ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนจัดสรรที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (โรงไฟฟ้าแม่เมาะ) กลายป็นชุมชนใหม่
ไม่ทราบที่มาแน่ชัดว่าชุมชนแห่งนี้มีที่มาของชื่ออย่างไร ด้วยสาเหตุที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านจัดสรรทำให้สันนิษฐานว่าชื่อ บ้านศรีพูนทรัพย์คือชื่อที่ตั้งขึ้นจากเจ้าของหมู่บ้าน
ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนจัดสรรที่เป็นหนึ่งในสวัสดิการของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (โรงไฟฟ้าแม่เมาะ) กลายป็นชุมชนใหม่
ชุมชนศรีพูนทรัพย์ หมู่ที่ 5 ตำบลพระบาท เป็นหมู่บ้านโครงการจัดสรร ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 โดยมีนายวุฒิชัย ศรีรัตนสุคนธ์ (ปัจจุบัน อาศัยอยู่ในชุมชนศรีพูนทรัพย์)เป็นเจ้าของโครงการ ในขณะนั้นมีผู้สนใจซื้อที่ดินและสร้างที่พักอาศัยอยู่ประมาณ 47 หลังคาเรือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด ที่โยกย้ายมาประกอบอาชีพในจังหวัดลำปาง ได้แก่ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ข้าราชการ ครูและพนักงานบริษัทเอกชน จากนั้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2546 จึงได้ขอจัดตั้งเป็นชุมชน โดยใช้ชื่อ “ชุมชนศรีพูนทรัพย์” ตามชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบต่ำส่วนมากเป็นหมู่บ้านจัดสรร
อาณาเขตติดต่อ
ชุมชนศรีพูนทรัพย์ตั้งอยู่ใน ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปางห่างจากอำเภอเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 4.2 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดลำปาง ไปทางทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ 3.6 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านป่าขาม หมู่ที่ 1 ตำบลพระบาท
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านบุญเกิด หมู่ที่ 2 ตำบลพระบาท
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนธนวรรณ หมู่ที่ 2 ตำบลพระบาท
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านหนองปล้อง หมู่ที่ 5 ตำบลพระบาท
- จำนวนครัวเรือน 112 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 172 คน แยกเป็น ชาย 87 คน หญิง 85 คน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชน มีจำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนศรีพูนทรัพย์ จำนวนสมาชิก 36 คน ประธานกลุ่ม : นายชนิล ทองปรีชา
- กลุ่มสตรีชุมชนศรีพูนทรัพย์ จำนวนสมาชิก 45 คน ประธานกลุ่ม : นางสุฟ้า บัณฑุกุล
- กลุ่ม อสม. ชุมชนศรีพูนทรัพย์ จำนวนสมาชิก 5 คน ประธานกลุ่ม : นางจงจินต์ ทองปรีชา
- กลุ่มอาชีพสตรีชุมชนศรีพูนทรัพย์ จำนวนสมาชิก 8 คน ประธานกลุ่ม : นางจงจินต์ ทองปรีชา
ภาษาที่ใช้งานส่วนใหญ่ในพื้นที่ใช้งานภาษาไทยถิ่นล้านนาหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาพูด ในอดีตเคยใช้งานอักษรธรรมล้านนา
- ประชาชนไม่มีอาชีพเสริม
- ผู้สูงอายุไม่มีรายได้
- การจัดการชุมชนร้อยละ 80 ดำเนินการโดยผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่
- ไม่มีการร่วมมือในการทำกิจกรรมของชุมชน
- ประชาชนวัยแรงงานทำงานนอกพื้นที่
- ผู้ใช้ถนนภายในชุมชนขับรถเร็วเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- มีคนแปลกหน้าเข้ามาพักในพื้นที่สาธารณะบางครั้งคณะกรรมการชุมชนอาจดูแลได้ไม
- โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบระบายน้ำ ถนน แสงสว่างชำรุดเสียหาย เนื่องจากก่อสร้าง
มาหลายปี
- ลานกีฬาในชุมชนมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
- ปัญหาการทิ้งขยะไม่ถูกที่
- ปัญหามลพิษจากการเผาบริเวณพื้นที่รกร้าง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านศรีพูนทรัพย์ ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/