Advance search

บ้านห้วยเดื่อ

"กะเหรี่ยงคอยาว" กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นที่มีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลัษณ์ ปรับบทบาทกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีมนต์เสน่ห์ท่ามกลางหุบเขาและสายน้ำ

หมู่ที่ 3
บ้านห้วยเดื่อ (หย่อมบ้านห้วยปูแกง)
ผาบ่อง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
22 ม.ค. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
22 ม.ค. 2024
บ้านห้วยปูแกง
บ้านห้วยเดื่อ

ห้วยปูแกง เป็นคำเพี้ยนที่มาจากคำว่า “เฮกุเกแล” เป็นภาษากะเหรี่ยงแดง ตามความเป็นมากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดงที่อาศัยอยู่มาก่อน ได้เข้าไปทำไร่หมุนเวียนบริเวณหัวลำห้วย มีการเรียกกันติดปากว่า “เฮกุเกแล” แปลว่า “ไร่ในห้วย” ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ โดยให้ใกล้เคียงกับคำว่า "เฮกุเกแล" เป็น “ห้วยปูแกง” จึงใช้ชื่อหมู่บ้านนี้มาจนถึงปัจจุบัน


"กะเหรี่ยงคอยาว" กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นที่มีวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลัษณ์ ปรับบทบาทกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีมนต์เสน่ห์ท่ามกลางหุบเขาและสายน้ำ

บ้านห้วยเดื่อ (หย่อมบ้านห้วยปูแกง)
หมู่ที่ 3
ผาบ่อง
เมืองแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน
58000
19.236767339559773
97.89401805844125
องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง

บ้านห้วยปูแกง ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ. 2528 โดยประชากรส่วนมากเป็นผู้อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมาร์ (พม่า) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ อาศัยอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแดงที่อาศัยอยู่มาก่อน ที่ได้เข้าไปทำไร่หมุนเวียนบริเวณหัวลำห้วย โดยบ้านห้วยปูแกง เป็นหนึ่งใน 4 หย่อมบ้านที่อยู่ในการปกครองของบ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 3 ซึ่งประกอบไปด้วย หย่อมบ้านห้วยปูแกง หย่อมบ้านน้ำเพียงดิน หย่อมบ้านไม้เดื่อโง้ม และหย่อมบ้านห้วยคลี่

หย่อมบ้านห้วยปูแกง บ้านห้วยเดื่อ สภาพพื้นที่ทั่วไปโดยรอบมีลักษณะเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง ชุมชนที่ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างหุบเขา ริมแม่น้ำปาย เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และแหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลผาบ่องอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการทำเกษตรกรรม เช่น ลำน้ำปาย ลำน้ำแม่สะมาด ลำน้ำแม่สะกึด การเดินทางมาที่บ้านห้วยปูแกง สามารถเดินทางมาได้สองทางคือ ทางเรือจากท่าเรือบ้านห้วยเดื่อ และทางรถยนต์ ต้องผ่านเส้นทางที่คดเคี้ยว และมีความท้าทายเล็ก ๆ ก่อนจะเข้าถึงหมู่บ้าน คือ ต้องนั่งเรือข้ามแม่น้ำเพื่อไปที่หมู่บ้านแห่งนี้ และเมื่อผ่านความหวาดเสียว ความโคลงเคลงของเรือข้ามฟากแล้วก็จะได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์พร้อมรอยยิ้ม

บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 3 ประกอบไปด้วย 4 หย่อมบ้าน ได้แก่ หย่อมบ้านห้วยปูแกง หย่อมบ้านน้ำเพียงดิน หย่อมบ้านไม้เดื่อโง้ม และหย่อมบ้านห้วยคลี่ มีประชากรรวมกันทั้งหมด 901 หลังคาเรือน แบ่งเป็นชาย 1,177 คน หญิง 1,134 คน รวมประชากรทั้งหมดจำนวน 2,311 คน โดยประชากรหย่อมบ้านห้วยปูแกง มีจำนวนประชากรทั้งหมด 220 คน จำนวน 56 หลังคาเรือน และประกอบด้วย 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ กะยัน หรือ กะเหรี่ยงคอยาวกะยอ หรือ กะเหรี่ยงหูใหญ่กะยา หรือ กะเหรี่ยงแดงปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงขาวและ ไต หรือ ไทใหญ่

กะยัน, ไทใหญ่, ปกาเกอะญอ

หย่อมบ้านห้วยปูแกง บ้านห้วยเดื่อ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติ รายได้ของคนในหมู่บ้านห้วยปูแกง ส่วนใหญ่จึงมีรายได้จากการขายของที่ระลึก ซึ่งมาจากการเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ และนอกจากนี้ก็มีการประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น รับจ้างทั่วไป ล่าสัตว์ หาของป่า และเกษตรกรรม

เนื่องจากหย่อมบ้านห้วยปูแกง บ้านห้วยเดื่อ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ วิถีชีวิตจึงผูกพันและเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ และทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น หาของป่า ล่าสัตว์ ทำการเกษตร และด้วยเป็นชุมชนท่องเที่ยวจึงมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวโยงเชิงพาณิชย์ด้วย ทั้งการค้าขาย หรือการใช้วิถีวัฒนธรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ด้านของพิธีกรรมและความเชื่อ ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยปูแกงส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ และยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ผีธรรมชาติ และคติดั้งเดิมของชนเผ่า เช่น การนับถือต้นธี ซึ่งเป็นเสาหลักของขวัญกำลังใจหมู่บ้าน การขอพรจากผีเพื่อให้ผลผลิตจากไร่ได้ผลงอกงามดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • ทุนวัฒนธรรม : ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหาร ศิลปะ หัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
  • ทุนทรัพยากรธรรมชาติ : ภูเขา ป่าไม้ แหล่งน้ำ 
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จุดเด่นของชุมชนแห่งนี้ นอกจากจะได้ชมวิถีชีวิตของชาวกะยัน หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า กะเหรี่ยงคอยาว ซึ่งเรียกตามลักษณะกายภาพที่ปรากฏ ภายในชุมชนยังเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วย ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมเรียนรู้การแกะสลักตุ๊กตาไม้กะเหรี่ยงคอยาว, การจักสานกระบุง, การทอผ้าด้วยกี่เอว, การทำเครื่องดนตรี ประกอบด้วย กะโย (เครื่องดีดคล้ายกีต้าร์) แกละแก่ (เครื่องสีคล้ายไวโอลิน), เดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติป่าตองตึง พร้อมสักการะบรรพบุรุษผู้บุกเบิกหมู่บ้านห้วยปูแกง, ชมเสาต้นธีลานประเพณีชาวกะยัง ซึ่งเป็นเสาสลักศักดิ์สิทธิ์ และภายในชุมชนยังมีผลิตภัณฑ์ฝีมือชาวกะเหรี่ยงไว้ให้เลือกซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านอีกด้วย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2565). บ้านห้วยปูแกง จ.แม่ฮ่องสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 ; จาก เว็บไซต์คลังข้อมูลชุมชน https://communityarchive.sac.or.th/community/BanHuayPuKaeng

องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง. (2564). แหล่งท่องเที่ยว : หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาวหย่อมบ้านห้วยปูแกง บ้านห้วยเดื่อหมู่ที่ 3. องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน