ห้วยแกเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
"โซ่ง" ในที่นี้น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ส่ง" เป็นหมู่บ้านที่มีการเรียกชื่อมาจากการส่งส่วย
ห้วยแกเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
บ้านโซ่ง หมู่ 1 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านเมื่อราวปี พ.ศ. 2331 ประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำไร่ ทำนาและทอผ้า เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เชื้อสายชาวบ้านซื้อสายพวกลาวพวนหรือลาวพุงขาว ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมา “โซ่ง" ในที่นี้น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ส่ง" เป็นหมู่บ้านที่มีการเรียกชื่อมาจากการส่งส่วย ซึ่งพวกลาวพวนหรือลาวพุงขาวเดินทางมาจาก สุวรรณภูมิ นำส่วยที่เก็บได้ไปส่งสมทบกับเมืองหลวง เนื่องจากการเดินทางอันแสนที่จะลำบากและไกล จึงต้องพักค้างแรมตามลำห้วยหนองเอี่ยน (ที่โนนบ้านเก่าในสมัยนั้น และต่อมาในพื้นที่ของหมู่บ้านได้เกิดน้ำท่วม ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนในราวปี พ.ศ. 2410 โดยการนำของ หลวงวิบูรณ์ รุดชาติ หัวหน้าหมู่บ้านได้พาลูกบ้านอพยพโยกย้ายถิ่นฐานจากโนนบ้านเก่า ที่อยู่ติดกับลำห้วยขึ้นมาตั้งรกรากที่ใหม่ ซึ่งห่างจากที่เดิมขึ้นมาทางทิศเหนือ ประมาณ 1,000 เมตร ตั้งเป็นหมู่บ้าน บ้านโซ่ง หมู่ที่ 13 ขึ้นตรงต่อตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และต่อมาในราวปี พ.ศ. 2510 บ้านโซ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงจากหมู่ที่ 13 ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มาเป็น หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ สภาพสังคมแบบชนบท ครอบครัวใหญ่อาศัยอยู่กับหมู่บ้าน ครอบครัวขยายเป็นส่วนน้อยอาศัยอยู่ตามทุ่งนา ท้องไร่ นับถือศาสนาพุทธ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม รายได้เฉลี่ย 3,500-8,000 บาท/ครัวเรือน/เดือน
อาณาเขตติดต่อ ตำบลห้วยแก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวจังหวัด 68 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอชนบท 12 กิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโนนพะยอมและกุดเพียขอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
สภาพพื้นที่ พื้นที่ตำบลห้วยแกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีเนินเขาและภูเขาสลับกัน มีพื้นที่ราบ 32,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96.90 ของพื้นที่ทั้งหมด ภูเขา 25ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.07% ของพื้นที่ทั้งหมด และอื่น ๆ 1,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.10 ของพื้นที่ทั้งหมด
ลักษณะภูมิอากาศ ภายในตำบลมีภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้ง มี 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูฝน ฤดูร้อน ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สภาพแห้งแล้งเป็นส่วนใหญ่อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 28- 30 องศาเซลเซียส
ลักษณะโดยทั่วไปตำบลห้วยแก เป็นที่ราบส่วนใหญ่ ดินร่วนปนทรายทำให้พื้นที่เก็บน้ำได้น้อย มีปัญหาเรื่องน้ำ จึงมีการขุดบ่อบาดาลที่ระลึก และพบว่ามีน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่ การตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างแออัด ไม่เป็นระเบียบ ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงโค กระบือ บริเวณใต้ถุนบ้านมีมูลสัตว์จำนวนมาก การทิ้งขยะไม่เป็นที่ การจัดบ้านทั้งภายในบ้านและนอกบ้านไม่เป็นระเบียบแยกเป็นสัดส่วนไม่ชัดเจน บริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านมีร่องระบายน้ำทำให้มีน้ำขัง และส่งกลิ่นเหม็นในฤดูฝน การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอำเภอหรือจังหวัดโดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญ เช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือคลินิกต่างๆ ชุมชนจะเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงหรือการเดินทางเข้าเมืองโดยรถโดยสารประจำทางรถยนต์ ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์ เป็นหลัก ส่วนการเดินทางในระยะใกล้ ๆ เช่น ไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแก จะใช้การเดินเท้า รถจักรยานและรถจักรยานยนต์เป็นหลัก พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการชุมชน การเดินทางเข้าเมืองหรือเดินทางไปชุมชนใกล้เคียง ประชาชนที่ไม่มีรถส่วนตัวจะใช้รถโดยสารประจำทางในการเดินทางซึ่งมีรถบัสสีชมพูสายขอนแก่น-แวงน้อย จะผ่านหน้าหมู่บ้านเวลา 06.30 น. และ 08.00 น. โดยจะคิดอัตราค่าโดยสารไปบ้านไผ่ 25 บาท ไปชนบท 20 บาท ไปขอนแก่น 50 บาท สภาพถนนในแต่ละฤดูกาล ถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตลาดผ่านทุกซอยในหมู่บ้านแต่ไม่มีการวางท่อระบายน้ำ เมื่อฤดูฝนจะไม่มีปัญหาถนนลื่นเพราะน้ำจะไหลผ่านไปตามถนนได้เนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านค่อนข้างสูง การจราจรและอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดบ่อยและจำนวนครั้งการเกิ ดอุบัติเหตุได้ การคมนาคมขนส่งการเดินทางไม่ว่า จะเป็นฤดูร้อนหนาวหรือฤดูฝนจึงไม่มีปัญหาเดินทาง
ชุมชนบ้านโซ่งมีประชากรทั้งหมด 546 คน ประชากรเพศชายทั้งหมด 261 คน คิดเป็นร้อยละ 47.80 ประชากรเพศหญิงทั้งหมด 285 คน คิดเป็นร้อยละ 52.20 ซึ่งจากแผนภูมิปิรามิดแสดงถึงชุมชนมีประชากรในช่วงอายุมากที่สุด คือ 50-54 คิดเป็นร้อยละ 12.09 และจำนวนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 31.68 ซึ่งถือว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้คาดการณ์ว่า อีก 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า ประชากรในกลุ่มวัยกลางคนนี้จะทำให้ชุมชนมีประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้มีปัญหาสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง เป็นต้น ประชาชนในบ้านโซ่งหมู่ 1 ส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างแบบครอบครัวขยาย คือครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ญาติพี่น้องอาศัยรวมกันจำนวน 145 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 74.5 ครอบครัวเดี่ยว จำนวน 50 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 25.64
Self-reliance indicators
กำลังคน ได้แก่ กำนัน 1 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน 4 คน, อสม. 22 คนดูแลคนละ 8-12ครัวเรือน, กองทุนหมู่บ้าน 4 กองทุน, กลุ่มภายในหมู่บ้าน 7 กลุ่ม
กองทุนหมู่บ้าน
- กองทุนหมู่บ้าน : ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2544 มีวัตถุประสงค์คือ แหล่งเงินทุน ประธานกลุ่มคือ นายสฤษดิ์ พูลศรี สมาชิกทั้งหมด 162 คน กิจกรรมหลักคือ กู้ยืมหมุนเวียน ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 3 ล้านบาท มีเงื่อนไขว่าสามารถกู้ยืมได้ ปีละ 1ครั้ง สูงสุด 30,000 บาทต่อครัวเรือน โดยมีการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี
- กองทุน กขคจ. : ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2538 มีวัตถุประสงค์คือ แหล่งเงินทุน ประธานกลุ่มคือ นายอุดร ดีมีวงศ์ สมาชิกทั้งหมด 150 คน กิจกรรมหลักคือ จัดสรรเงินทุนให้ยืม มีเงื่อนไขว่าสามารถกู้ยืมได้ 5,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ใน 1 ปี เปิดให้กู้ยืม 3 รอบ
- ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน : ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2542 มีวัตถุประสงค์คือ สร้างคุณภาพชีวิต ประธานกลุ่มคือ นางทองยุ่น บาไส สมาชิกทั้งหมด 120 คน กิจกรรมหลักคือ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- กองทุนฌาปนกิจ : ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์คือ สร้างคุณภาพชีวิต ประธานกลุ่มคือ นายไพทูลย์ พิลาออน สมาชิกทั้งหมด 260 คน กิจกรรมหลักคือ ช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิต
กลุ่มสัมมาชีพภายในหมู่บ้าน
- กลุ่มออมทรัพย์ : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์คือ เป็นแหล่งเงินทุน ประธานกลุ่มคือ นางสาวสมสมัย โตโส สมาชิกทั้งหมด 147 คน กิจกรรมหลักคือ รับฝากเงินออม กองทุนหมุนเวียน
