Advance search

อูยะโกล

ชุมชนชาติพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานยาวนานถึง 323 ปี  

หมู่ที่ 7
แม่อมยะ
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
ธนากร ทองประดับ
31 ส.ค. 2023
เปรมพร ขันติแก้ว
27 ก.ย. 2023
จิรัชยา สีนวล
19 ม.ค. 2024
บ้านแม่อมยะ
อูยะโกล


ชุมชนชาติพันธุ์ที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานยาวนานถึง 323 ปี  

แม่อมยะ
หมู่ที่ 7
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
63150
17.74952709
97.87243500
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง

"ชุมชนบ้านแม่อมยะ" หรือ “อูยะโกล” เป็นชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐาน บริเวณเทือกเขา “เบอะบละตู” มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนานราว 323 ปี (ราวปี พ.ศ. 2565) ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และลำนำประจำถิ่น (บทธา) ที่ระบุที่มาของชุมชนและ ขอบเขตของชุมชนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เดิมอาศัยและตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำ “อูยะโกล” ในเทือกเขาเบอะบละตู การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบันระยะเวลายาวนานถึง 323 ปี มีหลักฐานการย้ายถิ่นฐานของชุมชนถึง 22 ครั้ง ดังนี้ 

เดลอ “แม่วะ” (บ้านแม่วะหลวงในปัจจุบัน 2565)  

ตามคำกล่าวขานของผู้เฒ่าในหมู่บ้านเล่าว่า “พือจ่าเง” และ “พือยือเง” อาศัยอยู่แม่วะ แต่ด้วยลูกหลานเพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องมองหาพื้นที่ทำกินใหม่ “พือจ่าเง” จึงเจราจาขอซื้อพื้นที่บริเวณ “เทือกเขา เบอะบละตู” จากพี่น้องลัวะ ชื่อ “ก่อคอมู” ด้วยเงิน จำนวน 300 เงินหมู และได้บันทึกขอบเขตไว้เป็นบทธา เรียกว่า “ธาวอเก่อเจอ” เป็นนำนองธาพาวาที่ใช้ในงานมงคล 

บทธา “ธา วอ เก่อ เจอ” 

บทที่ 1 “แม่ระหน่า โต่โด้โกแกล อูยะเก่อชออะหง่อแหล่”

แปล : ห้วยแม่ระหน่าโต่โด้โกลและโกแกวโกล เป็นขอบเขตพื้นที่ของแม่อมยะ 

บทที่ 2 “โต่โด้โกแกว แม่อุคอ อูยะเก่อชออะหง่อหล่อ”

แปล : พื้นที่โต่โด้โกล โกแกวโกลและแม่อุคอโกล เป็นพื้นที่สำหรับของแม่อมยะ

บทที่ 3 “โนจ่อปู่ทีเล้อซูคี แหม่เหว่เกอะชอหล่อแต้ซี”

แปล : โนจ่อปู่ ทีเล้อซูคีไปจนถึงห้วยแม่เหว่ยช้างตกผาตายขอบเขตแม่อมยะถึงตรงนั้น

บทที่ 4 “ทีเบอะคะเลโกล้ะวะแข่ บ้อแมว่พาซีโหย่งเกอะแตะ”

แปล : ขอบเขตพื้นที่แม่อมยะถึงห้วยทีเบอะคะโกล ผาเลโกล้ะวะแข่ ห้วยบ้อแมว่พาซีและหมู่บ้านโหย่กาแตะ  

บทที่ 5 “ทีผวะจี๋คีเหลอเป่อเฮอ เบอะบละตู่ต่าโด้เอ้อะเหง่อ”

แปล : พื้นที่แม่อมยะถึงห้วยทีผวะจี๋ ผาเล้อเป่อเฮอและดอยเบอบละตู

ในปัจจุบันคือพื้นที่บ้านแม่อมยะ บ้านแม่ปอคี บ้านปางทอง บ้านโหย่กะแตะ บ้านคูคอโกล บ้านซอแขระกลา เมื่อได้ตกลงกันเสร็จแล้ว “พือจ่าเง” และ “พือยือเง” ถึงได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ “เดลอกีโก้โด๊ะโกล” ราวปี พ.ศ. 2322 

เดลอ “กีโก้โด๊ะโกล-แม่อมยะเรียก” 

พือจ่าเหง่และหลานยื่อเหง่ วะคอ เกวะเชอ บอยเจ ชือพอพร้อมลูกหลานมาอาศัยอยู่ละแวกนั้นมานานหลายสิบปี พือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนควรปล่อยให้พักฟื้นจึงได้ชวนคนในหมู่บ้านทั้งหมดย้ายออกจากกี่โก่โดะโกลมายังเดลอ “อูยะทะเก่อโค้ะ”

เดลอ “อูยะทะเก่อโค๊ะ”  

พือจ่าเหง่และลูกหลานมาตั้งถิ่นฐานอยู่อูยะทะเก่อโค้ะ และได้อาศัยอยู่ที่นี่มาหลายสิบปี ทำมาหากินตามวิถีชีวิตชาวปว่าเก่อญอ คือ ทำไร่หมุนเวียนดั้งเดิม พือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่ไร่หมุนเวียนควรได้รับการพักฟื้นจึงปรึกษากับลูกหลานว่าควรหาพื้นที่ทำกินใหม่ จึงตกลงกันย้ายออกจากอูยะทะเก่อโค้ะเพื่อหาที่ทำกินไร่หมุนเวียนแห่งใหม่เลยย้ายมาอยู่ เดลอบอทะ 

เดลอ “บอทะ” (รอบที่ 1) 

เกิดเหตุการณ์ฝรั่งเข้ามาตัดไม้ในพื้นที่ ใช้ช้างลากไม้ผ่านหมู่บ้านเป็นการผิดจารีตทำให้คนในหมู่บ้านเกิดการล้มตาย (เมื่อเทียบประวัติศาสตร์แล้วคือการสัมปทานป่าไม้ครั้งที่ 1) มีหลักฐานเป็นตอต้นไม้ พือจ่าเหง่ให้ลูกหลานมาตั้งถิ่นฐานตรงนี้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน พือจ่าเหง่ได้อยู่มาหลายสิบปีจนแก่และเสียชีวิตลงที่นี่ หลานยื่อเหง่และวะคออยู่ต่ออีกหลายปีและมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน จากการสัมปทานป่าไม้ ทำให้เกิดคนล้มตายในหมู่บ้านโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีช้างลากท่อนซุงผ่านหมู่บ้าน ทำให้ไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ได้ ยื่อเหง่และวะคอปรึกษากับชาวบ้านเพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่ และได้มาสำรวจพื้นที่เดลอพอเต่อก่อ และเห็นว่าพื้นที่เดลอพอเต่อก่อสามารถอาศัยอยู่ได้จึงพากันย้ายมาอยู่ที่เดลอพอเต่อก่อ

เดลอ “พอเต่อก่อ”  (รอบที่ 1)  

ได้มาตั้งถิ่นฐานตรงนี้ได้นานหลายปี และทำไร่หมุนเวียนตามปกติ ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นนอกจากพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนควรได้รับการพักฟื้นและปล่อยให้พื้นที่ได้พักฟื้น ยื่อเหง่กับวะคอปรึกษากับลูกหลานในหมู่บ้านเพื่อหาพื้นที่ทำกินใหม่และตั้งถิ่นฐานใหม่จึงพากันย้ายไปอยู่ที่เก่อชอซีโกล 

เดลอ “พอเต่อก่อ” (รอบที่ 2) ป้ะพอเส็เชอ ใกล้ะเชอพาลูกหลานกลับมาอยู่ที่เดลอพอเต่อก่ออีกครั้งและทำไร่หมุนเวียนแถวเดลอพอเต่อก่อพื้นที่ระแวกนั้นกระทั้งต้องปล่อยให้พักฟื้นป้ะพอเส้เชอใกล้เชอจึงพากันหาพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนและพาลูกหลานย้ายไปอยู่เดลอคอแนะเล้อะ

เดลอ “พอเต่อก่อ” (รอบที่ 3) หล้าดอยพาลูกหลานกลับมาอยู่ที่พอเต่อก่ออีกครั้ง กลับมาตั้งถิ่นฐานที่นี่อีกรอบเพื่อทำไร่หมุนเวียนหลังจากได้พักฟื้นมานานหลายปี และหล้าดอยได้เกษียณลงและได้แต่งตั้งลูกชายขึ้นมาชื่อพาก่อหล่าเป็นผู้นำชุมชนและในช่วงนั้นได้เงินเดือน จากรัฐบาล 250 บาท พาก่อหล่าเป็นผู้นำได้จนถึงเงินเดือนขึ้น 700 บาท และได้ลาออกจากผู้นำชุมชนและกลอดอยขั้นเป็นผู้นำแทนพาก่อหล่าได้พาลูกหลานมาอยู่ที่เดลอต่าป่าโหล่

เดลอ “เก่อชอซีโกล”

(พือจ่าเง เสียชีวิต) ยื่อเก่ วะคอ พร้อมลูกหลานแก่วะเชอปอยเจได้มาอยู่ด้วยกันเหมือนเดิมทำกินพื้นที่แถวนั้นเสร็จจึงย้ายตามไร่หมุนเวียนไปอยู่ที่คอแนะเล้อ

เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” (รอบที่ 1) 

ทำมาหากินตามเคยไม่มีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นอยู่มาหลายปีทำกินในพื้นที่แถวนั้นเสร็จจึงย้ายไปตามไร่หมุนวียนมาอยู่ที่เดลอเด้ลาเคลอโกล

เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” (รอบที่ 2) คลิทู กับ พาคละ พาลูกหลานกลับมาอยู่ คอแนะเล้อะ อีกครั้งกลับมาทำกินตามพื้นที่ไร่หมุนเวียน อยู่ได้หลายปีและเกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่คือ สงครามโลกครั้งที่2 มีทหารญี่ปุ่นเข้ามาในหมู่บ้านฆ่าหมู ฆ่าไก่ของชาวบ้านกิน และมารบกวนชาวบ้านอยู่เรื่อย ๆ ชาวบ้านทนไม่ไหวจึงพากันย้ายออกจากเดลอคอแนะเล้อะไปอยู่ที่ “คอซูเล้อะโกล” 

เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” (รอบที่3) หล้าดอยได้นำลูกหลานกลับมาอยู่คนแนะเล้อะกลับมาทำกินพื้นที่ไร่หมุนเวียนต่อจากหลายปีที่หลังจากพักฟื้นซึ่งอยู่ทำกินในระแวะนั้นจนต้องพักฟื้น หล้าดอยได้พาลูกหลานย้ายมาอยู่ที่ เด้ลาเคลอะโกล จากนั้นหล้าดอยได้เงินเดือนเพิ่ม 100 ต่อเดือน

เดลอ “เด้ลาเคลอโกล” (รอบที่ 1) 

ซึ่งพือยือเก่วะคอ เป็นคนนำทำมาหากินในพื้นที่รอบ ๆ บ้านหมดก็พากันย้ายมายัง เดลอวะหมีโค้

เดลอ “เด้ลาเคลอโกล” (รอบที่ 2) หล้าดอยนำลูกหลานมาอยู่ที่เด้ลาเคลอโกล ย้ายเพราะต้องทำไร่หมุนเวียนเพราะอยู่ไกลจากบ้านไม่สามารถแบกข้าวไหวต้องใช้เท้าเดินหลายชั่วโมง ทำกินแถวเด้ลาเคลอะโกลจนพื้นที่ใกล้บ้านพักฟื้นจึงทำให้หล้าดอยต้องพาลูกหลานย้ายมาที่พอเต่ก่อรอบ 3 เพื่อกลับมาทำไร่หมุนเวียน

เดลอ “วะมีโค๊ะ” 

เกิดเหตุการณ์ผิดจารีตในชุมชน จึงแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน 

  • “พือยือเง” ไปสร้างหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) ในปัจจุบัน 
  • “พือวะคอ” ไปสร้างหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแม่อมยะ ในปัจจุบัน ที่ “เดลอพะทอ” ราวปี พ.ศ. 2407 ถึงปี พ.ศ. 2427 

ในช่วงระหว่างอยู่เดลอวะหมีโค้ ลูกสาวยือเก่ ได้ผิดผีกับลูกเจป่อย ลูกสาวยือเก่ (พาจอโม้) ได้ปรับเจป่อยด้วยเงิน30 พร้อมส้มป้อยขมิง หลังจากนั้นยือเก่กับวะคอ ได้พูดคุยกันเกิดเหตุกันเสร็จยื่อเก่กับวะคอ ได้ขอย้ายบ้านยื่อเก่ได้ไปอยู่ที่โค้โลลูก พร้อมลูกหลาน วะคอก็ได้นำลูกหลานมาอยู่ที่เดลอพะทอ พร้อมกับครอบครัวของแปะบือ มาทำกินพื้นที่เดลอพะทอและได้สร้างที่อยู่อาศัยแถวนั้นเป็นเวลานานหลายปีจนกระทั่งพื้นที่เดลอพะทอปล่อยให้พื้นที่ไร่หมุนเวียนได้ฟื้นฟูระหว่างนั้นจึงพากันย้ายไปอยู่ที่เดลอพี้โด้โมะ วะคอได้นำครอบครัวมาตั้งภารากที่พี้โด้โมะ แปะบือก็พาครอบครัวตามมาด้วยสาเหตุที่ย้ายมาก็เพื่อทำไร่หมุนเวียน อยู่มาได้หลายปีวะคอและโพแปะได้เสียชีวิตลงลูกหลานวะคอและแปะโพชื่อปุ้พอเก้เชอใกล้เชอได้พาลูกหลานย้ายกับพอเต่อก่ออีกครั้ง

เดลอ “คอซูเล๊อะโกล” 

ชาวบ้านได้หนีทหารญี่ปุ่นมาอยู่เดลอคอซูเล้อะโกลโดยมีศลิทูกับพาคละเป็นคนนำมาอยู่เหมือนเดิมตั้งที่อยู่ตรงเดลอคอซูเล้อะโกลได้เพียงชั่วคราวแค่ 1 ปี เพื่อหนีทหารญี่ปุ่นและเมื่อสถานการณ์ปกติ พาคละกับคลิทู จึงพาลูกหลานย้ายออกจากเดลอคอซูเล้อะโกลเพราะพื้นที่ตรงนั้นไม่ค่อยมีพื้นที่ทำกินและได้ย้ายไปที่เดลอเดลอกลอโพโกล

เดลอ “กลอโพโกล” 

พาคละและคลิทูได้ทำมาหากินในพื้นที่ระแวะนั้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งพื้นที่กลอโพโกลพักฟื้น ลูกชายของพาคละ กล้อดอยหล้าดอยได้พูดคุยกับลูกหลานจึงย้ายตาไร่หมุนเวียนมีเหตุการณ์ ที่คนไทยมาใส่ชุด ข้าวยากหมากแพง มาขโมยของชาวบ้าน จื่อพรกับน้อยจ่า และหัวหน้าอีก 7 คน จึงพากันย้ายไปอยู่ที่เดลอแหม่ตี่โกล

เดลอ “แหม่ตี้โกล” 

หล้าดอยเป็นคนนำลูกหลานมาอยู่แหม่ตี่โกล ทำมาหากินอยู่กินเรื่อย ๆ จนกระทั่ง 3 คนที่ นายพร นายจ๋า และหัวหน้าหายตัว ชาวบ้านอยู่จนกระทั่งต้องพักฟื้นไร่หมุนเวียนหล้าดอยได้นำลูกหลานไปอยู่ต่อ เก่อแนคอโกลหล้าดอยในช่วงเวลานั้นได้เงินเดือน 50 บาท 

เดลอ “แหม่ตี้โกล” (รอบที่ 2) ตวยบอยให้ลูกหลานอยู่ที่แหม่ตี้โกล ตวยบอยอยู่ได้ปีกว่า ก็ได้ย้ายไปอยู่แม่หล่าคีจึงให้ นายส่วยลอย เกื้อธวัชชัย ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนช่วงแรกก็ได้เงินเดือน 3,000 บาท ในช่วงระหว่างนั้นถนนก็ให้คนในชุมชนเป็นคนขุด นำประปาคนในชุมชนช่วยกันแบก ปี 2543-2544 ก็ได้มีการสำรวจพื้นที่โรงเรียนและสร้างขึ้น 1 ปี ก็ได้กลับมาย้ายหมู่บ้านอีกเพราะพื้นที่แหม่ตี้โกลเป็นพื้นที่ที่แคบและเกิดเหตุการณ์ในชุมนหินร่วมใส่บ้านทำให้สองแม่ลูกได้รับบาดเจ็บจากนั้นผู้นำในชุมชนนาย หม่อละโจ่ นายมีก่อแฮ นายโตหมุน และนายมาก้าได้พูดคุยกันจึงขอย้ายเข้าโป้ป้อยกว้า ปี 2546

เดลอ “เก่อแนคอโกล” 

หล้าดอยพาครอบครัวและลูกบ้านมาอยู่ที่เกออนคอโกล ซึ่งพื้นที่ในช่วงสันปทานป่าไม้เข้ามาขโมยไม้ใกล้หมู่บ้านชาวบ้านบางส่วนถามป่าไม้จะทำอะไร หล้าดอยจึงนำลูกหลานย้ายกลับไปอยู่ที่เดลอคอแนะเล้อะ

เดลอ “ต่าป่าโหล่” 

กล้อดอยได้ให้ลูกหลานมาอยู่เดลอต่าป่าโหล่ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดชันสามารถอยู่ได้ 2 ปี แล้วพาลูกหลานมาอยู่ที่แม่อมยะ (โป้ป้อยกว่า)

เดลอ “โป๊ะป้อยกว้า-แม่อมยะ” (รอบที่ 1) 

คนในหมู่บ้านกินชะนีเป็นเรื่องผิดจารีตทำให้คนในหมู่บ้านเสียชีวิต ใกล้ดอยได้ขึ้นเป็นผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการได้รับเงินเดือน 1,500 ซึ่งเป็นผู้นำได้ 2 ปี เสียชีวิตซึ่งตวยบอยเป็นผู้นำต่อจากกล้อดอยในช่วงระหว่างอยู่เดลอโป้ป้อยกว้าเกิดเหตุการณ์โรคท้องร่วงทำให้คนในชุมชนล้มตายอาจเป็นเพราะทหาร KAU หรือทหารกะเหรี่ยงจากฝ่างพม่าหนี้เข้ามากินชะนี ในช่วงนั้นนายตวยบอยได้รับเงินเดือน 2,700 ตวยบอยได้พาลูกหลานย้ายไปอยู่ที่แหม่ตี้โกล

เดลอ “แหม่ตี้โกล” (รอบที่ 2) 

ตวยบอยให้ลูกหลานอยู่ที่แหม่ตี้โกล ตวยบอยอยู่ได้ปีกว่า ก็ได้ย้ายไปอยู่แม่หล่าคีจึงให้ นายส่วยลอย เกื้อธวัชชัย ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนช่วงแรกก็ได้เงินเดือน 3,000 บาท ในช่วงระหว่างนั้นถนนก็ให้คนในชุมชนเป็นคนขุด นำประปาคนในชุมชนช่วยกันแบก ปี 2543-2544 ก็ได้มีการสำรวจพื้นที่โรงเรียนและสร้างขึ้น 1 ปี ก็ได้กลับมาย้ายหมู่บ้านอีกเพราะพื้นที่แหม่ตี้โกลเป็นพื้นที่ที่แคบและเกิดเหตุการณ์ในชุมนหินร่วมใส่บ้านทำให้สองแม่ลูกได้รับบาดเจ็บจากนั้นผู้นำในชุมชนนาย หม่อละโจ่ นายมีก่อแฮ นายโตหมุน และนายมาก้าได้พูดคุยกันจึงขอย้ายเข้าโป้ป้อยกว้า ปี 2546

