พิจารณาจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่เนื่องจากทางใต้ของหมู่บ้านมีต้นแคใหญ่อยู่ 1 ต้น และพื้นที่หมู่บ้านมีลักษณะเหมือนเกาะที่ล้อมรอบด้วยที่นา จึงถูกเรียกว่า บ้านเกาะแค
ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ฯ
บ้านเกาะแคมีการก่อตั้งเป็นชุมชนมากกว่าร้อยปี ซึ่งกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนในชุมชนแห่งนี้มี 30 กว่าครัวเรือน การตั้งบ้านเรือนในช่วงแรกจึงมีคนอยู่เพียงแค่ 3 กลุ่ม 1. กลุ่มของปู่ยอด – ย่าคง เป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือน และเป็นต้นสกุลยอดคง ซึ่งเป็นนามสกุลของคนส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน 2. กลุ่มต้นแค กลุ่มของนายบุญ – นางปราง ได้มีการขอแบ่งพื้นที่ทำกินจากปู่ยอดบริเวณทางใต้ของหมู่บ้าน เป็นต้นสกุลแก้วบุญ ซึ่งมีมากเป็นอันดับสองของหมู่บ้าน 3. กลุ่มนายแดง – นางแดง คนรุ่นเดียวกับกลุ่มแรก เป็นต้นสกุลชัยแดงในปัจจุบัน นายสนิท ถิ่นจะนะ ได้เล่าว่า ในปี 2491 บ้านเกาะแคมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม รอบล้อมด้วยที่นาของชาวบ้าน และคนเฒ่าคนแก่ในชุมชนเล่าว่าทางใต้ของหมู่บ้านมีต้นแคใหญ่อยู่ 1 ต้น หากพิจารณาจากสภาพแวดล้อม พื้นที่หมู่บ้านมีลักษณะเหมือนเกาะที่ล้อมรอบด้วยที่นา จึงถูกเรียกว่า บ้านเกาะแค ด้วยสภาพแวดล้อมของบ้านเกาะแคทำให้ในบางปีที่น้ำท่วม บ้านเกาะแคไม่เคยได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ทำให้มีลักษณะเป็นเกาะมากยิ่งขึ้น
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
ชาวบ้านเกาะแคส่วนใหญ่ทำนาข้าวและมีสวนผลไม้ในเขตที่พักอาศัย ข้าวที่ได้ชาวบ้านจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน เมื่อถึงหน้าเกี่ยวข้าวจะนำข้าวเก่าที่เหลือไปจำหน่ายและนำข้าวใหม่มาทาน ในส่วนของผลไม้ที่ปลูกมี ทุเรียน เงาะ มังคุด กล้วย ลองกอง ขนุน และสับปะรด ถ้ามีส่วนที่หลือจากการบริโภคจะนำไปจำหน่ายที่ตลาดนัด หรือมีพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อซื้อที่บ้าน ผลผลิตนอกจากข้าวและผลไม้ ยังมีอีกอาชีพหลักคือการทำสวนยางพารา โดยผลผลิตจากสวนยางพาราที่ได้จะมีทั้งน้ำยางดิบ นำไปจำหน่ายบริเวณที่มีพ่อค้ารับซื้อน้ำยาง ผลผลิตอีกอย่างหนึ่งคือ ยางแผ่นซึ่งต้องนำน้ำยางมาแปรรูปก่อนจำหน่าย
บ้านเกาะแคมีพื้นที่ประมาณ 526 ไร่ เป็นพื้นที่สวนยางพาราและนาข้าว 416 ไร่ อีก 110 ไร่เป็นที่อยู่อาศัยและสวนผลไม้ ลักษณะทางกายภาพมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม รอบล้อมด้วยที่นาของชาวบ้าน ทางใต้ของหมู่บ้านมีต้นแคใหญ่อยู่ 1 ต้น พื้นที่หมู่บ้านมีลักษณะเหมือนเกาะที่ล้อมรอบด้วยที่นา ด้วยสภาพแวดล้อมของบ้านเกาะแคทำให้ในบางปีที่น้ำท่วม บ้านเกาะแคไม่เคยได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ด้วยเหตุนี้ทำให้บ้านเกาะแคมีลักษณะเป็นเกาะมากยิ่งขึ้น
บ้านเกาะแคมีการทำนาข้าว สวนผลไม้ และสวนยางพารา ทำให้มีผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน แต่หากมีส่วนที่เหลือจากการบริโภคชาวบ้านจะนำไปจำหน่ายทั้งที่มารับที่บ้านหรือจำหน่ายที่ตลาดนัด เนื่องจากว่าในเขตของ หมู่ 2 และหมู่ 3 มีพื้นที่ว่างเป็นบริเวณกว้างสามารถที่จะจัดเป็นตลาดนัดได้ โดยชาวบ้านในแต่ละหมู่ก็จะนำผลผลิตของตนเองออกมาจำหน่าย และมีการหมุนเวียนในแต่ละวันดังนี้ วันจันทร์และเสาร์จัดที่พื้นที่หมู่ 2 วันอังคาร วันศุกร์และวันอาทิตย์ จัดที่พื้นที่หมู่ 2 นอกจากนี้ยังมีจุดรับซื้อน้ำยางพาราตามตำแหน่งที่ใกล้กับพื้นที่กรีดยางพาราของชาวบ้าน หรือนำไปจำหน่ายกับกลุ่มน้ำยางของตำบลน้ำขาว ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 แต่ต้องเป็นสมาชิกของกลุ่มเท่านั้น ในพื้นที่บ้านเกาะแคมีวัดและมัสยิดให้ชาวบ้านในชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาของตนเอง
