Advance search

บ้านอาราม

ธรรมชาติงดงาม ข้าวหลามชวนลอง แผ่นสีทองข้าวแต๋น แชมป์ขนมซี่ เรือดีเพชรทรายทอง

หมู่ที่ 3
บ้านอาฮาม
ท่าวังผา
ท่าวังผา
น่าน
ธำรงค์ บริเวธานันท์
6 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
27 ก.พ. 2024
ธำรงค์ บริเวธานันท์
6 ก.พ. 2024
บ้านอาฮาม
บ้านอาราม

บ้านอาฮาม หรือชื่อเดิม บ้านอาราม ในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของตำบลริม อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งในอดีตพื้นที่นี้ยังไม่มีสถานที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ใช้สำหรับการประกอบศาสนกิจ ประกอบกับพื้นที่อยู่ห่างไกล จึงเกิดดำริในการสร้าง อาราม เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจของพระในหมู่บ้าน ฉะนั้นหมู่บ้านจึงได้ชื่อว่า บ้านอาราม หมู่ที่ 2 ตำบลริม อำเภอปัว จังหวัดน่าน  ปี พ.ศ. 2507 บ้านอาราม ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านอาฮาม โดยกรมทางหลวง ซึ่งชื่อบ้านอาฮาม สอดคล้องกับสำเนียงภาษาคำเมืองของชาวบ้านในชุมชนที่ออกเสียง อาราม เป็น อาฮาม


ชุมชนชนบท

ธรรมชาติงดงาม ข้าวหลามชวนลอง แผ่นสีทองข้าวแต๋น แชมป์ขนมซี่ เรือดีเพชรทรายทอง

บ้านอาฮาม
หมู่ที่ 3
ท่าวังผา
ท่าวังผา
น่าน
55140
19.11200047
100.8082335
เทศบาลตำบลท่าวังผา

บ้านอาฮาม หรือชื่อเดิม บ้านอาราม ในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของตำบลริม อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งในอดีตพื้นที่นี้ยังไม่มีสถานที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ใช้สำหรับการประกอบศาสนกิจ ประกอบกับพื้นที่อยู่ห่างไกล จึงเกิดดำริในการสร้าง อาราม เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจของพระในหมู่บ้าน ฉะนั้นหมู่บ้านจึงได้ชื่อว่า บ้านอาราม หมู่ที่ 2 ตำบลริม อำเภอปัว จังหวัดน่าน  ปี พ.ศ. 2507 บ้านอาราม ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านอาฮาม โดยกรมทางหลวง ซึ่งชื่อบ้านอาฮาม สอดคล้องกับสำเนียงภาษาคำเมืองของชาวบ้านในชุมชนที่ออกเสียง อาราม เป็น อาฮาม

ประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านอาฮาม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการนับถือพระพุทธศาสนาของสมาชิกในชุมชน โดยเริ่มจากชื่อชุมชนที่มีความหมายถึง อาราม หรือ อาฮาม ที่สร้างเพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ในหมู่บ้านและหมู่บ้านข้างเคียง โดยมีวัดที่สำคัญคู่หมู่บ้าน คือ วัดสุทธาราม หรือ อาราม หรือ อาฮาม เป็นวัดแรกของชุมชนสร้างเมื่อ พ.ศ. 2271 โดยพระครูบารินเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมา ปี พ.ศ. 2478 ได้รับวิสุงคสีมา และ ปี พ.ศ. 2484 เปลี่ยนชื่อเป็น วัดสุทธาราม นอกจากนี้ยังพบการบันทึกอักษรธรรมล้านนา ที่บันทึกพัฒนาการของวัดที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จารึกอักษรธรรมภาษาล้านนา บันทึกนามพระสงฆ์ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและผลงานของเจ้าอาวามในการทำนุบำรุงวัด ดังนี้

  • พระครูบาริน (พ.ศ. 2372 - พ.ศ. 2435) เป็นผู้เริ่มสร้างวัด เริ่มจากสร้างกุฏิด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าคาและสร้างวิหารชั่วคราว
  • พระครูบาสมเด็จ วชิรญาโน (พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2371) สร้างวิหารถาวร พ.ศ. 2332
  • พระครูบาอาฒธ อินทปโญ (พ.ศ. 2372 - พ.ศ. 2435) สร้างกำแพงรอบวัด 4 ด้าน
  • พระครูบุญตัน ปภสสโร (พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2470) สร้างกุฎิถาวรทำด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้อง
  • พระครูใบฎีกาบุญถึง ธมมทสโส (พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2503) รื้อหลังคาวิหารเพื่อมุงด้วยกระเบื้องไม้ ต่อมา พ.ศ. 2474 สร้างโบสถ์ใหม่ 1 หลัง เสร็จสิ้น ปี พ.ศ. 2477 เมื่อเสร็จสิ้นมีการผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสุทธาราม พ.ศ. 2494
  • พระอธิการพรมรอด ปาสาทิโก (พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2535) มีการขยายเขตธรณีสงฆ์ สร้างกุฎิใหม่ บูรณะหลังคาโบสถ์ สร้างกำแพงให้ด้วยอิฐถือปูน
  • พระอธิการทองอินทร์ สวโร (พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน)  รื้อวิหารเดิมและสร้างวิหารใหม่ ฉลองวิหารใหม่ ปี พ.ศ. 2556   