แผนที่เดินดินที่ชุมชนได้จัดทำขึ้นเป็นแผนที่แสดงขอบเขตชุมชนและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในปัจจุบัน เป็นการจัดทำขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ “ลูกหลานอูยะโกล” ที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอที่มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งถิ่นฐานและการอพยพโยกย้ายอย่างยาวนาน ประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านแม่อมยะได้มีการเล่าว่าชุมชนบ้านแม่อมยะมีอายุนับตั้งแต่มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบันราว 323 ปี มีการดำรงวิถีชีวิตด้วยการพึ่งพิงธรรมชาติ ประกอบอาชีพการทำการเกษตรแบบ “ไร่หมุนเวียน” ชุมชนบ้านแม่อมยะมีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 15,664.51 ไร่ โดยมีการแบ่งพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ออกเป็น 4 ประเภท คือ 

  • พื้นที่ป่าความเชื่อ จำนวน 201.17 ไร่ ประกอบด้วยป่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าช้า และป่าสะดือ
  • พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 3,503.97 ไร่ ประกอบด้วยป่าต้นน้ำ และป่าอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า 
  • พื้นที่ป่าชุมชนหรือป่าใช้ประโยชน์ จำนวน 3,654.48 ไร่
  • พื้นที่ไร่หมุนเวียน จำนวน 8,079.76 ไร่ พื้นที่ไร่หมุนเวียนสามารถแบ่งออกเป็น 5 แปลงใหญ่ คือ 1) พื้นที่ “อูยะว้า” 2) พื้นที่ “แหม่ตี้ดี” 3) พื้นที่ “ทุ้ยโค๊ะคีโจ” 4) พื้นที่ “พอเตอกอ” 5) พื้นที่ “กลอโพโกล” 

จำนวนประชากรบ้านแม่ละนา ประชากรทั้งหมด 462 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 248 คน หญิง 214 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกะเหรี่ยงทั้งหมด 

ปกาเกอะญอ

โครงสร้างองค์กรชุมชน

  • กลุ่มอสม. 9 คน
  • เยาวชน 40 คน 
  • กลุ่มสตรี/แม่บ้าน 15 คน 
  • ผู้สูงอายุ 23 คน 
  • กองทุนหมู่บ้าน 9 คน 
  • กรรมการหมู่บ้าน 15 คน 

ปฏิทินไร่หมุนเวียน และปฏิทินพิธีกรรม 

เดือนมกราคม 

อ่อบือโคะ ความหมาย กินข้าวใหม่ 

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อขอบคุณสิ่งเหนือธรรมชาติที่ให้กำลังกายกำลังใจสำหรับการทำ การเพาะปลูกตลอดฤดูกาล 

คนทำพิธีกรรม

  • หัวหน้าครอบครัว 

สถานที่ทำพิธีกรรม 

  • ทำที่บ้าน

ช่วงเวลา

  • เดือนมกราคม

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เหล้า 1 ขวด     
  • ตัวตุ่น ปูทั้งตัว ตัวผู้ตัวเมีย ปลา   
  • กีโก้โดะ   
  • หัวปลี   
  • ฆึ
  • หน่อย  

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม 

  • เช้าวันรุ่งขึ้นในวันที่จะกินข้าวใหม่หัวหน้าครอบครัวต้องไปหาส่วนประกอบ ของแกงพวกพืชผักอย่างเช่น หัวปลี แตงกวา ฆึ หน่อย ผลิตที่ขึ้นชื่อทุก ชนิดแกงรวมกัน
  • แล้วหาส่วนประกอบของสัตว์น้ำแกงรวมในวันนั้นด้วย อย่างเช่น กุ้ง หอย ปู เพราะสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่เดินช้า ถ้านำมากินพร้อมข้าวใหม่จะทำให้ข้าว หมดช้า
  • ส่วนประกอบของสัตว์บกได้แก่ อ้นกับตุ่น หาช่วงไหนก็ได้ถ้าได้มาก็เอาไว้ กินกับข้าวใหม่เพราะเชื่อว่าอ้นเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวพ้นปัญหาและ อุปสรรค ส่วนตุ๋นนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ
  • จากนั้นก็เอามาแกงใส่รวมกันให้สุก
  • ผู้นำครอบครัวต้องเตรียมอุปกรณ์ในการ (อิตี๋บือโคะ) อย่างเช่น กี้โกโดะ หัว ปลี 3อัน ข้าว แกงที่ยังไม่มีใครกินก่อน นำมาตัดใส่รวมกันข้าว รินเหล้ามา 1 แก้วเพื่อที่จะใส่ใน ใบหัวปลี ทั้ง 3 ใบ
  • สิ่งแรกที่หัวหน้าครอบครัวต้องทำคือต้อง (อิตี๋)หรือเอาทุกอย่างมากิน ร่วมกันแล้วใส่ลงไปใบแรกต้องรินเหล้าให้เต่าแรกเปรียบเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยรินเหล้าลงเสาแรกของบ้าน ใบที่สอง รินให้กับผู้นำครอบครัวและต้อง เป็นคนที่ฟันไร่คนแรก ใบที่สาม รินให้กับผู้อาวุโสในชุมชน และแก้วที่สี่รินให้กับสมาชิกในครอบครัวจากนั้นก็จะกินเหล้าตามปกติแล้วจะกินข้าวกับ แกงพร้อมกัน

ความเชื่อ

  • ในขณะที่กินข้าวใหม่ ห้ามคนใกล้บ้านมาส่งเสียงดังรบกวน ห้ามชวนเพื่อนบ้านกินข้าวในระหว่างกินข้าวใหม่
  • หลังจากที่กินข้าวใหม่เสร็จถ้าแกงเหลือง ต้องเรียกเพื่อนบ้านมากิน สอง ครัวเรือน (ครบสามครัวเรือนกับบ้านที่กินข้าวใหม่)
  • ห้ามแขกจากหมู่บ้านอื่นมากินข้าวใหม่
  • หลังจากกินข้าวใหม่เสร็จ ห้ามกินเนื้อเก้ง เนื้อกวาง ในวันที่กินข้าวใหม่

วีบือ ความหมาย การขนข้าว

วัตถุประสงค์

  • การขนข้าวนั้นเป็นขั้นตอนการนำผลผลิตจากไร่ไปไว้ที่บ้าน ซึ่งในการขนข้าวจะมีความเชื่อในการขนข้าว โดยในการขนข้าวนั้นถ้าทางผ่านกลับบ้าน มีไร่ ของคนอื่นต้องให้ไร่ที่ใกล้บ้านสุดขนก่อน จะขนผ่านไร่ที่ยังไม่ได้ขนข้าวไม่ได้ นอกจากจะเดินอ้อมไปทางอื่น จึงเป็นความเชื่อที่ทำให้มีระบบระเบียบในการขนข้าว และมีการช่วยเหลือกันและกันในการขนข้าว

คนทำพิธีกรรม

  • เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน

สถานที่ทำพิธีกรรม

  • ไร่หมุนเวียน

ช่วงเวลา

  • เดือนมกราคม

วัสดุ/อุปกรณ์

  • กระสอบข้าว
  • กือ
  • เชือก

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม

  • ก่อนการขนข้าวกลับบ้านจะมีการทำพิธีกรรม เซ่โคะ เพื่อให้ข้าวอยู่ที่ไร่อย่างปลอดภัย การนำ การขนกลับ โดยความเชื่อว่า นกเหยี่ยวกลับไปยังถิ่น เกิดไม่มายุ่งกวนกับข้าวที่เก็บไว้
  • เมื่อทำพิธีกรรมเสร็จ จะกลับไปยังจุดเริ่มต้น (พื้นที่สีเหลี่ยม หรือ บือเฉ โบ้ ) เพื่อเก็บข้าวที่ปลูกมาไว้ที่บ้าน โดยจะใช้มือในรูดเม็ดข้าวออกจากต้น จะไม่ใช้เคียว
  • จากนั้นจะขนข้าวพอสำหรับหุ้งหนึ่งมื้อกลับบ้านเพื่อกลับไปทำพิธีกรรมกินข้าวใหม่ในวันรุ่งขึ้น
  • หลังจากกินข้าวใหม่เสร็จ ค่อยขนข้าวที่เหลือกลับบ้าน โดยเจ้าของต้อง เป็นคนไปขนก่อน

ความเชื่อ

  • เมื่อทำพิธีกรรมเสร็จจะไม่อนุญาตให้คนอื่นไปที่ไร่ หรือมองไร่ของตนเอง เป็นเวลา 1 วัน
  • ระหว่างทางที่เดินไปขนข้าว ถ้าได้เจองู เจอตะขาบ ได้ยินเสียงเก่งร้อง ต้อง งดการขนข้าวในวันนั้น

ชิพอโค๊ะ ความหมาย เลี้ยงเจ้าที่ข้าวบนยุ้งฉาง

วัตถุประสงค์

  • เลี้ยงเจ้าที่ข้าวบนยุ้งฉาง

คนทำพิธีกรรม

  • หัวหน้าครอบครัว

สถานที่ทำพิธีกรรม

  • บ้านของตนเอง

ช่วงเวลา

  • เดือนมกราคม

วัสดุ/อุปกรณ์

  • ไก่ 1 ตัว
  • เหล้า 1 ขวด

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม

  • นำไก่ 1 ตัว มาปาดคอแล้วหยดเลือดลงบนยุ้งฉางข้าว และถอนขนไก่ มาเสียบไว้บนข้าวในยุ้งฉางข้าว
  • สวดอธิษฐานว่า "ขอให้ข้าวที่อยู่บนยุ้งฉางข้าวนี้ พอกินตลอดปี ไม่ขาดแคลนและเหลือกินในปีต่อ ๆ ไป"
  • นำไก่มาทำแกงต้มให้สุกแล้วกินร่วมกันในครอบครัว

