หมู่บ้านหัตถกรรม จัดจานไม้ไผ่ ทอผ้าไหมมัดหมี่ เลี้ยงโคพันธุ์ดี ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ปลอดสารพิษ ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านดอนหัน เพราะว่าบริเวณที่ตั้งนั้นเป็นที่ดอนสูง และมีป่าไม้หัวแดงมาก จนชาวบ้านได้เรียกกันว่า บ้านดอนหัน
หมู่บ้านหัตถกรรม จัดจานไม้ไผ่ ทอผ้าไหมมัดหมี่ เลี้ยงโคพันธุ์ดี ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ปลอดสารพิษ ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ภูมิลำเนาบ้านดอนหัน อพยพมาจากเมืองชนบทในสมัยนั้น โดยการนำของนายพรหมราช ซึ่งได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามหัวไร่ปลายนา ได้อาศัยหนองน้ำสระคร้อเป็นน้ำดื่ม ส่วนน้ำทำเกษตรกรอาศัยน้ำจากลำห้วยหนองเอี่ยน ต่อมาได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านดอนหัน สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านดอนหัน เพราะว่าบริเวณที่ตั้งนั้นเป็นที่ดอนสูง และมีป่าไม้หัวแดงมาก จนชาวบ้านได้เรียกกันว่า บ้านดอนหัน ช่วงที่อพยพมามีครอบครัวด้วยกัน 10 ครอบครัว มีประชากรรวมกัน 40 คน จึงกลายเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เมื่อมีหมู่บ้านและจำนวนประชากร จึงได้แยกออกมาขึ้นกับตำบลห้วยแกภูมิลำเนาบ้านดอนหัน อพยพมาจากเมืองชนบทในสมัยนั้น โดยการนำของนายพรหมราช ซึ่งได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามหัวไร่ปลายนา ได้อาศัยหนองน้ำสระคร้อเป็นน้ำดื่ม ส่วนน้ำทำการเกษตร เกษตรกรอาศัยน้ำจากลำห้วยหนองเอี่ยน
สภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านดอนหันเป็นที่ราบลุ่มต่ำปนทราย ติดแนวเทือกเขาภูพานคำ มีห้วยหนองเอี่ยน อ่างเก็บน้ำภายในหมู่บ้านใช้ในการเกษตร สภาพถนนมีถนนลาดยางมะตอยและถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนบางส่วนเป็นดินลูกรัง อุณหภูมิสูงสุดโดยประมาณ 37-40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15-18 องศาเซลเซียส บ้านดอนหันมีวัด 1 แห่ง คือ วัดแสงอุดมสิทธิราชมีพระภิกษุ 3 รูป ไม่มีสามเณร มีโรงเรียน 1 แห่ง คือโรงเรียนบ้านห้วยแกดอนหันหนองหญ้าม้า ใช้ร่วมกับบ้านห้วยแกและหนองหญ้าม้า นักเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่บ้านห้วยแกซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน 1 กิโลเมตร บ้านดอนหันอยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่น 69 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอชนบท 13 กิโลเมตร มีร้านค้าภายในหมู่บ้าน 4 แห่ง ร้านค้าประชารัฐ 1 แห่ง มีโรงสีข้าว 3 แห่ง สภาพทั่วไปของพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ แบ่งฤดูกาลตามสภาพอากาศได้ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ที่ตั้งอาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับบ้านโข่ง ม. 1 ตำบลห้วยแก
- ทิศใต้ ติดกับบ้านห้วยแก ม. 3 ตำบลห้วยแก
- ทิศตะวันออก ติดกับบ้านแท่น ม. 1 ตำบลบ้านแท่น
- ทิศตะวันตก ติดกับบ้านห้วยแก ม.2 ตำบลห้วยแก
แหล่งน้ำทรัพยากรธรรมชาติ บ้านดอนหันมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือลำห้วยหนองเอี่ยนและลำห้วยแก เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร แต่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้งแหล่งน้ำตื้นเขินการเกษตรจึงอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว
จำนวนประชากรในการสำรวจข้อมูลจากพื้นที่ทั้งหมด 645 คน ประชากรเพศชายทั้งหมด 299 คน คิดเป็นร้อยละ 46.36 ประชากรเพศหญิงทั้งหมด 346 คน คิดเป็นร้อยละ 53.64 มีจำนวนครัวเรือน 160 ครัวเรือน
จำนวนและร้อยละของประชากรจำแนกตามอายุและเพศ
- ประชากรเพศชายทั้งหมด 299 คน คิดเป็นร้อยละ 46.36
- ประชากรเพศหญิงทั้งหมด 346 คน คิดเป็นร้อยละ 53.64