บ้านอาฮาม หมู่ที่ 3 ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าวังผาราว 1 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดน่านราว 42 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,520 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านอาฮามมีลักษณะเป็นที่ลุ่ม ลาดเอียงจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก ซึ่งด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ทำการเกษตร โดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยธนู เป็นแหล่งน้ำทางการเกษตรของหมู่บ้าน ส่วนด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านแม่น้ำน่านไหลผ่าน จึงมีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มริมฝั่งน้ำเหมาะสมแก่การเพาะปลูก

ที่ตั้งหมู่บ้านอาฮาม หมู่ที่ 3 ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านสบยาว หมู่ที่ ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านน้ำฮาว หมู่ที่ ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านท่าวังผา หมู่ที่ ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำน่าน
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปฏิทินชุมชน บ้านอาฮาม มีความสัมพันธ์กับวันสำคัญทางศาสนาและวิถีชีวิตของชุมชนภาคเหนือโดยเฉพาะวันสงกรานต์ ยังรวมถึงประเพณีการแข่งเรือพายที่บ้านอาฮามได้รับการยกย่องว่ามีความโดดเด่น ปฏิทินชุมชนบ้านอาฮาม ประกอบด้วย

เทศกาลสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) ช่วงเทศกาลสงกรานต์ชุมชนบ้านอาฮามมีกิจกรรม ประกอบด้วย

1.การเซ่นไหว้ศาลเจ้าทุ่งขามเปี้ย ศาลเจ้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน

2.สงกรานต์จังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่ 13 – 17 เมษายน ของทุกปี โดยเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 5 วัน ดังนี้

  • 13 เมษายน วันล่อง
  • 14 เมษายน วันเน่า หรือ วันเนา
  • 15 เมษายน วันพญาวัน
  • 16 เมษายน วันปากปี๋
  • 17 เมษายน วันปีใหม่ 

ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีตานก๋วยสลากของหมู่บ้านในอำเภอท่าวังผา จัด 2 สัปดาห์ก่อนเข้าพรรษา ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจัดทั้งสิ้น 3 วัน คือ งงวันเตรียมงาน (วันลาบเก๋า) วันห้างดา คือ วันที่ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ ร่วมกันเตรียมก๋วยสลาก ไทยทาน หรือเรียกว่า ฮอมสลาก และวันตาน เป็นวันที่นำไทยทานทำบุญตาน (ทาน) ยังวัดที่กำหนด

ประเพณีแข่งเรือพาย การแข่งเรือของชาวอาฮามเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมายาวนาน งานจัดในช่วงฤดูน้ำหลากตรงกับช่วงวันออกพรรษา หรือเทศกาลตานก๋วยสลาก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนชุมชนบ้านอาฮามที่มีความโดดเด่นคือ การภูมิปัญญาการทำข้าวหลาม ซึ่งชุมชนสามารถต่อยอดความรู้การทำข้าวหลามกระทั่งก่อให้เกิดรายได้แก่สมาชิกในชุมชน จากการศึกษาของ เปลวเทียน เจษฎาชัยยุทธ์. (2011) พบว่า ข้าวหลามบ้านอาฮามมีการผลิตมาช้านานเพียงแต่เป็นการผลิตเพื่อรับประทานในครัวเรือน อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ทว่าสามารถแบ่งช่วงพัฒนาการการทำข้าวหลามบ้านอาฮามได้ 3 ช่วงคือ

ช่วงที่ 1 การผลิตเพื่อยังชีพในครัวเรือน เป็นการผลิตที่ใช้ความรู้จากการถ่ายทอดในครัวเรือนหรือจากรุ่นบรรพบุรุษ กระบวนการและวัตถุดิบไม่ซับซ้อนกล่าวคือ ใช้ข้าวเหนียว น้ำเปล่า เกลือ ส่วนไส้จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ รสชาติข้าวหลามมีความเค็มจากเกลือ ความหวานจากข้าวเหนียว กลิ่นหอมของไม้ไผ่และเยื่อไผ่ มักจะมีรับประทานช่วงฤดูหนาวหรือช่วงไม้ใหม่ วิธีการรับประทานโดยทุบให้กระบอกไม้ไผ่แตกสามารถรับประทานได้ทันที