อัอเทอคีด่า ความหมาย เชิญชวนร่วมดื่มเหล้า

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นการสร้างมิตรภาพระหว่างเพื่อนบ้าน
  • เพื่อเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนในการทำไร่หมุนเวียน

คนทำพิธีกรรม

  • หัวหน้าครอบครัว

สถานที่ทำพิธีกรรม

  • บ้านตนเอง

ช่วงเวลา

  • เดือนมกราคม

วัสดุ/อุปกรณ์

  • เหล้า
  • หมากพลู 

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม

  • ในช่วงที่ยังไม่ค่อยงานหัวหน้าครอบครัว ทำการมาดข้าวรอไว้ 3 วัน
  • พอครบวันแล้วในช่วงเช้าก็ต้มเหล้า ในระหว่างตอนกลางวันก็ได้ไปชวนผู้เฒ่าผู้แก่มากินเหล้าร่วมกัน
  • พอถึงตอนเย็นแล้วผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้มาดื่มเหล้าร่วมกันโดยจะมีหมากพลู ในการวางเป็นสัญลักษณ์ของคนกะเหรี่ยง ด้วยการกินหมาก
  • ดื่มจงถึงแก้วสุดท้ายผู้เฒ่าผู้แก่คนไหนก็ได้ ต้องริน แล้วอธิษฐาน"ขอให้ รอดพ้นจากอันตรายใดๆ ขอให้มีข้าวพอกินในปีต่อๆไป ขอให้ ครอบครัวเจริญยิ่งขึ้นไป "โดยเจ้าของบ้านต้องไหว้คนที่รินเหล้า
  • จากนั้นผู้รินเหล้าต้องให้เจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านต้องดื่มก่อนแล้วคนที่ ดื่มเหล้าขวดที่รินนั้น ต้องดื่มทุกคน วงดื่มจากทางขวางมือ 3 รอบ เจ้าของต้องเป็นคนดื่มให้หมด

พิธี "หวอฮี้" ความหมาย สเดาะเคราะห์หมู่บ้าน 

เป็นพิธีกรรมหว่อฮี้ป้องกันไล่สิ่งชั่วร้ายโรคภัยไข้เจ็บในหมู่บ้าน เพื่อที่ล้างมนต์ธีกับแผ่นดินที่ตัวเองอยู่ 

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • ตะกร้าที่สานด้วยไม้ไผ่
  • ธูป เทียน ขนม ฝ้ายด้าย หมากพูล
  • ข้าวที่หุงใหม่ ที่ยังไม่มีใครกิน
  • น้ำบ้านล่ะขวด
  • หินหรือทราย ทุกบ้าน
  • ข้าวสาร

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม

  • ชาวบ้านช่วยกันสานตะกร้าเพื่อที่จะมาวางธูป เทียน ข้าว ขนม หมาก พลู ด้ายฝ้าย ที่เตรียมไว้
  • นิมนต์พระมา 9 รูป
  • ชาวบ้านมารวมตัวกันทั้งหมู่บ้านเพื่อที่จะมาสวดมนต์ร่วมกัน และดึง สายสี รอบตัว
  • สวดมนต์เพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายหรือโรคภัยไข้เจ็บออกจากหมู่บ้าน
  • หลังจากสวดมนต์เสร็จพระจะเดินโปรยน้ำมนต์รอบๆ และเสร็จ พิธีกรรมของพระ
  • หลังจากนั้นชาวบ้านได้แบ่งกันเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน กลุ่ม 1 เป็นเส้นทางตะวันออก กลุ่ม 2 เป็นทางตะวันตก กลุ่ม 3 เป็นเส้นทางทิศเหนือ กลุ่ม 4 เป็นเส้นทางทิศใต้ 

ข้อห้าม 

  • ห้ามไปนอนค้างคืนที่ไหน 

ความเชื่อ

  • เป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายหรือโรคภัยไข้เจ็บออกจากหมู่บ้าน 

ผู้นำการประกอบพิธีกรรม

  • ผู้นำฮี้โค๊ะ ฮี้ค่า เป็นคนนำทำพิธีกรรม ในช่วงเดือน มกราคม

 

เดือนกุมภาพันธ์ 

ก่าดูคี ความหมายคือ การขออนุญาตใช้พื้นที่ทำไร่

วัตถุประสงค์

  • เพื่อที่จะเลือกพื้นที่ทำกินให้เหมาะสมไม่ผิดหลักความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 

คนทำพิธีกรรม 

  • ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์และเป็นพ่อบ้านที่ต้องมีลูกคนโตเป็น ผู้ชาย เนื่องจากตามความเชื่อปกาเกอญอมองว่าผู้หญิงจะมีอำนาจมีบารมีเหนือที่อยู่อาศัย ส่วนผู้ชายมีอำนาจบารมีเหนือที่ทำกิน เจ้าของไร่ทำเองไม่ได้ต้องให้เพื่อนบ้านหรือคนเป็นพ่อทำให้ 

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • กระดูกปีกไก่ (ตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้แต่ต้องไม่ใช่ไก่สีขาว)
  • ใบตอง 2 ใบ
  • เศษไม้ไผ่ 1 อัน
  • มีด 1 เล่ม (เป็นมีดพิธีกรรมในไร่เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นมีดศักดิ์สิทธิ์ที่เอาชนะอำนาจของสูติผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรไปตัดต้นไม้ทั่วไป) 

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม

  • ขั้นตอนแรกตอนเช้าฟ้าสางเจ้าของไร่ต้องชำระร่างกายสระผมด้วยน้ำขมิ้น ส้มป่อย เพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายและมลทินออกจากร่างกายก่อนที่จะไปสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ต้องห่อกระดูกไก่และไผ่ไล่ยามเพื่อไปพื้นที่ที่หมายไว้ว่าจะทำไร่
  • ไปแจ้งผู้ทำพิธีกรรมเพื่อให้เดินทางไปทำพิธีกับเจ้าของไร่
  • เดินทางไปยังสถานที่
  • เลือกต้นไม้ที่จะทำพิธี โดยเลือกไม้ที่มีผลเพราะมีความเชื่อว่าถ้าเลือกต้นไม้ ที่มีผลจะส่งผลให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดีในไร่หมุนเวียน (ต้นไม้ต้องห้าม อยู่ 2 ชนิด คือ มะเค้ว ซะโขะดื้อ เพราะไม้ 2 ชนิดนี้จะใช้สำหรับแบกศพ และเสื้อผ้าของคนตายไปทิ้งไว้ในป่าช้า แม้กระทั่งทำฟืนหรือสร้างบ้าน)
  • ขุดดินในบริเวณที่เราจะทำไร่ดินต้องอยู่ใกล้ต้นไม้ ระหว่างที่ขุดดินทุกคน ต้องถอนของสภายออกจากร่างกายทุกอย่าง ปริมาณดิน 1 กำมือแล้วเอา ดินมาใส่ในใบตองต้องขุดดินโดยใช้มีดศักดิ์สิทธิ์ เอามีดเอาดินวางไว้ใน ใบตองคนทำพิธีต้องหยิบกระดูกโก่นำมาแตะดินแตะมีดเสร็จแล้วหยิบ กระดูกไก่ให้เจ้าของไร่จับส่วนที่เป็นหัวเพื่อทำพิธี
  • ผู้นำพิธี ทำพิธีสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ส่งสัญญาณให้กับเจ้าของไร่ว่า จะอนุญาตให้ทำกินในพื้นตรงนี้หรือไม่ โดยการภาวนาความในใจว่า (พื้นที่ ตรงนี้มีคนมาขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อทำไร่ ขอให้เขาอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งลูก ทั้งหลาย ทั้งครอบครัว ขอให้แจ้งขอให้บอกเรา เปิดเผย ตรงไปตรงมา เพื่อเราจะได้ทำกิน)
  • ผู้ทำพิธีหยิบมีดมาขุดกระดูกไก่จนกว่าจะเห็นรู ขุดกระดูกไก่ทั้ง 2 อัน จนกว่าจะมีรูออกมา แล้วทำการพิจารณาต่อไป
  • ถ้าผลออกมาดีแล้วเจ้าของไร่ต้องนำมีดศักดิ์สิทธิ์ ไปถังนำร่องในพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร 3 แปลง ระหว่างที่ถังนั้นต้องขอเจ้าที่เจ้าทางออกจากไร่ ชั่วคราว 1 ปี
  • เจ้าของไร่นำดินที่อยู่ในใบตอง กลับไปโถงคืนที่เจ้าของไร่ขุดมาโดยนำ ใบตองที่มีดินเอาไปคว้าในหลุมที่ขุดมาและทิ้งใบตองไว้ตรงนั้นด้วย
  • เจ้าของไร่ ต้องนำมีดศักดิ์สิทธิ์ไปปัดต้นไม้ที่เลือกไม้ตั้งแต่ต้น จากนั้นนำ กระดูกไก่เสียงกับรอยปักที่ทำไว้ จากนั้นก็เดินทางกลับบ้าน

ถางไร่ ความหมายคือ ภูมิปัญญาการตัดไม้ที่ไม่ให้ไม้ตาย 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อที่จะทำไร่หมุนเวียน 

