Advance search

อ่างเก็บน้ำห้วยหนองคางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 “มีความเป็นอยู่ดี มีความสามัคคีรักใคร่ เอื้ออาทรต่อกัน”

หมู่ที่ 3
เนินกรวด
ศาลาลัย
สามร้อยยอด
ประจวบคีรีขันธ์
กนกวรรณ สุวัฒนะสถาพร
3 มิ.ย. 2023
ประเสริฐ ไทยอุดมทรัพย์
10 ส.ค. 2023
จิรัชยา สีนวล
24 ม.ค. 2024
บ้านหนองเป่าปี่

มูลเหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านหนองเป่าปี่ ได้จัดตั้งตามสภาพที่ตั้งดั้งเดิมเป็นป่าทึบชายเขา มีหนองน้ำใหญ่ มีสัตว์ป่าชุกชุม มีนายพรานได้มารอดักยิงสัตว์ที่ข้างป่าโป่งและหนองน้ำ และได้นำเอาใบไม้มาเป่าเพื่อเรียกสัตว์ให้มากินน้ำและดินโป่ง เสียงที่เป่าเรียกสัตว์คล้ายเสียเป่าปี่ เลยเรียกว่า "บ้านหนองเป่าปี่" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ชุมชนชนบท

อ่างเก็บน้ำห้วยหนองคางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 “มีความเป็นอยู่ดี มีความสามัคคีรักใคร่ เอื้ออาทรต่อกัน”

เนินกรวด
หมู่ที่ 3
ศาลาลัย
สามร้อยยอด
ประจวบคีรีขันธ์
77180
12.26105914
99.78109762
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลัย

มูลเหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านหนองเป่าปี่ ได้จัดตั้งตามสภาพที่ตั้ง ดั้งเดิมเป็นป่าทึบชายเขา มีหนองน้ำใหญ่ มีสัตว์ป่าชุกชุม มีนายพรานได้มารอดักยิงสัตว์ที่ข้างป่าโป่งและหนองน้ำ และได้นำเอาใบไม้มาเป่าเพื่อเรียกสัตว์ให้มากินน้ำและดินโป่ง เสียงที่เป่าเรียกสัตว์คล้ายเสียเป่าปี่ เลยเรียกว่า "บ้านหนองเป่าปี่" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บ้านหนองเป่าปี่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามร้อยยอด ประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 67 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 260 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังชุมชนบ้านเนินกรวด สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ รถตู้ และรถไฟ

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลศิลาลอย 
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านเนินกรวด หมู่ที่ 1 ตำบล ศาลาลัย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทือกเขาตะนาวศรี ประเทศพม่า

ลักษณะกายภาพ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและพื้นที่เชิงเขาเป็นบางส่วน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 14,610 ไร่ เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตร 8,946 ไร่ ท่ามกลางเทือกเขา ประชาชนส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด รับจ้าง มีอ่างเก็บน้ำห้วยหนองคางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นแหล่งน้ำทางการเกษตรและอุปโภค บริโภค

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 จำนวนครัวเรือนและประชากรชุมชนบ้านเนินกรวด จำนวน 317 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 782 คน แบ่งเป็นประชากร ชาย 405 คน หญิง 377 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกันภายในหมู่บ้าน 

ประกอบด้วยสถาบันต่าง ๆ ในชุมชน ซึ่งประกอบกันเป็นสภาพสังคมของหมู่บ้านหนองเป่าปี่ สถาบันครอบครัว มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว (พ่อ แม่ ลูก) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันแบบพี่น้อง 