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรบ้านเกาะแค จำนวน 130 หลัง ประชากรรวมทั้งหมด 378 คน แบ่งเป็นประชากรชายได้ 183 คน แบ่งเป็นประชากรหญิงได้ 195 คน (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2565) ประชากรในบ้านเกาะแคส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการร่วมสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญของบ้านเกาะแคมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านได้พบปะถามสารทุกข์สุขดิบ ก่อให้เกิดความรักใคร่ผูกพันกันในชุมชน และทำให้ความรู้สึกเป็นญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดมากขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่พื้นที่บริเวณบ้านเกาะแคเป็นเครือญาติกันอยู่แล้ว จากการที่มีการตั้งบ้านเรือนในช่วงแรก ๆ
ชาวบ้านเกาะแคส่วนใหญ่ทำนาข้าวและมีสวนผลไม้ในเขตที่พักอาศัย ข้าวที่ได้ชาวบ้านจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน เมื่อถึงหน้าเกี่ยวข้าวจะนำข้าวเก่าที่เหลือไปจำหน่ายและนำข้าวใหม่มาทาน ในส่วนของผลไม้ที่ปลูกมี ทุเรียน เงาะ มังคุด กล้วย ลองกอง ขนุน และสับปะรด ถ้ามีส่วนที่หลือจากการบริโภคจะนำไปจำหน่ายที่ตลาดนัด หรือมีพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อซื้อที่บ้าน ผลผลิตนอกจากข้าวและผลไม้ ยังมีอีกอาชีพหลักคือการทำสวนยางพารา โดยผลผลิตจากสวนยางพาราที่ได้จะมีทั้งน้ำยางดิบและยางแผ่นซึ่งต้องนำน้ำยางมาแปรรูปก่อนจำหน่าย นอกจากนี้ชาวบ้านเกาะแคบางคนมีการรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเจ้าหน้าที่อนามัย อ.บ.ต. และครู
คนในชุมชนบ้านเกาะแค มีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต เป็นกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมด้านออมทรัพย์เป็นหลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและการบริหารงานของคนในหมู่บ้านเอง โดยมีลักษณะเป็นทั้งแหล่งเงินออม แหล่งเงินกู้ และกลุ่มที่ให้สวัสดิการแก่ชาวบ้าน มีเป้าหมายร่วมกัน คือ เพื่อพัฒนาและพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนภายใต้การทำงานร่วมกันของคนในหมู่บ้าน พร้อมกับการสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมและศีลธรรม รวมถึงการมีสัจจะให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน ภายใต้หลักการทำงานที่อาศัยระบบความเชื่อและคุณธรรมมาผสมกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน ประกอบกับแนวคิดเรื่องทุนนิยมมาใช้ เพื่อความเหมาะสมกับสภาพชีวิตและการประกอบอาชีพ
การรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบพีธีกรรมตามความเชื่อ เช่น มงคลตื่นขาว คือ ความเชื่อในเจ้าที่ ตายาย ครูหมอ เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีเชิญครูหมอ จะมีการรวมตัวเพื่อสร้างโรงโนรา ส่วนตายายจะจัดในบ้าน มีการเรียกรวมตัวลูกหลานมารวมกัน โดยที่ชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับความเชื่อเหล่านี้เนื่องจากเป็นสายสัมพันธ์ของกลุ่มญาติในตระกูลเดียวกัน
การรวมกลุ่มกันเพื่อทำบุญที่วัดในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเป็นประจำ เช่น เข้าพรรษา ออกพรรษา วันมาฆบูชา และทำบุญในงานประเพณีสำคัญ เช่น ลอยกระทง วันสงกรานต์ และวันสารท และอีกประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีฉลองตอก วันแรกทำกิจกรรมที่ศาลาหมู่ 1 ของบ้านเกาะแค
ปฏิทินเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้านหรือการประกอบอาชีพของคนในชุมชน จึงมีลักษณะหมุนเวียนระหว่างการทำนาปลูกข้าวกับการกรีดยาง โดยการทำนาชาวบ้านเริ่มตกกล้าตั้งแต่เดือน 9 พอถึงเดือน 10 ก็เริ่มดำนา จากนั้นรอจนถึงเดือน 4 หรือเดือน 5 จึงค่อยเก็บเกี่ยวได้ ในระยะเวลาตลอดปีนั้นแม้ช่วงไหนจะทำนาแต่ชาวบ้านจะกรีดยางด้วย เพราะยางพาราสามารถกรีดได้ทุกวันยกเว้นช่วงหน้าฝนซึ่งเป็นฤดูไม้พลัดใบ ชาวบ้านเริ่มกรีดยางตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป เมื่อกรีดเสร็จก็กลับบ้านตอน 11 โมงของเช้าวันถัดมา
ปฏิทินวัฒนธรรม
