ชุมชนการทอผ้าและการทำเครื่องเงิน รวมทั้งจะเะห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรมของเขมร
เขวาสินรินทร์ มาจากคำว่า เขวา หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะลำต้นสูงใหญ่ ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องใช้ทีเป็นศิริมงคล เช่น อาสนสงฆ์ พานไม้ ถาดไม้ส่วนคำว่า "สินรินทร์" ซึ่งเป็นชื่อของอดีตกำนันตำบลเขวาสินรินทร์ คือ ขุนสินรินทร์บำรุง
ชุมชนการทอผ้าและการทำเครื่องเงิน รวมทั้งจะเะห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรมของเขมร
เดิมตำบลเขวาสินรินทร์ อยู่ในการปกครองของอำเภอเมืองสุรินทร์ เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เขวาสินรินทร์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 จึงได้อยู่ในการปกครองของกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550 กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ ก็ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเขวาสินรินทร์ และเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2556 ก็ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเขวาสินรินทร์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยพื้นที่บ้านเขวาสินรินทร์ปรากฏร่องรอย การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนตั้งแต่สมัยอารยธรรมโบราณ ต่อมามีพัฒนาการจนมาตั้งสถานะเป็นตำบลในราว พ.ศ. 2440 มีกลุ่มชาวบ้านอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากประเทศกัมพูชาเพื่อหาที่ทำกิน และได้นำวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ในชุมชนบ้านเขวาสินรินทร์ด้วย
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่เทศบาลตำบลเขวาสินรินทร์ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ระดับ 143 - 152 เมตร บริเวณพื้นที่ค่อนข้างเป็นที่ราบและมีความลาดชันเล็กน้อย ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่ต่างกันเกิน 10 เมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ จรดตำบลบึง และตำบลตากูก อำเภอเขวาสินรินทร์
- ทิศตะวันออก จรดตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์
- ทิศตะวันตก จรดตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์
- ทิศใต้ จรดตำบลบ้านแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์
จำนวนประชากรในพื้นที่ ตำบล เขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
- ประชากร 10,105 คน ชาย 4,822 คน หญิง 5,122 คน
- จำนวนครัวเรือน 2,763 ครัวเรือน
(ข้อมูล ณ มีนาคม 2557)
กูยผ้าทอกับเศรษฐกิจในชุมชนเขวาสินรินทร์ พัฒนาการเศรษฐกิจผ้าไหมของชุมชนเขวาสินรินทร์ ในระยะแรกการขายผ้าไหมเกิดขึ้นในตัวชุมชน โดยมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาในพื้นที่เพื่อรับซื้อผ้าทอไปขายต่อในตัวเมือง และเมื่อมีกลุ่มคนจีนเข้ามาอยู่ มีเส้นทางรถไฟ ทำให้เกิดเป็นย่านการค้าตามทางรถไฟ มีการขนส่งผ้าทอไปขายยังกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นๆ ยุครุ่งเรืองของเศรษฐกิจการทอผ้าคือช่วงที่มีโครงการสินค้า OTOP ของภาครัฐเข้ามา ทำให้เกิดการสร้างรายได้แก่คนในชุมชน สินค้าผ้าไหมและเครื่องเงินเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ชาวบ้านผู้หญิงวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุจึงใช้เวลาว่างจากการทำงานมาทอผ้า เพื่อส่งให้กับร้านค้า OTOP และผู้สนใจรับซื้อ ในช่วงที่ผ่านมาทางอำเภอเขวาสินรินทร์ได้นำวัฒนธรรมการทอผ้า ตลอดจนหัตถกรรมเครื่องเงินมาส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชน โดยจัดงานเทศกาลชื่อว่า ‘นุ่งผ้าไหม ใส่ประเกือม เรือมกันตรึม’ เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเชิดชูคุณค่า นับได้ว่าผ้าไหมเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจและสินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างอัตลักษณ์ อาชีพ และรายได้ให้กับคนในชุมชนเรื่อยมา