ช่วงที่ 2 การผลิตจำหน่ายแบบดั้งเดิม การผลิตเพื่อจำหน่ายชุมชนยังใช้กระบอกไม้ไผ่ยาวสุดข้อเช่นเดียวกับผลิตรับประทานในครัวเรือน ทว่ามีการเพิ่มกะทิ น้ำตาลและใส่ไส้ถั่ว แต่น้ำกะทิที่ใส่นั้นยังไม่ต้มสุก จากนั้นนำมาเผา เมื่อเผาได้ที่นำมาปอกและเหลาให้บาง นำมาตัดเป็นท่อนเพื่อง่ายต่อการจำหน่าย บ้างมีการจำหน่ายเป็นกระบอกขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้บริโภค จำหน่ายราคา 5 สตางค์ 10 สตางค์ ส่วนกระบอกยาว 1 บาท พบว่าผู้บุกเบิกการผลิตข้าวหลามเพื่อจำหน่ายเป็นหญิงสาวจากบ้านสวนตาล ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ที่มาแต่งงานกับชายในบ้านอาฮาม และย้ายมาอยู่ในหมู่บ้าน ก่อนที่หญิงสาวผู้นี้จะมาอาศัยยังบ้านอาฮาม ก็ประกอบอาชีพผลิตและจำหน่ายข้าวหลามที่บ้านสวนตาล จึงมีความชำนาญในการผลิตข้าวหลาม ชาวบ้านอาฮามเมื่อเห็นว่าข้าวหลามสามารถขายได้จึงเริ่มการผลิตเพื่อขายบ้าง

การจำหน่ายข้าวหลามของชาวบ้านอาฮามคือ การจำหน่ายบริเวณตลาดบ้านท่าวังผา โดยการหาบและเดินขายทั่วตลาด ด้วยเหตุที่บ้านท่าวังผามีความสำคัญทางการค้าของเมืองน่าน เนื่องจากเป็นท่าเรือซึ่งสถานที่ที่มีการนำสินค้าและการโดยสารเรือจากเมืองน่านมายังท่าน้ำบ้านวังผา จากนั้นเดินทางด้วยวัวต่างขึ้นเหนือ เช่น ปัว เชียงกลางบ่อเกลือ เมืองเงิง รวมถึงบ้านท่าวังผาในอดีตเป็นที่ตั้งของโรงฝิ่น โรงต้มสุรากลั่น จึงทำให้ข้าวหลามจากบ้านอาฮามมีตลาดที่สามารถรองรับการผลิตได้ และการขายข้าวหลามตามงานเทศกาลรื่นเริง เช่น ลอยกระทง ฉลองวัด ฉลองพระธาตุ ก็ได้รับการอุดหนุนอย่างดีเช่นกัน

ช่วงที่ 3 ผลิตเพื่อจำหน่ายแบบสมัยใหม่ การผลิตข้าวหลามในช่วงนี้เริ่มอย่างชัดเจนในราวปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงระหว่างรัฐไทยกับพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขตจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ฐานที่มั่นสำคัญ ฉะนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายตัดถนนเพื่อสะดวกในการเดินทางและขนอาวุธรวมถึงกำลังพล เพื่อต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถนนสายน่าน - ทุ่งช้าง จึงได้รับการตัดใหม่เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2511 เสร็จราวปี พ.ศ. 2516 ถนนสายนี้ตัดผ่านกลางหมู่บ้านอาฮาม ส่งผลให้ชาวบ้านที่เคยเผาข้าวหลามบริเวณบ้านหรือในป่าแล้วหาบไปขายในตลาด ต้องเปลี่ยนมาเผาริมถนนที่ตัดใหม่เพราะถนนผ่านหน้าบ้าน

ถนนสายน่าน - ทุ่งช้าง นำคนจากต่างถิ่นผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านนำข้าวหลามมาวางขายบริเวณริมถนน จากนั้นเริ่มมีชาวบ้านรายอื่นเริ่มนำข้าวหลามมาวางขายบริเวณริมถนนเช่นเดียวกัน ช่วงแรกเป็นการวางขายบนโต๊ะพับยังไม่สร้างแบบถาวร ขายกระบอกละ 5-10 บาท พร้อมกันนั้นมีการดัดแปลงรสชาติให้ดีขึ้นเพื่อถูกปากผู้ซื้อ 

ชาวบ้านอาฮามพูดภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ (กำเมือง) เป็นภาษาพูดหลัก นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์อักษรธรรมล้านนา 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เปลวเทียน เจษฎาชัยยุทธ์. (2554). การจัดการเศรษฐกิจชุมชนข้าวหลามบ้านอาฮาม ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก https://sure.su.ac.th/