พิธีกรรมเชิญครูหมอ หรือที่เรียกกันว่าโนราโรงครู ที่จะมีการจัดสร้างโรงโนราในเดือน 6 วันพฤหัสบดี (วันครู) ส่วนตายายมีการอัญเชิญร่างทรงเป็นผู้หญิงที่คอยถือพัดเอาไว้รมควันเทียน ยังมีลูกเคียง 3 คน คอยตีตะโพน เจ้าภาพจัดอาหารคาว หวานเป็นของเซ่น เช่น ขนมโค ขนมแดง ไก่ต้ม ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว เสื่อ หมอน หมาก พลู และจุดเทียนไว้ จะมีการรวมตัวกันเพื่อทำพิธี หากใครไม่มาอาจจะทำให้เจ็บป่วยได้
วันสารท บ้านเกาะแคจะมีการจัดงาน 2 วัน คือ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะทำขนมต้ม ขนมลา ขนมเจาะหู ขนมรวงข้าวไปไหว้ที่วัด มีการทำร้านเปรตโดยเอาข้าว แกง ขนม ของแห้งต่าง ๆ ไปวาง หลังจักระสวดและมีการกรวดน้ำเสร็จ จะปล่อยให้เด็กวิ่งเข้าไปแย่งใครจะเอาอะไรก็เอาได้ เป็นที่มาของประเพณีชิงเปรต หลังจากนั้นเลี้ยงเพลพระอีกครั้ง
ประเพณีฉลองตอก จัดขึ้นเมื่อ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จะมีการทำบุญต่ออีก 7 วัน โดย 6 วันแรกจะมีการให้พระไปบิณฑบาตรที่บ้านของชาวบ้านคนใดคนนึง พอวันที่ 7 แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านรวมตัวกันนำเอาตอกข้าวเหนียว ของคาว ของหวาน มาเลี้ยงเพลพระ เมื่อเลี้ยงเพลพระเสร็จชาวบ้านจะทานอาหารร่วมกัน
1.ปู่ยอด – ย่าคง ต้นสกุลยอดคง ซึ่งเป็นนามสกุลของคนส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน เป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือน
2.นายบุญ – นางปราง ต้นสกุลแก้วบุญ ซึ่งมีมากเป็นอันดับสองของหมู่บ้านได้มีการขอแบ่งพื้นที่ทำกินจากปู่ยอดบริเวณทางใต้ของหมู่บ้าน
3.นายแดง – นางแดง ต้นสกุลชัยแดง เป็นคนรุ่นเดียวกับ ปู่ยอด – ย่าคง
ทุนกายภาพ
ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม รอบล้อมด้วยที่นาของชาวบ้าน พื้นที่หมู่บ้านมีลักษณะเหมือนเกาะที่ล้อมรอบด้วยที่นา ด้วยสภาพแวดล้อมของบ้านเกาะแคทำให้ในบางปีที่น้ำท่วม บ้านเกาะแคไม่เคยได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ด้วยเหตุนี้ทำให้บ้านเกาะแคมีลักษณะเป็นเกาะมากยิ่งขึ้น
ทุนเศรษฐกิจ
กลุ่มสัจจะออมทรัพย์แบบพัฒนาครบวงจรชีวิต เป็นกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมด้านออมทรัพย์เป็นหลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและการบริหารงานของคนในหมู่บ้านเองโดยมีลักษณะเป็นทั้งแหล่งเงินออม แหล่งเงินกู้ และกลุ่มที่ให้สวัสดิการแก่ชาวบ้าน
บ้านเกาะแค หมู่ 1 ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่ได้รับเอาแนวคิดกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ฯ ของครูชบไปปฏิบัติ เป็นกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมด้านออมทรัพย์เป็นหลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและการบริหารงานของคนในหมู่บ้านเอง โดยมีลักษณะเป็นทั้งแหล่งเงินออม แหล่งเงินกู้ และกลุ่มที่ให้สวัสดิการแก่ชาวบ้าน มีเป้าหมายร่วมกัน คือ เพื่อพัฒนาและพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนภายใต้การทำงานร่วมกันของคนในหมู่บ้าน พร้อมกับการสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรมและศีลธรรม รวมถึงการมีสัจจะให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน ภายใต้หลักการทำงานที่อาศัยระบบความเชื่อและคุณธรรมมาผสมกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน ประกอบกับแนวคิดเรื่องทุนนิยมมาใช้ เพื่อความเหมาะสมกับสภาพชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้านเกาะแค
เบญจรัชต์ เมืองไทย และคณะ. (2542). การศึกษามิติวัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคืนเมื่อ 19 เมษายน 2566 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: https://www.sac.or.th/databases/sac_research/research_pdf_pdf.php?file_id=1193&ob_id=18
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติจำนวนประชากร ปี พ.ศ. 2565. ค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php