แซนโฎนตา
พิธีแซนโฎนตาหรือวันสาร์ทเขมร เป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ ของชาวไทยเชื้อสายเขมร บางคนก็เรียกว่า “สารทเขมร”
“แซนโฎนตา” เป็นภาษาเขมร คำว่า “แซน” ภาษาไทยตรงกับคำว่า “เซ่น” หมายถึงการเซ่นไหว้ ส่วนคำว่า “โฎนตา” แปลว่า ยายตา ใกล้เคียงกับคำว่าบรรพบุรุษ ญาติโกโหติกา ความหมายของแซนโฎนตา คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะบรรพบุรุษหรือญาติที่ใกล้ชิดและหมายรวมทั้งผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยไม่เจาะจงว่าเป็นใครด้วย
ประเพณีแซนโฎนตาเริ่มต้นดังนี้
- วันเบ็ณฑ์ตู๊จ วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
- วันกันซ็อง เป็นวันหลังจากวันเบ็ญฑ์ตู๊จ คือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตอนเช้าและเพล ชาวบ้านจะไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่วัด
- วันแซนโฎนตา หรือวันเบ็ณฑ์ธม (วันสารทใหญ่) คือวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ญาติพี่น้องทุกคนต้องร่วมกันทำบุญที่วัด เป็นหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้าน
เชื่อกันว่าเป็นช่วงเวลาที่ยมบาลจะปลดปล่อยวิญญาณ ให้ขึ้นมาปะปนกับมนุษย์บนโลก เพื่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องและรอรับส่วนบุญ ทั้งจากญาติพี่น้องและบุคคลอื่น โดยผ่านพิธีกรรมการทำบุญอุทิศไปให้ ชาวบ้านในชุมชนจึงมีการทำบุญตั้งแต่วันเบ็ณฑ์ตู๊จ จนถึง วันแซนโฎนตาเพื่อเป็นการอุทิศบุญให้กับญาติโกโหติกาที่ล่วงลับไปแล้วเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำบุญบูชาบรรพบุรุษมีขึ้นในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ของทุกปีชาวสุรินทร์หรือกลุ่มชาติพันธุ์เขมรมีความเชื่อว่า เมื่อวันดังกล่าวนี้เวียนมาถึงวิญญาณบรรพบุรุษผู้ถึงกาละไปก่อนแล้วจะพากันเดินทางมาเยือนเยียนลูกหลานหรือญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อรวมโฮปปะชา (รับประทาน) ข้าวปลา อาหาร ของหวาน ของคาว เครื่องดื่มต่าง ๆ การเซ่นล้วนแล้วแต่มีอาหารที่บรรพบุรุษเคยชอบเมื่อยังมีชีวิตอยู่เมื่อเครื่องเช่นทุกอย่างพร้อมแล้วผู้อาวุโสในพิธีก็จะถามถึงลูกหลานคนนั้นคนนี้ เมื่อพร้อมหน้าเป็นที่พอใจแล้วก็จะเริ่มทำการเซ่นโดยจุดธูปเทียนยกขันห้าไหว้ และเรียกดวงวิญญาณบรรพชนให้มารับเครื่องเซ่นไหว้แล้วรินน้ำให้ล้างมือในเครื่องดื่มทั้งหนัก และเบาชี้บอกให้วิญญาณรู้ว่ามีเครื่องเซ่นอะไรบ้างเสียงเรียกวิญญาณของบรรพชนเรียกวิญญาณเอ่ยชื่อให้ได้มากที่สุดขณะเดียวกันก็รินเครื่องดื่มไปด้วย
สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตาแต่ละบ้านจะทำพิธีแซนโฎนตาแล้วแต่เวลาตามสะดวก สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา ได้แก่
- กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่า
- เสื้อผ้า ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ พร้อมแป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจก
- สำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็ดต้ม 1 ตัว ไก่ต้ม 1 ตัว หรืออาจมีหัวหมู แล้วแต่ลูกหลานแต่ละบ้านจะจัดจะหามา
- ขนมต่าง ๆ ได้แก่ ขนมข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ กันเตรือม ขนมกันตางราง ขนมนางเล็ด ขนมไข่หงส์ ขนมข้าวเกรียบ ขนมข้าวพอง
