Advance search

บ้านกอมาแนะ, แสนสุข

ชุมชนขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมย และมีประเพณีสำคัญ เช่น ประเพณีมัดมือลาขุ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีเลี้ยงผีไร่/ผีนา

หมู่ที่ 9
บ้านสวนอ้อย
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
ธนากร ทองประดับ
11 มิ.ย. 2023
เปรมพร ขันติแก้ว
25 ก.ย. 2023
จิรัชยา สีนวล
23 ม.ค. 2024
บ้านสวนอ้อย
บ้านกอมาแนะ, แสนสุข

ชาวบ้านที่นี่ก็ได้เล่าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของตนให้พระธุดงค์ (พระสมควร อัตตะธัมโม) ฟัง ท่านทราบปัญหาของชาวบ้าน พร้อมทั้งชาวบ้านที่นี่ได้นิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านนี้ เดิมทีหมู่บ้านแห่งนี้ชื่อหมู่บ้านกอมาแนะ และท่านได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "หมู่บ้านแสนสุข" 


ชุมชนขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมย และมีประเพณีสำคัญ เช่น ประเพณีมัดมือลาขุ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีเลี้ยงผีไร่/ผีนา

บ้านสวนอ้อย
หมู่ที่ 9
ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
63150
17.56415645
97.91376248
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง

"หมู่บ้านแสนสุข" อดีตที่ผ่านมาเคยเป็นส่วนหนึ่งของบ้านท่าสองยาง เมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้มีชาวบ้านห้วยมะโหนก มาทำไร่ข้าวที่แห่งนี้ ประมาณ 2 ครัวเรือน พร้อมทั้งชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงได้เห็นที่นี่อุดมสมบูรณ์จึงปลูกบ้านอยู่ที่นี่ เพื่อทำมาหากิน ประมาณ 10 กว่าหลังคา

การเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ชุมชนบ้านสวนอ้อย

  • พ.ศ. 2525 ได้มี ดาบตำรวจสง่า ธรรมภาณี ซึ่งรักษาการ ที่ สภ.แม่เมยในสมัยนั้น พร้อมด้วย นายมงคล  อาจกิจ สารวัตรกำนันบ้านท่าสองยาง ได้มาดูแลความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ได้จัดสรรที่อยู่อาศัย และที่ทำกินให้กับชาวบ้านเพื่อที่จะไม่ให้ชาวบ้านตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น
  • พ.ศ. 2538 ได้เกิดการสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกับพม่าแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ชาวบ้านบางส่วนที่นี่ก็ได้หนีภัยสู้รบไปอยู่กับญาติใกล้เคียง
  • พ.ศ. 2549 ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินผ่านมา (พระสมควร อัตตะธัมโม) ชาวบ้านที่นี่ก็ได้เล่าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของตนให้พระธุดงค์ฟัง ท่านทราบปัญหาของชาวบ้าน พร้อมทั้งชาวบ้านที่นี่ได้นิมนต์ ให้ท่านจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านนี้ เดิมทีหมู่บ้านแห่งนี้ชื่อหมู่บ้านกอมาแนะ ท่านได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "หมู่บ้านแสนสุข" ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาพุทธ ท่านจึงสร้างศาสนสถาน พร้อมสร้างโรงเรียนแสนสุข สันติธรรม ให้กับหมู่บ้านที่นี่ เพื่อถวายแด่องค์พระเทพฯ เป็นพระราชกุศล และเน้นความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประเทศชาติ ชาวบ้านที่นี่นับถือศาสนาพุทธ จารีตขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของหมู่บ้านสืบทอดตามบรรพบุรุษ เช่น บุญส่งเคราะห์บ้าน งานศพ งานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ พิธีผูกข้อมือ (ลาขุ), เลี้ยงผีไร่ข้าว ส่วนด้านวิถีชีวิตประจำวันและหัตถกรรมพื้นบ้านคือ ทอผ้า จักสาน, หมอตำแย อาชีพหลัก ทำไร่ข้าว, หาของป่าขาย และรับจ้างทั่วไป

สภาพแวดล้อม เป็นชุมชนอยู่ริมแม่น้ำเมย มีประชากรที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มีระเบียบสังคมที่สอดคล้องกับลักษณะชุมชนแบบหมู่บ้าน ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มก้อน มีการพึ่งพาอาศัยกันในชุมชน มีทั้งคนพื้นเมืองและชาติพันธ์ุอาศัยอยู่ร่วมกัน 

จำนวนประชากรบ้านสวนอ้อย ประชากรทั้งหมด 3,117 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 1,574 คน หญิง 1,543 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกะเหรี่ยงทั้งหมด 