- กลุ่มผู้สูงอายุ : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 มีวัตถุประสงค์คือ สร้างคุณภาพชีวิต ประธานกลุ่มคือ นางสงกา โกเมนวรกุล สมาชิกทั้งหมด 120 คน กิจกรรมหลักคือ ส่งเสริมกำลังใจผู้สูงอายุ โดยในกลุ่มผู้สูงอายุจะได้รับเงินสมทบจากหลายหน่วยงาน
- กลุ่มพัฒนาสตรี : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาอาชีพ ประธานกลุ่มคือ นางทองยุ่น บาไส สมาชิกทั้งหมด 53 คน กิจกรรมหลักคือ สร้างอาชีพเสริม
- กลุ่มทอผ้าไหม : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาอาชีพ ประธานกลุ่มคือ นางดวงมาลา สินชัย สมาชิกทั้งหมด 50 คน กิจกรรมหลักคือ ผลิตผ้าไหมส่งขาย โดยผ้าไหมมีการย้อมสีจากธรรมชาติ
- กลุ่มเลี้ยงโค : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 มีวัตถุประสงค์คือ พัฒนาอาชีพ ประธานกลุ่มคือ นายอุดร ดีมีวงศ์ สมาชิกทั้งหมด 70 คน กิจกรรมหลักคือ เลี้ยงเนื้อเพื่อส่งขาย
- กลุ่มน้ำประปา : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีวัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมคุณภาพน้ำ ประธานกลุ่มคือ นายสันติ สนิท สมาชิกทั้งหมด 180 คน กิจกรรมหลักคือ พัฒนาน้ำใช้
- กลุ่มนาแปลงใหญ่ : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์คือ ประธานกลุ่มคือ นางสมสมัย ดีมีวงศ์ สมาชิกทั้งหมด คน มีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรรม เช่น เข้าดูแปลงสาธิต ทำปุ๋ย พันธุ์ข้าว การกำจัดหนอน
ด้านวัฒนธรรม
- เดือนมกราคม : เป็นวันขึ้นปีใหม่จะมีการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ มีงานวิปัสสนากรรมฐาน จัดขึ้นที่วัดภูระงำ เป็นบุญประจำปี จัดขึ้นในทุก ๆ ปีของช่วงเดือนมกราคม จะมีการรวมตัวกันของพระ แม่ชี พ่อชี มีการทำบุญตักบาตรร่วมกัน มีการบายศรีสู่ขวัญ สะเดาะเคราะห์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัวและชุมชน เป็นช่วงที่ชาวบ้านเกี่ยวข้าว
- เดือนกุมภาพันธ์ : เป็นบุญกุ้มข้าวใหญ่ จัดขึ้นที่อำเภอชนบท เป็นบุญที่จัดขึ้นทุก ๆ ปี มีการนำข้าวของแต่ละหมู่บ้านมารวมกัน ทำบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเสริมสิริมงคล ให้ข้าว น้ำ อุดมสมบูรณ์ เป็นช่วงที่ชุมชนมีการย้อมไหม มัดหมี่ และมีการทอผ้า เพื่อให้ได้ผ้าไหมลายต่าง ๆ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และชุนชน
- เดือนมีนาคม : เป็นบุญข้าวจี่ มีการนำข้าวเหนียวมาจี่ข้าวร่วมกันที่วัด เป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นเพื่อความความสามัคคีของชุมชนและเป็นการเสริมสิริมงคล
- เดือนเมษายน : บุญสงกรานต์ ชาวบ้านจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ สรงน้ำพระและบรรพบุรุษ มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ในบ้าน ที่บริเวณศาลากลางหมู่บ้าน อบต.จะมีของที่ระลึกให้กับผู้สูงอายุที่มาร่วมงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันที่ 13 จะเป็นวันมหาสงกานต์ วันที่ 14 เมษายน จะเป็นวันเนา และวันที่ 15 เมษายน คือ วันเถลิงศก ชาวอีสานโบราณถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ วันครอบครัว งานบุญผะเหวด เป็นบุญมหาชาติหรือหรือพระเวสสันดร ซึ่งงานจะจัดขึ้นติดต่อกัน 3 ปี แล้วหยุดจัด 1ปี และมีงานบุญผ้าป่า
- เดือนพฤษภาคม : เป็นประเพณีก่อเจดีย์ทราย (ตบประทาย) จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน มีงานบวงสรวงเจ้าแม่ภูระงำ ที่วัดป่าวิเวกภูระงำ มีงานบวงสรวงรอยพระพุทธบาท ที่สำนักสงฆ์รอยพระพุทธบาท เป็นการนำเครื่องสักการะบูชาไปถวาย ซึ่งประกอบด้วย ผลไม้ 7อย่าง คือ สับปะรด ขนุน ส้มเขียวหวาน แอปเปิล มีการจัดงานบุญยอดน้ำ ที่โคกโศกใหญ่ เป็นการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ถวายอาหารคาว หวาน เพื่อขอฝน ให้ฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมามากกว่า 60 ปีแล้ว
- เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม : บุญเข้าซัมฮะ หรือบุญเบิกบ้าน เป็นบุญที่ชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง ทำให้บ้านเมือง ไม่อยู่เย็นเป็นสุข เกิดโจรปล้นบ้าน ปล้นเมือง ฆ่าฟันรันแทง ผู้คนวัวควายล้มตายเพราะผีเข้า บ้านเมืองมีเหตุเภทภัยต่าง ๆ จึงทำบุญชำระล้างสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุเภทภัย ที่เป็นอัปมงคลให้หมดไป อีกทั้งเมื่อฝนแล้งหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาลเมื่อทำบุญนี้แล้ว เชื่อว่าจะทำให้ฝนตกและบ้านเมืองก็จะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะจะได้ทำนาและปลูกพืชพันธ์ธัญญาหารต่าง ๆ และมีการเริ่มทำนา ไถพรวน หว่านกล้า