- ผลไม้ต่าง ๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนและกล้วยน้ำว้าสุก
- น้ำดื่ม เหล้า ตามแต่เห็นสมควร เทียน 2 เล่ม จุดไว้อย่าให้ดับกระถางธูปและธูป ไว้สำหรับจุดเวลาเซ่น และจะใช้ปักไว้ตามจานอาหารด้วย
ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตาจะมีประเพณีที่เรียกว่า “จูนโฎนตา” คือ บรรดาลูกหลานญาติพี่น้องจะกลับมาบ้านมาไหว้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และจะนำเอามะพร้าว ข้าวสารเหนียว ขนมต่าง ๆ มามอบให้หรืออาจมอบเงินด้วย เพื่อให้ได้ใช้ทำบุญในประเพณีแซนโฎนตา หากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพและมอบข้าวของเงินทองให้ หรือถ้าทำไม่ได้ก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายพระที่วัดแทน เหมือนกับเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
แซนโฎนตาจัดเป็นประเพณีวัฒนธรรมประจำปีของคนไทยเชื้อสายเขมร ประเพณีและงานประจำปีของกลุ่มชาติพันธ์ุเขมรถือได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธ์เดียวกัน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นคนในท้องถิ่นจึงมีความเชื่อและปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน การประกอบพิธีกรรมประเพณี ในชุมชนนั้นจึงมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่ของคนในชุมชนจึงมีความเชื่อ มุขปาฐะ สอดแทรกไปในการประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ ประเพณี พิธีกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่พ้นความเชื่อในเรื่องของการบูชา นับถือผีทั้งนี้ในประเพณีพิธีกรรมของคนในชุมชนจึงมีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และการนับถือผี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมความเชื่อแบบเขมรที่คนในชุมชนยังยึดถือและปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบัน
ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทอผ้า : การทอผ้าเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทั้งยังมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์อย่างมาก
เครื่องเงิน : การทำเครื่องเงินเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงสำหรับชุมชนเขวาสินรินทร์ ดวยลวดลายที่มีความสวยงาม เช่น ลายไข่แมงดา ลายดอกพิกุล ลายถุงเงิน เป็นต้น
ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาทางการ และใช้ภาษาไทยถิ่นอีสานในกลุ่มคนชาวอีสาน และภาษากูยในกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์กูย
ชุมชนแห่งนี้ดำเนินกิจกรรมทางเศราฐกิจด้วยทำการเกศตรเป็นหลักและการทอผ้า และการทำเครื่องเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจของชุมชนสามารถดำเนินต่อไปได้
การทอผ้า
การทอผ้าในชุมชน ชุมชนเขวาสินรินทร์เป็นหมู่บ้านที่มีงานหัตถกรรมเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษในอดีต โดยเริ่มแรกมีการทอผ้าขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนและขายในหมู่บ้านเท่านั้น ลายผ้าที่ทอส่วนใหญ่คือลายผ้าโฮลและผ้ามัดหมี่ ผ้าที่ทอขึ้นได้มักนำไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ตลอดจนใช้ในพิธีกรรมงานบวช งานแต่ง เพราะผ้าไหมถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกพิธีกรรม และนิยมแต่งไปทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา ทำสวน โดยในอดีตชาวบ้านจะลงมือทำกันเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ส่วนอุปกรณ์ในการทำผ้าไหม เช่น กี่ทอผ้า อัก ระหัด ผู้ชายในพื้นที่จะเป็นฝ่ายทำให้ โดยมีผู้หญิงเป็นคนดูแลเรื่องการทอ
