Advance search

ปรากฏรูปแบบงานศิลปะแบบล้านนาที่เป็นเอกลักษณ์ในชุมชน อีกทั้งที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้กับสนามบินลำปาง เดินทางสะดวก

พระบาท
เมืองลำปาง
ลำปาง
สุกฤต สิมณี
9 ก.พ. 2024
สุกฤต สิมณี
9 ก.พ. 2024
บ้านหัวทุ่งสามัคคี

3 หมู่บ้านอยู่รวมกันโดยมีบ้านหัวทุ่ง บ้านแพะ และบ้านสันป่าตึง จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหัวทุ่งสามัคคี"


ปรากฏรูปแบบงานศิลปะแบบล้านนาที่เป็นเอกลักษณ์ในชุมชน อีกทั้งที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้กับสนามบินลำปาง เดินทางสะดวก

พระบาท
เมืองลำปาง
ลำปาง
52000
18.275007612269853
99.50010879237874
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

ในสมัยก่อนหมู่บ้านหัวทุ่งสามัคคีมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ป่าเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณปากทางของหมู่บ้าน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามสภาพแวดล้อมและที่ตั้งหมู่บ้านว่า “บ้านหัวทุ่ง” ต่อมามีชาวบ้านได้ย้ายภูมิลำเนามาสร้างที่อยู่อาศัยกระจายตัวกันอยู่ในหมู่บ้าน ทั้งบริเวณพื้นที่ป่าแพะในหมู่บ้าน ซึ่งเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า “บ้านแพะ” และบริเวณพื้นที่สูงที่มีป่าปกคลุม เรียกว่า “บ้านสันป่าตึง” ดังนั้น ด้วยเหตุที่มี 3 หมู่บ้านอยู่รวมกัน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหัวทุ่งสามัคคี” โดยได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2544

ลักษณะภูมิประเทศ

อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลพระบาท
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองหัวหงอก หมู่ที่ 9 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันออก หมู่ที่ 5 ตำบลชมพู 

ประชากรในพื้นที่บ้านหัวทุ่งสามัคคี

  • จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 1,069 คน แยกเป็น ชาย 541 คน หญิง 528 คน
  • จำนวนครัวเรือน 398 ครัวเรือน

ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี จำนวนสมาชิก 90 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางดวงใจ กองเขียววงค์
  • กลุ่มสตรีชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี จำนวนสมาชิก 120 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางศรีมัย สุปินะ
  • กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี จำนวนสมาชิก 29 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางศรีทัศน์ อุปะละ
  • กลุ่มตัดเย็บชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี จำนวนสมาชิก 10 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางทองใบ เทพศิริ

กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 1 กองทุน ดังนี้

  • กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางศรีมัย สุปินะ

วัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่ผูกโยงกับศาสนาพุทธเป็นหลัก อาจจะแตกต่างจากชุมชนอื่นที่มีชาวคริสต์ในพื้นที่ ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือมีกลุ่มคนที่ศรัทธาในพระเจ้าของคริสต์จำนวนมาก จากการที่ศาสนาคริสต์สามารถช่วยเหลือผู้ศรัทธาทางตรงได้ เช่น การรักษาโรคหรือการให้โอกาสที่มากกว่าที่อยู่ในความเชื่อเดิม ทำให้พื้นที่ชุมชนเป็นหนึ่งในชุมชนที่เปลี่ยนไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ใช้ภาษาล้านนาหรือไทยถิ่นเหนือเป็นส่วนใหญ่ แต่ใช้เพียงแค่การพูดสื่อสารเท่านั้นไม่ได้ใช้เป็นภาษาทางการ ซึ่งในอดีตล้านนาเคยมีตัวอักษรของตนเองใช้ชื่อว่าอักษรธรรมล้านนนา แต่ภายหลังจากที่รัฐเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่ ทำให้การใช้งานอักษรธรรมล้านนาเริ่มมีบทบาทลดน้อยลง


  • มีอัตราการว่างงาน
  • ประชาชนมีรายได้น้อย
  • ประชาชนในชุมชนมีค่าครองชีพสูง


  • ปัญหายาเสพติดในชุมชน


  • ระบบระบายน้ำในชุมชนไม่ทั่วถึง
  • ระบบสัญญาณจราจรไม่เพียงพอ เนื่องจากในชุมชนมีจุดเสี่ยงมาก
  • แหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และการเกษตรมีไม่เพียงพอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/