ชุมชนที่เกิดจากการแสวงหาที่ทำกินใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ และการตั้งชุมชนบนพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
บริเวณที่ตั้งชุมชนเป็นบริเณเนินป่าแพะ ประกอบกับเป็นชุมชนที่แยกตัวออกมาจากชุมชนบ้านกล้วยหลวง จึงได้ตั้งชื่อชุมชนใหม่ว่า "บ้านกล้วยแพะ"
ชุมชนที่เกิดจากการแสวงหาที่ทำกินใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ และการตั้งชุมชนบนพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
การก่อตั้งชุมชนบ้านกล้วยแพะ เริ่มต้นจากมีครอบครัวชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน กล้วยหลวง หมู่ที่ 1 ได้ออกมาทำกินอยู่ที่ท้องไร่ท้องนาซึ่งเป็นที่เนินป่าแพะ คือ ป่าละเมาะที่มีแต่ไม้พุ่มเตี้ย ไม่มีไม้ใหญ่ ปกคลุมพื้นที่ลาดเอียงเหมือนหลังเต่ามีที่ราบลุ่มล้อมรอบ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านกล้วย หลวง ด้วยอุปนิสัยของชาวไทลื้อที่รักความสงบ สันโดษ ขยันทำมาหากิน จึงได้แยกออกมาตั้งถิ่นที่อยู่ใหม่ บริเวณเนินป่าแพะ และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกล้วยแพะ” จากนั้นได้แยกมาสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ในปี พ.ศ. 2424 ชื่อ “วัดม่อนธาตุ” ซึ่งหมายถึง วัดที่ตั้งอยู่บริเวณที่สูง คือ อยู่บนดอยซึ่งภาษาเหนือ เรียกว่า ม่อน โดยได้จัดตั้งชุมชนบ้านกล้วยแพะ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2544
ชุมชนบ้านกล้วยแพะ หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ชุมชนบ้านกล้วยแพะมีพื้นที่ 10.9 ตารางกิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมืองลำปางไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 10.8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปาง ไปทางทิศใต้ ระยะทาง 10.8 กิโลเมตร สภาพทั่วไปพื้นที่ราบสลับเนิน เป็นป่าแพะ ป่าละเมาะ ต้นไม้ขนานเล็ก มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นพื้นที่ทางการเกษตรสำหรับทำนา ทำสวนอยู่ในเขตชลประทาน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านกล้วยหลวงพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลกล้วยแพะ ชุมชนบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านประสบสุข หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ
ชุมชนบ้านกล้วยแพะ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 652 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,957 คน แยกเป็น ชาย 955 คน และหญิง 1,002 คน
ไทลื้อชุมชนบ้านกล้วยแพะ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ประชากรในชุมชนมีการประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังนี้
- อาชีพ เกษตรกรรม จำนวน 241 ครัวเรือน
- อาชีพ ค้าขาย จำนวน 60 ครัวเรือน
- อาชีพ รับจ้างทั่วไป จำนวน 234 ครัวเรือน
- อาชีพ พนักงานบริษัท จำนวน 54 ครัวเรือน
- อาชีพ รับราชการรัฐวิสาหกิจ จำนวน 18 ครัวเรือน
- อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 45 ครัวเรือน
บ้านกล้วยแพะมีการรวมกลุ่มสังคมของสมาชิกในชุมชน ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านกล้วยแพะ
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านกล้วยแพะ
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านกล้วยแพะ
ทุนเศรษฐกิจ
- กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 1 กองทุน คือ กองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านกล้วยแพะ มีงบประมาณ 1,500,000 บาท
ทุนกายภาพ
- แหล่งน้ำตามธรรมชาติ บ่อน้ำธรรมชาติ จำนวน 1 แห่ง
- แหล่งน้ำที่สร้างข้น บ่อบาดาล จำนวน 8 แห่ง สระน้ำ จำนวน 1 แห่ง
ทุนวัฒนธรรม
- วัดม่อนธาตุ/วัดบ้านกล้วยแพะ
จุดแข็ง
- คนในชุมชนประกอบอาชีพค้าขายกระเทียมสร้างรายได้
- มีแหล่งเงินทุนในชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้านฯ
- มีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการออม
จุดอ่อน
- ชุมชนไม่มีรายได้เสริม
- ไม่มีทุนในการประกอบอาชีพที่เพียงพอ ต้องพึ่งแหล่งเงินทุนจากที่อื่น
จุดแข็ง
- ชุมชนมีการพัฒนาในวันสำคัญต่าง ๆ ช่วยเหลือกันทุกฝ่าย
- มีวัดเป็นจุดศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
- มีคณะกรรมการคอยดูแลความปลอดภัยภายในชุมชน
จุดอ่อน
- ไม่มีกลุ่มเยาวชนภายในชุมชน
- เยาวชนไม่ให้ความสำคัญของประเพณี
- ปัญหายาเสพติด
- ชุมชนมีพื้นที่กว้างการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยอาจไม่ทั่วถึง
จุดแข็ง
- เส้นทางการคมนาคมสะดวก ปลอดภัย
- มีระบบสาธารณูปโภค
- การสื่อสารโทรคมนาคมมีเสถียรภาพ
จุดอ่อน
- ระบบประปาไม่เพียงพอสำหรับครัวเรือนในชุมชน
- ถนนในชุมชนชำรุดเสียหาย
จุดแข็ง
- มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติ
- มีการขุดลอกแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- มีป่าชุมชน
จุดอ่อน
- ประชาชนไม่ให้ความสำคัญ และช่วยกันดูแลทรัพยากรภายในชุมชน
- แหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคมีไม่เพียงพอ
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านกล้วยแพะ หมู่ที่ 2 ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ร่วมสืบสานประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดม่อนธาตุ ตำบลกล้วยแพะ. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/