ถานที่ทำกิจกรรม 

  • ไร่หมุนเวียน 

ช่วงเวลา

  • เดือนกุมภาพันธ์

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • มีด
  • ขวาน/เลื่อย 

วิธีการดำเนินการพิธีกรรม

  • หัวหน้าครอบครัวจะวางแผนก่อนว่า จะไปถางไร่ที่ไหน โดยจะเลือกวันที่คน ในครอบครัวไม่มีธุระ
  • เมื่อตกลงกันได้แล้ว ทุกคนในครอบครัวจะไปช่วยกันถางไร่ พร้อมด้วย เพื่อนบ้านที่มาแลกเปลี่ยนการทำไร่ โดยหัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าของไร่จะ เป็นคนเริ่มตัดต้นไม้ก่อน จากนั้นทุกคนจะเริ่มช่วยกันถางไร่
  • เจ้าของไร่ และเพื่อนบ้านที่แข็งแรงจะตัดต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่สุด รองลงมา จะเป็นผู้หญิงตัดไม้ที่มีขนาดเล็กลงมา หรือขนาดกลางที่สามารถตัดได้ 

ความเชื่อ 

  • หัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าของไร่จะเป็นคนเริ่มตัดต้นไม้ก่อน 

"พิธีกรรมกี่จือฮี่ซอโค้"  ความหมาย พิธีกรรมมักมือขึ้นบ้านใหม่ 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นการมารวมตัวกันทั้งครอบครัว 

คนทำพิธีกรรม 

  • หัวหน้าครอบครัวและเพื่อนบ้าน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • แคแมละ
  • ข้าวเหนียวมวล
  • ข้าวเหนียวตำ
  • ฝ้ายด้าย 

 

เดือนมีนาคม 

โลก่อ ความหมายคือ ตากไร่ 

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อที่จะรอในการเผาไม้ที่ถูกตัด

สถานที่ทำกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • หลังจากตัดไม้ในไร่เสร็จแล้ว ต้องปล่อยทิ้งไว้โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อให้  ไม้แห้ง ไม่ให้มีความชื้น 

ความเชื่อ

  • เพื่อที่เราตากแห้งแล้วเผาเป็นประโยชน์เป็นธาตุอาหาร - เพื่อเป็นการทำให้วัชพืชขึ้นยาก

 

เดือนเมษายน

ว่ะเม่โต ความหมายคือ การทำแนวกันไฟ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อป้องกันไฟลุกลาม

สถานที่ทำกิจกรรม

  • บริเวณรอบ ๆ ไร่หมุนเวียน

วัสดุอุปกรณ์

  • มีด
  • ไม้ไผ่หรือก้านไม้สำหรับกวาดใบไม้

วิธีการดำเนินกิจกรรม

คนในชุมชนรวมตัวกันเพื่อที่จะทำแนวกันไฟ หรือถ้าแนวกันไฟยาว แบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม

  • ทำแนวกันไฟนั้นต้องทำก่อนวันเผา 1 วัน เพื่อไม่ให้ใบไม้ไม่ร่วงในแนวกัน และไม่ให้ตอไม้แตกหน่อ หากใบไม้ร่วงและแตกหน่อจะทำให้ไฟลามไปไหม้ ป่าและจะควบคุมไฟไม่ได้ ดูขนาดความกว้างของแนวกันไฟนั้นพิจารณาจากพื้นที่ในไร่หมุนเวียน
  • หากพื้นที่สูงหรือบนไร่นั้นจะต้องทำขนาดกว้างเพราะลมแรง ส่วนพื้นที่ข้างล่าง ไร่จะทำขนาดแคบลมไม่ค่อยแรง

ความเชื่อ

  • ในระหว่างวันที่ไปทำแนวกันไฟ ห้ามการเก็บของป่าทั้งสิ้น (ป้องกันไฟ ลุกลาม) - ห้ามทิ้งไม้กวาดข้างแนวกันไฟ

ชุฆึ ความหมายคือ การเผาไร่ 

วัตถุประสงค์ 

  • เป็นการเผาไม้ที่ถูกตัด เพื่อเตรียมในการเพาะปลูก เป็นการทำให้หน้าดินที่ถูกไฟเผาทำให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชมากขึ้น รวมถึงเป็นการทำให้วัชพืช ขึ้นยาก 

คนทำพิธีกรรม  

  • เจ้าของไร่ 

สถานที่ทำกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์

  • มีด
  • ไม้กวาดหรือไม้
  • ไฟแช็ก
  • ไม้สน 

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • ก่อนวันที่จะมีการเผาไร่ ชาวบ้านในหมู่บ้านจะช่วยกันทำแนวกันไฟ เพื่อไม่ให้ไฟไหม้ป่าที่อยู่ใกล้ไร่ โดยการตัดไม้รอบไร่หมุนเวียนความกว้าง ประมาณ 1 เมตร แล้วกวาดใบไม้เศษไม้ให้สะอาด เตรียมโคว (ไม้คบเพลิง)สำหรับจุดไฟไว้ 1) ตัดไม้สนที่ล้มอยู่แล้ว (ความยาวของไม้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของไร่) 2) ตัดไม้สนที่ล้มอยู่แล้ว (ความยาวของไม้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของไร่)
  • ใช้ไฟแช็กจุดไฟคบเพลิง
  • นำไปเผาไร่โดยเริ่มเผาจากล่างขึ้นบน
  • เจ้าของไร่จะรอจนกว่าไฟดับทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลามไปไหม้ป่า

ความเชื่อ

  •  เป็นการทำให้หน้าดินที่ถูกไฟเผาทำให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช มากขึ้น รวมถึงเป็นการทำให้วัชพืชขึ้นยาก 

โฆฆึ ความหมายคือ การเก็บเศษไม้ 

วัตถุประสงค์

  • เก็บเศษไม้ในไร่ เป็นการเก็บเศษไม้ที่เหลือจากการเผาไร่ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าว 

คนทำพิธีกรรม 

  • เจ้าของไร่และเพื่อนบ้าน 

สถานที่ทำกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์

  • มีด 

วิธีการดำเนินการ

  • เก็บเศษไม้ที่เหลือจากการเผาไร่
  • ถ้าเป็นไม้ที่มีขนาดกลาง ลำต้นตรง จะเอามาวางรอบๆ ไร่หมุนเวียน เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงขอบเขตไร่หมุนเวียน อีกทั้งเป็นรั้วของไร่หมุนเวียน
  • ถ้าเป็นไม้ขนาดเล็ก จะเอามากองไว้เป็นกองๆ แล้วเผาไฟอีกครั้ง 

ซู่โชต่า ความหมายคือ การปลูกนำร่อง 

วัตถุประสงค์

  • ปลูกเพื่อที่จะได้ผลผลิตก่อน 

สถานที่จัดกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการปลูกก่อน
  • เสียม 

วิธีการดำเนินการ 

  • เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากเผาไร่เสร็จก็จะมีแม่ที่พาลูกไปปลูกนำร่องก่อนอย่างเช่น เมล็ดข้าวโพด เมล็ดแตง เมล็ดฟักทอง 

ความเชื่อ

  • หลังจากปลูกเสร็จห้ามกินของเปรี้ยว (ถ้ากินแล้วจะทำให้ผลิตไม่หวาน ไม่อร่อย) 

ข้อห้าม

  • ห้ามกินของเปรี้ยวในวันที่ปลูกเมล็ดพันธุ์

 

เดือนพฤษภาคม

พิธีกรรมสำคัญในหมู่บ้าน รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

โท้ฆึ ความหมาย ปลูกข้าว 

วัตถุประสงค์ 

  • การปลูกข้าวปลูกพืชพันธุ์หลากหลายชนิดในไร่ ไม่ใช่เพียงการปลูก ข้าวเท่านั้น โดยก่อนปลูกข้าว มีการนำเมล็ดพันธุ์อื่นๆ เช่น เมล็ดแตง เมล็ดงา เมล็ด มะเขือ เอามาผสมกับเมล็ดข้าว เพื่อให้ในไร่หมุนเวียนมีพืชพันธุ์หลากหลายชนิด 

คนทำพิธีกรรม

  • เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาร่วมแขก

สถานที่ทำกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน

ช่วงเวลา

  • เดือนพฤษภาคม

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เสียมสำหรับปลูกข้าว
  • ด้ามเสียมที่มีขนาดยาว (ไม้ไผ่) หรือ/ย่าม/กระบอกไม้ไผ่ใส่เม็ดข้าว
  • เมล็ดข้าว เมล็ดพันธุ์อื่นๆ 

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ 1) เมล็ดพันธุ์ข้าว 2) เมล็ดพันธุ์พืชอื่นๆ เช่น เมล็ดแตง เมล็ดฟักทอง มะเขือ เอามาผสมกับเมล็ดข้าวก่อนจะปลูกข้าว เจ้าของไร่จะทำพื้นที่สี่เหลี่ยมในไร่ด้วยไม้ไผ่ เพื่อไว้สำหรับ ปลูกข้าวตัวอย่าง
  • ปลูกข้าวในไร่ โดยชายหนุ่มจะเป็นคนขุนหลุมสำหรับปลูกข้าว ส่วนสาวจะ เป็นคนหยอดเมล็ดพันธุ์ลงในหลุม
  • เมื่อปลูกข้าวทั่วไร่แล้ว จะมีหนุ่มสาว 1 คู่ มาปลูกข้าวตัวอย่างในพื้นที่ สี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้ ทั้งหมด 9 หลุม
  • หลังจากนั้นก่อนกลับบ้าน คนมาร่วมปลูกข้าวจะเอาน้ำในกระบอกไม้ไผ่ สาดใส่กัน เชื่อว่าเป็นการเรียกฝน เพื่อให้พืชพันธุ์เจริญเติบโตดี 

ความเชื่อ 

  • ถ้าตอนปลูกข้าวในไร่เจอตะขาบ งู หรือเก็ง จะไม่มีกันปลูกข้าว ตัวอย่าง ในพื้นที่สี่เหลี่ยมในวันที่ปลูกข้าว จะมาปลูกในเช้าวันถัดไปแทน 

