Advance search

บ้านแม้ส้านมีความโดดเด่นจากอัตลักษณ์ของชุมชนและความสามารถของชุมชนที่สร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติได้สมบูรณ์ โดยไม่ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเอง

บ้านแม่ส้าน
บ้านดง
แม่เมาะ
ลำปาง
สุกฤต สิมณี
24 ม.ค. 2024
สุกฤต สิมณี
24 ม.ค. 2024
บ้านแม่ส้าน

ที่มาของชื่อบ้านแม่ส้าน สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากลำน้ำที่ชาวบ้านในพื้นใช้ คือ ห้วยแม่ส้าน (ที่มาของคำว่าส้าน อาจมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อ ต้นส้าน)


บ้านแม้ส้านมีความโดดเด่นจากอัตลักษณ์ของชุมชนและความสามารถของชุมชนที่สร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติได้สมบูรณ์ โดยไม่ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเอง

บ้านแม่ส้าน
บ้านดง
แม่เมาะ
ลำปาง
52220
18.626922626830055
99.77454254202169
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง

เมื่อประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา มีชาวกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งอพยพมาจาก หมู่บ้านสลก-สลอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านห้วยเกี๋ยง จํานวน 5 หลังคา ต่อมาจํานวนชาวบ้านเพิ่มขึ้นทําให้เกิดปัญหาการปกครองเกิดความขัดแย้งทางด้านศาสนาจึงเกิดการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม บางกลุ่มแยกย้ายไปอยู่บ้านกลาง บ้านห้วยตาด บ้านแม่ฮ่าง ส่วนที่เหลือแยกย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่ห้วยแม่ส้าน (ปัจจุบันคือบริเวณทางไปป่าช้า) ต่อมาเกิดโรคอหิวาตกโรคและไข้มาลาเรียระบาดอย่างหนักจึงอพยพมาอยู่บ้านแม่ส้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ปัจจุบัน

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

พื้นที่ราบสลับกับภูเขาสูงตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 950 เมตร เป็นป่าดิบชื้น ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบเป็นเนื้อไม้อ่อน 

อาณาเขตติดต่อ 

  • ทิศเหนือ ติดกับ อําเภองาว
  • ทิศใต้ ติดกับ ชุมชนบ้านกลาง
  • ทิศตะวันออก ติดกับ อําเภองาว
  • ทิศตะวันตก ติดกับ อําเภอแจ้ห่ม

บ้านแม่ส้านมีประชากรจํานวน 443 คน 127 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และความเชื่อดั้งเดิมจำนวน 104 หลังคาเรือน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก กลุ่มชาวบ้านที่นับถือศาสนาคริสต์จะอยู่แยกออกไป บ้านแม่ส้านมีสำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง และโบสถ์คริสต์ จำนวน 1 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา จํานวน 1 แห่ง นอกจากนั้น มีร้านขายของชำจํานวน 4 ร้าน และทุกหลังคาเรือนจะมีรถยนต์หรือมอเตอรไซค์อย่างน้อยจํานวน 1 คัน

ในพื้นที่บ้านแม่ส้านมีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดสองกลุ่ม

  1. ปกาเกอะญอ
  2. โพล่ง

ปกาเกอะญอ, โพล่ง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปฏิทินทำการเกษตรชุมชนบ้านส้าน

เดือนกิจกรรม
มกราคม-กุมภาพันธ์เลือกพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
กุมภาพันธ์-มีนาคมเริ่มฟ้นต้นไม้เพื่อเตรียมพื้นที่ทำไร่
มีนาคม-เมษายนเผาไร่และเก็บซากไม้ออกจากพื้นที่ 
พฤษภาคมเริ่มเพาะกล้าพันธุ์พืชผักและปลูกพืชผักต่าง ๆ
มิถุนายน-กรกฎาคมเริ่มหยอดช้าวและพืชผัก
กรกฎาคม-ตุลาคมดายหญ้า
พฤศจิกายน-ธันวาคมเก็บเกี่ยวและตีข้าว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนกายภาพ

  • พื้นที่ภูเขา อุดมสมบูรณ์ทำให้สามารถสร้างรายได้จากพื้นที่ได้

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • ความรู้ของชาวบ้านในการที่ให้รอดพ้นจากปัญหาและการพยายามรักษาธรรมชาติให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ยาวนาน

ปัจจุบันคนในพื้นที่ก็สามารถใช้ภาษาราชการไทยได้แล้ว แต่ก็ยังคงอนุรักษ์และยังพูดภาษาดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยชาวโพล่งก็จะใช้ภาษาโพล่ง ส่วนปกาเอะญอก็จะใช้ภาษาของตนเอง


พื้นที่บ้านแม่ส้านชุมชนพยายามสร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างธรรมชาติและชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกัน ด้วยการเพิ่มพืชเศรษฐกิจที่อยู่นอกเหนือจากพืชในไร่หมุนเวียน โดยปลูกต้นมะแขว่น ที่สร้างรายได้สูงสุดในและมากกว่า 79% และหน่อไม้ 10% กาแฟ  6% ข้าวก่ำและหรือข้าวดำ 3% และอื่น ๆ 2% โดยทั้งหมดนี้สร้างรายได้ให้ชุมชนมากกว่า 5 ล้านต่อปี


พิธีกรรมเลี้ยงผีฝาย

การเลี้ยงผีฝายคือการทำให้แก่ฝายและทำบนที่กักเก็บน้ำ ที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าจะมีผีและเทพอาศัยอยู่ในและคอยปกปักรักษาให้พื้นที่มีทั้งความอุดมสมบูรณ์และมีน้ำใช้ในทุก ๆ การทำการเกษตร โดยพิธีนี้เป็นการสร้างกำลังใจและเสริมให้การเกษตรของชุมชนสามารถทำได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น 

พิธีกรรมเลี้ยงผีไฟ

การเลี้ยงผีไฟก็มีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตการเกษตรของชุมชน โดยพิธีกรรมเลี้ยงผีไฟนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้เทพและผีที่ดูแลชุมชนช่วยไม่ให้ไฟในพื้นที่สร้างปัญหาและสามารถจัดการกับปัญหาไฟได้ง่าย จึงความจำเป็นในเซ่นไหว้เพื่อบรรเทาปัญหาไฟให้เบาบางลงไป


ประชากรในพื้นที่พยายามต่อต้านการขึ้นทะเบียนอุทยาน ซึ่งจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ไปตลอดกาล ส่งผลให้ชุมชนพยายามต่อต้านการขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติ ที่ทำให้พื้นที่ทำมาหากินตั้งแต่อดีตของตนเองเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ส่งผลให้ชุมชนยังสามารถทำไร่หมุนเวียนในชุมชนได้และไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีขีวิตของตนเอง

แต่อย่างไรก็ตามการทำการเกษตร การเผาป่าของชุมชนก็มีบางกลุ่มมองว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อม ไฟป่าและการสร้างปัญหามลพิษในภาคเหนือ อาจจะปฏิเสธไม่ได้ว่าก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาไม่ได้เกิดจากลุ่มชาวบ้านเพียงอย่างเดียวที่สร้างปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ยังมีตัวแปรอื่นที่สร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย


แม่ต๋า
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คลังข้อมูลชุมชน. (2564). บ้านแม่ส้าน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ. [ออนไลน์]. จาก https://communityarchive.sac.or.th/community

ศูนย์การศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา. (2564). ไฟและมะแขว่น ในวิถีไร่หมุนเวียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ บ้านแม่ส้าน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่