วัฒนธรรมชุมชนที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของชาวล้านนาและมีความเจริญในหลายด้านในพื้นที่และอยู่ใกล้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ปรากฏเรื่องเล่าว่า เมื่อชาวบ้านจึงได้ตั้งรกรากสร้างบ้านเรือน ได้ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เขตชลประทานและหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีต้นหว้า (ภาษาถิ่นเรียกว่า“บ่าห้า”) อยู่บริเวณหนองน้ำดังกล่าว ส่วนคำว่า ตะวันออก มาจากการจำแนกทิศทางของชุมชนที่อยู่ทางทิศตะวันออก
วัฒนธรรมชุมชนที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของชาวล้านนาและมีความเจริญในหลายด้านในพื้นที่และอยู่ใกล้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
เริ่มต้นจากมีครอบครัวชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโทกหัวช้าง หมู่ที่ 3 ได้ออกมาเสาะหาที่ทำกิน และถิ่นที่อยู่ใหม่ใกล้แหล่งน้ำ เนื่องจากถิ่นที่อยู่เดิมเกิดความแห้งแล้ง ทุรกันดาร ชาวบ้านจึงได้ตั้งรกรากสร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ใกล้เขตชลประทานและหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีต้นหว้า (ภาษาถิ่นเรียกว่า“บ่าห้า”) อยู่บริเวณหนองน้ำดังกล่าว ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันออกชาวบ้านจึงได้ ตั้งชื่อว่า “บ้านหนองห้าตะวันออก” และได้จัดตั้งชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548
สภาพภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกอกชุม หมู่ที่ 6 ตำบลพระบาท
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ 7 ตำบลพระบาทและชุมชนบ้านกาดเมฆตะวันออก หมู่ที่ 5 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลพระบาท
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านป่าแลว 1 หมู่ที่ 13 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านป่าแลว 2 หมู่ที่ 7 ตำบลพระบาท
ข้อมูลสัมโนครัวในพื้นที่บ้านหนองห้าตะวันออก
- จำนวนครัวเรือน 344 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 867 คน แยกเป็น ชาย 396 คน หญิง 471 คน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก จำนวนสมาชิก 150 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ ร.ต.สมศักดิ์ ทาทาน
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก จำนวนสมาชิก 175 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางวราลักษณ์ ช้างเผือก
- กลุ่ม อ.ส.ม ชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก จำนวนสมาชิก 19 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางศศิธร วังกาวี
- กลุ่มแปรรูปอาหารเลี่ยงเมืองชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก จำนวนสมาชิก 16 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางคำมูล วันดี
กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 2 กองทุน ดังนี้
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายนิต อิ่นสา
- กลุ่มสัจจะ/ออมทรัพย์ ชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายนิต อิ่นสา
ประเพณีและวัฒนธรรมส่วนใหญ่สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบพุทธอาจจะมีคติเรื่องผีของล้านนาเข้ามาผสมผสานด้วย
ส่วนใหญ่ใช้ภาษาล้านนาหรือไทยถิ่นเหนือเป็นหลัก แต่ใช้เพียงแค่การพูดสื่อสารในภาคเหนือ ซึ่งในอดีตล้านนาเคยมีตัวอักษรของตนเองใช้ชื่อว่าอักษรธรรมล้านนนา แต่ภายหลังจากที่รัฐเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่ ทำให้การใช้งานอักษรธรรมล้านนาเริ่มมีบทบาทลดน้อยลง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก หมู่ที่ 7 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/