กลอหน่อแบละปว่า (ต่อไม้) ความหมาย ถังหญ้าตรงต่อไม้ครั้งที่ 1 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อกำจัดวัชพืชที่จะขัดขวางการเจริญเติบโต และช่วยลดสัตว์ หรือ แมลงที่จะมากัดต้นข้าวโดยใช้แรงงานคน ไม่พึ่งสารเคมี ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า กละ (มีดดายหญ้า) 

คนทำพิธีกรรม 

  • เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน

สถานที่ทำกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน 

ช่วงเวลา

  • เดือนพฤษภาคม 

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • กละ (มีดดายหญ้า)
  • ผ้ายางกันฝน หรือ เสื้อกันฝน
  • หมวกกันฝน 

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • เจ้าของไร่จะถางหญ้าตัวอย่างหรือถางหญ้านำ 3 วัน (กลอลอน้อ)
  • พัก 1 วัน หลังจากถางหญ้านำ
  • เช้าวันต่อมาก็ไปถางหญ้ามีเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน
  • ถ้าถางทั้งวันก็จะห่อข้าวไปกินด้วย 

ความเชื่อ 

  • ห้ามไปไร่ในวันที่ถัดจากวันที่ถางหญ้านำ (กลอลอน้อ) 

ซุ่ต่าพอโค๊ะ ความหมาย พิธีกรรมป้องกันแมลงและโรคสิ่งชั่วร้าย 

วัตถุประสงค์

  • ปลูกเพื่อที่จะแกวบือกะลา ป้องกันแมลงหรือโรค 

สถานที่ทำกิจกรรม

  • ไร่หมุนเวียน 

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เสียม
  • ต่าพอโค๊ะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • เจ้าของไร่ต้องไปขุดต่าพอโค๊ะจากไร่หมุนเวียนเก่าเพื่อที่จะกลับมาปลูกในไร่ หมุนเวียนใหม่ (ต้องปลูกในวันเดียวกันที่ไปขุด) ปลูกเสร็จแล้วสามารถทำงานอย่างอื่นได้ตามปกติ 

ความเชื่อ

  • ต้องปลูกเพื่อที่จะเรียกขวัญข้าว
  • ป้องกันแมลงสิ่งชั่วร้าย
  • ห้ามไปนอนค้างคืนในไร่วันที่ปลูกต่าพอโค๊ะ

 

เดือนมิถุนายน

พิธีกรรมสำคัญในหมู่บ้าน กี้ปานาจือ ความหมาย ผูกข้อมือควาย

กลอหน่อโพครั้งที่ 2 ความหมาย ถางหญ้าตอนกลาง 

วัตถุประสงค์

เพื่อกำจัดวัชพืชที่จะขัดขวางการเจริญเติบโต และช่วยลดสัตว์ หรือ แมลงที่จะมากัดต้นข้าวโดยใช้แรงงานคน ไม่พึ่งสารเคมี ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า กละ (มีดดายหญ้า) 

คนทำพิธีกรรม

เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน

สถานที่ทำกิจกรรม

ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

กละ (มีดดายหญ้า)

ผ้ายางกันฝน หรือ เสื้อกันฝน

หมวกกันฝน 

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • เจ้าของไร่จะถางหญ้าตัวอย่างหรือถางหญ้านำ 3 วัน (กลอลอน้อ) 
  • พัก 1 วัน หลังจากถางหญ้านำ
  • เช้าวันต่อมาก็ไปถางหญ้ามีเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน
  • ถ้าถางทั้งวันก็จะห่อข้าวไปกินด้วย 

ความเชื่อ

  • ห้ามไปไร่ในวันที่ถัดจากวันที่ถางหญ้านำ (กลอลอน้อ) 
  • ห้ามกินข้าวเย็นในวันที่กลอน้อวันแรก (ถ้ากินต้องหุงใหม่ เพราะเชื่อว่าถ้า กินข้าวเย็นจะทำให้การกลอน้อช้า) 

 

เดือนกรกฎาคม พิธีกรรมสำคัญในหมู่บ้าน พิธีกรรมลือก่อ ความหมาย เลี้ยงเจ้าที่พื้นแผนดี 

บอฆึ ความหมาย เพื่อขอบคุณ และทดแทนบุญคุณเจ้าที่ 

คนทำพิธีกรรม เจ้าของไร่ และผู้อาวุโส

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เหล้า 4 ขวด
  • หมู 1 ตัว
  • ไก่ 5 ตัว
  • มีด
  • ไผ่หลาม 10 กระบอก
  • โก้มี้ลอป่อ 1 ชุด

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • ต่าลือมี่ ไก่ 1ตัว ตัวเมีย โก้มี่ลอป่ 1ชุด เหล้า1ขวด เศษไม้1อัน ต้นข้าว 1 ต้น โดยการเอาโขงไก่จุ่เลือดนำไปแปะกับศาลเจ้าที่
  • ต่าแซ่ม โก้มี่ลอป่อ 1ชุด 1 ไก่ตัว ตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ 1) ปาดคอไก่โดยนำเลือดเทใส่ในศาลที่วางโก้มี่ลอป่อ อธิษฐาน ไฟคือผู้ที่ร้อนที่สุด คือผู้ที่เผาไหม้ทุกสรรพสิ่ง วันนี้มาเลี้ยง เจ้า เจ้าจึงรับคำขอขมา แล้วดลบันดาลให้ข้าวในไร่สวยงาม เขียว ขจีออกดอกออกผล 2) เอาโขงไก่จุ่เลือดนำไปแปะศาลเจ้าที่ 
  • ต่าซ่าปวา โก้มี่ลอป่อ 1ชุด เหล้า1ขวดขวดกระเบื่อน เงินโบราณ ต้นข้าว 1 ต้น ยอดไผ่ 1 อัน หมู1ตัว ตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ 1) สร้างศาลเจ้าที่ แล้ววางชุดโก้มี่ลอป่อ เหล้า 1ขวด พร้อมเงิน โบราณ ยอดไผ่ 1อัน ต้นข้าว อธิษฐาน สิงสานางไม้วันนี้ข้ามาเลี้ยงเจ้าที่ทุกสิ่ง ทุกอำนาจที่ ทำลายไม้ของเจ้า ขอให้เจ้าจงมารับคำขอขมาจากข้า และขอให้ เจ้าช่วยดูแลข้าวในไร่ไม่ให้ถูกทำลาย ให้ข้าวงดงาม 2) นำหมูมาฆ่าโดยการปัดคอหมู นำเลือดเทใส่ในศาล และนำขนหมู มาแปะเสาเจ้าที่
  • ต่าแกวบือ โก้มี่ลอป่อ 1 ชุด เหล้า 1ขวด ไก่ 2 ตัว ตัวผู้ตัวเมีย ต้นข้าว 1 ต้น น่อว่าโบ 1 อัน พอเห่ง(ดอกไม้) 1) แกวบือก่าละ (เรียกขวัญไข่) โดยใช้น่อวาโบ ใส่พอเหง่ 3 ยอด ผู้ที่ เรียกขวัญก็ต้องใส่พอเห่งติดไว้ที่หู 3 ยอด เรียก ทิศตะวันออก 3 ครั้ง ทิศตะวันตก 3 ครั้ง อธิษฐาน “ข้าวที่หลงหาย ข้าวที่อยู่ทุกที่ทุกทาง ทุกชนิดทุกพันธุ์ ข้าวที่ลูกใหญ่เท่าลูกฟัก ต้นใหญ่เท่ากล้วยจงกลับมาอยู่กับไร่นี้” โดยทำพิธีพร้อมสวดออธิษฐานหันไปทางทิศตะวันออกสวด 3 ครั้ง และหันไปทางทิศตะวันตกสวดอีก 3 ครั้ง 2) หลังจากเสร็จพิธีเรียกขวัญ ก็นำไก่ทั้ง 2 ตัว มาปัดคอนำเลือดที่ ได้มาเทใส่ในศาลเจ้าที่ แล้วนำไปทำแกง 
  • หลังจากทำแกงทุกอย่างสุขแล้ว ก้อนำชิ้นส่วนสำคัญของไก่หรือหมูนำไปถวาย
  • ขั้นตอนแรกที่ไปถวาย คือ ต่าลือมี่ นำส่วนสำคัญที่เป็นหัว หรือปีก ขา ห่าง นำไปถวาย (เจ้าของไร่เป็นคนทำพิธีกรรม) อธิษฐาน ไฟคือผู้ที่ร้อนที่สุด คือผู้ ที่เผาไหม้ทุกสรรพสิ่ง วันนี้มาเลี้ยงเจ้า เจ้าจึงรับคำขอขมา ให้มากินชิ้นส่วน สำคัญที่นำมาถวาย แล้วดลบันดาลให้ข้าวในไร่สวยงาม เขียวขจีออกดอก ออกผล หลังจากอธิษฐาน (เจ้าของไร่) ต้องรีเหล้าใส่ในศาล1แก้ว
  • ขั้นตอนที่สอง ต่าแซ่มนำส่วนสำคัญที่เป็นหัว หรือปีก ขา ห่าง นำไปถวาย อธิษฐานไฟคือผู้ที่ร้อนที่สุด คือผู้ที่เผาไหม้ทุกสรรพสิ่ง วันนี้มาเลี้ยงเจ้า เจ้า จึงรับคำขอขมา ให้มากินชิ้นส่วนสำคัญที่นำมาถวาย แล้วดลบันดาลให้ข้าว ในไร่สวยงาม เขียวขจีออกดอกออกผล
  • ขั้นตอนที่สาม ต่าซ่าปวา นำชิ้นส่วนสำคัญของหมู เช่น ห่าง แขนขา จมูก ลิ้น อย่างล่ะหน่อย ห่อด้วยใบไม้ นำมาถวายวางในศาล
  • อธิษฐาน เจ้าที่ เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา วันนี้เจ้าจึงรับคำขอขมาที่นำมาถวาย ด้วยหมูตัวผู้ 1 ตัว ขอให้มากินชิ้นส่วนสำคัญที่นำมาถวายด้วยขอให้ทุกคนรอดพ้นจากอันตรายรอดพ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วยขอให้ผลผลิตสวยงาม เขียวขจี ออกดอกออกผล เสร็จพิธีกรรมแล้ว (เจ้าของไร่) ต้องเทเหล้าใส่ใน ศาล (เจ้าของไร่)ต้องรินเหล้าให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ 5 คน ก็ได้จัดเหล้าแล้วเท ใน บริเวณรอบของศาล อธิษฐาน สิงสานางไม้วันนี้ข้ามาเลี้ยงเจ้าที่ทุกสิ่ง ทุกอำนาจที่ทำลายไม้ของ เจ้า ขอให้เจ้าจงมารับคำขอขมาจากข้า และขอให้เจ้าช่วยดูแลข้าวในไร่ ไม่ให้ถูกทำลาย ให้ข้าวงดงาม อธิษฐานครบ 5 คนแล้ว (เจ้าของไร่)ต้องดื่ม เหล้าที่เหลือจากเททุกแก้ว (เจ้าของไร่) ต้องรีให้ผู้เฒ่าผู้แกอีกคนล่ะ 2 แก้ว ให้ครบจำนวน จากนั้นนำ เหล้า กับหมากพลูกลับ (หมากพลูเจ้าของไร่ต้อง เป็นคนกินคนเดียว)
  • ขั้นตอนที่สี่ ต่าแกวบือ นำส่วนสำคัญที่เป็นหัว หรือปีก ขา ห่าง นำไปถวาย 
  • อธิษฐาน “ข้าวที่หลงหาย ข้าวที่อยู่ทุกที่ทุกทาง ทุกชนิดทุกพันธุ์ข้าวที่ลูก ใหญ่เท่าลูกฟัก ต้นใหญ่เท่ากล้วยจงกลับมาอยู่กับไร่นี้” โดยทำพิธีพร้อม สวดอธิษฐานหันไปทางทิศตะวันออกสวด 3 ครั้ง และหันไปทางทิศตะวันตก สวดอีก 3 ครั้ง 
  • หลังจากเสร็จพิธีกรรมตรงนั้นแล้ว ก็ได้กลับไปในกระท่อม (เจ้าของไร่ต้องรี เหล้าขวดที่เหลือให้กับผู้เฒ่าผู้แก่อีก 3 คน แล้ว 
  • อธิษฐาน สิงสานางไม้วันนี้ ข้ามาเลี้ยงเจ้าที่ทุกสิ่ง ทุกอำนาจที่ทำลายไม้ของเจ้า ขอให้เจ้าจงมารับคำ ขอขมาจากข้า และขอให้เจ้าช่วยดูแลข้าวในไร่ไม่ให้ถูกทำลาย ให้ข้าว งดงาม ขอให้ดูแลคุ้มครอง ให้รอดพ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วย 
  • เจ้าของไร่ ต้องรีให้คนล่ะแก้ว แล้วคนอื่นค่อยดื่มตาม
  • หลังเสร็จพิธีกรรมดื่เหล้า ( เจ้าของไร่ต้องกินข้าวก่อน 3 คำ ) คนอื่นค่อย กินตาม
  • เสร็จจากกินข้าวแล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้าน( สวนเจ้าของไร่) ช่วงเย็น นำไก่ที่เหลือมาทำพิธีขะแก นำไม้ไผ่มาทำเป็นสัญลักษณ์แล้ว นำไปปักไว้ตรงทางเข้าไร่นำใบสำหรับห่อข้าวมาวางไว้ข้างหลังไม้สัญลักษณ์ ดังกล่าว โดยใส่ข้าว และไก่ลงไปบนใบอธิษฐาน แล้วนำดอกหญ้าตองกง 3 อัน แทรกกลางไม้ไผ่ ส่วนอีกอันให้ทิ้งไป เสร็จพิธีและในวันรุ่งขึ้นเจ้าของไร่ ต้องมานำดอกหน้าตองกงทั้ง 3 อันนี้ออก

