Advance search

ตลาดวันอาทิตย์

ชุมทางย่านการค้าสำคัญอยู่คู่กับประวัติศาสตร์เมืองสงขลามาตั้งแต่อดีต กับการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมสู่การปรับตัวของชุมชนและการค้าขายในปัจจุบัน

ชุมชนตลาดรถไฟ
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
15 ก.พ. 2024
กฤษฎา อุ่นลาวรรณ
15 ก.พ. 2024
ตลาดรถไฟ
ตลาดวันอาทิตย์

ชุมชนตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟสงขลาเดิม และมีการค้าขายมาตั้งแต่สถานีรถไฟยังเปิดทำการอยู่ และขยายตัวจนกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้นในปัจจุบัน


ชุมทางย่านการค้าสำคัญอยู่คู่กับประวัติศาสตร์เมืองสงขลามาตั้งแต่อดีต กับการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมสู่การปรับตัวของชุมชนและการค้าขายในปัจจุบัน

ชุมชนตลาดรถไฟ
บ่อยาง
เมืองสงขลา
สงขลา
90000
7.202071049319341
100.59359799606786
เทศบาลนครสงขลา

สถานีรถไฟสงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟในทางรถไฟสายใต้ (ทางรถไฟสายสงขลา) ยกเลิกการใช้งานไปแล้วตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 หลังจากยกเลิกการใช้งานบริษัท มิตรทอง ได้เช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยใช้ด้านหน้าอาคารสถานีรถไฟซึ่งเคยเป็นย่านสถานีสำหรับจอดรถบรรทุกขนส่งสินค้า และลานด้านหลังอาคารสถานีรถไฟเป็นตลาด และได้ใช้พื้นที่บางส่วนของอาคารเป็นสำนักงานด้วยจนถึงปัจจุบัน ชุมชนตลาดรถไฟสงขลาเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 โดยบริษัทมิตรทองสงขลา จำกัด เช่าที่ดินบริเวณหลังสถานีรถไฟสงขลา เนื้อที่ 25 ไร่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างเป็นโครงการใหญ่ ประกอบด้วย อาคารตลาด 3 หลัง โรงภาพยนตร์ 1 โรง อาคารพาณิชย์สามชั้น 12 คูหา อาคารโกดัง 8 คูหา พร้อมสาธารณูปโภค ถนนคอดกรีต ไฟฟ้า ประปา ลาดจอดรถ และคูระบายน้ำ สร้างเสร็จสมบูรณ์และใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา

ชุมชนตลาดรถไฟ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พื้นที่ของชุมชนทั้งหมด 99,587.80 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ราบ และย่านการค้ากลางเมืองสงขลา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนปละท่า
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนรามวิถี ซอย 4 (ถ.ชัยมงคล)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนปละท่า ซ.แขวงการทาง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนรามวิถี

ชุมชนตลาดรถไฟ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีจำนวนครัวเรือนอยู่อาศัยร่วมกันทั้งหมดจำนวน 161 ครัวเรือน โดยมีประชากรรวมทั้งสิ้นจำนวน 386 คน แบ่งเป็นชายจำนวน 169 คน และหญิงจำนวน 217 คน

เนื่องจากเป็นชุมชนย่านการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต และในปัจจุบันก็ยังเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งที่อยู่กลางเมืองสงขลา ประกอบกับเป็นพื้นที่ตลาดเดิมของสถานีรถไฟ และยังมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนประกอบอาชีพหลักที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายเป็นหลัก และประชากรบางส่วนยังประกอบอาชีพด้านการรับราชการในสังกัดต่าง ๆ และนอกจากนี้ประชากรส่วนหนึ่งก็ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปทั้งที่เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สถานีรถไฟสงขลา

อาคารสถานีรถไฟสงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟในทางรถไฟสายใต้ (ทางรถไฟสายสงขลา) ยกเลิกการใช้งานไปแล้วตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ปัจจุบันได้ประกาศขึ้นทะเบียนอาคารสถานที่โบราณสถานของกรมศิลปากร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2547 

หลังจากยกเลิกการใช้งาน บริษัทมิตรทอง ได้เช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยใช้ด้านหน้าอาคารสถานีรถไฟซึ่งเคยเป็นย่านสถานีสำหรับจอดรถบรรทุกขนส่งสินค้า และลานด้านหลังอาคารสถานีรถไฟเป็นตลาด และได้ใช้พื้นที่บางส่วนของอาคารเป็นสำนักงานด้วยจนถึงปัจจุบัน ส่วนรางรถไฟด้านหน้าอาคาร และป้ายสถานี (ป้ายประเพณี) 2 แห่ง ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ยังอยู่ในสภาพเดิม ตำแหน่งเดิม โดยป้ายด้านเหนืออยู่กลางแจ้ง ส่วนป้ายด้านใต้ ปัจจุบันเอกชนที่เช่าพื้นที่ได้สร้างโกดังเก็บสินค้าคร่อมป้ายไว้

