Advance search

พื้นที่ชุมชนชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่อดีต ส่งผลให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้งด้านวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และอาหารการกิน

หมู่ที่ 2, 3 และ 11
ชุมชนตลาดนาบอน
นาบอน
นาบอน
นครศรีธรรมราช
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
18 ม.ค. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
18 ม.ค. 2024
ตลาดนาบอน

เป็นบริเวณพื้นที่ลุ่มและมีต้นบอนเป็นจำนวนมาก จึงเรียนชื่อชุมชนว่า "นาบอน"


พื้นที่ชุมชนชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่อดีต ส่งผลให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้งด้านวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และอาหารการกิน

ชุมชนตลาดนาบอน
หมู่ที่ 2, 3 และ 11
นาบอน
นาบอน
นครศรีธรรมราช
80220
8.251294370654856
99.62325641799512
เทศบาลตำบลนาบอน

จากข้อมูลการสัมภาษณ์นายสว่าง ตันติพิสิทธิ์ ผู้อาวุโสของชุมชนนาบอนให้ข้อมูลว่า ชาวจีนฮกจิวกลุ่มแรกอพยพจากเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ไปตั้งรกรากยังเมืองซีเทียวัน (Sitiawan) รัฐเประ (Perak) ประเทศมาเลเซีย เพื่อทำสวนยางพารา ต่อมาเมื่อรัฐบาลสยามขณะนั้นเปิดโอกาสให้ชาวจีนโพ้นทะเลสามารถจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าได้ โดยสามารถเข้ามาถือครองที่ดินได้คนละประมาณ 50 ไร่ หากต้องการมากกว่านั้นสามารถหาซื้อเพิ่มได้ ทำให้ชาวจีนฮกจิวกลุ่มแรกอพยพเข้ามายังชุมชนนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อพ.ศ.2468 นำโดยนายลิ่งจือล้อ นายลาวฮวาลิ่ง นายพ้างมิงอู้ และนายกงกว่างจั๊วเพื่อตั้งถิ่นฐานและบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่าในการทำสวนยางพารา หลังจากจากนั้นก็ปรากฏว่าชาวจีนฮกจิวจำนวนมากได้อพยพเข้ามาบุกเบิกสวนยางพาราและตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในชุมชนนาบอนหลังจากที่ชาวจีนฮกจิวเดินทางเข้ามาบุกเบิกทำสวนยางพาราเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้มีการก่อตั้งชุมชนจีนฮกจิวขึ้นในนาบอน และเริ่มมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้แก่ ตลาด สถานีรถไฟ สมาคมจีน สุสานจีน โรงเรียน และศาสนาสถาน เป็นต้น

ชาวจีนฮกจิวเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานยังชุมชนนาบอนโดยการนั่งรถไฟจากประเทศมาเลเซีย เข้ามาลงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อต่ออีกขบวนรถไฟมายังสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง (อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช) และสถานีรถไฟคลองจัง (ปัจจุบันคือ ชุมชนคลองจัง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช) หลังจากนั้นจึงเดินเท้าต่อจากสถานีรถไฟคลองจังเข้าไปสำรวจพื้นที่และเริ่มตั้งถิ่นฐานในชุมชนนาบอน (ปัจจุบันคือ อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช)

ต่อมาเมื่อสุขาภิบาลนาบอน ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาบอน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการบริหาร รวมถึงการจัดตั้งชุมชนย่อยในเขตเทศบาล เทศบาลตำบลนาบอนได้กำหนดให้มีชุมชนย่อย จำนวน 2 ชุมชน โดยแบ่งตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ คือ ชุมชนตลาดบน และชุมชนตลาดล่าง

สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่สูงและเนินเขาต่างๆ สลับกับที่ราบเป็น บางแห่งและมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 40–50 เมตร โดยสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ปนทรายเหมาะแก่การทำสวนยางพารา สภาพภูมิอากาศมีลักษณะร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปี แบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึงเดือนพฤษภาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนธันวาคม เทศบาลตำบนาบอนมีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ห่างจากศูนย์กลางรางรถไฟ ตรง กม. 742 ตามแนวเขตตั้งฉาก 1,000 เมตร เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางรถไฟ ตรง กม. 742 ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่ง ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางรางรถไฟ 1,000 เมตร
  • ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางรางรถไฟ 1,000 เมตร
  • ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านรางรถไฟ ตรง กม. 744 ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางรางรถไฟ 1,000 เมตร
  • ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือบรรจบหลักเขต ที่ 1 

ชุมชนตลาดนาบอน เทศบาลตำบลนาบอน มีเขตพื้นที่ชุมชนที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน แบ่งออกเป็น 2 ชุมชน คือ ชุมชนตลาดบน และชุมชนตลาดล่าง มีจำนวนประชากรดังนี้

  • หมู่ที่ 2 ชุมชนตลาดล่าง มีจำนวนประชากรทั้งหมด 699 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 560 คน หญิง 603 คน รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 1,163 คน
  • หมู่ที่ 3 ชุมชนตลาดบน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 52 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 75 คน หญิง 71 คน รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 146 คน
  • หมู่ที่ 11 ชุมชนตลาดบน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 389 ครัวเรือน แบ่งเป็นชาย 486 คน หญิง 483 คน รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 969 คน
จีน

เทศบาลตำบลนาบอน มีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 3 โรงงาน ได้แก่ บริษัททองไทยเอเอส จำกัด บริษัทนาบอนรับเบอร์ จำกัด และบริษัททีทีลาเทกซ์แอนด์โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปยางพาราชนิด ต่างๆ เช่น โรงงานน้ำยางข้น โรงงานยางแผ่นและโรงงานผลิตยางแผ่นอบแห้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและเกษตรกรรม อาชีพปลูกยางพารา รองลงมาได้แก่ รับจ้างในภาคอุตสาหกรรม เป็นการพาณิชยกรรมเพื่อบริการชุมชนโดยทั่วไปประกอบด้วย ร้านค้าต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านค้าขายของชำ ขายอาหารเครื่องดื่ม กระจายอยู่ตามริมถนนต่างๆ เนื่องจากยังไม่มีตลาดสดของเทศบาล นอกจากนี้ยังมีสถาบันด้านการเงิน คือ ธนาคาร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพและธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • ประเพณีและงานประจำปี

- เทศกาลปิดกรีด

- เทศกาลตรุษจีน

- งานประจำปีศาลเจ้า

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น

- ขึ้นรูปถังเก็บน้ำยาง

- ขนมแปะโอ่ง (ก่งเปียง)

- หมี่เหลืองนาบอน

- ขนมแลเปียง (ขนมสินสอด)

- ซาลาเปาสูตรโบราณ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • ขนมเปะโอ่ง สิ้นค้าพื้นเมืองนาบอน

ขนมแปะโอ่ง ขนมท้องถิ่นของอำเภอนาบอน ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ผ่านการสืบทอดต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในพื้นที่อำเภอนาบอน โดยยังคงวิธีการผลิต วัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ แบบโบราณไว้อย่างสมบูรณ์ วิธีการอบขนมปังแบบโบราณ นำขนมปังเจาะรูตรงกลางแล้วเอาไปแปะไว้ในโอ่งที่มีเตาถ่านอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นกรรมวิธีแบบดั้งเดิม พอทำเสร็จแล้วจะได้ขนมปังที่มีความนุ่มและรสหวานกำลังดี

คลังข้อมูลชุมชน. ตลาดนาบอน จ.นครศรีธรรมราช. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 ; จาก https://communityarchive.sac.or.th/community/TalatNaBon

เทศบาลตำบลนาบอน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). เทศบาลตำบลนาบอน อำเภอนาบอล จังหวัดนครศรีธรรมราช.