Advance search

ชุมชนชาวปกาเกอะญอ พึ่งพิงธรรมชาติ ประกอบอาชีพการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน

ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
สุกฤต สิมณี
24 ม.ค. 2024
สุกฤต สิมณี
24 ม.ค. 2024
บ้านแม่อมยะ

คำว่า อมยะ นั้นเป็นชื่อของแหล่งน้ำภายในชุมชนที่ชาวบ้านได้เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ตัดสินใจตั้งชื่อของชุมชนว่า อมยะ นับแต่นั้นเป็นต้นมา 


ชุมชนชาวปกาเกอะญอ พึ่งพิงธรรมชาติ ประกอบอาชีพการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน

ท่าสองยาง
ท่าสองยาง
ตาก
63150
17.73043766390704
97.88056646626511
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองยาง

บ้านแม่อมยะ หรือ อูยะโกล เป็นชุมชนชาติพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ตั้งฐานบริเวณเทือกเขาเบอะบละตู (BERBLATOO) มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนานสืบค้นย้อนกลับไปราว 322 ปี ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และลำนำประจำถิ่น (บทธา ธาวอเก่อเจอ) ที่ระบุที่มาของชุมชน และขอบเขตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันดังนี้

1. เดลอ “แม่วะ” (บ้านแม่วะหลวงในปัจจุบัน 2564)

ตามคำกล่าวขานของผู้เฒ่าในหมู่บ้านเล่าว่า “พือจ่าเง” และ “พือยือเง” อาศัยอยู่แม่วะ แต่ด้วยลูกหลานเพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องมองหาพื้นที่ทำกินใหม่ “พือจ่าเง” จึงเจราจาขอซื้อพื้นที่บริเวณ “เทือกเขา เบอะบละตู” จากพี่น้องลัวะ ชื่อ “ก่อคอมู” ด้วยเงิน (เงินหมู.....ตามหารูป) จำนวน 300 เงินหมู และได้บันทึกขอบเขตไว้เป็นบทธา เรียกว่า “ธาวอเก่อเจอ” เป็นนำนองธาพาวาที่ใช้ในงานมงคล

“ธา วอ เก่อ เจอ”

  • บทที่ 1 “แม่ระหน่า โต่โด้โกแกล อูยะเก่อชออะหง่อแหล่” (แปล ห้วยแม่ระหน่าโต่โด้โกลและโกแกวโกล เป็นขอบเขตพื้นที่ของแม่อมยะ)
  • บทที่ 2 “โต่โด้โกแกว แม่อุคอ อูยะเก่อชออะหง่อหล่อ” (แปล พื้นที่โต่โด้โกล โกแกวโกลและแม่อุคอโกล เป็นพื้นที่สำหรับของแม่อมยะ)
  • บทที่ 3 “โนจ่อปู่ทีเล้อซูคี แหม่เหว่เกอะชอหล่อแต้ซี” (แปล โนจ่อปู่ ทีเล้อซูคีไปจนถึงห้วยแม่เหว่ยช้างตกผาตายขอบเขตแม่อมยะถึงตรงนั้น)
  • บทที่ 4 “ทีเบอะคะเลโกล้ะวะแข่ บ้อแมว่พาซีโหย่งเกอะแตะ” (แปล ขอบเขตพื้นที่แม่อมยะถึงห้วยทีเบอะคะโกล ผาเลโกล้ะวะแข่ ห้วยบ้อแมว่พาซีและหมู่บ้านโหย่กาแตะ)
  • บทที่ 5 “ทีผวะจี๋คีเหลอเป่อเฮอ เบอะบละตู่ต่าโด้เอ้อะเหง่อ” (แปล พื้นที่แม่อมยะถึงห้วยทีผวะจี๋ ผาเล้อเป่อเฮอและดอยเบอบาตู)

ในปัจจุบันคือพื้นที่บ้านแม่อมยะ บ้านแม่ปอคี บ้านปางทอง บ้านโหย่กะแตะ บ้านคูคอโกล บ้านซอแขระกลา เมื่อได้ตกลงกันเสร็จแล้ว “พือจ่าเง” และ “พือยือเง” ถึงได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ “เดลอกีโก้โด๊ะโกล” ราว พ.ศ. 2322