จากภาพประกอบแผนภูมิปิรามิดแสดงจำนวนประชากร จำแนกตามอายุ และเพศ พบว่าชุมชนบ้านดอนหันมีประชากรทั้งหมด 645 คน ประชากรเพศชายทั้งหมด 299 คน คิดเป็นร้อยละ 46.36 ประชากรเพศหญิงทั้งหมด 346 คน คิดเป็นร้อยละ 53.64 แสดงถึงชุมชนมีประชากรในช่วงอายุมากที่สุด คือ 40-44 คิดเป็นร้อยละ 7.60 และจำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 21.55 ซึ่งถือว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้คาดการณ์ว่า อีก 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า ประชากรในกลุ่มวัยกลางคนนี้จะทำให้ชุมชนมีประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้มีปัญหาสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เป็นต้ น
และจากการ ลงพื้นที่สำรวจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 160 หลังคาเรือน พบว่า ประชาชนในบ้านดอนหัน ส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างแบบครอบครัวขยาย คือครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ญาติพี่น้องอาศัยรวมกันจำนวน 132 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 82.50 ครอบครัวเดี่ยว จำนวน 28 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 17.50
1.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยจัดตั้งจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริการทางด้านสุขาพต่อประชาชนในชุมชนเดียวกัน
การคัดเลือกบุคคลที่มาเป็น อสม. ในสมัยก่อนคัดเลือกจากชาวบ้าน และผู้ที่มีจิตอาสา แต่ในปัจจุบันจะคัดเลือกจากสมาชิกในกลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. มองเห็นว่าบุคคลใดมีความเสียสละ พร้อมจะทำงาน จะคัดเลือกไว้ และถามความสมัครใจของบุคคลนั้นด้วย ในกรณีพ้นสภาพการเป็นสมาชิกอสม. มาจากการลาออกและเสียชีวิตเท่านั้น ปัจจุบัน อสม.ได้รับเงินเดือน 1,000 บาท/เดือน
วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและเพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริการทางด้านสุขภาพต่อประชาชนในชุมชนเดียวกัน และเพื่อให้มีบริการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในหมู่บ้าน
ภารกิจและบทบาท
- ดูแลสุขภาพให้กับประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบทุกช่วงวัยที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ ทั้งในด้านส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน
- ด้านการควบคุมและป้องกันโรค : การคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีการชั่งน้ำหนักให้เด็ก ได้มีการรณรงค์ไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
- ด้านการฟื้นฟู การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังและการเยี่ยมผู้สูงอายุ
ผลงาน
- รณรงค์ทำความสะอาดรอบหมู่บ้าน เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
- การทำงานร่วมกับทีมรพ.สต.ห้วยแก ป้องกันไข้เลือดออก
2.กลุ่มสายใยรักแห่งครอบครัวในบรมราชินูปถัมภ์ เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2550 โดยโครงการ “สายใยรักแห่งครอบครัว” ซึ่งเกิดจากปฏิธานของ พลตรีหญิง ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถาบันครอบครัวมีความรักความอบอุ่น และในครอบครัวมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม และลดการแยกย้ายสมาชิกในครอบครัวจากชุมชนชนบทสู่สังคมเมือง
3.ร้านค้าประชารัฐ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2559 เงินสนับสนุนได้มาจากโครงการของทางรัฐบาลมาใช้ในการก่อสร้างและซื้ออุปกรณ์เริ่มแรกเป็นจำนวน 500,000 บาท เปิดเป็นร้านขายของชำ โดยมี นายสำราญ แสงจันทร์ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นตำแหน่งประธาน
