Advance search

ชุมชนชาวไทลื้อในพื้นที่จังหวัดลำปาง ที่ผสมผสานวัฒนธรรมและศิลปะระหว่างไทลื้อและพม่า

ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1077 สายลำปาง – แม่ทะ
กล้วยแพะ
เมืองลำปาง
ลำปาง
สุกฤต สิมณี
9 ก.พ. 2024
สุกฤต สิมณี
9 ก.พ. 2024
บ้านกล้วยหลวง

ลำห้วยไหลผ่าน สองฝั่งของลำห้วยมีป่ากล้วยขนาดใหญ่ขึ้นงอกงาม มีภูเขาอยู่ทางด้านตะวันออกชื่อว่า “ดอยม่วงคำ” ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ปุง จึงตัดสินใจตั้งบ้านเรือนที่นี่และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกล้วยหลวง”


ชุมชนชาวไทลื้อในพื้นที่จังหวัดลำปาง ที่ผสมผสานวัฒนธรรมและศิลปะระหว่างไทลื้อและพม่า

ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1077 สายลำปาง – แม่ทะ
กล้วยแพะ
เมืองลำปาง
ลำปาง
52000
18.207912467358263
99.4905807122969
เทศบาลเมืองเชลางค์นคร

การก่อตั้งชุมชนบ้านกล้วยหลวงสันนิษฐานว่าเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน มีชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงรุ้ง แคว้นสิบสองปันนา อยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนาน ประเทศจีน ได้อพยพหลบลี้ภัยทางการเมืองมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนา และได้กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย และพะเยา โดยออกไปแสวงหาดินแดนอันสงบเพื่อดำรงชีวิต อยู่กันอย่างเรียบง่ายตามวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีกลุ่มไทลื้อประมาณ 7  ครอบครัว ได้อพยพเข้ามาในเขตจังหวัดลำปาง และออกเดินทางหาถิ่นที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ ระหว่างเดินทางได้มาเจอหนองบัวใกล้ ๆ ห้วยแม่ปุง ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นแหล่งที่มีอาหารการกินสมบูรณ์ มีน้ำห้วยไหลผ่าน สองฝั่งของลำห้วยมีป่ากล้วยขนาดใหญ่ขึ้นงอกงาม มีภูเขาอยู่ทางด้านตะวันออกชื่อว่า “ดอยม่วงคำ” ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ปุง จึงตัดสินใจตั้งบ้านเรือนที่นี่และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกล้วยหลวง” และจากคำสันนิษฐานบางแห่งก็อ้างว่าชื่อ “บ้านกล้วยหลวง” นั้น เป็นชื่อเดิมของหมู่บ้านที่ชาวไทลื้อได้อาศัยอยู่ที่เมืองเชียงรุ้งแคว้นสิบสองปันนา ชื่อว่า “บ้านกล้วย” ซึ่งชาวไทลื้อหากมีการสร้างถิ่นที่อยู่ใหม่มักจะนำชื่อหมู่บ้านเดิมมาตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ ประกอบกับเป็นการตั้งถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้อในจังหวัดลำปางเป็นแห่งแรกจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกล้วยหลวง” ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 8 กิโลเมตร และได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านกล้วยหลวง เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2544

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วไปพื้นที่ราบสลับเนิน เป็นป่าแพะ ป่าละเมาะ ต้นไม้ขนาดเล็ก มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นพื้นที่ทางการเกษตรสำหรับทำนา ทำสวนอยู่ในเขตชลประทาน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง หมู่ 9 ตำบลชมพู ชุมชนบ้านห้วยหล่อ หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู ชุมชนบ้านหนองยาง หมู่ที่ 8 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านหนองหัวหงอก หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ และชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านศาลาดอน หมู่ที่ 3 ตำบลชมพู ชุมชนบ้านกล้วยกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลกล้วยแพะ และชุมชนบ้านห้วยหล่อ หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู

ข้อมูลประชากรในพื้นที่บ้านกล้วยพัฒนา

ข้อมูลครัวเรือน 879 ครัวเรือน

ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น 2,651 คน แยกเป็น ชาย 1,251 คน หญิง 1,400 คน

กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่บ้านกล้วยพัฒนา 

จากเอกสารหลายฉบับสามารถระบุได้ว่าในพื้นที่น่าจะมีประชากรชาวไทลื้ออาศัยอยู่ในพื้นที่ 

ไทลื้อ

 ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านกล้วยหลวง จำนวนสมาชิก 630 คน โดยมีประธานกลุ่มผู้สูงอายุ คือ นางวนิดา สัตยานุรักษ์
  • กลุ่มสตรีชุมชนบ้านกล้วยหลวง จำนวนสมาชิก 400 คน โดยมีประธานกลุ่มสตรี คือ นางดวงดาว ฝั้นจักรสาย
  • กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านกล้วยหลวง จำนวนสมาชิก 68 คน โดยมีประธานกลุ่ม อสม. คือ นางกองแก้ว ฝั้นจักรสาย
  • กลุ่มอาชีพการทำเนื้อแดดเดียวชุมชนบ้านกล้วยหลวง จำนวนสมาชิก 27 คน โดยมีประธานกลุ่มอาชีพทำเนื้อแดดเดียว คือ นางดวงดาว ฝั้นจักรสาย

กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 3 กองทุน ดังนี้

  • กองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านกล้วยหลวง - นาแล มีงบประมาณ 1,200,000 บาท
  • กองทุนกลุ่มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ จำกัด มีงบประมาณ 95,825,183.54 บาท
  • กองทุนกลุ่มสัจจะ/ออมทรัพย์ชุมชนฯ 

วัฒนธรรมและประเพณีของชาวบ้านกล้วยหลวงก็จะสัมพันธ์กับวัฒนธรรมแบบชาวไทลื้อและล้านนา ในทางพุทธศาสนาแบบเถรวาทเช่นเดียวกับวัฒนธรรมของล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาที่ใช้ในพื้นที่ใช้อักษรไทยเป็นหลักและในปัจจุบันมีคนกลุ่มน้อยมากที่สามารถอ่านอักษรธรรมล้านนนาออก ภาษาพูดส่วนใหญ่ใช้ภาษาล้านนาหรือไทยถิ่นเหนือ


  • ประชาชนมีรายได้น้อย
  • ไม่มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน ทำให้บางครั้งก็ไม่อาจจะสามารถสร้างรายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • ผลผลิตทางการเกษตร ไม่มีตลาดรองรับ


  • ขาดการประสานงานจากกลุ่มต่าง ๆ ภายในชุมชน
  • เยาวชนไม่ให้ความสำคัญการสืบสานวัฒนธรรมของชุมชน
  • ไม่มีการพัฒนาและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหายาเสพติดภายในชุมชน


  • มีไฟฟ้าครอบคลุมทุกครัวเรือนครบ 879 ครัวเรือน
  • ประปาส่วนใหญ่เป็นการใช้งานประปาชุมชนที่มีอยู่จำนวน 7 แห่ง
  • ที่อ่านหนังสือประจำชุมชน จำนวน 1 แห่ง
  • หอกระจายเสียงตามสายชุมชน จำนวน 1 แห่ง
  • ถนน และระบบระบายน้ำภายในชุมชน ชำรุดเสียหายขาดการซ่อมบำรุงรักษา
  • พื้นที่บางแห่งในชุมชนไม่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • มีศาลาอเนกประสงค์เกิดการชำรุด

วัดกล้วยหลวง

  • วัดกล้วยหลวงที่ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบไทลื้อผสมผสานพม่าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวของชุมชนในแถบนี้ที่ผสมผสานวัฒนธรรมพม่าเข้าไปในงานพุทธศิลป์ จากอิทธิพลทางการเมืองที่พม่าพยายามแสดงถึงสิทธิเหนือล้านนาผ่านงานศิลปะในพุทธศาสนา ซึ่งวัดแห่งนี้มีข้อมูลว่าถูกสร้างใน พ.ศ. 2180 


ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม 

  • สภาพปัญหาภัยแล้ง โรคระบาดในพืช และดินขาดความอุดมสมบูรณ์
  • ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และการเกษตร
  • เกษตรกรใช้สารเคมีในภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก
  • ไม่มีสถานที่กักเก็บน้ำ
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านกล้วยหลวง ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/?p=66010

ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย. (2556). การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง. จาก https://www.sac.or.th/databases/