Advance search

การขยายตัวของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการแยกตัวออกมาสร้างชุมชนใหม่ และการรักษาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์

หมู่ที่ 5
กล้วยกลาง
กล้วยแพะ
เมืองลำปาง
ลำปาง
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
9 ก.พ. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
9 ก.พ. 2024
บ้านกล้วยกลาง

ชุมชนบ้านกล้วยกลางเป็นชุมชนที่แยกตัวออกมาจากชุมชนเดิมที่มีประชากรหนาแน่น โดยชุมชนใหม่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของตำบลกล้วยแพะ จึงตั้งชื่อชุมชนใหม่ว่า "บ้านกล้วยกลาง" 


การขยายตัวของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการแยกตัวออกมาสร้างชุมชนใหม่ และการรักษาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์

กล้วยกลาง
หมู่ที่ 5
กล้วยแพะ
เมืองลำปาง
ลำปาง
52000
18.2032940533308
99.48665979578736
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

ชุมชนบ้านกล้วยกลาง เป็นหมู่บ้านของชาวกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่แยกตัวออกมาจากหมู่บ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 เนื่องจากในหมู่บ้านกล้วยม่วงมีครัวเรือน และประชากรหนาแน่น ชาวบ้านจึงได้แยกย้ายออกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ โดยได้เลือกพื้นที่จุดศูนย์กลางของตำบลกล้วยแพะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน และใช้ชื่อว่า “หมู่บ้านกล้วยกลาง” ได้ก่อตั้งชุมชน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2546

ชุมชนบ้านกล้วยกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองลำปาง ไปทางทิศเหนือ 11.7 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปาง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 15.3 กิโลเมตรชุมชนบ้านกล้วยกลางมีพื้นที่ 3.72 ตารางกิโลเมตร สภาพทั่วไปพื้นที่ราบสลับเนิน เป็นป่าแพะ ป่าละเมาะ ต้นไม้ขนาดเล็ก มีพื้นที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่ทางการเกษตรสำหรับทำนา ทำสวนอยู่ในเขตชลประทาน โดยชุมชนมีสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ติดต่อกับชุมชนข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลกล้วยแพะ และอำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ และชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลกล้วยแพะ และอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ชุมชนบ้านกล้วยกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง  มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้นจำนวน 397 ครัวเรือน แบ่งเป็น ชาย 566 คน หญิง 594 คน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,160 คน

ไทลื้อ

ชุมชนบ้านกล้วยกลาง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • อาชีพเกษตรกร จำนวน 59 ครัวเรือน 
  • อาชีพค้าขาย จำนวน 4 ครัวเรือน 
  • อาชีพทำเครื่องเซรามิค จำนวน 1 ครัวเรือน 
  • อาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวน 319 ครัวเรือน 
  • อาชีพอื่นๆ จำนวน 14 ครัวเรือน

และนอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในสังคม เช่น

  • กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านกล้วยกลาง
  • กลุ่มสตรีชุมชนบ้านกล้วยกลาง
  • กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านกล้วยกลาง
  • กลุ่มอาชีพกลุ่มกระเทียมโทนดองชุมชน
  • กลุ่มเกษตรกรชุมชนบ้านกล้วยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนเศรษฐกิจ

  • บ้านกล้วยกลางมีกองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 1 กองทุน คือ กองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านกล้วยกลาง มีงบประมาณ 2,000,000 บาท

ทุนวัฒนธรรม

  • บ้านกล้วยกลางมีวัดประจำชุมชน 1 วัด คือ วัดพระแท่น
  • งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดพระเเท่น ชุมชนบ้านกล้วยกลาง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริม และถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น สร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ ให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนได้รับทราบ ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของท้องถิ่นไว้แบบบูรณาการ

ทุนกายภาพ

  • ชุมชนบ้านกล้วยกลางมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ลำห้วย คลอง และสระน้ำสาธารณะ จำนวนอย่างละ 1 แห่ง
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

จุดแข็ง

  • ในชุมชนมีอาชีพหลากหลาย เช่น รับราชการ รัฐวิสาหกิจ รับจ้าง ค้าขาย เป็นต้น
  • มีแหล่งเงินทุนชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้านฯ

จุดอ่อน

  • ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม
  • ประชาชนมีหนี้สิน


จุดแข็ง

  • ความร่วมมือในงานพัฒนาชุมชน มีความรัก และสามัคคีกันทุกฝ่ายในชุมชน
  • มีการการตรวจตราดูแลจากคณะกรรมการชุมชนเป็นอย่างด
  • มีวัดเป็นจุดศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจ
  • ชุมชนมีประเพณี และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

จุดอ่อน

  • เด็ก ถูกกระทำความรุนแรง จากคนในครอบครัว
  • เนื่องจากเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างชุมชนทำให้การดูแลความสงบเรียบร้อย จึงไม่ทั่วถึง
  • เยาวชน ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
  • ปัญหายาเสพติด


จุดแข็ง

  • มีระบบสาธารณูปโภค
  • เส้นทางการคมนาคมสะดวกเชื่อมต่อระหว่างชุมชน

จุดอ่อน

  • บางซอยไม่มีระบบระบายน้ำ
  • การขยายเขตไฟฟ้าไม่ครอบคลุมทั้งชุมชน


ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมถูกละเลย

  • ไม่มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมทำให้ ไม่เป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลัง
  • ต้องการจัดงานเพื่อสืบสาน ประเพณีวัฒนธรรม
  • โครงการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนบ้านกล้วยกลาง


จุดแข็ง

  • มีแหล่งน้ำในการทำการเกษตร
  • มีพื้นที่ในการทำการเกษตร

จุดอ่อน

  • แหล่งน้ำในการเพาะปลูก และใช้อุปโภค บริโภคมีไม่เพียงพอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านกล้วยกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566 ณ วัดพระแท่น ตำบลกล้วยแพะ. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ร่วมงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดพระแท่น ตำบลกล้วยแพะ. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/