2.เดลอ “กีโก้โด๊ะโกล-แม่อมยะเรียก” พือจ่าเหง่และหลานยื่อเหง่ วะคอ เกวะเชอ บอยเจ ชือพอพร้อมลูกหลานมาอาศัยอยู่ละแวกนั้นมานานหลายสิบปี พือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนควรปล่อยให้พักฟื้นจึงได้ชวนคนในหมู่บ้านทั้งหมดย้ายออกจากกี่โก่โดะโกล มายังเดลอ อูยะทะเก่อโค้ะ

3. เดลอ “อูยะทะเก่อโค๊ะ” พือจ่าเหง่และลูกหลานมาตั้งถิ่นฐานอยู่อูยะทะเก่อโค้ะ และได้อาศัยอยู่ที่นี่มาหลายสิบปี ทำมาหากินตามวิถีชีวิตชาวปว่าเก่อญอ คือ ทำไร่หมุนเวียนดั้งเดิม พือจ่าเหง่เห็นว่าพื้นที่ไร่หมุนเวียนควรได้รับการพักฟื้นจึงปรึกษากับลูกหลานว่าควรหาพื้นที่ทำกินใหม่ จึงตกลงกันย้ายออกจากอูยะทะเก่อโค้ะเพื่อหาที่ทำกินไร่หมุนเวียนแห่งใหม่เลยย้ายมาอยู่ เดลอบอทะ

4. เดลอ “บอทะ” (รอบที่ 1) เกิดเหตุการณ์ฝรั่งเข้ามาตัดไม้ในพื้นที่ ใช้ช้างลากไม้ผ่านหมู่บ้านเป็นการผิดจารีตทำให้คนในหมู่บ้านเกิดการล้มตาย (เมื่อเทียบประวัติศาสตร์แล้วคือการสัมปทานป่าไม้ครั้งที่ 1 ) มีหลักฐานเป็นตอต้นไม้ พือจ่าเหง่ให้ลูกหลานมาตั้งถิ่นฐานตรงนี้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน พือจ่าเหง่ได้อยู่มาหลายสิบปีจนแก่และเสียชีวิตลงที่นี่ หลานยื่อเหง่และวะคออยู่ต่ออีกหลายปีและมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน จากการสัมปทานป่าไม้ ทำให้เกิดคนล้มตายในหมู่บ้านโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีช้างลากท่อนซุงผ่านหมู่บ้าน ทำให้ไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ได้ ยื่อเหง่และวะคอปรึกษากับชาวบ้านเพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่ และได้มาสำรวจพื้นที่เดลอพอเต่อก่อ และเห็นว่าพื้นที่เดลอพอเต่อก่อสามารถอาศัยอยู่ได้จึงพากันย้ายมาอยู่ที่เดลอพอเต่อก่อ

5. เดลอ “พอเต่อก่อ” (รอบที่ 1) ได้มาตั้งถิ่นฐานตรงนี้ได้นานหลายปี และทำไร่หมุนเวียนตามปกติ ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นนอกจากพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนควรได้รับการพักฟื้นและปล่อยให้พื้นที่ได้พักฟื้น ยื่อเหง่กับวะคอ ปรึกษากับลูกหลานในหมู่บ้านเพื่อหาพื้นที่ทำกินใหม่และตั้งถิ่นฐานใหม่จึงพากันย้ายไปอยู่ที่เก่อชอซีโกล

6. เดลอ “เก่อชอซีโกล” (พือจ่าเง เสียชีวิต) ยื่อเก่ วะคอ พร้อมลูกหลานแก่วะเชอปอยเจได้มาอยู่ด้วยกันเหมือนเดิมทำกินพื้นที่แถวนั้นเสร็จจึงย้ายตามไร่หมุนเวียนไปอยู่ที่คอแนะเล้อ

7. เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” (รอบที่ 1) ทำมาหากินตามเคยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นอยู่มาหลายปีทำกินในพื้นที่แถวนั้นเสร็จจึงย้ายไปตามไร่หมุนวียนมาอยู่ที่เดลอเด้ลาเคลอโกล

8. เดลอ “เด้ลาเคลอโกล” (รอบที่ 1) ซึ่งพือยือเก่วะคอ เป็นคนนำทำมาหากินในพื้นที่รอบ ๆ บ้านหมดก็พากันย้ายมายัง เดลอวะหมีโค้

9. เดลอ “วะมีโค๊ะ” เกิดเหตุการณ์ผิดจารีตในชุมชน จึงแยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน

  • พือยือเง” ไปสร้างหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) ในปัจจุบัน
  • พือวะคอ” ไปสร้างหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านแม่อมยะ ในปัจจุบัน ที่ “เดลอพะทอ” ราว พ.ศ. 2407 ถึง พ.ศ. 2427