4.กลุ่มทอผ้าไหม เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2528 โครงการรวมกลุ่มกันของคนในหมู่บ้านมี นางบุญตา สินโพธิ์ เป็นประธาน โดยได้รับงบประมาณมาจาก พัฒนาชุมชน เป็นจำนวน 4,000 บาท โดยนำมาซื้อเป็นอุปกรณ์ในการทอผ้า เช่น สีย้อมไหม และไหม มีสมาชิกเริ่มแรก 15 คน ประธานคือ นางอรทัย วันบัวลา ต่อมาในปี 2551 มีนางทองเตา อนุมาตย์ เป็นประธานจนถึงปัจจุบัน ทางกลุ่มได้ส่งผ้าไหมเข้าประกวดที่งาน O-TOP ได้รับรางวัลและได้รับงบประมาณจาก พัฒนาชุมชน อยู่เรื่อยมา ปัจจุบันกลุ่มทอผ้ามีสมาชิกทั้งหมด 80 คน
ผลงาน
- ปี 2552 ส่งผ้าไหมเข้าประกวดงาน OTOP ได้รับรางวัล 2 ดาว
- ปี 2553 ส่งผ้าไหมเข้าประกวดงาน OTOP ได้รับรางวัล 4 ดาว
5.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงโคพันธุ์ดี จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2549 เป็นโครงการเสริมสร้างอาชีพ โดยมีการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร ส.ป.ภ. มีเงินงบประมาณให้สมาชิกกู้จำนวนหนึ่งเพื่อมาซื้อโคพันธุ์ดี โดย 3 ปีแรก ไม่เก็บดอกเบี้ย ปีต่อไปคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท และเงินที่กู้ยืมไปต้องจ่ายทั้งต้นทั้งดอกภายใน 5 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 15 คน ดอกเบี้ยคิดร้อยละ 4 บาท/ปี
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคพันธุ์ดี/สร้างรายได้
ผลงาน
- กลุ่มปุ๋ยคอก : โดยให้สมาชิกแต่ละคนนำปุ๋ยคอกเข้ากลุ่มเดือนละ 2 ถุง
- การฆ่าวัวขายเนื้อ : การฆ่าวัวเดือนละ 1 ตัว แล้วนำเงินมาหมุนเวียนในกลุ่มโดยให้สมาชิกต้องมาร่วมกันทุกครั้ง
- ทำน้ำยาล้างจาน : โดยซื้ออุปกรณ์มาแล้วเบ่งให้สมาชิกไปทำแล้วนำไปขายนำเงินเข้ากลุ่ม
ปัญหา
- เมื่อก่อนกลุ่มมีการเก็บเงินออมเดือนละ 50 บาท ปัจจุบันเลิกเก็บเนื่องจากสมาชิกแต่ละคนเป็นสมาชิกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างเรียกเก็บเงินออม สมาชิกแต่ละคนลงมติว่าต้องเสียค่าเงินออมหลายทางจ่ายไม่ไหว จึงยกเลิกการเก็บเงินออมในกลุ่มไป
6.กลุ่มปลูกข้าวพันธุ์ดี (ข้าวหอมมะลิอินทรีย์) โครงการส่งเสริมอาชีพการทำนาโดยการจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว (ข้าวพันธุ์ดี) จัดตั้งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 โดยได้รับเมล็ดข้าวพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ซึ่งดำเนินการโดยสำนึกงานเกษตร อำเภอชนบท จำนวน 60 กระสอบ หรือ 1,500 กิโลกรัม เพื่อให้เกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนำไปเพาะปลูก โดยเริ่มแรกมีนายประดิษฐ์ สะเดา เป็นประธานกลุ่ม มีการสร้างกติกากลุ่มร่วมกัน คือ เสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า คนละ 20 บาท, ผู้มีสิทธิ์กู้ข้าวพันธุ์ดีได้นั้นต้องเป็นสมาชิกภายในกลุ่ม, ข้าวที่กู้ยืมไปนั้นต้องนำมาส่งคืนหลังฤดูเก็บเกี่ยว, การส่งคืนข้าวต้องส่งคืนกลุ่มในอัตรา 1:1 คิดเป็นกิโลกรัม, ในกรณีที่สมาชิกเพาะปลูกไม่ได้ผลสมาชิกต้องจ่ายเป็นเงินสดแทนในราคาตามความเป็นจริงโดยมี สมาชิกเริ่มแรกประมาณ 20 คน และมีนางประดิษฐ์ สะเดา เป็นประธาน และประธานคนปัจจุบัน คือ นายไพศาล คำดี มีสมาชิกทั้งหมด 24 คน
วัตถุประสงค์ ร่วมกับผลิตข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี
ผลงาน
- การร่วมสาธิตการทำข้าวฮาดงอก ปี 2552
- โครงการเครื่องรีดถุงพลาสติก
- การทำข้าวเม้า
ปัญหา
- ขาดเมล็ดพันธุ์ดี
- ผลผลิตคุณภาพต่ำ ผลผลิตต่ำ
- ต้นทุนการผลิตสูง
