
ชุมชนชาติพันธุ์ มีประเพณีสำคัญ อาทิ ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีมัดมือ/ลาขุ ประเพณีเลี้ยงผี
ชุมชนชาติพันธุ์ มีประเพณีสำคัญ อาทิ ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีมัดมือ/ลาขุ ประเพณีเลี้ยงผี
"ชุมชนบ้านแม่ละนา" เป็นชุมชนที่ตั้งมายาวนานกว่า 300 ปี โดยมีกลุ่มคนเข้ามาตั้งรกรากสร้างหมู่บ้านแล้วมีการขยาย เพิ่มจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น จนเป็นหมู่บ้านในปัจจุบัน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ท่ามกลางภูเขาและป่าไม้
การเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์สำคัญชุมชนบ้านแม่ละนา
- พ.ศ. 2536 : มีการนำระบบประปาภูเขามาใช้ในหมู่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้น้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
- พ.ศ. 2542 : ได้รับสนับสนุนเพื่อสร้างถนนทางเข้าหมู่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้สัญจรไปมา
- พ.ศ. 2544 : มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ละนา อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่เด็ก ๆ ในพื้นที่ และขยายโอกาสในการเรียนหนังสือของเด็กเพื่อให้เด็กกลุ่มชาติพันธุ์สามารถอ่านออก เขียนได้
- พ.ศ. 2562 : ได้มีการจัดตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อให้ประชาชนที่นับถือพระพุทธศาสนาได้ร่วมทำบุญ และปฏิบัติศาสนกิจ
- พ.ศ. 2563 : มีการก่อตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแม่ละนา ขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
หมู่บ้านแม่ละนา ตำบลท่าสองยาง เป็นหมู่บ้านที่อยู่ท่ามกลางหุบเขาและป่าไม้ มีการคมนาคมขนส่งในระบบถนนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นฤดูฝนก็จะเข้าพื้นที่ได้ยากลำบากมากขึ้นกว่าปกติ
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำยวม ตำบลแม่วะหลวงและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่สอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่วะหลวงและตำบลแม่สอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำเมย สหภาพพม่า
ลักษณะภูมิประเทศ
- สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบสูงเชิงเขา มีที่ราบลุ่มบริเวณเชิงเขาเล็กน้อยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวน
- ภูเขา มีเทือกเขาถนนธงชัย ทอดยาวจากเหนือจรดใต้
- แม่น้ำ แม่น้ำเมย กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับสหภาพพม่า
ลักษณะภูมิอากาศ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 33 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน-ตุลาคม มีฝนตกชุกมากในเดือนสิงหาคมปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม.
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม อุณหภูมิต่ำสุดเดือนธันวาคมเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ป่าสมบูรณ์และป่าต้นน้ำ พื้นที่เป็นที่ราบสูง อากาศจึงหนาวเย็น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10-18 องศาเซลเซียส
ลักษณะของแหล่งน้ำ
ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำเมยซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 จำนวนประชากรบ้านแม่ละนา ประชากรทั้งหมด 1,130 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 573 คน หญิง 557 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกะเหรี่ยงทั้งหมด
ปกาเกอะญอโครงสร้างองค์กรชุมชน
- กลุ่มปกครอง ผู้ใหญ่บ้าน
- กลุ่ม อสม.
- กลุ่ม อบต.
- กลุ่มผู้สูงอายุ
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
การจัดงานบุญ/งานประเพณีต่างๆ จะจัดตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติมาทุกปีและตามจารีตประเพณี อาทิ
- ประเพณีมัดมือ/ลาขุ
- วันปีใหม่
- ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
- ประเพณีเลี้ยงผี
ปฏิทินวัฒนธรรม
กิจกรรม | เดือน |
ประเพณีมัดมือ/ลาขุ | มกราคม |
วันปีใหม่ | มกราคม |
รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ | มกราคม |
ประเพณีเลี้ยงผี | กันยายน |
ปฏิทินเศรษฐกิจ
กิจกรรม | เดือน |
ทำนา/ปลูกข้าว | พฤษภาคม, มิถุนายน, กรกฏาคม |
เก็บน้ำผึ้งป่า | เมษายน |
เก็บพริก | ธันวาคม |
เก็บหน่อไม้ | มิถุนายน, กรกฏาคม, สิงหาคม |
เกี่ยวข้าว | พฤศจิกายน |
หาเห็ด | มิถุนายน |
ผู้ใหญ่บ้านแม่ละนา
- นายวิทวัส สุวรรณมั่นคง
ผู้นำตามธรรมชาติ
- นายเซนี อร่ามฤทัยกุลพนา
- นายแบระสะ เก่งรุ่งชัย
- นายเฮ่อส่า ไพรพุมิพงษ์
ทุนวัฒนธรรม
- ประเพณีมัดมือ/ลาขุ
- ประเพณีเลี้ยงผี
- ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
อาหาร
- สัตว์ป่า (เม่น) (ตีนเป็ด)
- สัตว์น้ำ
- ขิงพื้นบ้าน
- ข่า
- ใบหนาด
- ดาวตอง
- กระชาย
- ขมิ้น
- เห็ด
สถานที่สำคัญบ้านแม่ละนา
- โรงพยาบาลแม่ต้าน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แม่สาย
ภาษาพูด ของคนในชุมชนบ้านแม่ละนา มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย
ภาษาเขียน ภาษาเขียนของคนในชุมชนบ้านแม่ละนา มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย
ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ละนา อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ประวัติความเป็นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงศึกษาแผนที่ทางการศึกษา (School map) ทรงพบว่าในพื้นที่ อำเภอท่าสองยาง และ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ยังมีพื้นที่หลายแห่งที่ยังไม่มีการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ดังนั้น เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ในการประชุมที่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ได้มีพระราชกระแสให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จัดตั้งสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จำนวน 5 แห่ง และในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จำนวน 2 แห่ง รวม 7 แห่ง ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านละนา ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชกระแส กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายเดน มอบให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 ตั้งคณะทำงาน โดยมีพันตำรวจเอกเทพ อมรโสภิต ผู้กำกับการกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ ได้ส่งชุดช่างจากกำลังพลของกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 342 เข้ามาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2545 โคยจัดสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 4 X 24 เมตร 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง อาการประกอบได้แก่ โรงอาหาร ห้องน้ำ ที่พักครู การก่อสร้างได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากประชาชน การก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 2 เมยายน 2545 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานงบประมาณในการก่อสร้างให้ทั้งหมด เป็นเงิน 47,409 บาท ศูนย์การเรียนฯ ได้เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤยภาคม 2545 โดยมีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 83 คน ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครู ดังนี้
- ส.ต.อ.ภควัต แก่นจันทร์ ทำหน้าที่ ครูใหญ่
- ส.ต.ท.สุนันทรักษ์ บุตรสุข ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
- ส.ต.ต.สายัณห์ จิระไตรพร ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้จ้าง น.ส.แสงสุรีย์ สุริยะวงศ์ ให้เป็นครูผู้สอนร่วมกับครูตำรวจตระเวนชายแดนและเมื่อเดือนมกราคม 2546 และโปรดเกล้าฯ พระราชทานระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม หอกระจายข่าว ระบบประปาภูเขา วัสดุช่างไม้ และการเกษตรวัสดุอุปกรณ์การศึกษา โภชนาการ และสุขภาพ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 220,500 บาท
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานบ้านท่าสองยาง. จาก http://www.pasukplus.com/