ในช่วงระหว่างอยู่เดลอวะหมีโค้ ลูกสาวยือเก่ ได้ผิดผีกับลูกเจป่อย ลูกสาวยือเก่ (พาจอโม้) ได้ปรับเจป่อยด้วยเงิน30 พร้อมส้มป้อยขมิง หลังจากนั้นยือเก่กับวะคอ ได้พูดคุยกันเกิดเหตุกันเสร็จยื่อเก่กับวะคอ ได้ขอย้ายบ้านยื่อเก่ได้ไปอยู่ที่โค้โลลูก พร้อมลูกหลาน วะคอก็ได้นำลูกหลานมาอยู่ที่เดลอพะทอ พร้อมกับครอบครัวของแปะบือ มาทำกินพื้อที่เดลอพะทอและได้สร้างที่อยู่อาศัยแถวนั้นเป็นเวลานานหลายปีจนกระทั้งพื้นที่เดลอพะทอปล่อยให้พื้นที่ไร่หมุนเวียนได้ฟื้นฟูระหว่างนั้นจึงพากันย้ายไปอยู่ที่เดลอพี้โด้โมะ วะคอได้นำครอบครัวมาตั้งภารากที่พี้โด้โมะ แปะบือก็พาครอบครัวตามมาด้วยสาเหตุที่ย้ายมาก็เพื่อทำไร่หมุนเวียน อยู่มาได้หลายปีวะคอและโพแปะได้เสียชีวิตลงลูกหลานวะคอและแปะโพชื่อปุ้พอเก้เชอใกล้เชอได้พาลูกหลานย้ายกับพอเต่อก่ออีกครั้ง

10. เดลอ “พอเต่อก่อ” (รอบที่ ) ป้ะพอเส็เชอ ใกล้ะเชอพาลูกหลานกลับมาอยู่ที่เดลอพอเต่อก่ออีกครั้งและทำไร่หมุนเวียนแถวเดลอพอเต่อก่อพื้นที่ระแวกนั้นกระทั้งต้องปล่อยให้พักฟื้นป้ะพอเส้เชอใกล้เชอจึงพากันหาพื้นที่ทำกินไร่หมุนเวียนและพาลูกหลานย้ายไปอยู่เดลอคอแนะเล้อะ

11. เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” (รอบที่ 2) คลิทู กับ พาคละ พาลูกหลานกลับมาอยู่ คอแนะเล้อะ อีกครั้งกลับมาทำกินตามพื้นที่ไร่หมุนเวียน อยู่ได้หลายปีและเกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่คือ สงครามโลกครั้งที่2 มีทหารญี่ปุ่นเข้ามาในหมู่บ้านฆ่าหมู ฆ่าไก่ของชาวบ้านกิน และมารบกวนชาวบ้านอยู่เรื่อย ๆ ชาวบ้านทนไม่ไหวจึงพากันย้ายออกจากเดลอคอแนะเล้อะไปอยู่ที่ “คอซูเล้อะโกล”

12. เดลอ “คอซูเล๊อะโกล” ชาวบ้านได้หนีทหารญี่ปุ่นมาอยู่เดลอคอซูเล้อะโกลโดยมีศลิทูกับพาคละเป็นคนนำมาอยู่เหมืแนเดิมตั้งที่อยู่ตรงเดลอคอซูเล้อะโกลได้เพียงชั่วคราวแค่ 1 ปี เพื่อหนีทหารญี่ปุ่นและเมื่อสถานการณ์ปกติ พาคละกับคลิทู จึงพาลูกหลานย้ายออกจากเดลอคอซูเล้อะโกลเพราะพื้นที่ตรงนั้นไม่ค่อยมีพื้นที่ทำกินและได้ย้ายไปที่เดลอเดลอกลอโพโกล

13. เดลอ “กลอโพโกล” พาคละและคลิทูได้ทำมาหากินในพื้นที่ระแวะนั้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งพื้นที่กลอโพโกลพักฟื้น ลูกชายของพาคละ กล้อดอยหล้าดอยได้พูดคุยกับลูกหลานจึงย้ายตาไร่หมุนเวียนมีเหตุการณ์ ที่คนไทยมาใส่ชุด ข้าวยากหมากแพง มาขโมยของชาวบ้าน จื่อพรกับน้อยจ่า และหัวหน้าอีก 7คน จึงพากันย้ายไปอยู่ที่เดลอแหม่ตี่โกล