7.กลุ่มจักรสาน เริ่มต้นเมื่อปี 2550 จากการรวมตัวกันของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความสามารถในการจักรสาน โดยมีการรวมกลุ่มกันอยู่บ้าน นายบุญเกิด กสิบุตร มีสมาชิกประมาณ 6-7 คน โดยสมาชิกในกลุ่มได้จักรสานเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติบข้าวเหนียว ไซดักจับปลา ตะกร้า กระตง โดยผู้ที่สนใจในผลงานจะมาสั่งทำถึงที่บ้าน ต่อมาได้รับเงินสนับสนุนจาก อ.บ.ต. และได้จัดกลุ่มเป็นทางการมากขึ้นโดยมี นายบุญเกิด กสิบุตร เป็นประธาน เงินงบประธานที่ได้จัดแบ่งให้สมาชิกแต่ละคนกู้ยืมไปในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อไปซื้ออุปกรณ์และเป็นเงินทุนในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีการเก็บดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาท/ปี คืนเข้ากลุ่ม ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนประธานคนใหม่ คือ นายเสวียน หาบ้านแท่น
ผลงาน
- ได้มีการจัดแสดงผลงานและออกจำหน่ายตามงานต่างๆเป็นประจำ เช่น งานไหม งานในตัวเมือง อำเภอที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
ปัญหา
- ปัจจุบันสมาชิกมีความแก่ชรามากขึ้น เดินไปมาลำบาก ไม่สะดวกที่จะมารวมตัวกัน จึงแยกย้ายไปจักรสานที่บ้านของตน ไม่ได้มีการรวมกลุ่มเหมือนเมื่อก่อน
ปฏิทินประเพณี
- เดือนธันวาคม - มกราคม : จะมีการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ ในบางปีจะมีการบายศรีสู่ขวัญให้ผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นการขอพรสะเดาะเคราะห์ในชุมชน ต้อนรับสิ่งใหม่ๆเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัวและชุมชน
- เดือนกุมภาพันธ์ : จะมีการทำบุญประทายข้าวเปลือกเรียกว่า บุญข้าวกุ้มใหญ่หรือบุญคูณลาน ชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะนำข้าวเปลือกไปบริจาคที่วัดตามจิตศรัทธาและบูชาไปรับประทานนำเงินที่ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดและนำไปใช้
- เดือนมีนาคม : บุญข้าวจี่ชาวบ้านถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นวันทำบุญที่ชาวบ้านนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกตักใส่ครก ที่เรียกว่า ครกมอง ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำตาล น้ำอ้อย ไข่ กะทิสด แล้วนำไปวางแป้นพิมพ์นำไปผึ่งให้แห้งแล้วนำไปปิ้งเรียกว่าข้าวโป่งแล้วนำไปถวายพระ
- เดือนเมษายน : บุญเดือนสี่ทำบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวดหรือพระเวสสันดร ชาวบ้านจะมีการตกแต่งศาลาด้วยโคมไฟ ดอกไม้แห้ง และธง เพื่อความสวยงาม ในช่วงเช้าจะมีการเทศน์และทำบุญตักบาตร มีการแห่ภาพพระเวทหรือพระเวสสันดรซึ่งเป็นการเล่าประวัติของพระเวสสันดรตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องงานประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ แห่ทรายเข้าวัด สรงน้ำพระและบรรพบุรุษ มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ในบ้าน
- เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม : เป็นการทำบุญเบิกบ้านและทำบุญบั้งไฟปัดเป่าทุกข์ร้อนจากบ้านและเป็นการเตรียมก่อนการทำนาทำ เพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล ในวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา ชาวบ้านจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้า ส่วนในตอนเย็นจะมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดและเริ่มลงมือทำนา
- เดือนสิงหาคม : เป็นงานบุญประเพณีเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้าและมีการแห่เทียนพรรษามีการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุและมีการจำวัดของผู้เฒ่าผู้แก่ในวัดตลอดช่วง 3 เดือนที่เข้าพรรษา ทางบ้านก็จะมีการจัดงานบวชลูกชาย เพราะเชื่อว่าพ่อแม่จะมีการไปทอดเทียนถวายเทียนพรรษาแลกเปลี่ยนตามวัดต่างๆและในแต่ละปีจะมีการกำหนดหมู่บ้านที่จะทอดเทียนในปีนั้นซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกๆปีและในตอนกลางวันจะมีการแข่งขันกีฬาร่วมกันเพื่อความสนุกสนานและสร้างความสามัคคีในชุมชน
