ชุมชนชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยนอาศัยอยู่ร่วมกับกลุ่มชาวเหนือในพื้นที่บ้านผาลาด พื้นที่ปลูกสับปะรดของจังหวัดลำปาง ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่อุดมสมบูรณ์และยังเป็นดินในพื้นที่ใกล้กับภูเขาไฟลำปาง ทำให้รสชาติของสับปะรดอร่อยหวานหอม โดยเฉพาะพันธุ์น้ำผึ้งมีรสชาติที่ไม่เหมือนใคร หวานฉ่ำหอมอร่อยกินแล้วไม่แสบลิ้น ใครที่เคยซื้อไปรับประทานมักจะติดใจกลับมาซื้ออีก
ในหมู่บ้านมีเนินหินยาที่ลาดเอียงเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้าน ว่า “บ้านผาลาด”
ชุมชนชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยนอาศัยอยู่ร่วมกับกลุ่มชาวเหนือในพื้นที่บ้านผาลาด พื้นที่ปลูกสับปะรดของจังหวัดลำปาง ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่อุดมสมบูรณ์และยังเป็นดินในพื้นที่ใกล้กับภูเขาไฟลำปาง ทำให้รสชาติของสับปะรดอร่อยหวานหอม โดยเฉพาะพันธุ์น้ำผึ้งมีรสชาติที่ไม่เหมือนใคร หวานฉ่ำหอมอร่อยกินแล้วไม่แสบลิ้น ใครที่เคยซื้อไปรับประทานมักจะติดใจกลับมาซื้ออีก
เมื่อประมาณร้อยปีก่อน มีคนงานสถานีรถไฟบ้านผาลาดได้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ตั้งชุมชน ในปัจจุบันมีการสร้างบ้านเรือนเป็นจำนวนมากและมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จากนั้นได้ทำการสร้างวัด โรงเรียน และพระธาตุวังพระขึ้น ซึ่งบริเวณที่ก่อสร้างพระธาตุนั้นเป็นเนินหินยาที่ลาดเอียงและมีถ้ำอยู่ใต้ฐานพระธาตุ (ปัจจุบันถ้ำนี้ได้ปิดไปแล้ว) ประกอบกับในหมู่บ้านมีเนินหินยาที่ลาดเอียงเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อหมู่บ้าน ว่า “บ้านผาลาด” ซึ่งเดิมทีบ้านผาลาดมีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวางมาก ต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองทำให้บ้านผาลาดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง และบ้านผาลาด หมู่ที่ 6 อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอแม่ทะ โดยใช้เส้นทางรถไฟเป็นแนวเขตแบ่งพื้นที่การปกครอ งแต่ยังคงใช้ชื่อบ้านผาลาดทั้ง 2 แห่ง สำหรับชุมชน บ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท ได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านผาลาดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2548
อาณาเขตติดต่อ
ชุมชนบ้านผาลาด ตั้งอยู่ใน ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปางห่างจากอำเภอเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปาง ไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาทบ้านไร่แผ่นดินทอง หมู่ที่ 7 ตำบลพิชัยเทศบาลตำบลพิชัย และบ้านเมาะหลวง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่เมาะ เทศบาลตำบลแม่เมาะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแม่ทะ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ทะ เทศบาลตำบลแม่ทะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านแม่ทะ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ทะ เทศบาลตำบลแม่ทะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านบุญเกิด หมู่ที่ 2 ตำบลพระบาท,ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลพระบาทชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคีหมู่ที่ 8 ตำบลพระบาทและชุมชนบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ
ประชากรในพื้นที่บ้านผาลาด
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 926 คน แยกเป็น ชาย 455 คน หญิง 471 คน
- จำนวนครัวเรือน 528 ครัวเรือน
กลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน
ชาวอิ้วเมี่ยนมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณภูเขาสูงของประเทศจีน อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ฯลฯ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจีนอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการสร้างตัวอักษรที่มาจากตัวอักษรฮั่น การรับเอาลัทธิเต๋ามาผสมผสานกับความเชื่อมต่อผีบรรพบุรุษ การอพยพย้ายถิ่นทำให้ชาวอิ้วเมี่ยนมีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมควบคู่กับการรักษาวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยเฉพาะการแต่งกายด้วยการตกแต่งเครื่องประดับเงิน ด้านวิถีชีวิตดั้งเดิมมีการทำไร่หมุนเวียน มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อทำพิธีกรรม รวมทั้งการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำเครื่องเงินและปักผ้าที่มีลวดลายอัตลักษณ์สวยงาม
อิ้วเมี่ยนข้อมูลกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน มีจำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านผาลาดและชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านผาลาด จำนวนสมาชิก 120 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายบุญมา เตชะสาย
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านผาลาด จำนวนสมาชิก 140 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสาวประคอง พริบไหว
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านผาลาด จำนวนสมาชิก 25 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสาวพรพิมล ธรรมสอน
- กลุ่มเย็บปักถักร้อยชุมชนบ้านผาลาด จำนวนสมาชิก 15 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสาวประคอง พริบไหว
- กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ชุมชนบ้านผาลาด จำนวนสมาชิก 15 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางคำใส เชียงมูล
กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 1 กองทุน ดังนี้
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านผาลาด มีงบประมาณ 1,500,000 บาท โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสาวประคอง พริบไหว
สับปะรดดินภูเขาไฟ บ้านผาลาด
พื้นที่ปลูกสับปะรดแห่งใหม่ของจังหวัดลำปาง ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่อุดมสมบูรณ์และยังเป็นดินในพื้นที่ใกล้กับภูเขาไฟลำปาง ทำให้รสชาติของสับปะรดอร่อยหวานหอม โดยเฉพาะพันธุ์สายน้ำผึ้ง และส่วนใหญ่สับปะรดที่บ้านผาลาดแห่งนี้จะมีลูกขนาดใหญ่มาก น้ำหนักกว่า 4 กิโลกรัม นายอู๊ด ศรีแหลมสิงห์ เจ้าของร้านสับปะรด ริมถนนสายลำปาง-แพร่ กล่าวว่า "สับปะรดที่ปลูกในหมู่บ้านจะมีรสชาติอร่อยมาก โดยเฉพาะพันธุ์น้ำผึ้งมีรสชาติที่ไม่เหมือนใคร หวานฉ่ำหอมอร่อยกินแล้วไม่แสบลิ้น ใครที่เคยซื้อไปรับประทานก็หวนกลับมาซื้ออีก"
กลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยนใช้ภาษาเมี่ยนเป็นภาษาพูดและใช้ตัวอักษรจีนในภาษาเขียน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวเหนือใช้งานภาษาไทยถิ่นเหนือหรือล้านนา
- ประชาชนมีรายได้น้อย
- ไม่มีอาชีพที่มั่นคง
- ไม่มีอาชีพเสริม
- ปัญหายาเสพติด
- เกิดอุบัติเหตุ และปัญหาลักขโมยบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงในชุมชน
- ถนนบางเส้นทางในชุมชนชำรุดเสียหาย
- แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2556). ชุมชนบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/
MGR Online. (2560, 5 กรกฎาคม). สวนกระแส ....สับปะรดบ้านผาลาดปลูกบนดินภูเขาไฟลำปางขายดิบขายดีราคาไม่มีตก. [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. MGR Online. ค้นจาก https://mgronline.com/