14. เดลอ “แหม่ตี้โกล” (รอบที่) หล้าดอยเป็นคนนำลูกหลานมาอยู่แหม่ตี่โกล ทำมาหากินอยู่กินเรื่อย ๆ จนกระทั้ง 3คนที่ นายพร นายจ๋า และหัวหน้าหายตัว ชาวบ้านอยู่จนกระทั้งต้องพักฟื้นไร่หมุนเวียนหล้าดอยได้นำลูกหลานไปอยู่ต่อ เก่อแนคอโกลหล้าดอยในช่วงเวลานั้นได้เงินเดือน 50บาท

15. เดลอ “เก่อแนคอโกล” หล้าดอยพาครอบครัวและลูกบ้านมาอยู่ที่เกออนคอโกล ซึ่งพื้นที่ในช่วงสันปทานป่าไม้เข้ามาขโมยไม้ใกล้หมู่บ้านชาวบ้านบางส่วนถามป่าไม้จะทำอะไร หล้าดอยจึงนำลูกหลานย้ายกลับไปอยู่ที่เดลอคอแนะเล้อะ

16. เดลอ “ฆอแหน่เล๊อะ” หล้าดอยได้นำลูกหลานกลับมาอยู่คนแนะเล้อะกลับมาทำกินพื้นที่ไร่หมุนเวียนต่อจากหลายปีที่หลังจากพักฟื้นซึ่งอยู่ทำกินในระแวะนั้นจนต้องพักฟื้น หล้าดอยได้พาลูกหลานย้ายมาอยู่ที่ เด้ลาเคลอะโกล จากนั้นหล้าดอยได้เงินเดือนเพิ่ม 100 ต่อเดือน

17. เดลอ “เด้ลาเคลอโกล” (รอบที่ 2) หล้าดอยนำลูกหลานมาอยู่ที่เด้ลาเคลอโกล ย้ายเพราะต้องทำไร่หมุนเวียนเพราะอยู่ไกลจากบ้านไม่สามารถแบกข้าวไหวต้องใช้เท้าเดินหลายชั่วโมง ทำกินแถวเด้ลาเคลอะโกลจนพื้นที่ใกล้บ้านพักฟื้นจึงทำให้หล้าดอยต้องพาลูกหลานย้ายมาที่พอเต่ก่อรอบ 3 เพื่อกลับมาทำไร่หมุนเวียน

18. เดลอ “พอเต่อก่อ” (รอบที่ 3) หล้าดอยพาลูกหลานกลับมาอยู่ที่พอเต่อก่ออีกครั้ง กลับมาตั้งถิ่นฐานที่นี่อีกรอบเพื่อทำไร่หมุนเวียนหลังจากได้พักฟื้นมานานหลายปีและหล้าดอยได้เกษียณลงและได้แต่งตั้งลูกชายขึ้นมาชื่อพาก่อหล่าเป็นผู้นำชุมชนและในช่วงนั้นได้เงินเดือน จากรัฐบาล250บาท พาก่อหล่าเป็นผู้นำได้จนถึงเงินเดือนขึ้น 700บาทและได้ลาออกจากผู้นำชุมชนและกลอดอยขั้นเป็นผู้นำแทนพาก่อหล่าได้พาลูกหลานมาอยู่ที่เดลอต่าป่าโหล่

19. เดลอ “ต่าป่าโหล่” กล้อดอยได้ให้ลูกหลานมาอยู่เดลอต่าป่าโหล่ซึ่งเป็นพื้นที่ลาดชันสามารถอยู่ได้ 2 ปี แล้วพาลูกหลานมาอยู่ที่แม่อมยะ (โป้ป้อยกว่า)

20. เดลอ “โป๊ะป้อยกว้า-แม่อมยะ” (รอบที่ 1) คนในหมู่บ้านกินชะนีเป็นเรื่องผิดจารีตทำให้คนในหมู่บ้านเสียชีวิต กล้อดอยได้ขึ้นเป็นผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการได้รับเงินเดือน 1,500 ซึ่งเป็นผู้นำได้ 2 ปีเสียชีวิตซึ่งตวยบอยเป็นผู้นำต่อจากกล้อดอยในช่วงระหว่างอยู่เดลอโป้ป้อยกว้าเกิดเหตุการณ์โรคท้องร่วงทำให้คนในชุมชนล้มตายอาจเป็นเพราะทหาร KAU หรือทหารกะเหรี่ยงจากฝ่างพม่าหนี้เข้ามากินชะนี ในช่วงนั้น นายตวยบอยได้รับเงินเดือน 2,700 ตวยบอยได้พาลูกหลานย้ายไปอยู่ที่แหม่ตี้โกล

