ท่าเรือที่สำคัญที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะยาว เกาะพีพี เกาะลันตา พร้อมทั้งสามารถขนส่งสินค้าต่าง ๆ ได้
"บ้านท่าเรือใหม่" ตั้งอยู่ในตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ในสมัยก่อนบ้านท่าเรือใหม่ เป็นป่าชายเลนอยู่ติดกับชายทะเล ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ซึ่งในระยะบุกเบิกส่วนใหญ่ มาจากต่างพื้นที่ เพื่อมาประกอบอาชีพและจับจองที่ทำกิน ด้วยพื้นที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐาน กลุ่มคนแรก ๆ ที่เข้ามาประกอบอาชีพเป็นผู้ที่มีความมานะอดทน ขยันจึงทำให้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต ต่อมาได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยอย่างถาวร ประกอบกับส่วนราชการได้ย้ายท่าเรือประมงจากเกาะสิเหร่ไปสร้างท่าเรือใหม่ปัจจุบันทำให้สถานที่แห่งนี้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านท่าเรือใหม่" ทางราชการจึงใช้เรียก หมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่ จนถึงปัจจุบัน
ท่าเรือที่สำคัญที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะยาว เกาะพีพี เกาะลันตา พร้อมทั้งสามารถขนส่งสินค้าต่าง ๆ ได้
"บ้านท่าเรือใหม่" ตั้งอยู่ในตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ในสมัยก่อนบ้านท่าเรือใหม่เป็น ป่าชายเลนอยู่ติดกับชายทะเลและเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุก ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ในระยะบุกเบิกส่วนใหญ่เป็นคนดั้งเดิมประกอบอาชีพการทำเหมืองแร่ดีบุกและอาชีพประมงจากพื้นที่ ที่เคยอุดมสมบูรณ์ในการทำเหมืองแร่ดีบุกและการทำประมงกลุ่มคนดั้งเดิมได้สร้างบ้านเรือนตามลักษณะอาชีพเดิมในชุมชนเมื่อในอดีตบริเวณนี้มีท่าเรือที่สำคัญคือท่าเรือประมงเกาะสิเหร่ ต่อมาส่วนราชการได้ย้ายท่าเรือประมงเกาะสิเหร่ไปสร้างท่าเรือใหม่ในสถานที่ปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย ท่าเรือรัษฎา ท่าเรือวานิช และท่าเรือใหม่ เป็นท่าเรือที่สำคัญสามารถรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะยาว เกาะพีพี เกาะลันตาขนส่งสินค้า และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต ชุมชนดั้งเดิมคือกลุ่มคนจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพอุตสาหกรรมเหมืองแร่สร้างบ้านอยู่ร่วมกันเป็นกงสี ในบริเวณถนนหลิมมซุ่ยจู้ เดิมเป็นลำรางเหมืองฉีด ต่อมากิจการของเหมืองแร่ได้สิ้นสุดลง คนที่อาศัยอยู่เดิมได้สร้างบ้านอาศัยอยู่อย่างถาวรได้ถมลำราง สังคมเมืองขยายตัวเข้าไปในพื้นที่จากความเจริญรุ่งเรืองนี้ทำให้มีผู้คนอพยพมาสร้างบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรและอาศัยอยู่ในพื้นที่จนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งติดต่อกับคลองท่าจีนและทะเลอันดามัน มีท่าเรือที่สำคัญ เช่น ท่าเรือรัษฎา ท่าเรือวานิช และแพปลา ป.พิชัย การคมนาคมในหมู่ที่ 7 สามารถใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารประจำทางในพื้นที่ ระยะทางในการเดินทางไปสนามบินนานาชาติภูเก็ต ประมาณ 35 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลรัษฎา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองท่าจีน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลนครภูเก็ต
ลักษณะทางกายภาพ
บ้านท่าเรือใหม่ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ในการประกอบอาชีพประมงแบ่งเป็นพื้นที่ ที่ติดต่อกับหมู่ที่ 1 บ้านเกาะสิเหร่ และหมู่ที่ 3 บ้านกู้กู เขตเทศบาลนครภูเก็ตและพื้นที่ติดทะเล เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวธรรมชาติ สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้านโดยการเดินทางใช้เส้นทางคมนาคมโดยเรือ เช่น ท่าเรือรัษฎา และท่าเรือวานิช เป็นท่าเรือที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และขนส่งสินค้า ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ท่าเรือทั้งสองแห่งนี้ เคยเป็นท่าเรือที่คนจีนจากแผ่นดินใหญ่ในอดีต ใช้เป็นท่าเรือเดินทางเข้ามาเพื่อตั้งถิ่นฐานในการประกอบอาชีพในจังหวัดภูเก็ต ในปัจจุบันพัฒนาเป็นท่าเรือส่งเสริมและรองรับนักท่องเที่ยวด้วย