อาคารสถานีรถไฟสงขลาเป็นอาคารก่ออิฐชั้นเดียว ตั้งอยู่บนฐานคอนกรีต ลักษณะผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางขนานไปกับรางรถไฟ ผังพื้นอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสถานีและส่วนชานชาลา แต่ละส่วนมีหลังคาคลุมของตนเอง ผังพื้นส่วนสถานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ช่วงเสา (7.20 เมตร) ยาว 7 ช่วงเสา (41.30 เมตร) หลังคาเป็นหลังคาจั่วผสมปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูและหน้าต่างเป็นเกล็ดไม้ระบายอากาศ ช่วงกลางด้านหน้ามีมุขโถงยื่นออกไปและมีทางลาดสำหรับขึ้นลง ผังส่วนชานชาลาเป็นลานโล่งขนานไปกับส่วนสถานี หลังคาเป็นหลังคาจั่วโครงสร้างเหล็กมุงด้วยสังกะสี จากแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรมระบุว่าด้านซ้ายสุดของส่วนสถานีเป็นโถงซื้อตั๋วของผู้โดยสารชั้น 3 (3rd Class Booking Hall) ถัดมาเป็นห้องทำงาน (Parcels Office) และห้องขายตั๋ว (Ticket Office) ช่วงกลางอาคารเป็นโถงทางเข้า (Portico) และโถงซื้อตั๋วของผู้โดยสารชั้น 1 และ 2 (1st and 2nd ClassBooking Hall) ช่วงถัดมาเป็นห้องพักคอยผู้โดยสารชั้น 1 (1st Class WaitingRoom) และห้องเก็บอุปกรณ์สำหรับการเดินรถ (Traffic Store Room) จำนวน 2 ห้อง ช่วงถัดมาเป็นห้องรับฝากของ (Cloak Room) ช่วงริมขวาสุดเป็นห้องทำงานผู้ควบคุมการเดินรถ (Running Room Railway Officials)

ปัจจุบันพื้นที่โถงซื้อตั๋วของผู้โดยสารชั้น 3 ใช้เป็นร้านขายเครื่องดื่ม พื้นที่ชานชาลาใช้เป็นที่จอดรถจักรยานยนต์ และห้องอื่น ๆ ใช้เป็นสำนักงานของบริษัทมิตรทอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ตลาดนัดวันอาทิตย์/ตลาดรถไฟ

ตลาดนัดวันอาทิตย์สงขลา เป็นตลาดนัดบริเวณสถานีรถไฟสงขลา ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงเที่ยง ตลาดรถไฟเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเปิดให้บริการเดินรถไฟสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยเริ่มจากพ่อค้าแม่ค้าเพียง 2-3 คน ให้บริการหรือค้าขายให้กับผู้คนที่มารอรถไฟหรือโดยสารรถไฟ ประมาณ พ.ศ. 2515 ได้ขยายพื้นที่ออกมาอยู่บริเวณ (ใต้ต้นยาง) หน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และครอบคลุมบริเวณพื้นที่ของถนนปละท่า และบริเวณถนนรามวิถี แม้การรถไฟจะยุติการให้บริการเดินรถตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา แต่ตลาดนัดวันอาทิตย์ ยังคงได้รับความนิยม โดยมีพ่อค้า แม่ค้าและผู้คนจากชุมชนต่าง ๆ ในลุ่มทะเลสาบสงขลา มาจับจ่ายซื้อขายสินค้าเป็นปกติมาจนถึงปัจจุบัน

เทศบาลนครสงขลา. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาชุมชน ชุมชนตลาดรถไฟ เขตเทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังวัดสงขลา. เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.songkhlacity.go.th/

มติชนออนไลน์. (2565). ดีเดย์ เปิด 'ตลาดรถไฟ' ตลาดนัดวันอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในสงขลา หลังปิด 1 ปี จากโควิด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.matichon.co.th/

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). อาคารสถานีรถไฟสงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://culturalenvi.onep.go.th/

Thailand Tourism Directory. (ม.ป.ป.). ตลาดนัดวันอาทิตย์ สงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567  จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/

Foursquare city guide. (ม.ป.ป.). ตลาดรถไฟ สงขลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567  จาก https://th.foursquare.com/