กลุ่มที่เป็นทางการ

  • กลุ่มทำไม้กวาด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีคณะกรรมการ 5 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 46 คน จำนวนเงินทุนปัจจุบัน 60,000 บาท ดำเนินกิจกรรม ผลิตไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อจำหน่าย
  • กลุ่มป่าชุมชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 มีคณะกรรมการ 10 คน จำนวนเงินทุนปัจจุบัน 48,000 บาท ดำเนินกิจกรรม ส่งเสริมการปลูกป่า และส่งเสริมอาชีพในหมู่บ้านด้านแปรรูป
  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมใจ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 มีคณะกรรมการ 5 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 63 คน จำนวนเงินทุนปัจจุบัน 21,000 บาท ดำเนินกิจกรรมผลิตสินค้า ออกจำหน่ายในชุมชน เช่น ปุ๋ยชีวภาพ น้ำยาอเนกประสงค์ 
  • กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีคณะกรรมการ 5 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 57 คน จำนวนเงินทุนในปัจจุบัน 300,000 บาท
  • กลุ่มผู้ใช้น้ำ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีคณะกรรมการ 5 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 34 คน จำนวนทุนปัจจุบัน 100,000 บาท ดำเนินกิจกรรม ให้บริการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค
  • กลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีคณะกรรมการ 5 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 30 คน จำนวนเงินทุนปัจจุบัน 50,000 บาท ดำเนินกิจกรรม ในการช่วยเหลือ ส่งเสริมกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก 
  • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีคณะกรรมการ 12 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 222 คน จำนวนเงินทุนปัจจุบัน 1,314,800 บาท ดำเนินกิจกรรมบริการเงินกู้ยืมให้แก่สมาชิก นำไปประกอบอาชีพ
  • กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (กองทุน 1 ล้านบาท) ตั้งเมื่อ 2544 โดยนโยบายรัฐบาล มีคณะกรรมการ 13 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 112 คน ปล่อยกู้ให้กับสมาชิกตามระเบียบ เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนภายในหมู่บ้าน ดำเนินการปล่อยกู้เพื่อการประกอบอาชีพ ผลกำไรจัดสรรตามระเบียบของกองทุน เพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน คณะทำงานที่มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง มีสวัสดิการ 6 ด้าน
  • กลุ่มออมวันละบาท ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 ตาคม 2548 มีคณะกรรมการ 4 คน สมาชิก 60 คน จำนวนเงินทุนปัจจุบัน 139,188 บาท ดำเนินกิจกรรม รณรงค์ส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านรู้จักการเก็บออม
  • กองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้รับพระราชทานเงินขวัญถุง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2552 เป็นเงิน 8,000 บาท ปัจจุบันได้รับเงินบริจาคสมทบ จำนวน 11,800 บาท 
  • กลุ่มพัฒนาสตรีหมู่บ้าน ตั้งเมื่อ 2527 จำนวนสมาชิก 11 คน ให้การดูแลด้านสาธารณสุขมูลฐาน มีการแบ่งบ้านในการดูแลรับผิดชอบ ในการดูแลและส่งเสริมการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพให้กับคนในหมู่บ้านทุกช่วงวัย จิตอาสาคอยช่วยเหลือและพัฒนางานด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข่าวสารสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับทราบถึงโรคระบาด โรคติดต่อต่างๆ แนะนำและถ่ายทอดความรู้การดูแลรักษาเบื้องต้นเพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้โรคเกิดการระบาด การดูแลสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก การส่งต่อผู้ป่วยและติดตามการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการวางแผนป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาการเกิดโรคในหมู่บ้าน เช่นการป้องกันยุงลาย การตรวจคัดกรองเบาหวานความดัน การเก็บข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ ของคนทุกช่วงวัย และร่วมจัดทำแผนการดูแลสุขภาพร่วมกับ รพ.สต. ประธานกลุ่ม คือ นางนิตยา ศรีอันยู้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

ประชาชนในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ มีการปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนาสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น มีวัดหนองเป่าปี่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในการประกอบพิธีต่าง ๆ ตามความเชื่อของชาวบ้านในสังคมเกษตร เช่น เชื่อเรื่องบุญกรรม ส่วนประเพณีที่สำคัญที่ชาวบ้านปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน ได้แก่ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา การแต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ 

การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ ทำเกษตรกรรม ทำไร่สับปะรด ทำสวนมะม่วง ปาล์ม และชาวบ้านส่วนหนึ่งจะรับจ้างทั่วไป ปัจจุบัน การทำสวนมะม่วงมีการส่งออกต่างประเทศ ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการทำสินค้าเกษตรกรรมเพื่อการส่งออก

1.นายภาณุวัฒน์ วงษ์ชอบพอ (ผู้ใหญ่ล้วน) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2494 อายุ 72 ปี ปราชญ์ชาวบ้านด้านศาสนพิธี มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านศาสนพิธี การเป็นพิธีกรสงฆ์ งานมงคลทุกประเภท งานศพ และมีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนอักษรศิลป์ เริ่มต้นจากการเป็นแพทย์ประจำตำบล ตั้งแต่ปี 2527 ลาออกจากแพทย์ประจำตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2547 มาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ปี 2548 จนเกษียณ เมื่อปี 2552 และทุกวันนี้ ก็มีหน้าที่และบทบาทสำคัญต่าง ๆ การเป็นจิตอาสา อาสาสมัครอื่น ๆ เช่น อพม. อสม. อผส. เป็นต้น 

2.นายชีพ เทวัญพิศพงษ์ (ลุงชีพ) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2488 อายุ 77 ปี ปราชญ์ชาวบ้านด้านศาสนาพิธี และ แพทย์แผนไทย มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านศาสนพิธี การเป็นพิธีกรสงฆ์ งานมงคลทุกประเภท งานศพ การตั้งศาลพระภูมิ และมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรไทย การปัดเป่า การดับพิษไฟ กวาดยาเด็ก แก้ซางเด็ก เมื่อ อายุ 20 ปี ได้สะสมการเรียนรู้ ได้มาจากการขอเป็นลูกศิษย์กับอาจารย์ และปราชญ์ต่าง ๆ อาทิเช่น

