Advance search

คลองดำเนินสะดวก

บ้านแพ้วชุมชนริมคลองดำเนินสะดวกที่มีความเจริญรุ่งเรืองจากการที่ขุดคลองขึ้นมาใหม่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างสายน้ำต่างๆ แม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375 และทางหลวงชนบทหมายเลข สค. 3011
บ้านแพ้ว
บ้านแพ้ว
สมุทรสาคร
สุกฤต สิมณี
25 ม.ค. 2024
สุกฤต สิมณี
25 ม.ค. 2024
บ้านแพ้ว
คลองดำเนินสะดวก

ที่มาของชื่อ "บ้านแพ้ว" มีที่มาจากสัญลักษณ์ของคนยุคก่อนในสมัยที่พื้นที่อำเภอบ้านแพ้วมีสภาพเป็นป่าทึบชายทะเล อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และไม้นานาชนิด ทำให้มีผู้คนบริเวณใกล้เคียงเดินทางเข้ามาล่าสัตว์และแสวงหาผลิตผลจากป่าเพื่อดำรงชีวิต ด้วยเหตุที่พื้นที่ดังกล่าวมีบริเวณกว้างและมีลำธารธรรมชาติมาก ที่สำคัญได้แก่บริเวณคลองหมู่ทอดและคลองแพ้ว จึงกลายเป็นแหล่งนัดพบของประชาชน ซึ่งจะหาไม้ไผ่หรือต้นไม้สูงแล้วนำผ้าไปผูกไว้ (เรียกว่า แพ้วธง) เพื่อป้องกันการหลงทางและเป็นจุดนัดพบ จนกระทั่งประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้นจึงเรียกชื่อชุมชนว่า "หมู่บ้านแพ้ว"


บ้านแพ้วชุมชนริมคลองดำเนินสะดวกที่มีความเจริญรุ่งเรืองจากการที่ขุดคลองขึ้นมาใหม่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างสายน้ำต่างๆ แม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375 และทางหลวงชนบทหมายเลข สค. 3011
บ้านแพ้ว
บ้านแพ้ว
สมุทรสาคร
74120
13.589813511518793
100.10633874439294
เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว

ชุมชนแห่งเกิดจากความต้องการของรัชกาลที่ 4 ที่ต้องการเชื่อมแม่น้ำระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง โดยระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีนมีการขุดคลองภาษีเจริญ และระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองได้ขุดแม่น้ำดำเนินสะดวก โดยชุมชนบ้านแพ้วตั้งอยู่ในระหว่างแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง  โดยเกิดขึ้นหลังจากมีการขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นในปี 2409 สาเหตุประการหนึ่งเนื่องจากต้องการย่นระยะเวลาการเดินทางจากจังหวัดสมุทรสาครไปยังจังหวัดราชบุรี เนื่องจากแรงงานจีนที่เข้ามาขุดคลองได้เข้ามาจับจองพื้นที่สร้างบ้านเรือนประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่สองฝั่งคลองดำเนินสะดวกเป็นคนจีน ตั้งหลักฐานบ้านเรือนกระจายอยู่ริมคลอง คนจีนที่อพยพเข้ามาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างตามเรือกสวนไร่นา ทำน้ำตาล และรับจ้างแบกข้าวสารตามท่าเรือต่างๆ

นอกจากนั้นยังมีการทำสวน ผลผลิตหลักๆ คือสวนผักและผลไม้ อาทิเช่น พริก หอม กระเทียม ผักกาดขาว คะน้า ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แตงร้าน แตงไทย ฟักทอง ข้าวโพด ส้ม ฯลฯ โดยผลผลิตที่ได้จากสวนก็นำไปค้าขายตามลำคลอง ด้วยเรือพายหรือเรือเอี๊ยมจุ้น ซึ่งการคมนาคมในช่วงเวลาดังกล่าวชาวบ้านจะใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก

เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณคลองดำเนินสะดวกจะนำเอาเอกลักษณ์ของจีนเข้ามาด้วย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีพิธีกรรม เช่น ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่เกิดไปจนตาย ประเพณีในรอบปี เป็นต้น

สภาพภูมิประเทศ

ที่ราบลุ่มแม่ลำน้ำสาขาหลายสายไหลผ่านในพื้นที่ ทำให้พื้นที่สามารถทำการเกษตรด้ทั้งปี

อาณาเขตติดต่อ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหลักสาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

ชุมชนชาวจีน ตั้งเข้ามาอยู่จากการที่คนที่ภายหลังจากการขุดเสร็จของคลองดำเนินสะดวก โดยได้เข้ามาจับจองพื้นที่สองข้างทางชุมชนดำเนินสะดวกเพื่อตั้งถิ่นฐานและทำมาหากินในคลอง ซึ่งชาวจีนเหล่านี้ได้เปรียบ อีกทั้งยังมาวมอญที่ยังมีประเพณและวัฒนธรรมของตน โดยชาวมอญส่วนใหญ่ย้ายนมาในราวสมัยพระนเรศวร ส่วนชาวไทยดำนั้นถูกวาดต้อนมาในช่วงราว สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชที่ได้กวาดตอนเชลยมาจากเมืองลาว 