จากข้อมูลการสำรวจสถิติประชากร ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 ระบุจำนวนประชากรบ้านท่าเรือใหม่ จำนวนประชากรทั้งหมด 7,787 แบ่งเป็นประชากร ชาย 3,677 คน ประชากรหญิง 4,110 คน
ประชากรหมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่ มีการรวมกลุ่ม พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะย่านซอย ถนนหลิมซุ่ยจู้ อยู่ติดเขต เทศบาลนครภูเก็ต และทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่การตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้ เป็นคนพื้นถิ่นดั้งเดิม ต่อมาคนต่างถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นสังคมพึ่งพาอาศัยอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยทำงาน ไม่ค่อยมีผู้สูงอายุ เป็นต้น
โครงสร้างองค์กรชุมชน
ประชากรในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่ มีการตั้งถิ่นฐานแบบดั้งเดิมคือ ถมพื้นที่ลำรางเหมืองแร่โดยเฉพาะซอย หลิมซุ่ยจู้ และมีบางส่วนคือชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้นจากการขยายเขตการปกครองส่วนใหญ่จะสร้างบ้านเรือนอยู่ใกล้บริเวณท่าเรือ ในปัจจุบันมีการเลือกตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารหมู่บ้านดังนี้
- นายชาญชัย ตันฑวชิระพันธ์ ตำแหน่ง กำนันตำบลรัษฎา
- นายไพโรจน์ จ่ายแจก ตำแหน่ง รองประธาน
- นายวิรัช ชื่นชุมทรัพย์ ตำแหน่ง รองประธาน
- นายกฤษ เสมอภาค ตำแหน่ง รองประธาน
- นายเสกสรร พันธุ์จำปี ตำแหน่ง กรรมการ
- นายวิชัย ณ นคร ตำแหน่ง กรรมการ
- นายธวัชชัย อินทร์ชัย ตำแหน่ง กรรมการ
กลุ่มอาชีพของชุมชนบ้านท่าเรือใหม่
- กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มอาชีพประมงชาวบ้านทำประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ และนำผลผลิตมาจำหน่ายหรือส่งขายยังตลาดภายในตัวเมืองภูเก็ต เช่น ปลา กุ้งขาว และหอยหวาน เป็นต้น
- กลุ่มอาชีพค้าขาย กลุ่มอาชีพที่ค้าขายและอาหารทะเลที่ได้จากการออกทะเลมาค้าขายภายในพื้นที่ชุมชน และมีการนำมาแปรรูป เช่นการแปรรูปปลากระตักและหอยหวานตากแห้ง เป็นต้น
- กลุ่มอาชีพการท่องเที่ยว พื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่มีท่าเรือให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ในการเดินทางท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติ ต่าง ๆ อาทิ เกาะยาว เกาะพีพี บริการเรือ สปีทโบ๊ท เรือนำเที่ยว เป็นต้น
กลุ่มศรัทธา/วัด/มัสยิด
ประชาชนในพื้นที่ให้ความศรัทธากับศาสนา โดยเข้าร่วมประเพณีสำคัญต่าง ๆ ชาวไทยพุทธ จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมที่วัดพิทักษ์สมณกิจ วัดเกาะสิเหร่ ชาวไทยมุสลิม จะเดินทางไปร่วมปฏิบัติศาสนกิจ ที่มัสยิดสะพานร่วม ในพื้นที่ของเทศบาลนครภูเก็ต และชาวไทย เชื้อสายจีน มีการเดินทางไปร่วมกิจกรรมถือศีลกินผักยังศาลเจ้าที่ใกล้เคียงตามความเชื่อและศรัทธานั้น ลักษณะคนในชุมชน มีการขยายพื้นที่เขตการปกครองจากเขตเทศบาลนครภูเก็ตและตำบลรัษฎาจึงมีการขยายการปกครองตามการอาศัยของผู้คนที่มากขึ้น
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาชาวไทยพุทธร่วมกิจกรรมตามเทศกาลและประเพณี ทำบุญตามประเพณีความเชื่อ ชาวไทยมุสลิมยังคงยึดถือและปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนา ชาวไทยเชื้อสายจีน ยังคงยึดมั่นในการดำรงรักษาคำสอน เช่น การถือศีลกินผักตามความเชื่อและความศรัทธาในการดำเนินชีวิตอย่าง มีความสุข ในแต่ละกลุ่มคนเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับพื้นที่ใกล้เคียงที่ตนเองอาศัยอยู่ กลุ่มที่เป็นคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาอาศัย ก็จะนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนในการเดินทางกลับไปเพื่อถือโอกาสไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่อยู่ในภูมิลำเนาเดิม ส่วนชาวไทยมุสลิมเอง ก็ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตนตามจารีต ประเพณี และถือปฏิบัติศาสนกิจตามที่ตนศรัทธา
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ
ประชากรหมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่ มีรายได้จากอาชีพที่มั่นคง เช่น รับราชการ ประมง ค้าขาย รับจ้าง นำเที่ยว แพปลา มีรายได้ค่อนข้างมั่นคง สังเกตเห็นได้ว่าปัจจุบันประชากรภายนอกเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น พื้นที่ที่ติดกับเขตเทศบาลนครภูเก็ต หมู่ที่ 1 บ้านเกาะสิเหร่ หมู่ที่ 3 บ้านกู้กู ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