21. เดลอ “แหม่ตี้โกล” รอบที่ 2 ตวยบอยให้ลูกหลานอยู่ที่แหม่ตี้โกล ตวยบอยอยู่ได้ปีกว่า ก็ได้ย้ายไปอยู่แม่หล่าคีจึงให้ นายส่วยลอย เกื้อธวัชชัย ขึ้นมาเป็นผู้นำแทนช่วงแรกก็ได้เงินเดือน 3,000บาท ในช่วงระหว่างนั้นถนนก็ให้คนในชุมชนเป็นคนขุด นำประปาคนในชุมชนช่วยกันแบก ปี2543 2544 ก็ได้มีการสำรวจพื้นที่โรงเรียนและสร้างขึ้น 1ปีก็ได้กลับมาย้ายหมู่บ้านอีกเพราะพื้นที่แหม่ตี้โกลเป็นพื้นที่ที่แคบและเกิดเหตุการณ์ในชุมนหินร่วมใส่บ้านทำให้สองแม่ลูกได้รับบาดเจ็บจากนั้นผู้นำในชุมชนนาย หม่อละโจ่ นายมีก่อแฮ นายโตหมุน และนายมาก้าได้พูดคุยกันจึงขอย้ายเข้าโป้ป้อยกว้า 2546

22. เดลอ “โป๊ะป้อยกว้า-แม่อมยะ” (รอบที่ 2) กลับมาตั้งถิ่นฐานครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันปี พ.ศ. 2564 ตั้งถิ่นฐานรอบในพื้นที่ “เดลอโป๊ะป้อยกว้า” รอบที่ 3 ได้ 18 ปี ปัจจุบัน 2546 เมื่อวันที่ 12-25 ปี 46 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีได้เสด็จลงมาเยี่ยมดูโรงเรียน

ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมชาวปกาเกอะญอ ดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพิงธรรมชาติ ประกอบอาชีพการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งหมู่บ้าน และการอพยพโยกย้ายมาอย่างยาวนาน ประวัติศาสตร์ชุมชนได้เล่าว่าชุมชนบ้านขุนแม่เหว่ยมีอายุรวมทั้งหมดนับตั้งแต่มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกจนถึงที่ตั้งปัจจุบัน 322 ปี

พื้นที่บ้านแม่อมยะ ดูแลพื้นที่ทั้งหมด 15,664.51 ไร่ ประกอบไปด้วยป่าจิตวิญญาณ ป่าชุมชน ป่าใช้สอย และพื้นที่ ไร่หมุนเวียน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แปลงใหญ่ ดังนี้

  1. พื้นที่ “อูยะว้า” ปลูกในปีปัจจุบัน พ.ศ. 2562 จะปลูกรอบปีต่อไปในปี 2567 มีพื้นที่จำนวน 1,883.66 ไร่
  2. พื้นที่ “แหม่ตี้ดี” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2561 จะปลูกรอบปีต่อไปในปี 2566  มีพื้นที่จำนวน 960.77 ไร่
  3. พื้นที่ “ทุ้ยโค๊ะคีโจ” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2560 จะปลูกรอบปีต่อไปในปี 2565 มีพื้นที่จำนวน 2,895.92 ไร่
  4. พื้นที่ “พอเตอกอ” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2559 ใช้ปลูกในรอบปีปัจจุบัน 2564  มีพื้นที่ 1,436.06 ไร่
  5. พื้นที่ “กลอโพโกล” ปลูกเดิมในปี พ.ศ. 2558 ปลูกในรอบปี 2563 มีพื้นที่ 903.35 ไร่ รวมทั้งหมด 8,079.76 ไร่

ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

ปกาเกอะญอ
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สามารถใช้ภาษาไทยได้ ซึ่งได้รับการเรียนการสอนจากโรงเรียนตระเวนชายแดนภายในชุมชน แต่ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ใช้ "ภาษาปกาเกอะญอ" เป็นภาษาหลักในการสื่อสารภายในชุมชน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คลังข้อมูลชุมชน. (2564). บ้านแม่อมยะ. [ออนไลน์] จาก https://communityarchive.sac.or.th/community/BanMaeOmYa

เยาวชนแม่อมยะ. [Facebook] จาก https://www.facebook.com/