ปกาเกอะญอ

การประกอบอาชีพของชาวบ้านสวนอ้อย ส่วนมากเป็นเกษตรกร ทำไร่ ทำนา 

ปฏิทินอาชีพ

เดือน กิจกรรม
มกราคม จับจองพื้นที่ไร่
กุมภาพันธ์ ถางไร่ และแหยไข่มดแดง
มีนาคม เก็บใบตอง ถางไร่ และแหยไข่มดแดง 
เมษายน ตีรังผึ้ง เก็บน้ำผึ้ง และเผาไร่
พฤษภาคม ปลูกข้าว และปลูกผัก
มิถุนายน เก็บของป่าและหาของป่า 
กรกฏาคม เก็บของป่าและถางหญ้าในไร่ 
สิงหาคม เก็บของป่า และขุดหน่อไม้
กันยายน ขุดหน่อไม้
ตุลาคม เก็บของป่า และขุดหัวบุก
พฤศจิกายน เกี่ยวข้าว และขุดหัวบุก
ธันวาคม เกี่ยวข้าว และตีข้าว 

 

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

ปฏิทินวัฒนธรรม

เดือน กิจกรรม
มกราคม ประเพณีมัดมือ และขึ้นบ้านใหม่
กุมภาพันธ์ ประเพณีแต่งงาน
มีนาคม ประเพณีแต่งงาน
เมษายน วันสงกรานต์
พฤษภาคม -
มิถุนายน -
กรกฏาคม ประเพณีเลี้ยงผีไร่/ผีนา
สิงหาคม วันแม่ และประเพณีมัดมือลาขุ
กันยายน ประเพณีเลี้ยงผีไร่ (แสะขึ)
ตุลาคม -
พฤศจิกายน ประเพณีลอยกระทง
ธันวาคม วันพ่อ (โทะบิคะ)

 

นางสี เกิดในหมู่บ้านท่าสองยาง อายุ 59 ปี แต่งงานกับ นายพาบอล อายุ 62 ปี มีบุตรทั้งหมด 5 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน และทอผ้า

  • ช่วงอายุ 10 ปี ทำสวน  ทำไร่ ทอผ้า เลี้ยงหลาน เคยเรียนภาษาพม่า 1 ปี มีบุตร
  • ช่วงอายุ 20 ปี เป็นแม่บ้านเลี้ยงบุตร
  • ช่วงอายุ 30 ปี เป็นแม่บ้านเลี้ยงบุตร สามีเสียตอนอายุ 39 ปี เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
  • ช่วงอายุ 40 ปี รับจ้างทั่วไป
  • ช่วงอายุ 50 ปี เลี้ยงหลาน
  • ช่วงอายุ 60 ปี เลี้ยงหลาน

ผู้นำธรรมชาติ

  • นายดิ๊ต้า ปัญญาสกุลวงษ์
  • นายจอเล่อ (ไม่มีนามสกุล) 

ปราชญ์ชาวบ้าน 

ลำดับ ประเภทภูมิปัญญา ชื่อ-สกุล ของเจ้าของภูมิปัญญา ประโยชน์ต่อชุมชน
1 ช่างไม้ นายพิเศษ คันธมาทน์งาม            ช่วยให้ความรู้และสอนให้เพื่อนที่มาร่วมเกิดความรู้และรู้ตามได้
2 การจักสาน นายสิแฮ  สามารถส่งเสริมให้เป็นอาชีพเสริมในชุมชนได้
3 หมอพื้นบ้าน (คาถา) นายพะดิ๊ การรักษาแบบแพทย์แผนไทยและผสมผสาน ซึ่งลดค่าใช้จ่าย
4 หมอนวดคลายเส้น นางตะมี นวดคลายเส้น เคล็ดขัดยอก
5 การทอผ้า, ปักผ้า  นางมูพอ พนาวิเชียรฉาย การทอผ้า นอกจากเป็นการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แล้ว สามารถสร้างรายได้ และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา

 

ทุนทางวัฒนธรรม 

วัดพระธาตุจุฬามณีศรีสยาม (กอมาแนะ) 

วัดสวยที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศของป่าเขา ที่ตั้งอยู่ใน บ้านกอมาแนะ (บ้านสวนอ้อย) อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เป็นอีกวัดที่ต้องลองไปเที่ยวชม เพราะมีทางเข้าที่แปลกสะดุดตา โดยไฮไลท์ก็คือรูปปั้นของพระสงฆ์ในอิริยาบถยืนอุ้มบาตรเป็นแนวยาว ซึ่งจะตั้งจากริมถนนทางเข้าไปยังตัววัด สามารถมองเห็นได้อย่างโดดเด่น นอกจากนั้น ภายในวัดยังมี พระธาตุจุฬามณีศรีสยาม องค์พระธาตุที่สวยเด่นตั้งอยู่อย่างสง่างาม โดยจะตกแต่งแบบเป็นชั้นขั้นบันไดขึ้นไป รอบพระธาตุก็จะมีองค์พระเล็ก ๆ ล้อมรอบด้าน และถ้ายิ่งได้มองจากที่ไกล ๆ จะเห็นพระธาตุได้อย่างชัดเจน เพราะสีทองอร่ามนั้น ตัดกันกับสีเขียวของป่าเขา

ภาษาพูด ของคนในชุมชนบ้านสวนอ้อย หย่อมบ้านแสนสุขสันติธรรม มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย 

ภาษาเขียน ภาษาเขียนของคนในชุมชนบ้านสวนอ้อย หย่อมบ้านแสนสุขสันติธรรม มีทั้งหมด 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).