1.นายไพโรจน์ จ่ายแจก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีบิดาชื่อ นายชม จ่ายแจก มารดาชื่อ นางถนอม จ่ายแจก พี่น้อง 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน สมรสกับ นางเมธิณี จ่ายแจก และมีบุตร 3 คน ชาย 2 คน หญิง 1 คน
บทบาทและความสำคัญในชุมชนบ้านท่าเรือใหม่
นายไพโรจน์ จ่ายแจก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านท่าเรือใหม่ เป็นผู้นำชุมชนที่มีความสนใจด้านประวัติศาสตร์ มีอัธยาศัยดี มีวิสัยทัศน์ เป็นนักพัฒนา ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนคอยแจ้งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ ยึดถือหลักธรรมทางพระพุทธสาสนาในการปกครองและดูแลหมู่บ้าน ใช้หลักการเป็นผู้นำที่ดี
ทุนทางเศรษฐกิจ
สภาพพื้นที่ทางกายภาพมีความเอื้ออำนวยในการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการท่องเที่ยวมีท่าเทียบเรือที่สำคัญ คือ ท่าเรือรัษฎาและท่าเรือวานิชเป็นท่าเรือที่ให้บริการนักท่องเที่ยว ขนส่งสินค้า นอกจากนั้นยังมีแพปลาขนาดใหญ่เป็นแหล่งรายได้ที่สามารถเลี้ยงคนในชุมชนและจังหวัดภูเก็ตได้
ใช้ภาษาไทยพื้นถิ่นภาคใต้ในการสื่อสาร
สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนในทิศทางที่ดี เศรษฐกิจการส่งเสริมการท่องเที่ยว มีสภาพพื้นที่ทางกายภาพเอื้ออำนวย แต่ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว และมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ผู้สูงอายุจะถูกทอดทิ้งมากขึ้น เนื่องจากคนรุ่นใหม่ทุ่มเทเวลาให้กับการทำงานเพื่อสร้างฐานะความมั่นคงให้กับตนเองมากขึ้น
สะพานข้ามคลองท่าจีน
- สะพานที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต กับหมู่ที่ 1 บ้านเกาะสิเหร่และหมู่ที่ 4 บ้านท่าเรือใหม่ เข้าด้วยกันทำให้เดินทางสะดวก ไม่ต้องต่อเรือ อีกทั้งยังมีบรรยากาศที่เงียบสงบ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย และล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ ทั้งทะเล คลอง และป่าชายเลนเป็นต้น
ท่าเรือเจียรวานิช
- ท่าเรือเจียรวานิช สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2511 โดยนายเจียร วานิช ประธานบริษัทฮับฮวดจำกัดพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อเป็นท่าเรือขนส่งผู้โดยสาร และขนถ่ายสินค้า เส้นทาง ภูเก็ต-กันตัง ภูเก็ต-ปีนัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้ดำเนินการขนส่งแร่ดีบุก และเป็นตัวแทนการส่งสินค้าของบริษัทไทยซาโก้จำกัด มาโดยตลอด จนกระทั่งสิ้นสุดยุคสมัยความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุก และในปี พ.ศ. 2521 นายเอกพจน์ วานิช ได้ปรับท่าเรือเพื่อรับส่งและลำเลียงส่งออกสินค้า โดยใช้เรือลากจูงขนาด 10 ตัน และขยาย กิจการท่าเรือขนส่งสินค้าต่าง ๆ เรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 นางอัญชลี วานิชเทพบุตร ได้ปรับปรุงท่าเรือใหม่ขึ้นอีกครั้ง เพื่อพัฒนาเป็นท่าเรือนำเที่ยว และยังคงท่าเรืออีกฝั่งไว้เพื่อการขนส่งสินค้าทางทะเลในปัจจุบันมีความเจริญพร้อม ๆ ไปกับสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่
ท่าเรือรัษฎา
- ท่าเรือรัษฎา เป็นท่าเรือหลักใน จังหวัดภูเก็ต ที่ให้บริการเรือเฟอร์รี่จาก ภูเก็ต ไปยัง เกาะใกล้เคียงเช่น เกาะพีพี เกาะลันตา เกาะหลีเป๊ะ กระบี่ อ่าวนาง และหาดไร่เลย์ บริการที่มีชื่อเสียงที่สุดในท่าเรือรัษฎา คือเรือเฟอร์รี่จากภูเก็ตไปยังเกาะพีพี ท่าเรือรัษฎาตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเพียงขับรถประมาณ 10 นาที จากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตใช้เวลาขับรถประมาณ 20 นาที จากสนามบินภูเก็ตใช้ระยะทางขับรถประมาณ 1 ชั่วโมง
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2566). รายงานภายใต้โครงการ การขับเคลื่อนแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
เทศบาลตำบลรัษฎา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐานชุมชน. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566. https://rasada.go.th
เทศบาลตำบลรัษฎา. (2562). แผนชุมชนหมู่ที่ 7 ตำบลรัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566. https://rasada.go.th/