
ชุมชนใกล้พื้นที่ใจกลางเมืองลำปางที่มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถเดินทางได้หลากทิศทาง
ชุมชนใกล้พื้นที่ใจกลางเมืองลำปางที่มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถเดินทางได้หลากทิศทาง
ชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ เดิมเป็นชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 แต่เนื่องจากเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีจำนวนครัวเรือนและประชากรหนาแน่น อีกทั้งมีพื้นที่ดูแลรับผิดชอบเป็นบริเวณกว้าง จึงได้ทำการขอแยกชุมชนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนได้อย่างทั่วถึงโดยได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นชุมชนใหม่เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 และใช้ชื่อว่า “ชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา”
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปพื้นที่ราบสลับเนิน เป็นป่าแพะ ป่าละเมาะ ต้นไม้ขนาดเล็ก มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นพื้นที่ทางการเกษตรสำหรับทำนา ทำสวนอยู่ในเขตชลประทาน
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยแพะ หมู่ที่ 2 และชุมชนบ้านหัวฝายหมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลกล้วยแพะ
ประชากรในพื้นที่บ้านกล้วยหลวงพัฒนา
จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 316 คน แยกเป็น ชาย 152 คน หญิง 164 คน
จำนวนครัวเรือน 93 ครัวเรือน (ที่อาศัยอยู่จริง)
ชาติพันธ์ุในพื้นที่บ้านกล้วยหลวงพัฒนา
ในพื้นที่บ้านกล้วยหลวงอาจจะมีชาวไทลื้ออาศัยอยู่ในพื้นที่บางส่วนจากการที่มีงานวิจัยที่เคยศึกษาในพื้นที่ตำบลแห่งนี้แล้วพบว่าในพื้นที่แห่งนี้มีชาวไทยลื้ออาศัยอยู่ โดยชาวไทยลื้ออพยพมาจากพื้นที่สิบสองปันนาที่อยู่ในจีนปัจจุบันและได้เข้ามาอาศัยในพื้นที่และได้ขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ
ไทลื้อข้อมูลกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา จำนวนสมาชิก 138 คน โดยมีประธานกลุ่มผู้สูงอายุ คือ นายบุญทา ขันนาแล
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา จำนวนสมาชิก 80 คน โดยมีประธานกลุ่มสตรี คือ นางสองเมือง คำเขื่อน
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา จำนวนสมาชิก 10 คน โดยมีประธานกลุ่ม อสม. คือ นางนาน คำก้อน
วัฒนธรรมและประเพณีส่วนใหญ่ยึดถือและมีแบบแผนมาจากความเชื่อศาสนาพุทธที่ผูกโยงเข้ากับความเชื่อของล้านนา
ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นส่วนใหญ่ ในอดีตเคยใช้งานตัวอักษรธรรมล้านนาแต่ภายหลังเปลี่ยนมาใช้งานอักษรไทย
ปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชน
- ประชากรในชุมชนมีรายได้น้อย มีฐานะยากจน
- ไม่มีอาชีพเสริม
- วัยทำงานไปทำงานนอกชุมชน และต่างจังหวัด
- การทำการเกษตรใช้ต้นทุนสูงแต่ได้ผลผลิตน้อย และผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำ
- สินค้าด้านอุปโภค บริโภค ราคาสูงขึ้น
- ขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการผลิตสินค้าทางการเกษตร
- ขาดเงินทุนสนับสนุนในการผลิต และการค้าขาย
- การค้าขายสินค้าทางการเกษตรมีความเสี่ยงสูง รายได้ไม่แน่นอน
ปัญหาของโครงสร้างพื้นที่
- น้ำสำหรับอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ
- ระบบน้ำประปาชุมชนไม่สะอาดไม่ได้มาตรฐาน
- ระบบไฟฟ้าพื้นที่สาธารณะไม่เพียงพอ
- ระบบระบายน้ำชำรุด
- ระบบสัญญาณจราจรไม่เพียงพอ
- ในพื้นที่บ้านกล้วยหลวงพัฒนามีกลุ่มทอผ้าไทลื้อที่เป็นการรวมกลุ่มของชุมชน ซึ่งมีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นการทำผ้ากันเองในชุมชน
ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม
- แหล่งน้ำทางการเกษตรมีไม่เพียงพอ ลำห้วยตื้นเขินในฤดูแล้ง
- การคัดแยกขยะไม่เป็นระบบ
- การเผาขยะ และเผาพื้นที่ทางการเกษตรทำให้เกิดมลพิษ
- ขาดน้ำใต้ดิน ไม่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ/ซับน้ำ
- พื้นที่ดอนดินแข็ง ขาดปุ๋ยหน้าดิน
- เกษตรกรใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืช ทำให้เกิดสารเคมีตกค้าง และดินในการเกษตรเสื่อมโทรม
การปลูกที่อยู่อาศัยของชาวไทยลื้อในพื้นที่บ้านกล้วยแพะ
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/
กลุ่มผ้าทอไทลื้อกล้วยหลวงพัฒนา. (ม.ป.ป.). ผ้าทอไทลื้อกล้วยหลวงพัฒนา. จาก https://www.facebook.com/kuayluang.29/
ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย. (2556). การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง. จาก https://www.sac.or.th/databases/
ฐานข้อมูลเรือนพื้นถิ่นในประเทศไทย. (2560). ไทลื้อ (กล้วยแพะ ลำปาง). จาก https://thai-vernacular-houses.sac.or.th/