ข้อห้าม

  • การทำพิธีกรรมนี้จะต้องไม่มีคนอื่นอยู่ในบริเวณไร่ 
  • วันรุ่งขึ้น เจ้าของไร่ต้องไปไร่ก่อน 

ตอลอน้อ ความหมาย ถางหญ้าครั้งสุดท้าย 

วัตถุประสงค์  เพื่อกำจัดวัชพืชที่จะขัดขวางการเจริญเติบโต และช่วยลดสัตว์หรือ แมลงที่จะมากัดต้นข้าวโดยใช้แรงงานคน ไม่พึ่งสารเคมีใช้เครื่องมือที่เรียกว่า กละ (มีดดายหญ้า)

คนทำพิธีกรรม เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน 

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • กละ (มีดดายหญ้า) 
  • ผ้ายางกันฝน หรือ เสื้อกันฝน 
  • หมวกกันฝน

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • เจ้าของไร่จะถางหญ้าตัวอย่างหรือถางหญ้านำ 3 วัน (กลอลอน้อ) 
  • พัก 1 วัน หลังจากถางหญ้านำ 
  • เช้าวันต่อมาก็ไปถางหญ้ามีเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน 
  • ถ้าถางทั้งวันก็จะห่อข้าวไปกินด้วย 

ความเชื่อ

  • ห้ามไปไร่ในวันที่ถัดจากวันที่ถางหญ้านำ (กลอลอน้อ) 
  • ห้ามกินข้าวเย็นในวันที่กลอน้อวันแรก (ถ้ากินต้องหุงใหม่ เพราะเชื่อว่าถ้า กินข้าวเย็นจะทำให้การกลอน้อช้า) 

 

เดือนสิงหาคม 

ดึโละฆึ ความหมายคือ พีเบาะ 

วัตถุประสงค์  เพื่อให้ปุ๋ยข้าวในไร่ กำจัดแมลงและสัตว์ที่มากินข้าวและพืชพันธุ์ในไร่ 

คนทำพิธีกรรม คือ เจ้าของไร่ 

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์

  • มีด 
  • หน่อไม้
  • ไก่ 1 ตัว
  • ไผ่หลาม 2 ลำ 
  • ใบควีเมละ 5 ใบ 
  • หมากพลู 
  • พริก 1 เม็ด 
  • เกลือ 1 เม็ด 
  • ต้นข้าว 1 ต้น

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • เจ้าของไร่และครอบครัวพากันไปตัดหน่อไม้แล้วเอามาผ่าหน่อไม้มา 3 กะ บอก ทิ้งค้างคืน 
  • เช้าวันต่อมาก็พาครอบครัวไปทำพิธีพิเบาะ 2 กระบอก วางไว้ในไร่ตามต้น ข้าว 
  • นำไก่ 1 ตัว มาทำพิธีโดยการนำไก่มาปาดคอ พร้อมสวดอธิษฐานว่า ข้าได้ นำหน่อไม้มาวางไว้ เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโต 
  • นำไก่ไปต้ม ให้สุก แล้วเจ้าของไร่ นำชิ้นส่วนสำคัญของไก่นำไปถวาย 
  • พร้อมสวดอธิษฐานว่า ข้าได้นำชิ้นส่วนสำคัญมาวางไว้เพื่อให้ข้าว เจริญเติบโต 
  • กินข้าวตามอัธยาศัย 
  • จากนั้นนำต้นไผ่หลาม 2 ลำ ไปตั้งไว้ตรงทางเข้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการ ทำพิธี 
  • นำหน่อไม้ โก้มี้ลอป่อ ข้าว เกลือ และพริกนำถวายอีกครั้ง 
  • พร้อมสวดอธิษฐานว่า ข้าได้นำหน่อไม้มาวางไว้เพื่อให้ข้าวเจริญเติบโต

ความเชื่อ ห้ามใครเข้ามาในไร่ภายใน 2 วัน 

 

เดือนกันยายน 

พวอบือบึ ความหมาย นำใบข้าวที่แกออก 

วัตถุประสงค์  เพื่อที่จะได้เร็วต่อการเกี่ยวและสะดวก 

คนทำพิธีกรรม เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกเปลี่ยนกัน

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์

  • กละ (มีดดายหญ้า) 
  • ผ้ายางกันฝน หรือ เสื้อกันฝน 
  • หมวกกันฝน

วิธีการดำเนินกิจกรรม

เจ้าของไร่จะถางหญ้าพร้อมกับบอกเพื่อนบ้านว่าทุกคนต้องพ วอบือบึ เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการเกี่ยวข้าว 

 

เดือนตุลาคม

กุปีอี ความหมาย เกี่ยวข้าวเหนียว 

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเหนียวในไร่หมุนเวียนเพื่อที่จะ บริโภคก่อน 

คนทำพิธีกรรม คือ เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน

สถานที่จัดกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เคียว 
  • มีด
  • ไม้ไผ่/ตอก
  • แจ้ (ก่อ) 

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • วันรุ่งขึ้นจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวเหนียว โดยมีการลงแขกเกี่ยวแลกเปลี่ยน แรงงาน ซึ่งการเกี่ยวจะใช้ต้นข้าวเหนียวมัดข้าวเหนียวไว้เป็นกำๆ 
  • ส่วนคนที่แข็งแรงหรือเป็นผู้ชายต้องเป็นคนทำราวตากแห้งข้าวเหนียว 
  • ส่วนสำหรับเด็กผู้หญิงหรือผู้ชายต้องเป็นคนนำข้าวเหนียวไปตากแห้ง 
  • เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ จะนำข้าวไปตากแห้งโดยใช้เวลา 4-5 วัน 