- เดือนสิงหาคม : ทำนา(ปักดำต้นกล้า) เป็นบุญเข้าพรรษา ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปีที่วัดและสำนักสงฆ์ คนในชุมชนจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้าและมีการแห่เทียนพรรษา มีการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุและมีการจำวัดของผู้เฒ่าผู้แก่ในวัดตลอดช่วง 3 เดือนที่เข้าพรรษา
- เดือนกันยายน : เป็นบุญข้าวสาก หรือ ข้าวประดับดิน จัดขึ้นในแรม 15 ค่ำ คนในชุมชนจะนำอาหารให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตไปแล้ว อาหารสุกจะถวายให้พระ หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาจะนำอาหารไปถวายให้พระแม่ธรณีพระโพธิสัตว์เพื่อให้ข้าวในนาเจริญงอกงาม
- เดือนตุลาคม : เป็นบุญออกพรรษา และงานบุญกฐิน มีการจักขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นกฐินผ้าป่าสามัคคีของหมู่บ้าน
- เดือนพฤศจิกายน : เป็นประเพณีลอยกระทง ซึ่งจะจัดขึ้นที่อำเภอชนบท และมีการลงแขกเกี่ยวข้าว
- เดือนธันวาคม : เป็นช่วงเก็บข้าวขึ้นยุ้ง และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ด้านเศรษฐกิจ
- ทำนา : เริ่มทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนธันวาคม
- ทำสวน : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม
- รับจ้างทั่วไป : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม
- ค้าขาย : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม
- ลูกจ้างประจำ : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม
- ลูกจ้างชั่วคราว : เริ่มทำตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม
1.นายอุดร ดีมีวงค์
อายุ 53 ปี เกิดวันที่ : วันพุธ 15 มิถุนายน 2509
ศาสนา : พุทธ อาชีพ : กำนัน ตำแหน่งที่รับผิดชอบ : กำนันหมู่บ้านโซ่ง
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 206 หมู่ที่ 1 บ้านโซ่ง ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
สถานภาพการสมรส : สมรสกับนางสมสมัย โตโส เมื่อปี 2553 ไม่ได้มีบุตรร่วมกัน
การศึกษา : จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี 2532 จบจากโรงเรียนไพศาลวิทย์ ตำบลพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
ประวัติความเป็นมา : บิดาชื่อ นายอินทร์ ดีมีวงค์ มารดาชื่อ นางสิงห์ ดีมีวงค์ มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คน พ่ออุดร เป็นบุคคลที่ขยันทำงาน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ อัธยาศัยดี ทำให้พ่ออุดรเป็น บุคคลที่ชาวบ้านให้ความไว้วางใจและเชื่อใจว่าจะทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาที่ดีอย่างต่อเนื่อง
เกียรติคุณ/รางวัลที่ได้รับ : ปี พ.ศ. 2560 ได้รับรางวัลกำนันยอดเยี่ยมแห่งปี คติประจำ “เสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม”
2.นายคำเรือง ธานี
อายุ : 74 ปี เกิดวันที่ : วันศุกร์ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2497
ศาสนา : พุทธ อาชีพ : เกษตรกรรม
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 203 หมู่ 1 บ้านโซ่ง ตำบลห้วยแก อำเอชนบท จังหวัดขอนแก่น
สถานภาพสมรส : สมรสกับนางเคน ธานี (แต่งงานเมื่อ พ.ศ.25 34 ) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 3 คน
ประวัติการศึกษา : พ.ศ. 2405 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยแก ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ประวัติความเป็นมา : บิดาชื่อ นายลี ธานี มารดาชื่อ นางน้อย ธานี พ่อคำเรือง คือบุคคลที่เป็นผู้รู้ในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา เป็นผู้นำในการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน เช่น ขึ้นบ้านใหม่ งานอุทิศส่วนกุศล งานบุญตามประเพณี หมอดู เป็นต้น พ่อคำเรืองเป็นผู้นำพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่อายุ 28 ปี จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วประมาณ 46 ปี และมีอัธยาศัยดีจึงเป็นที่นับถือของคนใน หมู่บ้าน คติประจำใจ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”
