ย่านชุมชนใหม่ในเขตพื้นที่ถนนเลี่ยงเมืองลำปาง ใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต
จากตำนานเล่าขานที่เล่าถึงเรื่องราวของชุมชนที่กล้าวถึงการยกทัพไปสู้รบกับนางยักษ์ตนนึ่งและกองทัพของตนได้แตกพ่ายและไปหมดเลยและเหล่ากองทัพต่างก็ถูกจับกินหมด แล้วได้ทิ้งหัวช้างเอาไว้ ณ บริเวณบ้านโทกหัวช้าง
ย่านชุมชนใหม่ในเขตพื้นที่ถนนเลี่ยงเมืองลำปาง ใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต
ในสมัยก่อนมีตำนานเล่าขานว่า มีนายพรานคนหนึ่งได้เลี้ยงสุนัขไว้หนึ่งตัว ซึ่งต่อมาเรียกขานนามว่า “หมาขนคำ” สุนัขตัวดังกล่าวได้ตามนายพรานไปยังบ้านหัวทุ่งและได้กินน้ำในบ่อน้ำเล็กๆจากรอยอุ้งเท้าของช้างพลายเอราวัณที่เหยียบดินไว้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า “บ่อหมาเลีย” จากนั้นสุนัขตัวดังกล่าวเกิดตั้งท้อง และได้ออกลูกที่ “ผาสามเส้า” ณ วัดดอยม่วงคำ ซึ่งเป็นที่หน้าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะสุนัขได้คลอดลูก ออกมา เป็นมนุษย์เพศหญิง ๒ คน คนพี่ชื่อ “นางบัวแก้ว”คนน้องชื่อ “นางบัวตอง” ทั้งสองคนมีนิสัยใจคอแตกต่างกันมาก นางบัวแก้วผู้เป็นพี่มีนิสัยไร้ความกตัญญู ส่วนนางบัวตองผู้น้องมีนิสัยโอบอ้อมอารีใจบุญกุศล เมื่อทั้งสองคนมีอายุได้ ๑๖ ปี เจ้าพระยาเมืองจึงได้นำนางทั้งสองมาถวายตัวเป็นพระมเหสีในวังต่อมานางบัวตองผู้น้องได้คิดถึงถิ่นที่เกิดจึงได้เดินทางไปยังผาสามเส้า เมื่อมาถึงก็ได้ยินเสียงนางยักษ์ที่นออยู่ใต้หน้าผาร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดจากการเป็นฝีขนาดใหญ่ จากนั้นนางบัวตองจึงได้เดินขึ้นไปบนหน้าผาแต่บังเอิญได้พลัดตกจากหน้าผาลงมาโดนฝีของนางยักษ์จนแตก ทำให้นางยักษ์หายจากอาการเจ็บปวดนางยักษ์เห็นว่านางบัวตองเป็นผู้มีพระคุณจึงได้มอบทรัพย์สมบัติอันมีค่าแก่นางมากมาย นางจึงนำกลับวังเมื่อนางบัวแก้วผู้เป็นพี่ได้ทราบเรื่องราวดังกล่าวได้เกิดความอิจฉาริษยาน้องสาว จึงได้สั่งให้เสนาอำมาตย์นำขบวนช้าง ม้า และทหาร ออกไปตามหานางยักษ์ เมื่อนางบัวแก้วพบเจอนางยักษ์จึงได้สอบถามขอทรัพย์สมบัติบ้างแต่นางยักษ์ไม่ให้ นางบัวแก้วโกรธแค้นเป็นอย่างมากจึงได้สั่งให้ทหารและเสนาอำมาตย์ทุบตีนางยักษ์ นางยักษ์โมโหจึงได้จับทหาร เสนาอำมาตย์ ม้า และช้างกิน โดยได้ทิ้งหัวช้างไว้ที่บริเวณแห่งหนึ่งซึ่งต่อมาเป็นพื้นที่ตั้งของหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโทกหัวช้าง” มาจนถึงปัจจุบันและได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านโทกหัวช้าง เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม 2546
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อในบ้านหัวโทกช้าง
ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตั้งอยู่ใน ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปางห่างจากอำเภอเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 6.9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปาง ไปทางทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านบุญเกิด หมู่ที่ 2 ตำบลพระบาท
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหัวทุ่งสามัคคี หมู่ที่ 8 ตำบลพระบาท
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองห้าตะวันออก หมู่ที่ 7 ตำบลพระบาท และชุมชนบ้านหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ 7 ตำบลพระบาท
ประชากรในพื้นที่บ้านโทกหัวช้าง
- จำนวนครัวเรือน 618 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 1682 คน แยกเป็น ชาย 799 คน หญิง 883 คน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 9 กลุ่ม ดังนี
1) กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 346 คน ประธานกลุ่ม : นางศรีนวล สิริอรรถสุข
2) กลุ่มสตรีชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 34 คน ประธานกลุ่ม : นางสาวมณฑิตา วุฒิเดช
3) กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 34 คน ประธานกลุ่ม : นางคำเหมย มีใจวงค์
4) กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ และพวงหรีดชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 7 คน ประธานกลุ่ม : นางจันทร์สม กาแลกปลูก
5) กลุ่มตัดเย็บชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 7 คน ประธานกลุ่ม : นางสมพร ชมภูงาม
6) กลุ่มโทกหัวช้างการเย็บ จำนวนสมาชิก 7 คน ประธานกลุ่ม : นางสาวทิพพา สายสุข
7) กลุ่มสตรีตัดเย็บชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 10 คน ประธานกลุ่ม : นางสาวพรประภา ทาสุวรรณ
8) กลุ่มเยาวชนชุมชนบ้านโทกหัวช้าง จำนวนสมาชิก 15 คน ประธานกลุ่ม : นายวรวัตร แก้วปันโศ
กองทุนในหมู่บ้าน มีจำนวน 2 กองทุน ดังนี้
1) กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ประธานกลุ่ม : นายวิชัย เทพนามวงค์
2) กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยม จำกัด ประธานกลุ่ม : นายธวัชชัย สุปินะ
ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาราชการไทย โดยภาษาราชการไทยนั้นมักใช่ในเวลาทางการและเจอกลุ่มคนต่างถิ่นฐาน
- ประชาชนในชุมชนมีรายได้น้อย บางครอบครัวมีฐานะยากจน
- ผู้สูงอายุบางครอบครัวอยู่ตามลำพัง
- มีปัญหายาเสพติดในชุมชน
- เกิดอุบัติเหตุรถชนบ่อยในชุมชนบริเวณจุดเสี่ยงของชุมชน
- ระบบระบายน้ำชำรุด
- เส้นทางคมนาคมในชุมชนเป็นหลุมเป็นบ่อเนื่องจากมีรถยนต์เข้าออกทุกวัน
- บางซอยไม่มีระบบระบายน้ำ
- เกษตรกรขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร
- พื้นที่ทั่วไปแห้งแล้ง มีฝุ่นละออง ทำให้ค่า PM 2.5 สูงขึ้น เนื่องจากรถบรรทุกดิน
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านโทกหัวช้าง ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/)
วัดโทกหัวช้าง. (2560). วัดโทกหัวช้าง-Wattokhuachang. จาก https://www.facebook.com/