
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จากปัญหาโรคระบาดสู่การรับวัฒนธรรมจากการเผยแผ่ศาสนา การเปลี่ยนแปลงความเชื่อและการสร้างชุมชนใหม่
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ จากปัญหาโรคระบาดสู่การรับวัฒนธรรมจากการเผยแผ่ศาสนา การเปลี่ยนแปลงความเชื่อและการสร้างชุมชนใหม่
ในสมัยก่อนมีชาวไทลื้อกลุ่มหนึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อนซึ่งเป็นโรคติดต่อที่ยังไม่มียารักษาโรคในประเทศไทย ทำให้ชาวไทลื้อกลุ่มดังกล่าวต้องกักตนเองและแยกตัวออกจากคนทั่วไป เพื่อไม่ให้ระบาดสู่ผู้คนในหมู่บ้าน ต่อมาได้มีแพทย์มิชชันนารีจากต่างประเทศเข้ามารักษา พร้อมทั้งได้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ให้แก่ชาวไทลื้อกลุ่มดังกล่าว ทำให้คนที่ป่วยมีอาการดีขึ้น อีกทั้งในสมัยที่คริสเตียนเข้ามาใหม่ ๆ ชาวไทลื้อยังได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้นด้วย ทำให้ชาวไทลื้อกลุ่มดังกล่าวเกิดความศรัทธาในคริสศาสนา จึงได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และก่อตั้งชุมชนของตนเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “หมู่บ้านประสบสุข” โดยได้จัดตั้งชุมชนบ้านประสบสุข เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544
ชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 2.67 ตารางกิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมืองลำปาง ไปทางทิศเหนือ 11.2 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 14.8 กิโลเมตร สภาพทั่วไปพื้นที่ราบสลับเนิน เป็นป่าแพะ ป่าละเมาะ ต้นไม้ขนาดเล็ก มีพื้นที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่ทางการเกษตรสำหรับทำนา ทำสวนอยู่ในเขตชลประทาน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง ทิศตะวันออก
- ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยแพะ หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยม่วง หมู่ที่ 3 และชุมชนบ้านกล้วยกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลกล้วยแพะ
ชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมดจำนวน 81 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 175 คน แบ่งเป็นชาย 81 คน และหญิง 94 คน
ไทลื้อการประกอบอาชีพของชุมชนบ้านประสบสุข ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีรายละเอียดดังนี้
- อาชีพ รับจ้างทั่วไป จำนวน 63 ครัวเรือน
- อาชีพ ทำนา จำนวน 8 ครัวเรือน
- อาชีพ รัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 ครัวเรือน
- อาชีพ รับราชการ จำนวน 2 ครัวเรือน
- อาชีพ ค้าขาย จำนวน 2 ครัวเรือน
- อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 2 ครัวเรือน
- อาชีพ พนักงานบริษัท จำนวน 1 ครัวเรือน
การรวมกลุ่มสังคมต่าง ๆ ภายในชุมชน
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านประสบสุข
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านประสบสุข
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านประสบสุข
- กลุ่มอนุชนชุมชนบ้านประสบสุข
- กลุ่มบุรุษชุมชนบ้านประสบสุข
- กลุ่มสมาชิกช่วยงานศพชุมชนบ้านประสบสุข
จุดแข็ง
- มีแหล่งเงินทุนในชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้านฯ
- ประชาชนมีความประหยัด อดออม
- คนในชุมชนมีความขยันในการประกอบอาชีพ
จุดอ่อน
- ประชาชนมีรายได้น้อย
- ประชาชนไม่มีอาชีพที่แน่นอน
- ประชาชนมีการว่างงาน
- ผลผลิตทางการเกษตรไม่มีคุณภาพไม่มีตลาดรองรับ
- ประชาชนไม่มีความรู้เรื่องการตลาด
จุดแข็ง
- มีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม
- ชุมชนมีความเอื้ออาทร เกื้อกูลกัน
- ผู้นำชุมชนมีความสนใจในการพัฒนาท้องถิ่น
- คณะกรรมการชุมชนมีความเข้มแข้ง
จุดอ่อน
- เยาวชนไม่มีการรวมกลุ่ม
- ผู้สูงอายุมีมาก ขาดการดูแล
- ไม่มีการรวมกลุ่มเกษตร
- ปัญหายาเสพติด
จุดแข็ง
- มีระบบสาธารณูปโภค
- มีไฟฟ้าส่องสว่างในจุดที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย
จุดอ่อน
- บางพื้นที่ระบบน้ำประปาไม่ครอบคลุม
จุดแข็ง
- มีแหล่งน้ำธรรมชาติในชุมชน
- มีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น
- มีป่าชุมชน
จุดอ่อน
- ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ (ดินไม่มีคุณภาพปลูกพืชไม่มีคุณภาพ)
- แหล่งน้ำสำหรับการเกษตรไม่เพียงพอ
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง.
คริสตจักรประสบสุข - Prasobsuk Church. (2557). คริสตจักรประสบสุข จาก: https://www.facebook.com/