- กองทุนหมู่บ้าน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 มีวัตถุประสงค์คือ แหล่งเงินทุน กิจกรรมหลักคือ กู้ยืมหมุนเวียน ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 3 ล้านบาท มีเงื่อนไขว่าสามารถกู้ยืมได้ ปีละ 1ครั้ง สูงสุด 30,000 บาทต่อครัวเรือน โดยมีการคิดดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี
- กองทุน กขคจ. ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีวัตถุประสงค์คือ แหล่งเงินทุน กิจกรรมหลักคือ จัดสรรเงินทุนให้ยืม มีเงื่อนไขว่าสามารถกู้ยืมได้ 5,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ใน 1 ปี เปิดให้กู้ยืม 3 รอบ
- กลุ่มออมทรัพย์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์คือ เป็นแหล่งเงินทุน กิจกรรมหลักคือ รับฝากเงินออม กองทุนหมุนเวียน
ทุนวัฒนธรรม
- กลุ่มทอผ้าไหม ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2546 มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาอาชีพ กิจกรรมหลักคือ ผลิตผ้าไหมส่งขาย โดยผ้าไหมมีการย้อมสีจากธรรมชาติ
ทุนกายภาพ
- ลำห้วยหนองเอี่ยน สภาพในปัจจุบันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
- ลำห้วยห้วยชัน สภาพในปัจจุบันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ในการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
- หนองโสกใหญ่ สภาพในปัจจุบันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
ผู้คนในชุมชนบ้านโซ่งใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทยในการพูดและการอ่านเขียน
ในราวปี พ.ศ. 2510 บ้านโซ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงจากหมู่ที่ 13 ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มาเป็น หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยแก อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ด้านการเมือง ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม รายได้เฉลี่ย 3,500-8,000 บาท/ครัวเรือน/เดือน
ชุมชนบ้านโซ่งมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแกเพียงแห่งเดียว และพบว่ามีผู้ใช้สิทธิประกันสุภาพถ้วนหน้ามากที่สุด รองลงมาคือสิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 89, 8 และ 3 ตามลำดับ
ชุมชนบ้านโซ่งมีโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านโซ่งเหล่านาดี โรงเรียนบ้านเหล่าเหนือ โรงเรียนบ้านทุ่มห้วย โรงเรียนบ้านหนองสะแบงหนองโน โรงเรียนบ้านห้วยแกดอนหันหนองหญ้าม้า
ชุมชนบ้านโซ่งมีลำห้วยหนองเอี่ยน สภาพในปัจจุบันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ในการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ ส่วนหนองโสกใหญ่ สภาพในปัจจุบันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
ในชุมชนบ้านโซ่งมีจุดสนใจอื่น ๆ เช่น ร้านกาแฟโซ่ง กาแฟสด ร้านหม่ำชนบท ร้านอ๋อยโภชนา วัดป่าบ้านโซ่ง
พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ. (2557). ทฤษฎี ปรัชญา ความรู้สู่การปฏิบัติในการพยาบาลอนามัยชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. (2558). ระบาดวิทยา = Epidemiology. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวพร อึ้งวัฒนา,และพรพรรณ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ.(บรรณาธิการ). (2555). การพยาบาลชุมชน. เชียงใหม่ :โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาภาพร เผ่าวัฒนา,สุรินธร กลัมพากร,สุนีย์ ละกำปั่น,และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2556). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิราณี อินทรหนองไผ่. (2554). กระบวนการพยาบาล: เครื่องมือนักจัดการสุขภาพองค์รวมเพื่อวิวัฒน์และพัฒนาสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สกุณา บุญนรากร. (2556). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.