จากผ้าทอพื้นบ้านสู่อาชีพ แต่เดิมเมื่อทอผ้าเสร็จ ชาวบ้านที่ค่อนข้างมีฐานะจะซื้อขายกันเอง หรือไม่ก็จะมีกลุ่มพ่อค้ามารับซื้อจากแต่ละบ้าน แล้วนำไปบรรทุกใส่เกวียนขายต่อในเมือง จนในปี พ.ศ. 2518 เริ่มมีผู้คนจากภายนอกเข้ามาซื้อผ้าไหมในหมู่บ้าน และมีการซื้อเพื่อไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง ทำให้จากเดิมที่ทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชน เริ่มเกิดการค้าขายกับคนภายนอก ทำให้คนจากหมู่บ้านอื่นเริ่มรู้จักผ้าทอของชุมชน ด้วยลักษณะเด่นของลวดลายและโทนสี ทำให้ผ้าทอของชุมชนเขวาสินรินทร์มีเอกลักษณ์ต่างจากที่อื่นๆ ในปี พ.ศ. 2530 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนชุมชนเขวาสินรินทร์เพื่อทอดพระเนตรผ้าไหม ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ผ้าไหมของชุมชนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มีนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อดูวิธีการและซื้อผ้าไหม ต่อมาชุมชนได้เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากการขายผ้าทอมากขึ้น
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเขวาสินรินทร์
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเขวาสินรินทร์ภายในบอกเล่าถึงการทอผ้าของชุมชนที่มีการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ โดยการทอผ้าของชุมชนเขวาสินรินทร์เป็นหมู่บ้านที่มีงานหัตถกรรมเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษในอดีต โดยเริ่มแรกมีการทอผ้าขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนและขายในหมู่บ้านเท่านั้น ลายผ้าที่ทอส่วนใหญ่คือลายผ้าโฮลและผ้ามัดหมี่ ผ้าที่ทอขึ้นได้มักนำไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ตลอดจนใช้ในพิธีกรรมงานบวช งานแต่ง เพราะผ้าไหมถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกพิธีกรรม และนิยมแต่งไปทำการเกษตร ทำไร่ ทำนา ทำสวน โดยในอดีตชาวบ้านจะลงมือทำกันเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ส่วนอุปกรณ์ในการทำผ้าไหม เช่น กี่ทอผ้า อัก ระหัด ผู้ชายในพื้นที่จะเป็นฝ่ายทำให้ โดยมีผู้หญิงเป็นคนดูแลเรื่องการทอ จากผ้าทอพื้นบ้านสู่อาชีพ แต่เดิมเมื่อทอผ้าเสร็จ ชาวบ้านที่ค่อนข้างมีฐานะจะซื้อขายกันเอง หรือไม่ก็จะมีกลุ่มพ่อค้ามารับซื้อจากแต่ละบ้าน แล้วนำไปบรรทุกใส่เกวียนขายต่อในเมือง จนในปี พ.ศ. 2518 เริ่มมีผู้คนจากภายนอกเข้ามาซื้อผ้าไหมในหมู่บ้าน และมีการซื้อเพื่อไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง ทำให้จากเดิมที่ทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชน เริ่มเกิดการค้าขายกับคนภายนอก ทำให้คนจากหมู่บ้านอื่นเริ่มรู้จักผ้าทอของชุมชน ด้วยลักษณะเด่นของลวดลายและโทนสี ทำให้ผ้าทอของชุมชนเขวาสินรินทร์มีเอกลักษณ์ต่างจากที่อื่นๆ ในปี พ.ศ. 2530 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนชุมชนเขวาสินรินทร์เพื่อทอดพระเนตรผ้าไหม ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ผ้าไหมของชุมชนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มีนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อดูวิธีการและซื้อผ้าไหม ต่อมาชุมชนได้เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทำให้คนในชุมชนมีรายได้จากการขายผ้าทอมากขึ้น
คลังข้อมูลชุมชน (ที่มาhttps://communityarchive.sac.or.th/community/)
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเขวาสินรินทร์ (ที่มาhttps://db.sac.or.th/museum/)