- เดือนกันยายน - ตุลาคม : ประเพณีข้าวประดับดิน แรม 15 ค่ำ ชาวบ้านจะนำอาหารให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตไปแล้ว อาหารสุกจะถวายให้พระ หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาจะนำอาหารไปถวายให้พระแม่ธรณีพระโพธิสัตว์เพื่อให้ข้าวในนาเจริญงอกงาม
- เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน : ประเพณีบุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ปฏิทินเศรษฐกิจ
- ทำนา : เริ่มทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม
- ทำสวน : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
- รับจ้างทั่วไป : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
- ค้าขาย : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
- ลูกจ้างประจำ : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
- ลูกจ้างชั่วคราว : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
1.นายไวพจน์ สุทธิบาล อายุ 50 ปี เกิดวันที่ : 17 เมษายน 2513
ศาสนา : พุทธ อาชีพ : เกษตรกรรม
ตำแหน่งที่รับผิดชอบ : ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านดอนหัน หมู่ที่ 6
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 6 บ้านดอนหัน ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
สถานภาพการสมรส : สมรสกับนางลำพูน สุทธิบาล มีบุตร 2 คน
- ปี พ.ศ. 2537 มีบุตรคนแรก ชื่อ นางสาวจิรดา สุทธิบาล ปัจจุบันอายุ 25 ปี ประกอบอาชีพ ทำงานบริษัทที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- ปี พ.ศ. 2555 มีบุตรคนที่ 2 ชื่อ เด็กหญิงพิมพ์ชนก สุทธิบาล ปัจจุบันอายุ 7 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนหนอง
การศึกษา :
- ปี พ.ศ. 2524 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีฐานดำรงวิท จังหวัดกาฬสินธุ์
- ปี พ.ศ. 2528 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกสีเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
- ปี พ.ศ. 2531 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์
ประวัติความเป็นมา : พ่อไวพจน์ เป็นบุคคลที่ขยันทำงาน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ อัธยาศัยดี ทำให้พ่อไวพจน์เป็นบุคคลที่หมู่บ้านให้ความไว้วางใจ และเชื่อใจ ว่าจะทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาที่ดีอย่างต่อเนื่องจนได้รับการดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในอดีต และดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านปัจจุบัน บิดา ชื่อ นายพรหมา สุทธิบาล มารดา ชื่อ นางหนู สุทธิบาล มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 5 คน พ่อไวพจน์ เป็นบุตรคนที่ 4 ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.นางสง่า จงหาญ
2.นายอุบันรัตน์ สุทธิบาล
3.นางสุธา สาวเพชรดี
4.นายไวพจน์ สุทธิบาล
5.นางพ่องศรี งามพริ้ว
ประวัติการปฏิบัติงาน
- ปี พ.ศ. 2545 สมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ
- ปี พ.ศ. 2545 เข้าร่วมเป็นกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2552 เข้าร่วมเป็นกรรมการกลุ่มข้าวพันธุ์ดี บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2552 เข้าร่วมเป็นกรรมการกลุ่มพลังแผ่นดิน บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2554 เข้าร่วมเป็นกรรมการกองทุนเงินล้าน บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2560 เข้าร่วมเป็นกรรมการกลุ่มนาแปลงใหญ่ บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2560 เข้าร่วมเป็นกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิภาคระดับอำเภอ บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ปี พ.ศ. 2562 ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
เกียรติคุณ/รางวัลที่ได้รับ : ปี พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัลผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านดีเด่นชั้น 2 บ้านดอนหัน หมู่ 6 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ความสามารถพิเศษ : วาดภาพลายไทย คติประจำ “ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ อดทน และเป็นธรรม”
2.นายเสวียน หาบ้านแท่น อายุ : 65 ปี เกิดวันที่ : วันศุกร์ เดือนตุลาคม พ.ศ.2497
ศาสนา : พุทธ อาชีพ : เกษตรกรรม
ตำแหน่งที่รับผิดชอบ : ประธานกลุ่มจักสานบ้านดอนหัน
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 13 หมู่ 6 บ้านดอนหัน ตำบลห้วยแก อำเอชนบท จังหวัดขอนแก่น
สถานภาพสมรส : สมรสกับนางสมจิต หาบ้านแท่น (แต่งงานเมื่อ พ.ศ.2541) มีบุตร 2 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน
ประวัติการศึกษา : พ.ศ.2405 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยแก ตำบลห้วยแก อำเอชนบท จังหวัดขอนแก่น
มารดาชื่อ : นางบัว หาบ้านแท่น บิดาชื่อ นายแถว หาบ้านแท่น
ประวัติความเป็นมา : นายเสวียน หาบ้านแท่น เป็นคนบ้านดอนหันแต่กำเนิด โดยบิดาและมารดา ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำนา เลี้ยงไก่
เมื่อปี พ.ศ.2541 ได้แต่งงานกับสมจิต หาบ้านแท่น มีบุตร 2 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน ซึ่งบุตรชายชื่อ นายทวิช หาบ้านแท่น อายุ 40 ปี บุตรสาวชื่อ นางสาวกนกวรรณ หาบ้านแท่น อายุ 34 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงาน บุตรชายมีลูกชาย 1 คน ชื่อเด็กชายธนากร หาบ้านแท่น อายุ 12 ปี กำลังเรียนอยู่โรงเรียนห้วยแก ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น บุตรสาวมีลูกสาว 1 คน ชื่อเด็กหญิงนิดา อินทรา อายุ 1 ปี 6 เดือน
ปัจจุบันพ่อเสวียน หาบ้านแท่น มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง และได้รักษาและรับยาเป็นประจำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแก และได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท และเป็นสมาชิกกลุ่มจักสานตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ปัจจุบันเป็นประธานกลุ่มจักสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 โดยจะรวมกลุ่มจักสานด้วยกันที่ศาลากลางบ้านบ้านดอนหัน หมู่ที่ 6 เมื่อมีคนมาสั่งทำ และจะทำในช่วงเดือนมกราคม เมื่อไม่มีคนมาจ้าง จะแยกย้ายจักสานที่บ้านของตนเอง สิ่งที่จักสาน ได้แก่ กระติบข้าว ซึงนึ่งข้าวเหนียว ตะกร้า พัด ข้อง ไซ ลอบ เป็นต้น ทุกๆวันศีล วันพระ พ่อเสวียนจะไปวัน ทำบุญตักบาตร และจำศีลเป็นประจำ
ข้อคิด : ให้เป็นคนรู้จักทำมาหากิน เพื่อตัวเอง และครอบครัว
คติประจำใจ : “จะลงมือทำอะไร ต้องทำให้ดี และทำให้สำเร็จ”
กองทุนกลุ่มพัฒนามันสำปะหลัง กองทุนกลุ่มพัฒนามันสำปะหลังตั้งขึ้นภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทน จังหวัดขอนแก่น ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในการส่งเสริมการผลิตการตลาดของกลุ่มพัฒนามันสำปะหลัง
- เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดความยั่งยืนในการผลิตมันสำปะหลังในชุมชน
- เพื่อใช้ปัจจัยการผลิตที่ทางราชการสนับสนุนจัดตั้งเป็นกองทุนให้แก่กลุ่ม
- เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การลดต้นทุนการผลิต ปัญหา อุปสรรค และข้อมูลข่าวสาร
- เพื่อขยายผลในการนำความรู้ไปใช้ในกระบวนการและแปรรูปจากมันสำปะหลังในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
- เพื่อการปรับศัตรูพืช คือ มีแนวโน้มมากและกำจัดยาก โดยมีนายอุดม สินโพธิ์ เป็นประธาน และมีสมาชิกจากการระดมทุนทั้งสิ้น 41 คน
