มีลูกด้วยกันที่หมด 9 คน โดยทำอาชีพเกษตรกร ละเป็นผู้นำทางศาสนาของชุมชนเรื่อยมา
  • พ.ศ. 2566 : ปัจจุบัน ลูคอส่า มีอายุ 82 ปี มีลูกคอยดูแล และได้รับสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากรัฐบาล

ชุมชนบ้านแม่เหว่ย เป็นชุมชนที่มีความสมบูรณ์ สามารถหาอาหารได้จากในป่าบริเวณใกล้ที่อยู่อาศัยมีประเพณี และความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มีการใช้ยาสมุนไพรจากชุมชนมาเป็นยารักษาโรคเบื้องต้น มีการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาด้านยาและอาหาร

ทุนวัฒนธรรม

  • ผีน้ำ (นาขี)
  • ผีปู่ย่า 
  • ผีปอบ
  • ผีกระสือ

สถานที่สำคัญในชุมชนบ้านแม่เหว่ย

  • สำนักสงฆ์
  • โบสถ์คริสต์
  • โรงเรียน
  • โรงพยาบาลส่วนตำบล
  • ร้านขายของชำ
  • คลินิกวัดความดันและเบาหวาน 

ทุนกายภาพ

  • ผักผีปู่ย่า
  • หน่อไม้ 
  • ผักกูด
  • พริกกะเหรี่ยง
  • เห็ดกอบ
  • น้ำผึ้ง

ภาษาพูด ของคนในชุมชนบ้านแม่เหว่ยทะ มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย

ภาษาเขียน ภาษาเขียนของคนในชุมชนบ้านแม่เหว่ยทะ มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านแม่เหว่ย ม.4 ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านแม่เหว่ย เป็น รพ.สต.ที่อยู่ในชุมชนบ้านแม่เหว่ย โดยให้บริการในการรักษา และส่งเสริมสุขภาวะที่ถูกสุขลักษณะ ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ให้แก่ประชาชนในหมู่ที่ 4 บ้านแม่เหว่ย และหมู่ที่ 5 บ้านขุนแม่เหว่ย ทำให้ประชาชนในเขตพื้นที่บริการได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและหากมีอาการป่วยเล็กน้อย ก็ไม่ต้องเดินทางออกไปรักษาข้างนอก

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานบ้านท่าสองยาง. จาก http://www.pasukplus.com/