  • อาจารย์เกี๊ยบ หรือ นายเกียรติ ซูบุระ เป็นอาจารย์ตั้งศาลพระภูมิ หมอยา มีเชื้อสายมอญ
  • อาจารย์เชื่อม ครุฑอ้น เป็นอาจารย์สอนทางศาสตร์การปัดเป่า ดับพิษไฟต่าง ๆ

3.นางสนิท กระเป๋าทอง (ป้าหนิท) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2504 อายุ 62 ปี ปราชญ์ชาวบ้านด้านคหกรรม ทำขนมไทย เดิมทีนางสนิท กระเป๋าทอง เป็นคนนครสวรรค์ มาอยู่ตำบลศาลาลัย ตั้งแต่ อายุ 4 ขวบ ซึ่งในปี 2547 ได้ไปเป็นลูกจ้างทำขนมไทย เช่น ลอดช่อง ข้าวเหนียวสังขยา ขนมถั่วดำ เป็นต้น และได้คิดค้นสูตรการทำขนมขึ้นมาใหม่ รสชาติดีขึ้น จึงทำขายเองจนถึงปัจจุบัน 

4.นางเสาวณี โรจน์บวรวิทยา (ป้าแจ๊ส) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2506 อายุ 66 ปี ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านจัดดอกไม้ ประดิษฐ์ดอกไม้ มีความรู้ความสามารถด้านการจัดดอกไม้ ประดิษฐ์ดอกไม้ ช่วยจัดดอกไม้ตามงานพิธีสมรส งานศพ และการทำขนมไทย เป็นต้น 

ผู้นำชุมชน

1.นายชัยพร สวัสดิผล ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานกรรมการหมู่บ้าน ประธานกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ดูแลด้านการพัฒนาหมู่บ้านด้านต่าง ๆ เป็นแกนนำหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน

2.นายสมพร พึ่งอยู่ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง เป็นกรรมการหมู่บ้าน คอยช่วยเหลืองานพัฒนาหมู่บ้านด้านต่าง ๆ ช่วยเหลืองานให้กับชาวบ้านในพื้นที่

3.นายสหพลดนัย สวนทรัพย์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ เป็นกรรมการหมู่บ้าน คอยช่วยเหลืองานพัฒนาหมู่บ้านด้านต่าง ๆ ช่วยเหลืองานให้กับชาวบ้านในพื้นที่

4.นางสาวพรทิพย์ บุญมา ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง เป็นกรรมการหมู่บ้าน คอยช่วยเหลืองานพัฒนาหมู่บ้านด้านต่าง ๆ ช่วยเหลืองานให้กับชาวบ้านในพื้นที่ 

5.นายนิคม ศรีอันยู้ ตำแหน่ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 

6.นายสุธี มายืนยง ตำแหน่ง สมาชิกสภา อบต. 

ทุนมนุษย์

  • ผู้นำมีความรับผิดชอบ เสียสละ และมีความเข้มแข็ง
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
  • กลุ่มองค์กรมีความเข้มแข็ง 

ทุนวัฒนธรรม

  • วัดหนองเป่าปี่ สังกัดคณะสงฆ์ เป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนาด้านต่าง ๆ ของชาวบ้าน เช่น งานทำบุญตามประเพณี งานบวช งานศพ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านหนองเป่าปี่

ทุนกายภาพ

  • อ่างเก็บน้ำห้วยหนองคาง ตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีความสำคัญกับคนในหมู่บ้านหนองเป่าปี่ เพราะใช้เป็นน้ำอุปโภค และเพื่อการเกษตร
  • หอเตือนภัยธรรมชาติ สามารถเตือนภัยธรรมชาติ ในเรื่องของแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นงบประมาณของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทยกลาง 


คนในชุมชนเริ่มห่างเหินจากความเชื่อสมัยเก่า และการเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ไม่ค่อยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน การหารือหรือพูดคุยกันเริ่มห่างเหิน ระบบความคิดของคนรุ่นใหม่ในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อในมิติต่าง ๆ ที่มีความรวดเร็ว เชื่อมโยงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ เกิดช่องว่างระหว่างวัย ประกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ที่สอนให้คนเชื่อในหลักการทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและความเชื่อ


ชุมชนบ้านหนองเป่าปี่ ยังคงเผชิญกับความท้าทายด้านภัยธรรมชาติ แห้งแล้ง ไม่มีน้ำในการทำเกษตรกรรม เกิดความเสียหาย ทำให้การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรหยุดชะงัก ผลผลิตตกต่ำ เป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้จนปัจจุบัน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ชีพ เทวัญพิศพงษ์, สัมภาษณ์, 3 มิถุนายน 2566

แผนชุมชนบ้านหนองเป่าปี่, สัมภาษณ์, 3 มิถุนายน 2566

สนิท กระเป๋าทอง, สัมภาษณ์, 3 มิถุนายน 2566

องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลัย, สัมภาษณ์, 3 มิถุนายน 2566