กองทุนในชุมชน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยได้รับเงินทุนจากรัฐบาล (ผ่านธนาคารออมสิน) จำนวน 1,000,000 บาท นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ซึ่งแต่ละปีได้เงินมาไม่เท่ากัน การกู้ยืมมี 2 แบบ คือ กู้สามัญไม่เกินคนละ 30,000 บาท กู้ฉุกเฉินไม่เกินคนละ 6,000 บาท โดยมีดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท/เดือน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบริการกู้ยืมของประชาชนในหมู่บ้านที่สมาชิกกลุ่มกองทุน
สภาพปัญหา ช่วง พ.ศ.2553-2558 เจ้าหน้าที่ได้รับจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีการเข้ามาตรวจสอบ เนื่องจากไม่มีการดำเนินงาน เงินที่ได้รับจากรัฐบาลมีการหายจากระบบ สมาชิกที่กู้ยืมเงินมีการแจ้งว่าใช้หนี้หมดแล้วแต่ยังมีรายชื่อค้างชำระหนี้ ปัจจุบันมีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา แต่งตั้งโดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ทางอำเภอ เพื่อประสานกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินในการดำเนินการ เพื่อให้ผู้ที่มีรายชื่อค้างชำระหนี้มาดำเนินการชำระหนี้ กรณีที่ไม่มีการชำระหนี้ จะดำเนินการกับกรรมการชุดเดิม ขณะนี้อยู่ในขั้นดำเนินการ
กองทุนฌาปณกิจหมู่บ้าน ก่อตั้งมาเป็นเวลานาน (จำ พ.ศ.ไม่ได้) โดยเริ่มเก็บครอบครัวละ 20 บาท ต่อมาได้ปรับจำนวนเพิ่มขึ้นจากครอบครัวละ 20 เป็นครอบครัวละ 100 บาท ในปี 2544 และปรับเพิ่มเป็นครอบครัวละ 200 บาท ในปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีข้อตกลงกันของสมาชิกว่า เมื่อมีสมาชิกกลุ่มฌาปณกิจเสียชีวิต สมาชิกทุกคนต้องนำเงินไปชำระที่บ้านเจ้าภาพงานศพ ซึ่งจะมีผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคอยจดบันทึกรายชื่อสมาชิกที่ชำระเงินแล้ว ถ้ไม่นำเงินไปชำระภายในเวลาที่กำหนด คือภายในวันตักบาตร จะถูกปรับจากครอบครัวละ 200 เป็นครอบครัวละ 400 เมื่อสมาชิกชำระเงินครบทุกคนแล้วจะนำเงินส่วนนี้ไปให้เจ้าภาพหรือญาติผู้เสียชีวิต
ผู้คนในชุมชนบ้านดอนหันใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน
โครงการที่ชุมชนดอนหันได้เข้าร่วม
- โครงการ “ชาวดอนหันลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงเบาหวานความดัน ร่วมใจกันปรับพฤติกรรมการกินใหม่ ใส่ใจออกกำลังกาย”
- โครงการรณรงค์ ดอนหัน สร้างพลัง รวมใจลดภัยเบาหวาน
- โครงการดอนหันร่วมใจ ห่างไกลโรคเรื้อรัง สานพลังป้องกันโรคในช่องปาก
- โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ : โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้จัดทำโครงการ
ด้านการศึกษา มีโรงเรียน 1 แห่ง คือโรงเรียนบ้านห้วยแกดอนหันหนองหญ้าม้า ใช้ร่วมกับบ้านห้วยแกและหนองหญ้าม้า
บ้านดอนหันมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือลำห้วยหนองเอี่ยนและลำห้วยแก เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร แต่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้งแหล่งน้ำตื้นเขินการเกษตรจึงอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว
ในชุมชนบ้านดอนหันมีจุดสนใจอื่นๆ เช่น วัดแสงอุดมสิทธิราช ร้านอ๋อยโภชนา ร้านหม่ำชนบท ร้านแซ่บหลายดอนหัน
พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ. (2557). ทฤษฎี ปรัชญา ความรู้สู่การปฏิบัติในการพยาบาลอนามัยชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. (2558). ระบาดวิทยา = Epidemiology. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวพร อึ้งวัฒนา และพรพรรณ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ.(บรรณาธิการ). (2555). การพยาบาลชุมชน.เชียงใหม่ : โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ (2556). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิราณี อินทรหนองไผ่. (2554). กระบวนการพยาบาล:เครื่องมือนักจัดการสุขภาพองค์รวมเพื่อวิวัฒน์และพัฒนาสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สกุณา บุญนรากร. (2556). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.