ความเชื่อ เจ้าของไร่ห้ามกิน ปู ปลา กุ้ง หนูแดง ในวันที่เกี่ยวข้าวเหนียว 

บละแซว ความหมาย ข้าวเม่า 

วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการทำข้าวเม่าเอาไว้กินเล่น หรืออาหารว่าง หรือเป็นของฝาก ให้กับย่านพี่น้อง 

คนทำพิธีกรรม เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาร่วมเกี่ยว

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน  

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เคียว 
  • แจ้ (กือ) 
  • น้ำตาลทราย 
  • มะพร้าว 

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • วันรุ่งขึ้นจะเริ่มเกี่ยวข้าวเหนียว โดยมีการลงแรงแขก เกี่ยวข้าวเหนียว แลกเปลี่ยนแรงงานกัน ซึ่งการเกี่ยวข้าวเหนียว จะใช้ต้นข้าวเหนียวมัดไว้ เป็นกำๆ 
  • ส่วนผู้ชายที่แข็งแรงจะเป็นคนตัดไม้ไผ่ทำเป็นราวสำหรับตากแห้งข้าวเหนียว 
  • เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ จะไว้ข้าวเหนียวส่วนหนึ่งสำหรับจะทำข้าวเม่า นำกือที่ เตรียมไว้มาใส่แซว โดยจะเกี่ยวเฉพาะยอดหรือเมล็ดเพื่อที่จะได้ง่ายต่อกัน ทำข้าวเม่า 
  • เมื่อบละแซว เสร็จก็แยกย้ายกลับบ้าน นำแซวเอามาใส่ในกระทะควบให้สุก แล้วเอาไปตำหลายๆรอบ 
  • ได้แซวหรือข้าวเม่าแล้วใส่เครื่องปรุงที่เตรียมไว้ อย่างเช่น น้ำตาลทราย มะพร้าว ใส่รวมกัน แล้วห่อ เพื่อที่จะฝากให้กับย้ายพี่น้อง 

 

เดือนพฤศจิกายน 

แกวบือกะลา ความหมาย เรียกขวัญข้าว 

วัตถุประสงค์  เพื่อเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับต้นข้าว 

คนทำพิธีกรรม คือ เจ้าของไร่ 

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • ไก่ 2 ตัว 
  • เหล้า
  • เงินโบราณ 
  • ลูกปัด 

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • นำไก่ 1 คู่ไปที่ไร่
  • นำไก่มาปาดคอตรงศาลในไร่ พร้อมอธิษฐานขอให้ข้าวออกผลดีงดงาม อธิษฐานว่า "ข้าวที่หลงหาย ข้าวลูกใหญ่เท่าฟัก ต้นใหญ่เท่าต้นกล้วย ทุก ชนิด ทุกพันธุ์จงกลับมาอยู่ในไร่นี้ 
  • จากนั้นเอาไก่ไปต้ม แล้วแยกเครื่องในไก่ ไปถวายให้กับศาลในไร่ 

ความเชื่อ ห้ามเห็นงู ตะขาบ หรือได้ยินเสียงเก่งร้อง 

กุบือ ความหมาย เกี่ยวข้าว 

วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในไร่หมุนเวียน และตากข้าวให้แห้ง ในขั้นตอนของการเกี่ยวข้าวจะมีการแลกเปลี่ยนแรงงานกัน เพื่อการร่วมด้วยช่วยกัน ในชุมชน 

คนทำพิธีกรรม เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน 

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • เคียว 
  • มีด
  • ไม้ไผ่/ตอก
  • แจ้ (กือ) 

วิธีการดำเนินกิจกรรม 

  • ก่อนเกี่ยวข้าว เจ้าของไร่จะทำพิธีเรียกขวัญข้าว
  • เจ้าของไร่จะเกี่ยวข้าวเป็น 3 กอง กองละ 3 กอ รวม 9 กอ วางไว้ที่ต้น แล้วค่อยมาเก็บเกี่ยวในวันรุ่งขึ้น 
  • วันรุ่งขึ้นจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว โดยมีการลงแขกเกี่ยวข้าวแลกเปลี่ยนแรงงาน ซึ่งการเกี่ยวข้าว จะใช้ต้นข้าวมัดข้าวไว้เป็นกำไร
  • ตัดไม้ไผ่ทำเป็นราวสำหรับตากแห้งข้าว โดยใช้ตอกมัดไผ่ให้เป็นราวสำหรับ จากข้าว 
  • เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จ จะนำข้าวไปตากแห้งโดยใช้เวลา 4-5 วัน

ความเชื่อ เจ้าของไร่ห้ามกิน ปู ปลา กุ้ง หนูแดง ในวันที่เกี่ยวข้าว 

 

เดือนธันวาคม

โปะบือ ความหมาย ตีข้าว 

วัตถุประสงค์ การตีข้าวนั้น ชาวบ้านแบกข้าวทั้งหมดมากองรวมกัน ทำเป็นลานตี ข้าว แล้ว ช่วยกันตีข้าว ระหว่างการตีข้าวจะมีการพูดคุยเพื่อที่จะนับผลผลิตของแต่ ละครัวเรือนว่าใครได้มาก ใครได้น้อย ถ้าคนได้น้อย ไม่พอกิน คนในชุมชนจะแบ่งปัน ให้กับคนได้น้อย ที่ตีข้าวกลายเป็นลานวัฒนธรรมการแบ่งปันแลกเปลี่ยน

คนทำพิธีกรรม คือ เจ้าของไร่และเพื่อนบ้านที่มาแลกแรงกัน 

สถานที่ทำกิจกรรม ไร่หมุนเวียน

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • ผ้าเต็นท์ปูรองการตีข้าว 
  • ใบพัด ( น้อหวี่) 
  • ไม้ไผ่รองรับการตีข้าว (โทโบ) 

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • ใช้ผ้าเต็นท์ ปูรองการตีข้าว 
  • ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นที่ (น่อต้อบึ) สำหรับตีข้าว 
  • นำต้นข้าวตีลงไปที่น่อต้อบึ เพื่อให้เม็ดข้าวหลุดออกจากต้นข้าว 
  • ใช้พัด พัดเปลือกข้าวที่ไม่มีเม็ดข้าวออก ให้เหลือแต่ข้าวที่ต้องการ 
  • นำไม้ไผ่มาสานเป็นยุ้ง แล้วนำข้าวเปลือกที่ตีเสร็จมาใส่ลงในยุ้ง 

ความเชื่อ ห้ามเดินผ่านระหว่างเต้นท์ที่รองข้าวกับกระท่อม 

เซอท่อโทะ ความหมาย การส่งนก 

วัตถุประสงค์ เพื่อขอบคุณ และส่งนกขวัญข้าวกลับสู่บนฟ้า

คนทำพิธีกรรม คือ เจ้าของไร่ 

วัสดุ/อุปกรณ์ 

  • ข้าวหลาม 
  • ไก่ 3 ตัว ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว 
  • มีด 
  • แตงกวา
  • ไข่ 
  • ดอกดาวเรือง 
  • ดอกหงอนไก่ 
  • หน่อโพตระ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

  • นำไก่ 1 ตัว มาปาดคอ แล้วให้เลือดหยดลงบริเวณตรงที่ได้ทำการเก็บ ข้าวเปลือกใส่กระสอบ พร้อมอธิษฐานว่า "ขอบคุณเจ้าที่ เจ้าทาง นกขวัญ ข้าว ที่ให้ข้าวและพืชผักผลไม้ทุกชนิด 
  • หลังจากนั้นเอาไก่ไปทำแกงให้สุก 
  • นำแกงที่ปรุงแล้ว พร้อมกับแตงกวาที่หั่นแล้วไปถวายเจ้าที่เจ้าทางพร้อม อธิษฐานว่า "เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าดิน เจ้าป่าเจ้าเขา ขอให้มากินข้าวกินน้ำ กิน แกง กินแตง กินเหล้าด้วยกัน ขอบคุณที่มาดูแลไร่ ดูแลต้นไม้ ดูแลป่าให้ สมบูรณ์ แล้วให้กลับมาดูแลอีกครั้งหลังจากวนมาทำไร่อีกปี"

1.นางโพเตมี ไพรมะโนรม เกิดในหมู่บ้านแม่อมยะ อายุ 59 ปี แต่งงานกับ นายพาเมเร อายุ 62 ปี ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน มีบุตรทั้งหมด  4  คน

  • ช่วงอายุ 10 ปี ทำไร่ ทำสวน ถางหญ้า เลี้ยงหลาน เลี้ยงน้อง 
  • ช่วงอายุ 20 ปี แต่งงานตอนอายุ  22 ปี จนครบ 3 ปี มีบุตรทั้งหมด 4 คน
  • ช่วงอายุ 30 ปี อยู่บ้านทอผ้า ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงบุตร
  • ช่วงอายุ 40 ปี ทำไร่ ทำสวน ทอผ้า
  • ช่วงอายุ 50 ปี ทอผ้า ทอกระเป๋า

ทุนเศรษฐกิจ

  • ปลูกพริก 
  • ใบพลู 
  • หมาก
  • เห็ดถอบ
  • ทอผ้า 
  • จักรสาน
  • เลี้ยงสัตว์ 

ทุนกายภาพ

  • ป่าไม้ 
  • แม่น้ำอูยะโกล 
  • ไร่หมุนเวียน 

ทุนสังคม/การเมือง 

  • สกน.
  • ศมส.
  • วัฒนธรรม 

ภาษาพูด ของคนในชุมชนบ้านแม่อมยะ มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย

ภาษาเขียน ภาษาเขียนของคนในชุมชนบ้านแม่อมยะ มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานบ้านท่าสองยาง. จาก http://www.pasukplus.com/