จีน, ไทดำ, มอญ
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปฏิทินชุมชนบ้านแพ้ว

เดือน

กิจกรรม
เดือนที่ 1
  • ตรุษจีน 
เดือนที่ 4
  • เช้งเม้ง
เดือนที่ 5
  • ไหว้บะจ่าง
เดือนเจ็ด
  • ทำบุญเทกระจาด

เดือนเก้า

  • วันสารจีน
  • กินเจ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนสังคม/การเมือง

  • นโยบายของรัฐทำให้พื้นที่ขุมชนนี้เกิดขึ้น โดยการสร้างเส้นทางสัญจรทางน้ำที่เป็นเส้นทางหลักของในสังคมยุคนั้น ส่งผลให้ชุมชนแห่งนี้เจริญเติบโตอย่างมาก

ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ และใช้ภาษาจีนในบางครอบครัว อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวันคนในพื้นก็ไม่ได้ใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน แค่อาจจะหลุดบางคำบ้างในคำศัพท์ที่เฉพาะ เช่นเรื่องในชีวิตประจำวัน แต่อาจจะหากลุ่มที่พูดภาษามอญได้ยากมากกว่าเพราะว่ากลุ่มชาวมอญในพื้นที่เป็นเศรษฐีในสวนส่วนใหญ่ ทำให้ในชุมชนอาจจะไม่พบการพูด ซึ่งปัญหาที่พบเจอคืนคนเกิดมาสมัยใหม่ไม่นิยมพูดหรือมีผู้พูดน้อยลงเลยทำให้ภาษาเริ่มมีคนใช้น้อยลง แต่อาจจะสามารถฟังได้เป็นบางคำ


สถานการณ์ปัจจุบันของพื้นที่ชุมชนคลองดำเนินสะดวก จังหวัดสมุทรสาคร ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากแผนนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติที่เน้นให้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของชุมชนในหลายด้าน โดยปัจจุบันชุมชนได้หันมาปลูกไม้ผลยืนต้นและเน้นการส่งออกแทน เช่น สวนเมล่อน สวนมะพร้าว และสวนอินทผลัม เป็นต้น นอกจากนั้นชุมชนริมคลองดำเนินสะดวกยังยังหาทำธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแผนนโยบายพัฒนาของชุมชนอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามจากการี่งานและความเจริญรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพมหานครและอาชีพการเกษตรมีปัญหาคือการขาดผู้ทำการเกษตรต่อซึ่งเด็กที่มีการศึกษาส่วนมากมักจะประกอบอาชีพที่ตนเองต้องการ


ในอดีตเส้นทางน้ำเป็นเส้นทางหลักในการดำเนินชีวิตของผู้ในย่านดำเนินสะดวก เส้นทางนำมาซึ่งความเจริญทางเศราฐกิจให้แก่ชุมชนทำให้สินค้าจากพระนครสามารกระจายออกไปสู่สายน้ำและลำคลองได้อย่างง่ายดาย แต่ภายหลังการเข้ามาของถนนทั้งถนนเพชรเกษม และถนนพระรามสองหรือธนบุรีปากท่อ ทำให้เส้นทางการเดินทางทั้งสองทำให้เส้นทางการเดินเรือค่อยลดความสำคัญและกลายเป็นการสัญจรภายในชุมชน ในที่สุด


พื้นที่บ้านแพ้วมีโรงพยาบาลที่ใหญ่และเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่นอกระบบจากการที่ได้รับการสนับสนุนทังรัฐและเอกชน ส่งผลให้มีความคล่องและสามารถพัฒนาโรงพยาบาลของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถขยายและให้บริการได้ครอบคลุมและกระจายพื้นที่ในการให้บริการมากยิ่งขึ้น


ถึงแม้ว่าในพื้นที่นี้จะมีความต่างทางด้านเชื้อชาติแต่ในแง่ทางวัฒนธรรมก็ไม่ได้มีความทับซ่้อนเท่าไหร่่คนในพื้นที่ต่างอยู่ในสังคมที่ต่างทางวัฒนธรรมได้อย่างสันติเนื่องจากปัจจัยที่ตคนไม่ได้ใช้วัฒนะรรมเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิต

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คลังข้อมูลชุมชน (ที่มา https://communityarchive.sac.or.th/community)

ศศิธร ศิลป์วุฒยา. (2563). ชุดโครงการศึกษาพลวัตของสังคมวัฒนธรรมในชุมชนชาติพันธุ์เพื่อการสร้างแผนที่มีชีวิต ปีที่ 2 : สำรวจและจัดทำข้อมูลวัฒนธรรมชุมชนชาติพันธุ์ในจังหวัดสมุทรสาคร. ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน)